symbol-logo
logo
logo
DEPRECATED_SearchIcon
DEPRECATED_SearchIcon
ทั้งหมด
ข้อมูลท่องเที่ยว
ที่พัก
สั่งซื้อสินค้า
เทรนด์เกาหลี
สถาบันสอนภาษา

เทรนด์เกาหลี
วัฒนธรรมการดื่มเหล้าของเกาหลี
🤞🏻 ✨ ฉากดื่มเหล้าในซีรี่ย์ คนที่เคยดูซีรี่ย์เกาหลีก็คงจะเคยเห็นฉากดื่มเหล้ากันมาบ้าง ไม่ว่าจะเป็นฉากกินเหล้าเหงาๆคนเดียวหรือกินกันเป็นกลุ่มหลายคน การดื่มเหล้านั้นก็เป็นการใช้ชีวิตปกติของคนเกาหลีในโลกความจริง และเป็นการทำให้ฉากในละครดูสมจริงมากขึ้นค่ะ ฉากที่มีการไปแฮงค์เอ้าท์กับเพื่อนหรือคนเพื่อนที่ทำงานก็จะเห็นขวดโซจูสีเขียวๆอยู่ตรงนั้นเสมอ ซึ่งเป็นของที่มันต้องมีเลยล่ะ ความชอบดื่มแอลกอฮอล์ของคนเกาหลี ตามสถิติได้เผยว่าโซจูถูกขายไปกว่า 3.6 ล้านขวดในปี 2017 ซึ่งจำนวนคนเกาหลีที่เป็นผู้ใหญ่มีประมาณ 42 ล้านคน เลยหมายความได้ว่าแต่ละคนกินเฉลี่ยมากถึง 87 ขวดต่อปีเลยทีเดียว ส่วนเบียร์ที่ผู้ใหญ่ดื่มต่อคนในปี2017ก็มีจำนวนถึง 9.14 ลิตรหรือ 27 กระป๋องเลยทีเดียว และถ้านำจำนวนมักกอลลีหรือเครื่องดื่มแบบอื่นมาคิดด้วยก็จะเยอะมากกว่านี้อีกโดยไม่ต้องสงสัย แล้วทำไมต้องโซจู? โซจูถูกนำเข้ามาครั้งแรกในเกาหลีเมื่อประมาณศตวรรษที่ 13 ซึ่งเป็นช่วงที่มีการรุนรานจากมองโกล ในสมัยนั้นยังไม่สามารถกลั่นเหล้าได้มากและเป็นของหายาก จึงมีแต่ชนชั้นสูงเท่านั้นที่ได้ดื่มโซจู แต่ปัจจุบันนี้โซจูสามารถผลิตได้เป็นจำนวนมากและราคาก็ถูกลงจนราคาเท่าน้ำเปล่า จึงเป็นเหตุผลง่ายๆที่อธิบายว่าทำไมโซจูถึงได้รับความนิยมอย่างกว้างขวาง แต่การกินโซจูอย่างเดียวก็อาจจะหนักเกินไปจนทำให้เกิดอาการแฮงค์ในวันต่อมาเลยทีเดียว เป็นเรื่องตลกมากๆที่คนเกาหลีเรียกโซจูว่าเครื่องดื่มเพื่อสุขภาพ แต่มันก็มีที่มาจากสมัยก่อนที่มีแต่ชนชั้นสูงที่เข้าถึงและก็เคยใช้เป็นยาอีกด้วย ทำไมคนเกาหลีถึงดื่มหนัก แล้วทำไมคนเกาหลีถึงดื่มกันหนักจัง? เกาหลีหนาวขนาดถึงต้องกินเพื่อให้ร่างกายอบอุ่นเลยหรอ? เรื่องนี้อาจจะจริงถ้าเป็นที่รัสเซีย แต่คนเกาหลีก็ยังดริ้งกันหนักแม้อากาศจะร้อนถึง 35 องศา ความจริงก็คือคนเกาหลีดื่มกันเพื่อให้รู้สึกปลดปล่อยและผ่อนคลายจากความเครียดนั่นเองค่ะ แล้วอันดับการดื่มเหล้าของคนเกาหลีอยู่ที่ระดับไหนกันนะ? ตามสถิติบอกว่าโซลเป็นเมืองที่มีอัตราการดื่มแอลกอฮล์สูงเป็นอันดับ 6 จากเมืองต่างๆทั่วโลก และเกาหลียังเป็นประเทศที่มีอัตราการบริโภคแอลกอฮล์ต่อคนสูงมากที่สุดในเอเชีย ทำไมเกาหลีถึงเป็นชาติแห่งการดื่มแอลกอฮอล์กันนะ? ในการดื่มเหล้าครั้งแรกมักจะเป็นการไปดื่มกับรุ่นพี่ โดยในสังคมเกาหลี เราไม่สามารถปฏิเสธได้เมื่อคนที่อายุมากกว่ารินเหล้าให้ นอกจากนี้ก็มีมารยาทอีกอย่างหนึ่งที่เวลายกเหล้าดื่มเราต้องหันหน้าไปอีกทาง พอมันเกิดขึ้นแบบรุ่นสู่รุ่น ก็เลยเหมือนการสอนให้ทุกคนดื่มเก่งไปเลย คนเกาหลียังชอบการแข่งกินเหล้าด้วย แข่งจนกว่าคนนึงจะวาร์ปไปเลย จึงเกิดเป็นวัฒนธรรมการดื่มแบบฮาร์ดคอร์ในเกาหลีเลยล่ะ ปัญหาของการดื่มหนัก คนเกาหลีชื่นชอบการดื่มเหล้ามากและดื่มกันเก่งสุดๆ แต่นั่นไม่ได้หมายความว่าพวกเขาจะไม่เมากันนะ ถ้าสังเกตในช่วงกลางคืน เราจะเห็นคนอ้วกตามถนนหรือแม้แต่ในรถไฟใต้ดิน ซึ่งมันน่ากลัวนะ และอาจจะควบคุมตัวเองไม่ได้จนเป็นอันตรายได้ ถ้าได้ขึ้นรถไฟใต้ดินหรือรถบัสตอนดึกๆก็อาจจะได้กลิ่นโซจูจากคนบนรถ ซึ่งเป็นกลิ่นที่น่ารำคาญมากสำหรับใครหลายๆคน แต่ก็เป็นอะไรที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ในการใช้รถสาธารณะ และก็ไม่ใช่เรื่องแปลกอะไรที่คนมักจะไปสถานีตำรวจกันมากในช่วงวันศุกร์ถึงวันอาทิตย์ เมื่อคนเกาหลีปวดท้องจนต้องไปโรงพยาบาล หมอก็จะถามคำแรกเลยว่าดื่มเหล้ามากไปหรือเปล่า การดื่มเหล้าทำให้เกิดปัญหาสังคมมากมายในเกาหลี ที่หนักที่สุดเป็นเรื่องการ คนดังหลายๆคนก็สูญเสียหน้าที่การงานเพราะเมาแล้วขับ แต่เป็นเรื่องตลกร้ายที่บางครั้งเคสที่เมาแล้วขับกลับได้รับการลงโทษน้อยกว่าการดื่มจนเสียสติซะอีก วัฒนธรรมการดื่มที่กำลังเปลี่ยนไป มีหลายคนมองว่าการลงโทษในคดีเมาแล้วขับนั้นยังไม่เพียงพอ ศาลจึงเริ่มเปลี่ยนไปพิจารณาเป็นเรื่องอาชญากรรมที่เกิดจากการดื่มแอลกอฮล์แทน นอกจากนี้หลายๆคนก็เริ่มคิดว่าการดื่มจนเมาเป็นเรื่องที่ไม่คูลเอาซะเลย และหลายๆบริษัทก็เริ่มลดการออกไปกินเหล้าสังสรรค์ด้วยกัน การดื่มเหล้าเป็นเรื่องที่ดีถ้าอยากจะรู้สึกผ่อนคลายตราบที่ยังสามารถควบคุมตัวเองได้ แต่ถ้าควบคุมตัวเองไม่ได้ก็อาจจะเกิดปัญหาได้เลย เวลามาเที่ยวเกาหลีเราแนะนำให้คอยหลีกเลี่ยงคนเมาตามถนน และอย่าดื่มกันหนักจนมากเกินไปนะคะ~ โพสต์ที่น่าสนใจ...
4 years ago
161275DEPRECATED_EyeIcon
วัฒนธรรมองค์กรในเกาหลี
ผู้น้อยต้องเชื่อฟังผู้อาวุโสเท่านั้น ถึงจะทำให้ภารกิจการงานลุล่วงไปได้ด้วยดี 《Misaeng》 คนเกาหลีมักจะฝังหัวกับระบบ "ผู้อาวุโสเป็นใหญ่ ผู้น้อยต้องเชื่อฟัง" แบบสุด ๆ ถึงแม้ว่าทุกคนจะทำงานของตัวเองอย่างสุดกำลังและหาทางไต่เต้าไปสู่ตำแหน่งที่สูงขึ้น แต่ก็มีระบบอาวุโสที่ผู้น้อยต้องก้มหน้ารับฟังผู้มีอำนาจเหนือกว่าค่ะ การแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและการให้ฟีดแบ็คเป็นอะไรที่เกิดขึ้นได้ยากมาก เพื่อนของบก.เราคนหนึ่งเคยเจอสถานการณ์แบบนี้อยู่ค่ะ: พนักงานใหม่ A(นามสมมุติ) เพิ่งเริ่มเข้าทำงานในบริษัทอนุรักษ์นิยมแห่งหนึ่ง ในระหว่างการประชุม หัวหน้าทีมบอกกับ A ว่า "ถ้ามีอะไรไม่โอเค สามารถบอกได้เลยนะ" A ยิ้มและตอบว่า "ทุกอย่างโอเค" หัวหน้าทีมย้ำอีกครั้งว่า "ไม่เป็นไรจริง ๆ คว้าโอกาสนี้ไว้แล้วพูดออกมาได้เลย" A ยังคงยิ้มอยู่และตอบว่า "ทุกอย่างโอเคจริง ๆ" หัวหน้าทีมจึงบอกว่า "ไม่เป็นไรจริง ๆ นะ บอกมาได้เลย!" และถามคนอื่นในทีมว่า "พูดได้จริง ๆ ใช่มั้ยทุกคน?" ทุกคนในทีมก็พยักหน้าเห็นด้วยกันหมด ดังนั้น A จึงระบายออกไปอย่างหมดเปลือก บรรยากาศการประชุมมืดมิดราวกับมีเมฆครึ้มปกคลุมและหัวหน้าทีมก็ตัดบทจบการประชุมทันที หลังจากการประชุม หัวหน้าทีมก็พูดกับ A ว่า "นี่! เป็นเด็กสุด กล้าพูดสิ่งที่ไม่พอใจต่อหน้าผู้อาวุโสคนอื่นได้ยังไง? อยากจะทำอะไรกันแน่เนี่ย?" ถึงแม้ว่าจะเป็นเรื่องที่เพื่อน บก.ของเราเจอมาก็ตาม เมื่อลองถามเพื่อนคนอื่นในบริษัทใหญ่ดูก็เจอแบบเดียวกันหมดเลยค่ะ.. วัฒนธรรมองค์กรในเกาหลี 2. ใช้ระบบเหมือนค่ายทหาร 《Misaeng》 บริษัทในเกาหลีมักจะใช้ระบบเหมือนค่ายทหารกันค่ะ ในเกาหลีมีเว็บไซต์หนึ่งตั้งโพลถามว่า "ที่บริษัทใช้วัฒนธรรมของค่ายทหารมั้ย?" กว่า 72% เชื่อว่า บริษัทในเกาหลียังใช้ระบบวัฒนธรรมในกองทัพอยู่ค่ะ อีกคำถามหนึ่งถามว่า "รู้สึกตอนไหนที่ว่า บริษัทให้วัฒนธรรมแบบค่ายทหาร?" อันดับหนึ่งตอบว่า "บรรยากาศที่แสนกดดันที่ทำให้รู้สึกไม่ก้าวหน้า (15%)" และอันดับสองคือ "ตารางเวลาไม่สามารถปรับเปลี่ยนได้เพราะเจ้านายไม่ยอม หรือมีการตัดสินใจที่ทำให้ไม่สามารถเปลี่ยนแปลงได้ (12%)" ส่วนอันดับสาม (11%) นั้นคือ "เจ้านายไม่รับรู้ถึงชีวิตส่วนตัวของลูกน้อง" และ "การรายงานที่โหดร้ายและใช้อำนาจเกินไป" 《Misaeng》 สาเหตุที่บริษัทในเกาหลีใช้ระบบทหารในการบริหารงานในองค์กรเป้นเพราะว่า ตำแหน่งใหญ่ ๆ ส่วนมากเป็นผู้ชายและคิดว่า ระบบนี้จัดการง่ายและมีประสิทธิภาพ วัฒนธรรมองค์กรในเกาหลี 3. เลิกงานช้าแบบไม่มีที่สิ้นสุด 《Misaeng》 บริษัทเก่า ๆ ที่หัวโบราณมักจะให้พนักงานทำ OT และมาทำงานในวันหยุด ยิ่งไปกว่านั้น ถ้าบางคนไม่อยากทำงานล่วงเวลา บริษัทก็จะบอกว่า "ไม่อยากทำล่วงเวลาหรอ มีคนอีกมากมายอยากได้งานนี้นะ" ตอกกลับไปแบบนี้ เพื่อนของบก.เราคนหนึ่งทำงานที่บริษัทเริ่มงาน 9 โมงและเลิกงาน 6 โมงเย็น แต่เพื่อนโดนขอให้ไปทำงานตั้งแต่ 8 โมงเช้าและทำล่วงเวลาจนถึง 2 ทุ่ม แค่เพราะว่าเพื่อนคนนั้นไปถึงที่ทำงานตอน 8:30 น.ในวันแรก เธอเลยโดนหัวหน้าตำหนิว่า "เป็นพนักงานใหม่ทำไมมาทำงานตอน 8:30 น.?" จากนั้น เพื่อนเลยต้องมาทำงานตอน 8:00 น.ทุกวันค่ะ และบริษัทพวกนี้มักจะมีวัฒนธรรมแปลก ๆ คล้าย ๆ กัน เช่น พนักงานใหม่ต้องรอหัวหน้าทีม หัวหน้าแผนกและพนักงานอาวุโสคนอื่นกลับบ้านไปก่อน ถึงจะกลับบ้านได้ มีเพื่อนบางคนทำงานในบริษัทชั้นนำของเกาหลี เริ่มงานตอน 6:00 น.และเลิกงานตอนเที่ยงคืน ที่แย่ไปกว่านั้นคือ บริษัทพวกนี้มักไม่จ่ายเงินค่าทำงานล่วงเวลาให้และบอกในระหว่างการสัมภาษณ์งานเลยว่า ค่าทำงานล่วงเวลารวมอยู่ในรายได้ประจำปีแล้ว ที่มา:news1 ทำไมถึงเป็นแบบนี้นะ? นั่นเป็นเพราะว่า บริษัทเหล่านี้คิดว่า "ถึงไม่มีเธอ ก็มีอีกหลายคนอยากมาทำตำแหน่งนี้" ทำให้คิดว่าสามารถบีบพนักงานได้นั่นเอง ถ้าพนักงานแจ้งไปยังบริษัทว่า เงินเดือนน้อยเกินไปหรืองานหนักเกินไป บริษัทส่วนใหญ่มักจะบอกว่า "งั้นก็ลาออกไปซะสิ" วัฒนธรรมองค์กรในเกาหลี 4. อัตราส่วนของผู้ชายและผู้หญิงในองค์กร ที่มา:JOBKOREA ผู้หญิงหลายคนโดนเลือกปฏิบัติเมื่อเข้าทำงาน จริง ๆ แล้วสถานการณ์แบบนี้ยังเกิดขึ้นในหลายบริษัทของเกาหลี JOB KOREA ได้ทำแบบสำรวจขึ้นมาและพบว่า 4 ใน 10 ของบริษัททั้งหมดต้องการพนักงานชายมากกว่า สาเหตุแรกคือ "การตั้งท้อง การมีลูกและการดูแลเด็กจะกลายเป็นปัญหาในภายหลัง" ซึ่งมีคนตอบสาเหตุนี้กว่า 62.5% (ละทำมาบ่นว่าอัตราการเกิดลดลง ) นอกจากนี้ จากผลรายงานการขายของบริษัทระบุว่า ใน 20 บริษัทชั้นนำของเกาหลี เงินเดือนของพนักงานชายสูงกว่าพนักงานหญิงถึง 50% ที่มา:YTN วัฒนธรรมองค์กรในเกาหลี 5. เกาหลีกำลังเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้นหรือไม่? เมื่อไม่นานมานี้ บริษัทใหม่ ๆ และสตาร์ทอัพเริ่มตระหนักแล้วว่า วัฒนธรรมองค์แบบนั้นแย่มาก ๆ ดังนั้น บริษัทเหล่านี้จึงเริ่มเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมองค์กรให้ดีขึ้นและมีชีวิตชีวามากขึ้น บริษัท Creatrip ของเราก็เป็นอีกหนึ่งแห่งที่มีวัฒนธรรมองค์กรที่ดีค่ะ ในการที่จะช่วยให้พนักงานมีความคิดสร้างสรรค์และทำงานได้อย่างเต็มที่ จำเป็นจะต้องมีสภาพแวดล้อมการทำงานที่ดี ดังนั้น หลายบริษัทจึงเริ่มเปลี่ยนแปลงด้วยการให้เวลาทำงานที่ยืดหยุ่น ลดการกินเลี้ยงมื้อเย็นและเพิ่มสัดส่วนของพนักงานหญิงให้มากขึ้นเพื่อให้พนักงานทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพค่ะ 《Misaeng》 ถึงแม้ว่าบางบริษัทจะยังคงใช้วัฒนธรรมองค์กรแบบเดิม ๆ ที่เคร่งครัดในระบบอาวุโส แต่เราเชื่อว่า ในท้ายที่สุดแล้ว บริษัทเหล่านี้จะเปลี่ยนแปลงในไม่ช้าค่ะ วัฒนธรรมองค์กรที่แย่ ๆ อาจะไม่สามารถเปลี่ยนได้ในชั่วข้ามคืน ยังมีบริษัทอีกไม่น้อยที่ยังคงระบบแบบนี้ไว้อยู่ แต่เราเชื่อว่า สักวันหนึ่ง ระบบที่ทำให้ประสิทธิภาพในการทำงานถดถอยแบบนี้จะหายไปค่ะ ไว้เจอกันใหม่บล็อกหน้านะคะ บ๊ายบายค่ะ~ โพสต์ที่น่าสนใจ ...
a year ago
86963DEPRECATED_EyeIcon
50 อันดับอาชีพรายได้สูงในเกาหลี
92.01 ล้านวอน ในบรรดาอาชีพเงินเดือนสูง 10 อันดับแรกในเกาหลี ผู้บริหารองค์กรในที่นี้หมายถึงผู้บริหารระดับสูงในบริษัทขนาดใหญ่หรือตามบริษัทต่างๆ รวมถึงผู้ที่มีประสบการณ์ยาวนานในตำแหน่งระดับบริหาร ส่วนอาชีพกัปตันเป็นอันดับสาม ซึ่งแน่นอนว่าเป็นอาชีพที่มีความเสี่ยงจึงได้รับค่าตอบแทนสูงไม่ว่าจะในประเทศใดก็ตาม ส่วนแพทย์ นักบินและข้าราชการระดับสูงก็เป็นอาชีพเหมืองเงินเหมืองทองของคนเกาหลีเช่นกัน จึงไม่แปลกใจว่าการแข่งขันในสายอาชีพเหล่านี้จะสูงมากๆ จัดอันดับอาชีพรายได้สูงในเกาหลีใต้ อันดับ 11 ~ 20 อาชีพที่มีรายได้สูงในเกาหลีใต้ หมายเหตุ: ค่าเฉลี่ยเงินเดือนต่อปีของอาชีพ (50%) อาชีพเงินเดือนเฉลี่ยต่อปี การจัดการด้านการเงิน 89.39 ล้านวอน รังสีแพทย์ 88.53 ล้านวอน อธิการบดีมหาวิทยาลัย / คณบดี 88.52 ล้านวอน นักจิตวิทยา 87.83 ล้านวอน แพทย์หูคอจมูก 87.7 ล้านวอน ศัลยแพทย์ตกแต่ง 87.23 ล้านวอน การจัดการด้านการวิจัยตลาด 87.15 ล้านวอน อาจารย์ด้านมนุษยศาสตร์ 86.22 ล้านวอน ทนายความ 85.53 ล้านวอน อาจารย์ด้านวิทยาศาสตร์ธรรมชาติ 83.48 ล้านวอน ไม่น่าแปลกใจที่อาชีพแพทย์ติดอันดับมากกว่าครึ่งหนึ่งในนี้ นอกจากอาชีพด้านการจัดการหรือการศึกษาแล้ว ทนายความยังเป็นอาชีพที่คนเกาหลีหลายคนใฝ่ฝัน ถึงแม้ตำแหน่งอาวุโสและประสบการณ์จะสำคัญ แต่ถ้าได้เป็นทนายความและได้ทำงานตามบริษัท เงินเดือนเริ่มต้นอาจใกล้เคียงกับหรือมากกว่าค่าเฉลี่ยเงินเดือนระดับEntry Levelของบริษัทขนาดใหญ่เลยก็ว่าได้ จัดอันดับอาชีพรายได้สูงในเกาหลีใต้ อันดับ 21 ~ 30 อาชีพที่มีรายได้สูงในเกาหลีใต้ หมายเหตุ: ค่าเฉลี่ยเงินเดือนต่อปีของอาชีพ (50%) อาชีพเงินเดือนเฉลี่ยต่อปี แพทย์ประจำบ้าน 82.94 ล้านวอน อาจารย์ด้านศึกษาศาสตร์ 81.55 ล้านวอน แพทย์ทั่วไป 81 ล้านวอน อาจารย์แพทย์ 80.17 ล้านวอน ผู้พิภากษา 79.67 ล้านวอน กุมารแพทย์ 79.62 ล้านวอน นักบัญชี 78.39 ล้านวอน อาจารย์ด้านวิศวกรรมศาสตร์ 78.35 ล้านวอน สูตินรีแพทย์ 77.57 ล้านวอน วิสัญญีแพทย์ 76.61 ล้านวอน อาชีพแพทย์ยังคงครองอันดับสูง แต่ที่พิเศษกว่านั้นคือเงินเดือนเฉลี่ยต่อปีของผู้พิพากษาเกาหลีนั้นต่ำกว่าทนายความ นอกจากนี้นักบัญชีก็คล้ายกับทนายความที่เงินเดือนเริ่มต้นค่อนข้างดีหากได้รับการยอมรับและได้ทำงานตามบริษัท จัดอันดับอาชีพรายได้สูงในเกาหลีใต้ อันดับ 31 ~ 40 อาชีพที่มีรายได้สูงในเกาหลีใต้ หมายเหตุ: ค่าเฉลี่ยเงินเดือนต่อปีของอาชีพ (50%) อาชีพเงินเดือนเฉลี่ยต่อปี นักบินเฮลิคอปเตอร์ 76.53 ล้านวอน อาจารย์ด้านสังคมวิทยา 75.44 ล้านวอน แพทย์ระบบทางเดินปัสสาวะ 74.59 ล้านวอน ครูใหญ่โรงเรียนมัธยมต้น / รองครูใหญ่ 72.38 ล้านวอน นักวิจัยด้านปรัชญา 72.13 ล้านวอน อาจารย์ด้านศิลปะและการกีฬา 72.09 ล้านวอน นักกีฬามืออาชีพ 70.71 ล้านวอน เทรดเดอร์ Forex 69.7 ล้านวอน บริหารราชการ 69.52 ล้านวอน เภสัชกร 69.11 ล้านวอน อาชีพเริ่มมีหลากหลายมากขึ้นในอันดับช่วงนี้ เช่น นักวิจัย, อาจารย์หรือนักกีฬา ทั้งหมดอยู่ในการจัดอันดับ แต่อย่างไรก็ตามเงินเดือนของนักกีฬาค่อนข้างไม่ชัดเจน ในที่นี้หมายถึงนักกีฬาระดับมืออาชีพ ซึ่งพวกเขาจะได้รับเงินเดือนประจำ(และโบนัสตามการแข่งขัน) จัดอันดับอาชีพรายได้สูงในเกาหลีใต้ อันดับ 31 ~ 40 อาชีพที่มีรายได้สูงในเกาหลีใต้ หมายเหตุ: ค่าเฉลี่ยเงินเดือนต่อปีของอาชีพ (50%) อาชีพเงินเดือนเฉลี่ยต่อปีแพทย์ผิวหนัง68.84 ล้านวอนรัฐบาลหรือฝ่ายบริหาร68.75 ล้านวอนเจ้าหน้าที่รัฐ68.63 ล้านวอน นักเทรดสินทรัพย์ทางการเงิน 68.17 ล้านวอน นักพัฒนาผลิตภัณฑ์ทางการเงิน 68.17 ล้านวอน ธุรการและการบริหารงานบุคคล 67.64 ล้านวอน ครูใหญ่โรงเรียนประถม / รองครูใหญ่ 67.27 ล้านวอน นักนโยบายของรัฐ 67.08 ล้านวอน ผู้กำกับภาพยนตร์ 66.61 ล้านวอน วางแผนและการจัดการโฆษณา 66.19 ล้านวอน ทหารก็ติดหนึ่งใน 50 อันดับแรกของเกาหลีเช่นกัน ส่วนผู้กำกับภาพยนตร์ในที่นี้หมายถึงผู้กำกับของบริษัทโปรดัคชั่นที่มีการเซ็นสัญญาแบบแน่นอน ซึ่งจะเห็นได้ว่าอาชีพที่เกี่ยวข้องกับศิลปะและวัฒนธรรมเองก็มีหลายอาชีพที่ติดอันดับ 50 อันดับแรกของอาชีพรายได้สูงเกาหลีค่ะ ถึงแม้ว่าในความจริงจะไม่มีอาชีพไหนที่สูงหรือต่ำ แต่เงินเดือนเริ่มต้นของอาชีพเหล่านี้ก็นับว่าเกินเอื้อมสำหรับคนจำนวนมาก แล้วทุกคนรู้จักเพื่อนเกาหลีที่อาชีพตามนี้กันมั้ยคะ? คิดว่าก่อนที่พวกเขาคงมาถึงจุดนี้ได้คงต้องเหนื่อยมากไม่ใช่น้อยเลย ถ้าหากมีคำถามเพิ่มเติม สามารถเขียนคอมเมนท์ด้านล่างนี้ได้เลย หรือส่งอีเมล์มาหาเราได้ที่ help@creatrip.com เดี๋ยวเราจะรีบตอบกลับให้เร็วที่สุดค่ะ แล้วเจอกันใหม่โพสต์หน้าค่ะ! โพสต์ที่น่าสนใจ ...
4 years ago
1349096DEPRECATED_EyeIcon
50 อันดับอาชีพรายได้น้อยในเกาหลี
(ประมาณ 417,000 บาท) นักเขียนนิยาย 15.86 ล้านวอน (ประมาณ 428,000 บาท) นักทำสถิติ / ทำสำรวจ 15.98 ล้านวอน (ประมาณ 431,000 บาท) จากการสำรวจนักกวีเป็นอาชีพที่ได้รับค่าตอบแทนต่ำที่สุด นอกจากนี้นักบวชและอาชีพที่ทำงานด้านศาสนาส่วนใหญ่ไม่มีรายได้สูงนัก ส่วนนักแสดงละครเวทีและละครเพลงในเกาหลีมักจะต้องทำงานพาร์ทไทม์ควบคู่กันไปด้วยเพื่อสนับสนุนความฝันของตัวเอง อาชีพที่มีรายได้ต่ำที่สุดในเกาหลี: อันดับที่ 11 - 20 อาชีพ เงินเดือนเฉลี่ย / ปี นักประชาสัมพันธ์ด้านสิ่งแวดล้อม 16.36 ล้านวอน (ประมาณ 442,000 บาท) ผู้ช่วย 16.49 ล้านวอน (ประมาณ 445,000 บาท) งานด้านพระพุทธศาสนา 16.80 ล้านวอน (ประมาณ 454,000 บาท) ผู้ช่วยสำนักงาน 17.32 ล้านวอน (ประมาณ 468,000 บาท) ยาม 17.42 ล้านวอน (ประมาณ 470,000 บาท) ผู้ช่วยนักแสดง 17.49 ล้านวอน (ประมาณ 472,000 บาท) พนักงานปั๊มน้ำมัน 17.50 ล้านวอน (ประมาณ 473,000 บาท) ผู้ช่วยในมหาวิทยาลัย 18.32 ล้านวอน (ประมาณ 495,000 บาท) พระ 18.54 ล้านวอน (ประมาณ 501,000 บาท) พนักงานประจำร้านที่เคาน์เตอร์ / พนักงานขายมือถือ 18.73 ล้านวอน (ประมาณ 506,000 บาท) อาชีพรปภ.และพนักงานปั๊มน้ำมันถือเป็นอาชีพที่มีรายได้น้อย สำหรับอาชีพพนักงานหน้าเคาน์เตอร์หรือพนักงานขายมือถือนั้นมีช่องว่างของรายได้ค่อนข้างมาก ซึ่งรายงานบอกว่าผู้มีรายได้ต่ำสุดได้รายได้ต่อปีอยู่ที่ 13 ล้านวอน (3แสนบาท) และสูงสุดคือ 24 ล้านวอน (6แสนบาท) อาชีพที่มีรายได้ต่ำที่สุดในเกาหลี: อันดับ 21 - 30 อาชีพ เงินเดือนเฉลี่ย / ปี เจ้าหน้าที่ตรวจตั๋ว 18.86 ล้านวอน (ประมาณ 509,000 บาท) พนักงานทำความสะอาด 19.58 ล้านวอน (ประมาณ 529,000 บาท) พนักงานลานจอดรถ 19.61 ล้านวอน (ประมาณ 530,000 บาท) พยาบาล 19.65 ล้านวอน (ประมาณ 531,000 บาท) พนักงานนวด 19.69 ล้านวอน (ประมาณ 532,000 บาท) ผู้กำกับละคร 19.97 ล้านวอน (ประมาณ 539,000 บาท) นักร้อง 20.63 ล้านวอน (ประมาณ 557,000 บาท) เจ้าหน้าที่ลูกค้าสัมพันธ์ 20.66 ล้านวอน (ประมาณ 558,000 บาท) พนักงานจัดร้าน 20.86 ล้านวอน (ประมาณ 563,000 บาท) ผู้ให้คำปรึกษาด้านอาชีพ 21.04 ล้านวอน (ประมาณ 568,000 บาท) ในบรรดาอาชีพที่มีรายได้ต่ำ 21 ถึง 30 อันดับแรก อาชีพนักร้องอยู่ในช่วงอันดับนี้ ไม่ใช่เรื่องแปลกที่วัยรุ่นเกาหลีจำนวนมากมีความฝันในการเป็นนักร้องและถูกต่อต้านจากครอบครัวเพราะถ้าพวกเขาไม่ประสบความสำเร็จจริงๆก็จะไม่มีทางหาเงินได้เพียงพอที่จะเลี้ยงดูชีวิตของตัวเอง อาชีพที่มีรายได้ต่ำที่สุดในเกาหลี: อันดับ 31 - 40 อาชีพเงินเดือนเฉลี่ย / ปี อาจารย์มหาวิทยาลัยแบบพาร์ทไทม์ 21.04 ล้านวอน (ประมาณ 568,000 บาท) คนขายตั๋ว / พนักงานขายลอตเตอรี่ 21.64 ล้านวอน (ประมาณ 584,000 บาท) ชาวประมง / นักดำน้ำ 21.83 ล้านวอน (ประมาณ 590,000 บาท) ติวเตอร์ 21.96 ล้านวอน (ประมาณ 593,000 บาท) พนักงานต้อนรับ 21.98 ล้านวอน (ประมาณ 594,000 บาท) นักสวัสดิการสังคม 22.18 ล้านวอน (ประมาณ 599,000 บาท) แคชเชียร์ 22.30 ล้านวอน (ประมาณ 602,000 บาท) ผู้ช่วยในครัว 22.46 ล้านวอน (ประมาณ 607,000 บาท) พนักงานส่งของ 22.56 ล้านวอน (ประมาณ 609,000 บาท) พนักงานทำความสะอาดบ้าน 22.60 ล้านวอน (ประมาณ 610,000 บาท) ผลการสำรวจอาจารย์ของมหาวิทยาลัยค่อนข้างน่าสนใจเพราะในบรรดาผู้ให้สัมภาษณ์ 30 คนบางคนบอกว่าพวกเขามีรายได้ต่อปีเพียง 10 ล้านวอน (2แสนบาท) แต่บางคนก็บอกว่ามีรายได้ต่อปีสูงถึง 32 ล้านวอน (8แสนบาท) เงินเดือนของพนักงานต้อนรับ, ผู้ช่วยในครัวและพนักงานทำความสะอาดบ้านก็แตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับประสบการณ์หรือสถานที่ทำงาน เช่น แผนกต้อนรับของโรงแรมที่มีชื่อเสียงจะมีรายได้สูงกว่า อาชีพที่มีรายได้ต่ำที่สุดในเกาหลี: อันดับที่ 41 - 50 อาชีพ เงินเดือนเฉลี่ย / ปี พนักงานบรรจุของ 22.73 ล้านวอน (ประมาณ 614,000 บาท) ช่างฝีมือ 22.82 ล้านวอน (ประมาณ 616,000 บาท) นักประดิษฐ์ตัวอักษร 22.82 ล้านวอน (ประมาณ 616,000 บาท) ช่างตัดขนสัตว์เลี้ยง 23.02 ล้านวอน (ประมาณ 622,000 บาท)ช่างตัดเสื้อ23.16 ล้านวอน (ประมาณ 626,000 บาท) นักออกแบบเครื่องประดับ 23.23 ล้านวอน (ประมาณ 627,000 บาท) ช่างซ่อม / ทำความสะอาดรองเท้าหนัง 23.23 ล้านวอน (ประมาณ 627,000) นักบำบัดสำหรับคนพิการ 23.37 ล้านวอน (ประมาณ 631,000 บาท) นักศิลปะบำบัด 23.39 ล้านวอน (ประมาณ 632,000 บาท) ช่างแต่งหน้า 23.45 ล้านวอน (ประมาณ 633,000 บาท) แม้ว่าเงินเดือนนี้อาจจะสูงเมื่อเทียบกับเงินเดือนที่ประเทศไทย แต่ในเกาหลีด้วยมาตรฐานค่าครองชีพที่แพงนี่จึงไม่ใช่เงินเดือนที่สูงเลย นอกจากนี้ความเหลื่อมล้ำในรายได้และความกดดันในชีวิตทำให้คนเกาหลีหลายคนเครียดและตกอยู่ในภาวะซึมเศร้าด้วยค่ะ และนี่ก็คือคืออาชีพที่ได้รับค่าตอบแทนต่ำที่สุด 50 อันดับแรกในเกาหลีค่ะ แล้วเพื่อนๆล่ะคะคิดอย่างไรเกี่ยวกับการจัดอันดับนี้? ถ้าหากมีคำถามเพิ่มเติม สามารถเขียนคอมเมนท์ด้านล่างนี้ได้เลย หรือส่งอีเมล์มาหาเราได้ที่ help@creatrip.com เดี๋ยวเราจะรีบตอบกลับให้เร็วที่สุดค่ะ แล้วเจอกันใหม่โพสต์หน้าค่ะ! ...
3 years ago
202467DEPRECATED_EyeIcon
พาไปชิมอาหารจากโรงอาหารของค่ายเพลงดังในเกาหลี
เหตุผลหลักเพราะใช้วัตถุดิบออร์แกนิกทั้งหมด ทั้งยังว่ากันว่าอร่อยมากอีกด้วย! แม้แต่ในรายการ "Bob Bless You" เมื่อ 'ลียองจา' คนดังที่มีชื่อเสียงในเรื่องการทานอาหารอร่อย ๆ มาเยี่ยมชมโรงอาหารแห่งนี้ เธอก็ต้องประทับใจในความหลากหลายและอาหารที่มีรสชาติอร่อยอย่างบุฟเฟ่ต์อาหารออร์แกนิก ! นอกจากนี้การตกแต่งภายในที่สวยงามยังชวนให้นึกถึงร้านอาหารระดับไฮเอนด์ที่แสนหรูหราอีกด้วย อาหารก็อร่อย การตกแต่งภายในก็สวยงาม แล้วแบบนี้ศิลปินจะไปกินอาหารข้างนอกได้ยังไงกัน! 2. YG ⎜อาหารสำหรับนักชิม โรงอาหารของ YG นั้นมีข่าวลือว่าอร่อยมาก ๆ มีคนดังมากมายที่อยากจะไปเยี่ยมศิลปินจาก YG เพื่อไปลองชิมอาหารในโรงอาหาร! ความอร่อยของอาหารจากโรงอาหารของ YG เต็มไปด้วยประจักษ์พยานจากศิลปิน YG มากมาย เช่น GD, WINNER และ BLACKPINK รวมถึงพนักงานก็ยกนิ้วโป้งกดไลค์เช่นกัน! ในตอนจบของรายการ 'จงยองฮัน' ที่ไปเยี่ยมโรงอาหาร YG กับ GD นั้นได้แต่ชื่นชมว่าอาหารอร่อยมากไม่หยุด จากนั้นเหล่าพิธีกรในรายการที่ไม่ได้มาด้วยก็ได้แต่เก็บการมากินอาหารที่ YG ไว้เป็น bucket list หรือสิ่งที่ต้องทำในชีวิตนั่นเอง! นอกจากนี้สมาชิกของ BLACKPINK ที่ปรากฏตัวทางวิทยุในปี 2017 ก็ได้กล่าวชื่นชมคุณป้าที่ดูแลโรงอาหารของ YG พวกเธอรักอาหารในโรงอาหารสุด ๆ ทั้งชมว่าอร่อยและบางครั้งยังห่อกลับไปกินที่บ้านอีกด้วย! เมื่อปี 2020 YG ได้ย้ายตึกใหม่ที่ยิ่งใหญ่และอลังการมากกว่าเดิม แถมยังสร้างชั้น 2 เป็นโซนอาหารทั้งหมด ซึ่งมีพื้นที่กว้างมากๆ อิจฉาพนักงานและศิลปินของ YG มากเลยค่ะ ล่าสุดได้พาทุกคนไปกินข้าวที่โรงอาหารของ YG ซึ่งหน้าตาอาหารก็ดูดีและจัดเต็มมากๆ ไม่เสียชื่อโรงอาหาร YG จริงๆค่ะ 3. SM ⎜ร้านอาหารที่แฟนคลับก็มาทานด้วยกันได้ SUM Cafe ตั้งอยู่ที่ชั้น 1 ในอาคารสำนักงานของ SM, SUM Cafe มีชื่อเสียงมากในฐานะร้านอาหารสุดอร่อยในย่านชองดัม นอกจากนี้ยังเป็นสถานที่ที่พนักงานและศิลปินตลอดจนแฟนคลับและคนทั่วไปสามารถมาเยี่ยมชมและรับประทานอาหารได้อีกด้วย และแม้ SM จะไม่มีโรงอาหาร แต่เหล่าพนักงานก็ได้รับส่วนลด 50% เมื่อมาทานอาหารที่ SUM Cafe ในฐานะร้านอาหารที่เปิดให้คนทั่วไปเข้ามารับประทานได้ ที่นี่มีเมนูหลากหลายและการตกแต่งภายในก็เป็นสีชมพูแสนน่ารัก! เมื่อลองค้นหา SUM Cafe บนอินสตาแกรมจะสามารถเห็นรูปถ่ายของอาหารอร่อย ๆ ที่ได้รับการยอมรับจากผู้คนมากมายที่มาทานอาหารที่นี่ โดยเฉพาะใครที่เป็นแฟนคลับของศิลปินจาก SM หากมีโอกาสมาลองทานอาหารที่นี่จะเป็นอะไรที่ยอดเยี่ยมมาก ๆ! เพราะนอกจากอาหารและเครื่องดื่มแล้ว ยังมีร้านขายสินค้าเกี่ยวกับศิลปินอีกด้วย และไม่แน่ว่าอาจจะได้เจอกับไอดอลที่ลงมาซื้อเครื่องดื่มด้วยตัวเอง! 4. HYBE ⎜โรงอาหารระดับ TOP ที่ทุกคนต้องตกใจ ก่อนหน้านี้ศิลปินของ HYBE น่าสงสารมากเพราะที่บริษัทไม่มีโรงอาหาร แต่เมื่อเดือนมกราคมปี 2021 ทางค่าย HYBE ได้ย้ายตึกใหม่ไปที่ย่านยงซาน และแน่นอนว่าคราวนี้มีการสร้างโรงอาหารแล้วค่ะ ! ตอนนี้กำลังเป็นที่ฮือฮาบนโลกโซเชียลมากๆหลังจากที่มีคนโพสต์รูปของอาหารจากโรงอาหาร HYBE ที่ดูอลังการมาก เหมือนกับอาหารจากภัตคารหรือร้านอาหารทั่วไปเลยค่ะ ความพิเศษมากกว่านั้นคือทาง HYBE จะมีการเปลี่ยนเมนูอาหารใหม่ๆทุกวันเพื่อพนักงาน แถมมีอาหารหลากหลายทั้งอาหารจีน ญี่ปุ่น ตะวันตก และอาหารฟิวชั่นค่ะ อีกอย่างที่น่าตกใจมากๆคือ เชื่อหรือไม่ว่าอาหารพวกนี้ราคาเพียง 2,000 วอนเท่านั้นค่ะ!!! การหาอาหารราคา 2,000 วอนแทบเป็นเรื่องที่เป็นไปไม่ได้ ถ้ามีก็คงเป็นแซนวิชหรือข้าวปั้นจากร้านสะดวกซื้อค่ะ เห็นแบบนี้แล้วเราอิจฉาศิลปินและพนักงานของ HYBE เลยค่ะ ล่าสุดพัค จุนฮยองช่องยูทูป กับ TXT ได้พาไปชมร้านอาหารของ HYBE เป็นครั้งแรกค่ะ จะเห็นได้ว่านอกจากอาหารหน้าตาเริ่ดหรูแล้วยังมีพื้นที่กว้างมากๆด้วยค่ะ มากไปกว่านั้นเพราะโรงอาหารอยู่บนชั้นที่สูงมากๆ ทำให้เห็นวิวของแม่น้ำฮันอีกด้วย ถ้าได้กินข้าวอร่อยๆแถมได้ชมวิวแม่น้ำฮันแบบนี้ทุกวันจะดีแค่ไหนนะ? พนักงานของ HYBE บอกว่าต้องขอบคุณโรงอาหารอร่อยๆแบบนี้ ที่ทำให้พวกเขาประหยัดเงินได้เยอะเลยค่ะ 5. Feel GHood Music ⎜ต้นทุนอาหารมื้อละ 13,000 วอน? Feel GHood Music เป็นบริษัทบันเทิงที่ดำเนินการโดย JK Tiger ศิลปินฮิปฮอปรุ่นแรกในเกาหลี มีศิลปินที่โด่งดังมากมาย เช่น Yoonmirae, Bizzy, และ BIBI แม้จะไม่ใช่ค่ายเพลงที่ใหญ่ยักษ์ แต่ก็ให้สวัสดิการกับเหล่าศิลปินและพนักงานในบริษัทเป็นอย่างดี ในขณะที่บริษัทต่าง ๆ ในเกาหลีโดยเฉลี่ยแล้วมีค่าใช้จ่ายประมาณ 7,000 วอนสำหรับอาหารหนึ่งมื้อ แต่อาหารที่นี่มีราคาถึง 13,000 วอน (หมายถึงต้นทุนของอาหาร ไม่ใช่ราคาอาหารที่ขายให้พนักงาน) เป็นเพราะในอดีตนั้น JK Tiger ยากจนและมีประสบการณ์มากมายที่ไม่ดีเกี่ยวกับอาหารพนักงานของบริษัทที่เขาเคยสังกัดอยู่ เขาจึงทุ่มเทกับมื้ออาหารให้เหล่าศิลปินและพนักงานอย่างเต็มที่ เป็นยังไงกันบ้างคะกับอาหารในโรงอาหารของค่ายเพลงต่าง ๆ ในเกาหลี? เห็นอาหารแต่ละอย่างที่ไอดอลได้ทานแล้วก็อิจฉาสุด ๆ! ทั้งอาหารหน้าตาน่าทานและดีต่อสุขภาพ แถมยังรสชาติอร่อยสุด ๆ อีกด้วย! ✨Creatrip Instagram ...
3 years ago
129490DEPRECATED_EyeIcon
คำบอกเล่าจากพนักงานของค่ายเพลงในเกาหลี
ก็ถือว่าไม่เลวเลยใช่มั้ยละคะ? ดังนั้นด้วยจุดแข็งส่วนใหญ่ของ HYBE จึงได้รับการประเมินอย่างสูงในฐานะบริษัทที่กำลังเติบโตค่ะ นอกจากนี้สวัสดิการภายในบริษัทยังค่อนข้างดีเมื่อเทียบกับบริษัทบันเทิงอื่น ๆ และบรรยากาศก็ดูสบาย ๆ เป็นกันเองกว่าด้วย อย่างไรก็ตามข้อบกพร่องของ HYBE ก็มีเช่นกันค่ะ ประการแรกคือไม่มีความสมดุลในชีวิตการทำงานเลย และแม้ว่าบริษัทจะพยายามพัฒนาวัฒนธรรมองค์กรให้เป็นการตัดสินใจในแนวราบ แต่ก็สามารถเห็นได้ว่างานส่วนใหญ่ก็จะเสร็จสิ้นภายใต้การตัดสินใจของคนระดับสูงเท่านั้นค่ะ 2. YG YG ขึ้นสู่การเป็นค่ายเพลงอันดับต้น ๆ ของเกาหลีโดย Big Bang และ 2NE1 เมื่อ 10 ปีที่แล้วค่ะ ในปัจจุบันมีศิลปินที่มีชื่อเสียงมากมาย เช่น BLACKPINK, TREASURE, iKON และ WINNER * วันที่ก่อตั้ง: 1996.05.20 * จำนวนพนักงาน: 315 คน * ยอดขาย: 285.8 พันล้านวอน * ประเภทธุรกิจ: บริษัทขนาดกลาง * รายได้ต่อปี: 28.2 ล้านวอน (โดยเฉลี่ยของผู้สำเร็จการศึกษาจากมหาวิทยาลัย), 31.79 ล้านวอน (โดยเฉลี่ยของพนักงานทั้งหมด) แล้ว YG จะได้รับการประเมินโดยพนักงานในอดีตและปัจจุบันอย่างไรบ้างนะ? สถิติรีวิวโดยรวมของ YG เขียนโดยคนทั้งหมด 257 คนและได้รับคะแนน 2.3/5ค่ะ * สวัสดิการและเงินเดือน: 2.2/5 * สมดุลชีวิตในการทำงาน: 2.1/5 * วัฒนธรรมภายใน: 2.3/5 * โอกาสและความเป็นไปได้ในการเติบโต: 2.5/5 * การจัดการภายใน: 1.9/5 จากบทวิจารณ์ของพนักงานในอดีตและปัจจุบันของ YG อัตราการแนะนำองค์กรของ YG อยู่ที่ 23%, อัตราการอนุมัติของ CEO ที่ 25%, และศักยภาพในการเติบโตอยู่ที่ 19% ค่ะ หัวข้อ: บริษัทที่ดำรงชีวิตอยู่ด้วยชื่อเสียงมหาศาลในวงการบันเทิง ข้อดี * สามารถอวดคนอื่น ๆ ได้ว่าทำงานที่ YG ข้อเสีย * ต้องทำงานล่วงเวลาแต่ได้เงินเดือนที่ต่ำ * พวกผู้บริหารที่เอาแต่รับเงินเดือนสูง ๆ มีจำนวนมาก หัวข้อ: อาศัยชื่อเสียงในจากอดีต มีภาพลักษณ์ของบริษัทที่ดูดีแค่ผิวเผินเท่านั้น ข้อดี * อาคารสำนักงานใหม่เจ๋งจริง รู้สึกเหมือนทำงานในบริษัทขนาดใหญ่ * มีมื้อกลางวันและมื้อเย็น ข้อเสีย * พนักงานเก่า ๆ ที่ไม่พัฒนามีจำนวนมากเกินไป * แม้ว่าจะไม่ได้ทำงานหนัก แต่ก็สามารถอยู่ในบริษัทได้อย่างง่ายดายถ้าประจบคนที่มีตำแหน่งสูง ๆ เอาไว้ หัวข้อ: เป็นบริษัทที่มีชื่อเสียง แต่ไม่มีประวัติการทำงาน ข้อดี * วัฒนธรรมองค์กรที่เต็มไปด้วยคนรุ่นใหม่ * งานอีเว้นท์สำหรับพนักงานใหม่ ข้อเสีย * เห็นได้ชัดว่าเป็นองค์กรที่มีคนรุ่นใหม่เยอะ แต่ก็ยังมีวัฒนธรรมแบบทหารอยู่ (วัฒนธรรมแบบลำดับชั้น) * มีบรรยากาศที่กดดันและกดขี่อย่างน่าประหลาดอยู่ทุกหนทุกแห่ง * ไม่สามารถระบุได้ว่าอะไรถูกหรือผิดระหว่างการทำงาน * ไม่สนใจพนักงาน ดังนั้นจึงมีคนจำนวนมากที่ลาออกและเข้ามาใหม่เป็นว่าเล่น * เนื่องจากภาระงานที่หนัก ทำให้บุคลิกภาพและสุขภาพแย่ลง YG เพิ่งย้ายสำนักงานไปที่ Hapjeong-dong ค่ะ ซึ่งอาคารสำนักงานก็มีขนาดใหญ่และมีชื่อเสียงในด้านสิ่งอำนวยความสะดวกที่ดี และสิ่งที่โด่งดังที่สุดก็คือโรงอาหารของ YG นั่นเองค่ะ จะเห็นได้ว่าพนักงานทั้งในอดีตและปัจจุบันหลาย ๆ คนให้คะแนนอาหารที่โรงอาหารของ YG ไว้ดีมาก ๆ เลยล่ะค่ะ นอกจากนี้ เนื่องจาก YG เป็นบริษัทบันเทิงที่ดีที่สุดในเกาหลีมาเกือบ 20 ปีแล้ว จึงมีบทวิจารณ์มากมายที่ชื่นชมคุณค่าของ YG เป็นอย่างมาก ศิลปินส่วนใหญ่ที่เดบิวต์ออกมาก็จะติดอันดับต้น ๆ ในวงการบันเทิง และคนทั่วไปส่วนใหญ่ก็รู้จัก YG ด้วยค่ะ อย่างไรก็ตามข้อบกพร่องของ YG ก็เห็นได้ชัดเจนเช่นกัน จะเห็นได้ว่า YG นั้นไม่มีความสมดุลระหว่างการทำงานและการใช้ชีวิต ไม่ต่างจาก HYBE เลยค่ะ นอกจากนี้บทวิจารณ์จำนวนมากยังกล่าวถึงวัฒนธรรมองค์กรแบบแนวตั้งว่าเป็นข้อเสียด้วย บ่อยครั้งที่บริษัทบันเทิงรวมถึงศิลปินได้รับการชื่นชม แต่พนักงานผู้ที่ทุ่มเททั้งแรงกายและแรงใจ รวมไปถึงความพยายามในการทำงานและซัพพอร์ตศิลปินกลับถูกบดบังหรือไม่มีผู้ให้คุณค่ามากนัก เนื่องจากบริษัทบันเทิงส่วนมากหมุนรอบศิลปินและศิลปินถือว่ามีความสำคัญมากที่สุด ส่วนพนักงานเปรียบเสมือนส่วนหนึ่งของบริษัทเท่านั้น 3. SM SM Entertainment เป็นผู้นำวัฒนธรรมในการฟื้นฟูวงการ K-POP และไอดอลเป็นครั้งแรกในเกาหลีค่ะ และตอนนี้ก็มีศิลปินที่มีชื่อเสียงมากมาย * วันที่ก่อตั้ง: 1995.02.14 * จำนวนพนักงาน: 498 (อัพเดท มีนาคม 2020) * ยอดขาย: ประมาณ 306.2 พันล้านวอน (อัพเดท 31 ธันวาคม 2020) * ประเภทองค์กร: บริษัทขนาดกลาง * เงินเดือนประจำปี: 31.09 ล้านวอน (โดยเฉลี่ยของผู้สำเร็จการศึกษาจากมหาวิทยาลัย), 41.77 ล้านวอน (ค่าเฉลี่ยของพนักงานทั้งหมด) เหตุผลที่ YG และ SM จัดเป็นบริษัทขนาดกลางแม้ว่าจะมียอดขายต่ำกว่า HYBE ก็เพราะ YG และ SM อยู่ในอันดับต้น ๆ ของวงการบันเทิงเกาหลีมาเป็นเวลานานกว่า HYBE ค่ะ และยังมียอดขายเฉลี่ยสูงอย่างต่อเนื่องอีกด้วย ซึ่งก็มีการคาดการณ์ว่าในเร็ว ๆ นี้ HYBE จะถูกจัดให้เป็นบริษัทขนาดกลางเช่นกันค่ะ SM ถูกประเมินโดยพนักงานในอดีตและปัจจุบันอย่างไรบ้างนะ? SM มีคะแนนโดยรวม 2.4/5 คะแนน จากสถิติการรีวิวทั้งหมด 387 รายการ * สวัสดิการและเงินเดือน: 2/5 * สมดุลชีวิตในการทำงาน: 2/5 * วัฒนธรรมภายใน: 2.4/5 * โอกาสและความเป็นไปได้ในการเติบโต: 2.3/5 * การจัดการภายใน: 2.1/5 จากความคิดเห็นของพนักงานในอดีตและปัจจุบันของ SM อัตราการแนะนำองค์กรของ SM คือ 25%, อัตราการอนุมัติจาก CEO อยู่ที่ 40%, และมีศักยภาพในการเติบโตในหน้าที่การงานอยู่ที่ 20% ค่ะ หัวข้อ: บริษัทที่ให้ความรู้สึก "มีคนมากมายที่สามารถทำงานได้ ไม่จำเป็นต้องง้อพนักงาน" ข้อดี * มีค่าโทรศัพท์มือถือให้เดือนละ 20,000 วอน * จ่าย 10,000 วอนสำหรับค่าอาหาร เมื่อทำงานล่วงเวลา * บางครั้งเมื่ออัลบั้มของศิลปินออกมา ผู้จัดการเอาอัลบั้มพร้อมลายเซ็นศิลปินมาให้ ข้อเสีย * ทำงานจนแทบไม่ได้กลับบ้าน * ถ้าคนข้างบนบอกให้ทำก็ทำไปเลย ห้ามมีความเห็นต่าง * ทำให้รู้สึกว่าพนักงานไม่มีค่า หัวข้อ: มีความสนุกสนานให้การทำงาน ให้คิดซะว่ามาทำงานเอาสนุกเท่านั้น ไม่ควรท้าทายตัวเอง ข้อดี * ถ้ารักความบันเทิงและรัก K-Content ก็ถือว่าได้ทำงานที่สนุกสนาน * ทำงานมาก ๆ ก็จะช่วยเพิ่มและพัฒนาความสามารถของตัวเองได้ ข้อเสีย * ความไร้ประสิทธิภาพของการจัดการ * ไม่ใช่แค่ทำงานล่วงเวลา แต่พนักงานส่วนมากเหมือนทำงานและอาศัยอยู่ในบริษัท หัวข้อ: มีวัฒนธรรมองค์กรแบบเก่าและต้องปฏิบัติตามคนที่อยู่มาก่อน ข้อดี * เนื่องจากมีศิลปินจำนวนมาก จึงมีคอนเทนต์และผลงานออกมาทุกสัปดาห์ ทำให้ได้สัมผัสกับเนื้อหาและการทำงานงานที่หลากหลาย * ขอบเขตงานค่อนข้างกว้าง บางคร้ังก็อาจได้ทำในสิ่งที่ไม่เคยคิดว่าจะทำได้ ข้อเสีย * อยู่ในวงจรเดิมๆคือผลิต/ วางแผน/ เผยแพร่ทุกสัปดาห์ เพราะ มีศิลปินมากเกินไป * พนักงานส่วนใหญ่มีความคิดว่า "ถ้าบอกให้ทำก็ทำ" * เงินเดือนน้อยและไม่มีแรงจูงใจในการทำงาน SM ได้รับการพิจารณาให้เป็นหนึ่งในบริษัทบันเทิงเกาหลีที่ใหญ่ที่สุดและดีที่สุด จนกระทั่ง HYBE มีการเติบโตขึ้นอย่างมากและรวดเร็ว ซึ่งสาเหตุที่ทำให้ SM มีชื่อเสียงที่ดีเช่นนี้ก็เพราะได้ผลิตศิลปินจำนวนมากและสร้างคอนเทนต์ในวงการบันเทิงมานานกว่า 20 ปีนั่นเอง อย่างไรก็ตามด้วยเหตุนี้ วัฒนธรรมองค์กรแนวตั้งแบบเก่าจึงยังคงอยู่เช่นเดียวกับบริษัทบันเทิงอื่น ๆ รวมถึงยังไม่มีโครงสร้างที่ดีด้วยค่ะ เนื่องจากบริษัทมีศิลปินจำนวนมากชนิดที่เรียกได้ว่ามากกว่าบริษัทอื่น ๆ หลายเท่า จึงต้องใช้กำลังคนในการผลิตจำนวนมากเช่นกัน ปัญหาที่เกิดขึ้นก็คือพนักงานได้รับมอบหมายให้ทำงานมากเกินไป จึงทำให้เป็นสาเหตุหลักที่พนักงานรู้สึกไม่ชอบใจ เนื่องจากเงินเดือนที่ได้รับน้อย ไม่เหมาะสมกับจำนวนงานที่ถูกมอบหมาย สิ่งหนึ่งที่ทำให้พนักงานยังคงทำงานอยู่ก็เพียงเพราะความรักใน KPOP และการทำคอนเทนต์ค่ะ 4. JYP JYP เป็นหนึ่งในบริษัทบันเทิงของเกาหลีที่มีไอดอลมากมาย เช่น TWICE, Stray Kids และ DAY6 ซึ่งมีพัคจินยองเป็นผู้ดูแลและตัดสินใจทุกอย่างค่ะ * วันที่ก่อตั้ง: 1997.11.18 * จำนวนพนักงาน: 246 * ยอดขาย: ประมาณ 130 พันล้านวอน * ประเภทองค์กร: ธุรกิจขนาดเล็กและขนาดกลาง * เงินเดือนประจำปี: 32.32 ล้านวอน (โดยเฉลี่ยของผู้สำเร็จการศึกษาจากมหาวิทยาลัย), 41.53 ล้านวอน (ค่าเฉลี่ยของพนักงานทั้งหมด) JYP ถูกประเมินโดยพนักงานในอดีตและปัจจุบันอย่างไรบ้างนะ? การรีวิวโดยรวมจากทั้งหมด 133 คน JYP มีคะแนนอยู่ที่ 2.5 / 5 คะแนนค่ะ ซึ่ง 2.5 ก็เป็นคะแนนสูงสุดในบรรดาบริษัทบันเทิงใหญ่ ๆ 4 แห่งในเกาหลีค่ะ * สวัสดิการและเงินเดือน: 2.3/5 * สมดุลชีวิตในการทำงาน: 1.8/5 * วัฒนธรรมภายใน: 2.6/5 * โอกาสและความเป็นไปได้ในการเติบโต: 2.7/5 * การจัดการภายใน: 2.4/5 จากความคิดเห็นของอดีตพนักงานและพนักงานปัจจุบัน อัตราการแนะนำบริษัทของ JYP คือ 26%, อัตราการอนุมัติจาก CEO อยู่ที่ 55%, และศักยภาพในการเติบโตอยู่ที่ 13% ค่ะ หัวข้อ: บริษัทที่ควรค่าแก่การแนะนำถ้าต้องการทำงานในบริษัทบันเทิง เพราะพวกเขาใส่ใจด้านจริยธรรมเป็นอย่างมาก ข้อดี * แม้จะแตกต่างกันไปในแต่ละแผนก แต่ปกติจะสามารถใช้วันหยุดได้ตามที่ต้องการ ไม่ต้องขออนุญาต * อาหารอร่อย * พยายามจะรับฟังความคิดเห็นของพนักงานตำแหน่งต่ำกว่า ข้อเสีย * วันหยุด = ทำงานที่บ้าน * มีการโทรมาคุยในเนื้อหาที่เกี่ยวข้องกับการทำงานแม้จะเป็นวันหยุดสุดสัปดาห์ก็ตาม หัวข้อ: บริษัทที่มีความแตกต่างอย่างมากในสภาพแวดล้อมการทำงานในแต่ละทีม แนะนำสำหรับคนที่หลงใหลในวงการ K-POP จริง ๆ วันหยุดสุดสัปดาห์และเวลาในตอนกลางคืนจะหายไป เป็นหนึ่งในบริษัทบันเทิงไม่กี่แห่งที่พยายามรักษามาตรฐานเอาไว้ ข้อดี * อาหารอร่อย * ไม่ทำอะไรผิดจรรยาบรรณ * เพิ่มความเข้าใจในอุตสาหกรรมบันเทิงอย่างรวดเร็ว ข้อเสีย * ไม่มีสมดุลชีวิตการทำงาน * เงินเดือนต่ำมาก ๆ สำหรับพนักงานใหม่ * มีการโทรติดต่อเรื่องงานแม้กระทั่งในวันหยุดสุดสัปดาห์ หัวข้อ: คิดถึงหัวใจของพนักงานมากที่สุดในบรรดาบริษัทบันเทิง ข้อดี * ให้ค่าซื้อหนังสือ * สวัสดิการของบริษัทค่อนข้างดี * ไม่มีวัฒนธรรมแบบเผด็จการ ข้อเสีย * ชั่วโมงการทำงานที่ยาวนานและงานที่ค่อนข้างหนัก * ความกดดันทางกายแรงกว่าความกดดันทางจิตใจ * เป็นการยากที่จะเพิ่มความสามารถเนื่องจากได้เงินเดือนน้อย หากใครที่เป็นแฟนคลับของค่าย JYP ก็น่าจะเคยได้ยินชื่อของ "พัคจินยอง" CEO ของ JYP ใช่มั้ยละคะ? ว่ากันว่าเป็น CEO ที่มีจรรยาบรรณมากที่สุดในบรรดาบริษัทบันเทิงแล้วล่ะค่ะ JYP มักจะเน้นย้ำถึงลักษณะนิสัยและจริยธรรมเสมอ ไม่เพียงแค่สำหรับศิลปินเท่านั้น แต่รวมถึงพนักงานด้วยค่ะ ต้องขอบคุณความคิดของปาร์คจินยองที่ช่วยยกระดับวัฒนธรรมองค์กรและสวัสดิการของพนักงานค่ะ จากความคิดเห็นของพนักงาน ดูเหมือนว่าวัฒนธรรมของบริษัท, โอกาสในการเลื่อนตำแหน่ง, และความเป็นไปได้ในการทำงานจะสูงกว่าอีกสามบริษัทเล็กน้อยค่ะ แต่แน่นอนว่า JYP Entertainment ก็เป็นเหมือนกับบริษัทบันเทิงอื่น ๆ ที่ดูเหมือนจะไม่มีความสมดุลระหว่างชีวิตกับการทำงานค่ะ จะเห็นได้ว่าความเข้มข้นในการทำงานนั้นสูงมาก ๆ แต่ก็มีข้อดีตรงที่สามารถใช้วันหยุดได้อย่างอิสระค่ะ อุตสาหกรรมบันเทิงของเกาหลี นี่เป็นปัญหาเฉพาะของบริษัทบันเทิงยักษ์ใหญ่เช่น HYBE, YG, SM และ JYP เท่านั้นเหรอ? อันที่จริงต้องบอกเลยว่าไม่ใช่ค่ะ เพราะว่าปัญหาทั้งหมดที่กล่าวมาข้างต้นเป็นปัญหาเรื้อรังในวงการบันเทิงของเกาหลีที่ยากจะแก้ไขนั่นเองค่ะ เมื่อค้นหาบริษัทบันเทิงบน Job Planet เช่น Pledis Entertainment, FNC Entertainment, Jellyfish Entertainment, Cube Entertainment และ Woollim Entertainment ก็จะเห็นได้อย่างชัดเจนเลยว่าการจัดอันดับของบริษัททั้ง 5 มีคะแนนที่ค่อนข้างจะต่ำมาก ๆ มีตั้งแต่ 1.5 ดาวไปจนถึง 2.0 ดาวจาก 5 ดาวเท่านั้นเองค่ะ มาสรุปปัญหาของบริษัทในวงการบันเทิงกันแบบคร่าว ๆ 1. ภาระงานสูงมาก 2. ไม่มีการจ่ายเงินล่วงเวลาสำหรับการทำงานในวันหยุดสุดสัปดาห์และวันหยุดนักขัตฤกษ์อย่างเหมาะสม 3. เงินเดือนต่ำ 4. ไม่มีระบบที่เหมาะสม 5. มีโครงสร้างการตัดสินใจในแนวตั้ง 6. ให้ความสำคัญกับศิลปินเป็นอันดับแรก บางครั้งจึงอาจจะปฏิบัติกับพนักงานไม่ดีเท่าที่ควร และนี่ก็คือความเป็นจริงของบริษัทบันเทิงส่วนใหญ่ค่ะ ดังนั้นแม้ว่าจะเป็นคนที่ชอบไอดอลและวงการ K-POP มากแค่ไหน หรือจะเข้ามาในบริษัทด้วยความฝันอันยิ่งใหญ่ใด ๆ ก็ตาม ส่วนใหญ่ก็มักจะทนไม่ได้นานและออกจากบริษัทไปภายในเวลาไม่กี่ปีค่ะ ต้องบอกเลยว่าการทำงานในบริษัทแบบนี้ก็จะได้รับทั้งความเครียดทางจิตใจและความเหนื่อยล้าทางร่างกาย แถมยังไม่ได้รับค่าตอบแทนที่ยุติธรรมสำหรับการทำงานอันหนักหนาสาหัสอีกด้วย! รายได้ต่อปีเฉลี่ยของนักศึกษาจบใหม่ในบริษัทบันเทิงหลัก ๆ 4 แห่งจะอยู่ที่ประมาณ 31.3 ล้านวอนค่ะ แต่จากข้อมูลของ Job Korea รายได้ต่อปีของผู้ที่เพิ่งจะสำเร็จการศึกษาในระดับวิทยาลัยแล้วเข้าทำงานในบริษัทขนาดใหญ่จะอยู่ที่ 41.21 ล้านวอนค่ะ ส่วนรายได้ต่อปีของพนักงานที่เพิ่งจบใหม่จากการศึกษาในะดับวิทยาลัยของบริษัทขนาดเล็กและขนาดกลางคือ 27.93 ล้านวอนค่ะ อาจกล่าวได้ว่ารายได้ต่อปีของพนักงานจากบริษัทบันเทิงในเกาหลีสูงกว่ารายได้ต่อปีของพนักงานจากบริษัทขนาดเล็กและขนาดกลางเล็กน้อยค่ะ อย่างไรก็ตามเมื่อพิจารณาจากปริมาณงานและชั่วโมงการทำงานที่เฉลี่ยออกมาแล้วก็อาจจะต่ำกว่าด้วยซ้ำนะคะ นั่นเป็นเหตุผลที่บริษัทบันเทิงส่วนใหญ่เต็มไปด้วยคนที่มีประสบการณ์การทำงานน้อยกว่า 5 ปี ยกเว้นผู้ที่อยู่ในตำแหน่งสูงที่ทำงานมาเป็นเวลานานค่ะ ดังนั้นจึงเป็นเรื่องยากมาก ๆ ที่จะมีระบบความอาสุโสที่เหมาะสม แถมยังกลายเป็นโครงสร้างการตัดสินใจในแนวตั้งอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ค่ะ และข้อเสียของบริษัทบันเทิงเหล่านี้ก็ได้รับการพูดถึงโดยทั่วไปเลยค่ะ มีหลาย ๆ คนที่มาเตือนว่าเวลาหางานให้มองข้ามการเข้าทำงานที่บริษัทบังเทิงไปซะ เพื่อให้วงการ K-POP พัฒนาต่อไปและเพื่อผลิตเนื้อหาที่สร้างสรรค์และดียิ่งขึ้น แม้ความสามารถของศิลปินจะเป็นสิ่งสำคัญ แต่พลังของพนักงานในบริษัทบันเทิงที่ทำงานร่วมกับศิลปินและสนับสนุนพวกเขาก็มีความสำคัญเช่นกันค่ะ หากปัญหาที่กล่าวมาข้างต้นยังไม่ได้รับการแก้ไข ก็คาดว่าอัตราการเข้าทำงานในบริษัทบังเทิงเกาหลีก็อาจจะลดลง และความเครียดของคนที่ทำงานในวงการบันเทิงมีก็แต่จะเพิ่มขึ้นค่ะ 출처: 서경스타 มีงานมากมายในบริษัทบันเทิงให้เราได้เลือกทำค่ะ เช่น การจัดการการวางแผนและการผลิตเนื้อหา, การตลาด, และ A&R หรือจะเป็นผู้จัดการของศิลปินก็มีเช่นกันค่ะ เป็นยังไงกันบ้างคะกับความเป็นจริงของค่ายเพลงในเกาหลี? สำหรับใครที่ความฝันอยากจะทำงานร่วมกับ 4 ค่ายเพลงนี้ รวมถึงค่ายเพลงอื่น ๆ ในเกาหลีก็อย่าลืมเตรียมตัวให้ดีนะคะ เพราะว่าอัตราการแข่งขันต้องสูงมากแน่ ๆ เลยค่ะ! ✨Creatrip Instagram ...
3 years ago
414585DEPRECATED_EyeIcon