logo

เกาหลีใต้กับ “วิกฤตการเงินในเอเชีย”

เกิดอะไรขึ้นกับปี 1998 ในซีรีส์เรื่อง Twenty-Five, Twenty-One? วิกฤตการเงินในเอเชียคืออะไร?

Yeong
3 years ago

เกาหลีใต้กับ

สวัสดีค่ะทุกคน! พวกเรา Creatrip ศูนย์รวบรวมข้อมูลการท่องเที่ยวเกาหลีที่อัพเดทโดยคนเกาหลีในทุก ๆ วัน


#วิกฤตการเงินในเอเชีย

#รีวิวเกาหลี #เศรษฐกิจ

 

วันนี้เราจะมาพาทุกคนไปดูกันว่าในซีรีส์เรื่อง Twenty-Five, Twenty-One เกิดอะไรขึ้นในปี 1998 กันนะ? ในตอนนี้ซีรีส์เกาหลีเรื่อง Twenty-Five, Twenty-One ที่นำแสดงโดยคิม แทรีและนัม จูฮยอกกำลังออกอากาศและมีเรตติ้งที่ค่อนข้างยอดเยี่ยมเลยทีเดียวค่ะ แล้วเหตุการณ์สำคัญอย่าง "วิกฤตการเงินในเอเชีย" ที่เกิดขึ้นในซีรีส์นั้นคืออะไรกันนะ?   

    

🤞🏻Subscribe พวกเรา Creatrip บน Youtube 

Creatrip Instagram
instagram.com/creatrip.thailand

🎈ช้อปปิ้ง|สั่งซื้อสินค้าเกาหลี


เกาหลีใต้กับ "วิกฤตการเงินในเอเชีย"

ซีรีส์เรื่อง Twenty-Five, Twenty-One


"วิกฤตการเงินในเอเชีย" หรือที่คนไทยรู้จักกันในชื่อ “วิกฤตต้มยำกุ้ง” เป็นช่วงวิกฤตการณ์ทางการเงินซึ่งส่งผลกระทบถึงหลายประเทศในทวีปเอเชีย โดยเริ่มตั้งแต่เดือนกรกฎาคม 1997

และซีรีส์เรื่อง Twenty-Five, Twenty-One เป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นช่วงปี 1998 เมื่อเกาหลีใต้ประสบกับความปั่นป่วนทางการเงินในเอเชียและถูกประกาศล้มละลายโดย IMF (กองทุนการเงินระหว่างประเทศ) เหตุการณ์นี้ถูกเรียกว่า "วันอัปยศแห่งชาติ" เลยทีเดียวค่ะ

แล้วใน Twenty-Five, Twenty-One กล่าวถึงอะไรไว้บ้างนะ? ไปดูพร้อม ๆ กันเลยค่ะ~


วิกฤตการณ์ทางการเงินในเอเชีย 1997

วิกฤตการณ์ทางการเงินในเอเชีย 1997


ในเดือนกรกฎาคม 1997 ความวุ่นวายทางการเงินที่จะกลายเป็นประวัติศาสตร์หน้าใหม่ได้ก่อตัวขึ้นอย่างเงียบ ๆ ในประเทศไทยค่ะ

ในตอนนั้น นักเก็งกำไรต่างชาติต่างก็เล็งเห็นตลาดเศรษฐกิจที่ไม่มั่นคงของประเทศไทย พวกเขากู้เงินบาทจำนวนมากแล้วนำเข้าสู่ตลาดแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ สร้างภาพลวงตาว่าค่าเงินบาทอ่อนค่าลงมาก ๆ ทำให้คนตื่นตระหนกและเริ่มขายเงินบาทเพื่อเปลี่ยนไปเป็นสกุลเงินต่างประเทศค่ะ

อย่างไรก็ตาม เนื่องจากทุนสำรองเงินตราต่างประเทศไม่เพียงพอ รัฐบาลไทยจึงตัดสินใจลอยตัวค่าเงินบาท โดยยกเลิกการแลกเปลี่ยนระหว่างเงินดอลลาร์สหรัฐและเงินบาท ซึ่งทำให้เงินบาทอ่อนค่าลงอย่างมากและเริ่มเกิดความวุ่นวายทางการเงินขึ้นนั่นเองค่ะ

วิกฤตการณ์ทางการเงินที่เกิดขึ้นนี้ค่อย ๆ เคลื่อนตัวจากเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ไปยังเอเชียตะวันออกเฉียงเหนือ โดยค่าเงินของฟิลิปปินส์, มาเลเซีย, สิงคโปร์, อินโดนีเซีย, เกาหลีใต้ ฯลฯ ต่างก็อ่อนค่าลงอย่างมาก ซึ่งส่งผลกระทบต่อตลาดเศรษฐกิจของฮ่องกง, ไต้หวัน, และญี่ปุ่นด้วยค่ะ


เกาหลีใต้ประกาศล้มละลาย


ในจำนวนนั้น ประเทศไทย, เกาหลีใต้, และอินโดนีเซียได้รับความเดือดร้อนจากความวุ่นวายทางการเงินมากที่สุดเลยล่ะค่ะ เกาหลีใต้ประกาศล้มละลายเมื่อวันที่ 3 ธันวาคม 1997 และกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) ก็ได้เข้าแทรกแซงด้านการเงินของเกาหลีใต้ นั่นเป็นช่วงเวลาที่เจ็บปวดที่สุดของคนเกาหลีเลยทีเดียว

ต้องบอกเลยว่าในช่วงเวลานั้น เงินวอนของเกาหลีใต้อ่อนค่าลงจนเหลือเพียง 1 USD เท่ากับ 1500 - 2000 วอนเท่านั้นเองค่ะ


"วันอัปยศแห่งชาติ" ของเกาหลีในปี 1997

รายงานการเทคโอเวอร์เกาหลีใต้ของ IMF

รายงานการเทคโอเวอร์เกาหลีใต้ของ IMF

สำหรับชาวเกาหลีใต้ วันที่ 3 ธันวาคม 1997 นับเป็น "วันอัปยศแห่งชาติ" อีกครั้งหนึ่งหลังจากการบุกยึดคาบสมุทรเกาหลีของญี่ปุ่นค่ะ เนื่องจากประเทศต้องประกาศล้มละลาย และ IMF ก็เข้ามาควบคุมการเงินและเศรษฐกิจของเกาหลีใต้อย่างสมบูรณ์

เนื่องจากมีการใช้เงินร้อนจากต่างประเทศอื่น ๆ เพื่อรักษาเสถียรภาพของตลาดเกาหลี สมาคมเกาหลีจึงยกเลิกข้อจำกัดสำหรับชาวต่างชาติและนักธุรกิจต่างชาติจนเกือบจะเป็นศูนย์ ทำให้หลายบริษัทต้องเลือกระหว่างการให้ชาวต่างชาติถือครองหุ้นเกินครึ่ง, รับทุนจากต่างประเทศ, หรือการล้มละลายของบริษัทค่ะ


เกาหลีใต้และ IMF ลงนามข้อตกลง

เกาหลีใต้และ IMF ลงนามข้อตกลง

เนื่องจากผลกระทบของความวุ่นวายทางการเงิน ตลาดหุ้นเกาหลีใต้และค่าเงินวอนของเกาหลีจึงตกลงอย่างรวดเร็วเลยล่ะค่ะ 

ต้องบอกเลยว่าเกาหลีเป็นประเทศแห่งเศรษฐกิจของเอเชียที่พัฒนาขึ้นมาได้อย่างรวดเร็วหลังสงครามเกาหลี ไม่เพียงแต่จะประสบความสำเร็จในการจัดงานโอลิมปิกที่กรุงโซลเท่านั้น แต่ยังรวมถึง "ปาฏิหาริย์แห่งแม่น้ำฮัน" ที่ได้รับการกล่าวขานไปทั่วโลก ทำให้ 85% ของผู้คนในประเทศเรียกตนเองว่าเป็น "ชนชั้นกลาง"

แต่เมื่อเกิดวิกฤตการเงินในเอเชียขึ้น เกาหลีใต้ก็เป็นหนึ่งในประเทศที่ได้รับผลกระทบมากที่สุดเช่นกันค่ะ


Twenty-Five, Twenty-One

Twenty-Five, Twenty-One


ในฤดูหนาวปี 1997 เหตุการณ์วิกฤตทางเศรษฐกิจของเกาหลีใต้ก็ยิ่งรุนแรงมากขึ้นเรื่อย ๆ มีครอบครัวนับไม่ถ้วนที่แตกแยกจากปัญหาหนี้สิน แน่อนว่าครอบครัวของตัวละครใน Twenty-Five, Twenty-One ก็เป็นหนึ่งในกลุ่มคนที่ได้รับผลกระทบเข่นกันค่ะ


การคาดการณ์ถึงการล้มละลายของเกาหลีใต้?

การคาดการณ์ถึงการล้มละลายของเกาหลีใต้?

อันที่จริงแล้วในช่วงต้นปี 1997 มีสัญญาณของการล่มสลายของกลุ่มบริษัทขนาดใหญ่และการล่มสลายของเศรษฐกิจในเกาหลีใต้ให้เห็นอยู่แล้วค่ะ

โดยอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจในปี 1996 อยู่ที่ 7.9% เท่านั้น ซึ่งต่ำกว่าปี 1995 ที่อยู่ที่ 9.6% ค่อนข้างมาก แม้ว่าเกาหลีใต้จะเข้าร่วม OECD ได้สำเร็จ แต่ภาวะทางเศรษฐกิจที่ตกต่ำก็เริ่มปรากฏขึ้นแล้วในขณะนั้นค่ะ

อุตสาหกรรมเหล็กกล้า "Hanbao" ที่กล่าวถึงในซีรีส์เรื่อง Twenty-Five, Twenty-One เป็นองค์กรขนาดใหญ่แห่งแรกในเกาหลีใต้ที่ล้มละลายในช่วงวิกฤตการแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศและความวุ่นวายทางการเงิน โดยบรษัทได้ประกาศล้มละลายตั้งแต่วันที่ 23 มกราคม 1997

และในขณะเดียวกัน วิกฤตการเงินนี้ก็ยังชี้ให้เห็นถึงปัญหาของความเชื่อมโยงของกลุ่มแชโบล, การเงิน, และการเมืองที่มีมาช้านานของเกาหลีใต้ แต่ก็สายเกินไปแล้วที่จะแก้ไขค่ะ


ปาฏิหาริย์แห่งแม่น้ำฮัน

Hanbao

หลังเหตุการณ์ "ปาฏิหาริย์แห่งแม่น้ำฮัน" หรือการเติบโตอย่างรวดเร็วของเศรษฐกิจเกาหลี ระบบเศรษฐกิจของเกาหลีก็เติบโตขึ้นจากการเพิ่มขึ้นของกลุ่ม สมาคมและวิสาหกิจภายใต้บริษัทแม่ที่มีธุรกิจและระบบการเงินที่หลากหลาย

และทันทีที่มีช่องว่างด้านเงินทุน ธุรกิจที่เกี่ยวข้องกันก็จะถูกโอนไปยังบริษัทย่อยของบริษัทแม่ ทำให้การหมุนเวียนของสถาบันการเงินไม่คงที่และเกิดวงจรอุบาทว์ของเงินทุนในระบบนั่นเอง

นอกจานี้ก็ยังมีการให้กู้ยืมเงินอย่างง่ายดายแก่วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ซึ่งทำให้ธุรกิจเหล่านั้นมีสินทรัพย์ที่สูงเกินจริง และในที่สุดก็ล้มละลายในช่วงวิกฤตอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศค่ะ

ที่สำคัญก็คือเงินวอนของเกาหลีอ่อนค่าลงอย่างมาก ทำให้บริษัทจำนวนนับไม่ถ้วนล้มละลาย รวมถึงเหล่าผู้จัดการและพนักงานจำนวนนับไม่ถ้วนที่ต้องพบกับทางตัน


Default

Default

นอกจากซีรีส์เกาหลีเรื่อง Twenty-Five, Twenty-One ที่พูดถึงวิกฤตการเงินในเอเชียแต่ไม่ได้ลงรายละเอียดมากนักแล้ว ก็ยังมีภาพยนตร์เรื่อง Default ที่นำแสดงโดยยู อาอิน เป็นเรื่องราวเกี่ยวกับการล้มละลายของบริษัทและเหตุการณ์ที่เกาหลีใต้ประกาศล้มละลายในอดีตนั่นเองค่ะ


"โครงการบริจาคทอง" ของชาวเกาหลี

중앙일보


เกาหลีใต้ประกาศล้มละลายเมื่อวันที่ 3 ธันวาคม 1997 และลงนามในข้อตกลงกับกองทุนการเงินระหว่างประเทศเพื่อขอกู้ยืมเงินจำนวน 55 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ แต่ในขณะเดียวกัน เกาหลีใต้ก็อนุญาตให้กองทุนการเงินระหว่างประเทศเข้ามาสู่ระบบเศรษฐกิจและควบคุมการเงินของเกาหลีใต้ด้วย

ระหว่างวิกฤตการเงินที่เกิดขึ้นนี้ คนเกาหลีกว่า 3.5 ล้านคนก็ได้บริจาคทองคำสำรองกว่า 227 ตันเพื่อช่วยรัฐบาลชำระเงินตราต่างประเทศที่ยืมมาจาก IMF และด้วยการร่วมมือกันของรัฐบาลและประชาชนก็ทำให้ประเทศเกาหลีสามารถเอาชนะความยากลำบากในตอนนั้นมาได้ค่ะ

ในซีรีส์เรื่อง Twenty-Five, Twenty-One ว่ากันว่ามารดาของนา ฮีโด (แสดงโดย คิม แทรี) ก็เข้าร่วมใน "การบริจาคทอง (금 모으기 운동)" ซึ่งริเริ่มโดยรัฐบาลเช่นกันค่ะ


Twenty-Five, Twenty-One

Twenty-Five, Twenty-One

ในเวลาเพียงไม่กี่เดือน ชาวเกาหลีได้บริจาคทองคำไปแล้วกว่า 220 ตัน คิดเป็นมูลค่า 2.2 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ

แม้ว่าเมื่อเทียบกับเงินที่กู้ยืมมาจากกองทุนการเงินระหว่างประเทศจำนวน 55 พันล้านดอลลาร์แล้วนั้น จำนวนเงินเพียง 2.2 พันล้านดอลลาร์จะดูเล็กน้อย แต่ก็ช่วยให้เงินวอนของเกาหลีที่อ่อนค่าลงอย่างมากกลับมาเข้มแข็งได้อีกครั้งค่ะ

นอกจากนี้ก็ยังช่วยให้กองทุนการเงินระหว่างประเทศยุติการใช้อำนาจศาลของตนเหนือเกาหลีใต้ได้ในที่สุดด้วยนะคะ เรียกได้ว่าเป็นการร่วมมือกันของประชาชนอย่างแท้จริงค่ะ


การบริจาคทอง (금 모으기 운동)

민중의소리

จากนั้นในวันที่ 23 สิงหาคม 2001 เกาหลีใต้ก็ออกมาประกาศว่าวิกฤตการณ์ทางการเงินได้สิ้นสุดลงแล้ว และ IMF ก็ได้ถอนตัวออกจากเกาหลีใต้เร็วกว่าที่คาดการณ์ไว้ถึงสองปีเลยล่ะค่ะ




เป็นยังไงกันบ้างคะกับเกาหลีใต้กับวิกฤตการเงินในเอเชียซึ่งเป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในซีรีส์เรื่อง Twenty-Five, Twenty-One? รู้แบบนี้แล้วก็จะได้ดูซีรีส์ได้อย่างสนุกและเข้าใจเรื่องราวเบื้องลึกเบื้องหลังมากขึ้นนั่นเองค่ะ~   


🤞🏻Subscribe พวกเรา Creatrip บน Youtube 

Creatrip Instagram
instagram.com/creatrip.thailand

🎈ช้อปปิ้ง|สั่งซื้อสินค้าเกาหลี


ยอดเข้าชมมากที่สุด

LoadingIcon
ยอดเข้าชมมากที่สุด