logo
เขต

ปาฏิหาริย์แห่งแม่น้ำฮัน: การเติบโตอย่างรวดเร็วของเศรษฐกิจเกาหลี

เกาหลีฟื้นฟูเศรษฐกิจและคุณภาพชีวิตกลับมาได้อย่างไรหลังจากที่ต้องเผชิญหน้ากับสงครามที่ยาวนาน?

Trang Pham
2 years ago

สวัสดีค่ะทุกคน! พวกเรา Creatrip ศูนย์รวบรวมข้อมูลการท่องเที่ยวเกาหลีที่อัพเดทโดยคนเกาหลีในทุก ๆ วัน


#ปาฏิหาริย์แห่งแม่น้ำฮัน

#เศรษฐกิจ #อุตสาหกรรม

 

วันนี้เราจะพาทุกคนมารู้จักกับ "ปาฏิหาริย์แห่งแม่น้ำฮัน (한강의 기적)" กันค่ะ! การที่ประเทศเกาหลีสามารถเปลี่ยนจากประเทศยากจนที่ถูกทำลายล้างด้วยสงคราม จนกลายมาเป็นประเทศที่มีเศรษฐกิจพัฒนาในระดับชั้นนำของโลกได้นั้น จะมีสาเหตุมาจากอะไรกันนะ?   


  🤞🏻Subscribe พวกเรา Creatrip บน Youtube 

Creatrip Instagram
instagram.com/creatrip.thailand

🎈ช้อปปิ้ง|สั่งซื้อสินค้าเกาหลี


ปาฏิหาริย์แห่งแม่น้ำฮัน (한강의 기적)

ต้นกำเนิด "ปาฏิหาริย์แห่งแม่น้ำฮัน"

ต้นกำเนิด


"ปาฏิหาริย์แห่งแม่น้ำฮัน (한강의 기적)" เลียนแบบมาจากวลี "ปาฏิหาริย์แห่งแม่น้ำไรน์" ซึ่งหมายถึงการฟื้นตัวอย่างรวดเร็วของเยอรมนีหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 โดยเป็นการอ้างถึงการเจิญเติบโตอย่างรวดเร็วของเศรษฐกิจเกาหลีใต้ที่มีปัจจัยจากการส่งออก ซึ่งประกอบไปด้วยการเจริญเติบโตของภาคอุตสาหกรรมอย่างรวดเร็ว, การพัฒนาด้านเทคโนโลยี, การตื่นตัวทางด้านการศึกษา, และคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง

คณะรัฐมนตรีของเกาหลีในขณะนั้นใช้คำว่า "ปาฏิหาริย์แห่งแม่น้ำฮัน" เพื่อเน้นย้ำการฟื้นตัวอย่างน่าอัศจรรย์ของประเทศเกาหลีหลังสงคราม รวมถึงการที่เกาหลีกลายมาเป็นมหาอำนาจทางเศรษฐกิจ หรือหนึ่งในสี่ "มังกร" ทางเศรษฐกิจของเอเชียในช่วงต้นทศวรรษ 1990 นั่นเอง


เกาหลีในสมัยก่อน


ระหว่างการยึดครองเกาหลีโดยประเทศญี่ปุ่น (1930-1940) เศรษฐกิจของเกาหลีก็ตกต่ำลงอย่างรวดเร็ว จากนั้นในปี 1945 เมื่อญี่ปุ่นยอมจำนนต่อฝ่ายสัมพันธมิตร คาบสมุทรเกาหลีจึงได้รับการปลดปล่อยและแบ่งออกเป็นสองภูมิภาคคือเกาหลีเหนือและเกาหลีใต้ ซึ่งเกาหลีเหนือก็จะอยู่ภายใต้การควบคุมของสหภาพโซเวียต และในขณะเดียวกันเกาหลีใต้ก็ถูกควบคุมโดยสหรัฐฯ


สงครามเกาหลี


จากนั้นเมื่อเกิดสงครามระหว่างเกาหลีเหนือและเกาหลีใต้ (1950-1953) เศรษฐกิจของเกาหลีก็ถูกทำลายลงอีกครั้ง เกาหลีใต้สูญเสียความมั่งคั่งของประเทศไปถึงหนึ่งในสี่เลยทีเดียว นอกจากนี้การผลิตภาคอุตสาหกรรมก็ลดลงน้อยกว่าครึ่ง และเมืองหลวงอย่างโซลก็ได้รับความเสียหายอย่างรุนแรงด้วย

กรมสถิติกระทรวงมหาดไทย (행정안전부) ในขณะนั้นระบุว่า ความเสียหายที่เกิดจากสงครามอยู่ที่ 410,000 ล้านดอลลาร์ ทำให้เศรษฐีในสมัยนั้นล้มละลายจนหมดสิ้น เป็นเหตุให้เกาหลีในทศวรรษที่ 1950-1960 กลายเป็นหนึ่งในประเทศที่ยากจนที่สุดในโลก


นายพลพัคจองฮี


ในปี 1961 นายพลพัคจองฮี ได้รับตำแหน่งประธานาธิบดีของเกาหลีใต้ และด้วยความคิดที่อยากจะเปลี่ยนเกาหลีให้เป็นประเทศมหาอำนาจ เขาจึงเริ่มดำเนินการส่งเสริมเศรษฐกิจของเกาหลีโดยเน้นการสร้างกลุ่มเศรษฐกิจขนาดใหญ่ หรือที่เรียกกันในปัจจุบันว่า "แชโบล (재벌)"

ต่อมาในเดือนมกราคม 1962 รัฐบาลเกาหลีได้ประกาศแผนพัฒนาเศรษฐกิจในช่วงระยะ 5 ปีแรก (1962-1966) จากนั้นแผนอ้างอิงจากรัฐบาลของอีซึงมันก็ถูกร่างขึ้นในปี 1958 ซึ่งถือเป็นหนึ่งในรากฐานสำคัญในการถือกำเนิด "ปาฏิหาริย์แห่งแม่น้ำฮัน" 



ความสำเร็จของ "ปาฏิหาริย์แห่งแม่น้ำฮัน"

1. เศรษฐกิจ

เศรษฐกิจของเกาหลีนสมัยก่อน


ภายใต้การบริหารของประธานาธิบดีพัคจองฮี เกาหลีใต้ก็ฟื้นตัวขึ้นมาได้อย่างรวดเร็วด้วยนโยบายความเข้มงวดที่เขาใช้ เรียกได้ว่าเป็นการก้าวสู่การพัฒนาประเทศอย่างแท้จริง รวมถึงมีการวางแผนสำหรับอนาคตและหาทางเลือกที่ก่อประโยชน์สูงสุดแก่ประเทศชาติ


เศรษฐกิจของเกาหลีในปัจจุบัน


โดยรัฐบาลได้กำหนดนโยบายต่าง ๆ ออกมาเพื่อเร่งการพัฒนาประเทศ และหนึ่งในนั้นก็คือ "แผนพัฒนาเศรษฐกิจ 5 ปี" เพื่อส่งเสริมการพัฒนาทรัพยากรในชาติและเปลี่ยนประเทศเกาหลีให้เป็นประเทศอุตสาหกรรม ด้วยแผนการนี้เองที่ทำให้ชาวเกาหลีใต้มีแรงผลักดันสู่ความสำเร็จทางเศรษฐกิจมาจนถึงปัจจุบัน

และสิ่งที่สำคัญที่สุดก็คือ ประเทศเกาหลีได้พัฒนาเศรษฐกิจที่เน้นด้านการส่งออกมาตั้งแต่ปี 1960


รายได้เฉลี่ยต่อบุคคล เกาหลี


การส่งออกของเกาหลีเพิ่มขึ้นจาก 32.82 ล้านเหรียญสหรัฐในปี 1960 เป็น 10 พันล้านเหรียญสหรัฐในปี 1977 และเติบโตอย่างต่อเนื่องเป็น 60.49 พันล้านเหรียญสหรัฐในปี 2018

นอกจากนี้ในปี 1953 ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่รัฐบาลเพิ่งเริ่มก่อตั้ง รายได้เฉลี่ยต่อบุคคลอยู่ที่ 6.7 เหรียญสหรัฐ ต่อมาในปี 2018 รายได้เฉลี่ยต่อบุคคลก็เพิ่มขึ้นเป็น 31.349 เหรียญสหรัฐเลยทีเดียว


วิกฤตการณ์ทางการเงิน 1997


ในเดือนพฤศจิกายน 1997 วิกฤตการณ์ทางการเงินทำให้ประเทศเกาหลีต้องขอความช่วยเหลือจากกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) จากนั้นเกาหลีก็จัดการกับธุรกิจที่ล้มละลายและดำเนินการปรับโครงสร้างใหม่

ในระหว่างกระบวนการนี้ ผู้คน 3.5 ล้านคนบริจาคทองคำสำรอง 227 ตันเพื่อช่วยรัฐบาลชำระเงินตราต่างประเทศที่ยืมมาจาก IMF และด้วยการร่วมมือกันของรัฐบาลและประชาชนก็ทำให้ประเทศเกาหลีสามารถเอาชนะความยากลำบากในตอนนั้นมาได้


Samsung 50 องค์กรที่ใหญ่ที่สุดในโลก


ในช่วงกลางทศวรรษ 1980 รายได้รวมจากองค์กรเศรษฐกิจขนาดใหญ่ 5 องค์กรคิดเป็นเกือบ 66% ของ GNP (Gross National Product - มูลค่าเบื้องต้นของผลผลิตที่เกิดจากการใช้ปัจจัยการผลิตของชาติในรอบหนึ่งปี) โดย Samsung และ Hyundai ก็ได้ขยับขึ้นไปเป็นหนึ่งใน 50 องค์กรที่ใหญ่ที่สุดในโลกเลยทีเดียว

ต่อมา ณ สิ้นปี 2011 GDP ของเกาหลีก็สูงกว่าค่าเฉลี่ยของสหภาพยุโรป และในปัจจุบัน เกาหลีมีก็เศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับ 4 ของเอเชียและอันดับที่ 11 ของโลก นอกจากนี้ก็ยังเป็นผู้นำในอุตสาหกรรมการต่อเรือและการผลิตเซมิคอนดักเตอร์อีกด้วย


2. วัฒนธรรม

วัฒนธรรม kpop


เกาหลีได้เปลี่ยนวัฒนธรรมให้เป็น "อํานาจแบบอ่อน (Soft Power)" ที่กลายเป็นกระแสไปทั่วโลกได้อย่างแท้จริง โดยเฉพาะอย่างยิ่งการทำให้วัฒนธรรมต่าง ๆ กลายเป็นประเด็นสำคัญในยุทธศาสตร์การพัฒนาประเทศ เช่น แผนการพัฒนาวัฒนธรรม, แผน10 ปีสำหรับการพัฒนาวัฒนธรรม, วิสัยทัศน์ทางวัฒนธรรม 2000 และกลยุทธ์ Cool Korea


วัฒนธรรม ภาพยนตร์และซีรีส์


ผลิตภัณฑ์ทางวัฒนธรรมของเกาหลี เช่น ภาพยนตร์, ซีรีส์, ดนตรี, ศิลปะ, K-POP ฯลฯ ก็ได้เจาะลึกเข้าไปในหลายประเทศทั่วโลก โดยเฉพาะอย่างยิ่งกระแส "Hallyu Wave" ผ่านเพลงยอดนิยม (K-POP) และซีรีส์เกาหลีที่มีอิทธิพลอย่างมากก็ค่อย ๆ กลายเป็นกระแสความนิยมไปทั่วเอเชียเลยทีเดียว


วัฒนธรรม อาหาร, Hallyu


ในปัจจุบันประเทศเกาหลีก็พยายามเผยแพร่วัฒนธรรมอาหารควบคู่ไปกับกระแส Hallyu โดยอาหารยอดนิยมของเกาหลีที่รู้จักไปทั่วโลกก็คือ กิมจิ, คิมบับ, และต็อกบกกี เรียกได้ว่าเกาหลีเป็นหนึ่งใน 10 ประเทศชั้นนำด้านการส่งออกทางวัฒนธรรมเลยทีเดียว


3. คุณภาพชีวิต

เจ้าภาพการแข่งขันกีฬาโอลิมปิก


หลังจากเกาหลีได้ผ่านการเป็นเจ้าภาพการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกถึง 2 ครั้งในปี 1986 และ 1988 รัฐบาลเกาหลีก็ได้ปรับปรุงกิจกรรมเพื่อแนะนำและส่งเสริมภาพลักษณ์ของประเทศสู่สายตาของทั่วโลก โดยการก่อสร้างสนามบินนานาชาติแห่งใหม่และการเกิดขึ้นของศูนย์การประชุมต่าง ๆ ก็สะท้อนให้เห็นถึงการเติบโตของกรุงโซลในฐานะมหานครระดับโลกได้เป็นอย่างดี


การพัฒนาเมืองใหม่ เกาหลี


เริ่มแรก รัฐบาลจัดทำโครงการกำจัดน้ำเสียในแม่น้ำฮัน โดยริมฝั่งแม่น้ำที่เคยเป็นดินธรรมชาติถูกแทนที่ด้วยบล็อกคอนกรีตทั้งหมด รวมถึงการวางท่อระบายน้ำไว้ตามสองฝั่งแม่น้ำเพื่อกรองมลพิษที่เป็นอันตรายด้วย

นอกจากนี้ก็มีการสร้างทางหลวงเลียบแม่น้ำเพื่อเชื่อมต่อสนามบินกิมโปกับใจกลางเมืองและสนามกีฬาโอลิมปิก รวมถึงการขยายเส้นทางรถไฟใต้ดินสาย 2, 3, และ 4 จนก่อเป็นเส้นทางการเดินทางไปทั่วกรุงโซลเลยทีเดียว


การขยายเส้นทางรถไฟ เกาหลี


ในช่วงทศวรรษ 1980 รัฐบาลได้ส่งเสริมโครงการพัฒนาเมืองใหม่ และเปลี่ยนโฉมหน้าของโซลไปอย่างสิ้นเชิง นอกจากนี้เพื่อตอบสนองความต้องการของชนชั้นกลางที่กำลังเติบโตขึ้น รัฐบาลก็ได้เปิดตัวโครงการบ้านจัดสรรขนาดใหญ่ที่สร้างขึ้นในพื้นที่มก-ดง, โกดก-ดง, แคโพ-ดง, และซังกเย-ดง


โครงการพัฒนาชุมชน


ในปี 1989 รัฐบาลเกาหลีได้ทำการพัฒนาเมืองใหญ่ ๆ อีก 5 แห่ง ได้แก่ อิลซาน, บุนดัง, ซานบอน, พยองชอน, และจุงดง เพื่อบรรเทาปัญหาการขาดแคลนที่อยู่อาศัยในกรุงโซล ทำให้โซลไม่ได้เป็นเพียงเมืองหลวงอีกต่อไป แต่เป็นศูนย์กลางของการขยายตัวของเมืองที่มีประชากรมากกว่า 20 ล้านคนนั่นเอง

รัฐบาลได้กำหนดนโยบายปรับใช้เพื่อปรับปรุงภาพลักษณ์ของเมือง โดยได้มีการวางแผนและปฏิรูปชุมชนมากมาย รวมถึงการสร้างคอนโดมิเนียมและตึกสูง นอกจากนี้สะพานขนาดใหญ่ก็ได้ถูกสร้างขึ้นเพื่อเชื่อมต่อพื้นที่ทางใต้และทางเหนือของกรุงโซลเข้าด้วยกันด้วย


เกาหลีในปัจจุบัน


และนี่ก็คือสรุปเกี่ยวกับภูมิหลังและความสำเร็จที่เรียกว่า "ปาฏิหาริย์แห่งแม่น้ำฮัน" ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญที่ช่วยให้เกาหลีพัฒนาขึ้นอย่างแข็งแกร่งดังที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน และด้วยความภาคภูมิใจของคนในชาติ, ความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกันของผู้คน, และผู้นำที่มีความสามารถก็เป็นปัจจัยสำคัญที่นำไปสู่ความสำเร็จอันยิ่งใหญ่นั่นเอง!




เป็นยังไงกันบ้างคะกับเรื่องราวของ "ปาฏิหาริย์แห่งแม่น้ำฮัน (한강의 기적)"? พอรู้ว่าการเติบโตอย่างรวดเร็วของเศรษฐกิจเกาหลีเกิดขึ้นเพราะอะไรแล้วก็น่าทึ่งสุด ๆ ไปเลยใช่มั้ยละคะ? คราวหน้าเราจะนำเรื่องน่าสนใจของเกาหลีเรื่องไหนมานำเสนออีก ก็อย่าลืมรอติดตามกันด้วยนะคะ!   


🤞🏻Subscribe พวกเรา Creatrip บน Youtube 

Creatrip Instagram
instagram.com/creatrip.thailand

🎈ช้อปปิ้ง|สั่งซื้อสินค้าเกาหลี


ยอดเข้าชมมากที่สุด

ยอดเข้าชมมากที่สุด