logo
logo
DEPRECATED_CloseIcon

วิวัฒนาการของโรคตัวของละครในซีรีส์เกาหลี

โรคอะไรเป็นโรคที่พบได้บ่อยมากที่สุดในตัวละครเกาหลี และวิวัฒนาการของโรคปรากฎในซีรีส์เกาหลี

마타티카
3 years ago
วิวัฒนาการของโรคตัวของละครในซีรีส์เกาหลี-thumbnail
วิวัฒนาการของโรคตัวของละครในซีรีส์เกาหลี-thumbnail

สวัสดีค่ะทุกคน! พวกเรา Creatrip ศูนย์รวบรวมข้อมูลการท่องเที่ยวเกาหลีที่อัพเดทโดยคนเกาหลีในทุก ๆ วัน


#ซีรีส์เกาหลี #โรค

#พระเอกเกาหลี #นางเอกเกาหลี


โรคภัยไข้เจ็บเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นได้กับทุกคน ไม่เว้นแม้แต่ตัวละครในซีรีส์เกาหลี โดยเฉพาะตัวเอกทั้งพระเอกและนางเอก วันนี้เรามาดูกันว่าโรคที่พบได้บ่อยในตัวละครเกาหลีมีอะไรบ้าง? และวิวัฒนการของโรคที่ปรากฎในตัวละครเกาหลีมีการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?


🤞🏻Subscribe พวกเรา Creatrip บน Youtube

Creatrip Instagram
instagram.com/creatrip.thailand

🎈ช้อปปิ้ง|สั่งซื้อสินค้าเกาหลี


วิวัฒนาการของโรคตัวละครเกาหลี

โรควัณโรค

ซีรีส์เกาหลี

cr. NHIS


ปัจจุบันวัณโรคถือเป็นโรคติดต่อที่ยังน่ากลัว แต่ก็สามารถรักษาหายได้ แต่เมื่อเทียบกับสมัยก่อนวัณโรคถือเป็นโรคที่ค่อนข้างร้ายแรงและยาที่ใช้รักษาก็ราคาแพงมากๆ โดยเฉพาะช่วงยุค 1960~1970 วัณโรคให้เป็นโรคที่สามารถพบได้เป็นปกติในประเทศเกาหลีค่ะ

เนื่องจากสมัยนั้นเกาหลียังอยู่ในช่วงกำลังฟื้นตัว ทำให้ไม่แปลกเลยที่ตัวเอกของซีรีส์ในตอนนั้นจะเป็นบทของผู้ที่ทำงานเลี้ยงครอบครัวอย่างหนัก ไม่ว่าจะเป็นกลางวันหรือกลางคืน แม้แต่ในช่วงเวลาที่อากาศหนาวจัดทำให้โอกาสการเป็นวัณโรคค่อนข้างมาก


คิม ฮีแอ

cr. NHIS


โดยสิ่งที่ซีรีส์เกาหลีนำเสนอส่วนใหญ่ก็จะเป็นภาพของตัวละครที่มีอากาไออย่างหนัก หรือไม่ก็มีอาการไอออกมาเป็นเลือด อย่างซีรีส์เรื่อง Son and Daughter (아들과 딸) เมื่อปี 1992 ที่คิม ฮีแอแสดง ตัวละครหลักก็เป็นโรคนี้เช่นกันค่ะ


มะเร็งเม็ดเลือดขาว

Autumn In My Heart


"พี่ชายฉันหนาว~" ประโยคที่ถ้าคุณรู้จักแสดงว่าคุณอายุไม่น้อยแล้ว!! เพราะเป็นประโยคที่มาจากซีรีส์เกาหลีเรื่อง Autumn In My Heart เมื่อปี 2000 ที่นำแสดงโดยซอง ฮเยเคียว, ซง ซึงฮอน, วอนบิน ซึ่งแน่นอนว่าในตอนจบนางเอกก็เสียชีวิตเพราะมะเร็งเม็ดเลือดขาวค่ะ

ซีรีส์เกาหลีที่ถูกสร้างช่วงปลายยุค 1990s เริ่มมีโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาวปรากฎขึ้นมาแทนวัณโรค อาจเพราะด้วยวิวัฒนาการทางการแพทย์ที่ดีขึ้นทำให้วัณโรคไม่น่ากลัวอีกต่อไป ดังนั้นผู้เขียนจึงเลือกมะเร็งเม็ดเลือดขาวที่เป็นโรคร้ายแรงและในสมัยนั้นยังไม่มีวิธีการรักษาให้หายได้ค่ะ


มะเร็ง

ซีรีส์เกาหลี


โรคที่ปรากฎในตัวละครเกาหลีเริ่มมีการเปลี่ยนแปลงไปตามสภาพของสังคม จากสังคมที่กำลังพัฒนาที่คนต้องทำงานหนัก (ด้านร่างกาย) ก็เปลี่ยนมาเป็นโรคที่เกิดจากภาวะที่เกิดจากความเครียดหรือการทำงานอย่างหนักทั้งร่างกายแต่จิตใจค่ะ

โดยโรคมะเร็งที่เกิดขึ้นก็ไม่จำเป็นต้องเกิดกับตัวละครหลักอย่างพระเอกและนางเอกเสมอไป หลายเรื่องก็สร้างให้ตัวละครรองที่มีความสำคัญเช่น พ่อแม่ของตัวละครหลักเป็นโรคมะเร็งแทนค่ะ โดยโรคมะเร็งที่พบได้บ่อยในซีรีส์เกาหลีเช่น มะเร็งกระเพาะอาหาร, มะเร็งตับ, มะเร็งถุงน้ำดี และมะเร็งในส่วนอื่นๆค่ะ


ซีรีส์เกาหลี


แม้ว่าโรคที่พบในช่วงปลายปี 1990s และช่วงหลังปี 2000 จะเป็นมะเร็งเหมือนกัน แต่ความแตกต่างคือโรคมะเร็งที่พบในซีรีส์หลังยุคปี 2000 เป็นมะเร็งที่เกิดจากการใช้ชีวิตมากกว่าโรคที่เกิดโดยไม่รู้สาเหตุเหมือนยุคก่อน ซึ่งสะท้อนให้เห็นการเปลี่ยนแปลงของสังคมเกาหลีผ่านซีรีส์ที่ชัดเจนมากค่ะ


ความจำเสื่อม

one the women


ดูเหมือนการเจ็บป่วยทางกายอาจจะยังไม่เพียงพอสำหรับผู้ชมซีรีส์ ดังนั้นซีรีส์เกาหลีหลายเรื่องจึงใช้ภาวะความจำเสื่อมที่เกิดขึ้นหลังอุบัติเหตุขึ้นมา เพื่อให้ผู้ชมรู้สึกสนุกและลุ้นไปกับตัวละครมากขึ้นอย่างเช่น First Love (첫사랑), Ruler of Your Own World (네 멋대로 해라), I'm Sorry, I Love You (미안하다, 사랑한다), The Snow Queen, School 2015

โดยอาการความจำเสื่อมดูเหมือนจะเป็นจุดพลิกผันสำคัญของเรื่องที่ทำให้คนดูรู้สึกลุ้นมากขึ้น ดังนั้นจึงไม่ใช่เรื่องแปลกที่จะเห็นตัวละครในซีรีส์เกาหลีในทุกวันนี้ที่มีภาวะความจำเสื่อมค่ะ


โรคหายาก

It's Okay, That's Love


ปัจจุบันวิวัฒนาการของโรคที่พบในตัวละครเกาหลีมีการนำเสนอโรคหายากมากกว่าโรคทั่วไปเช่น Lou gehrig's disease จากเรื่อง It's Okay, That's Love (괜찮아, 사랑이야), Progeria syndromes จากเรื่อง My Brilliant Life (두근두근 내 인생), Moyamoya disease จากเรื่อง Smile, Mom (웃어요, 엄마), Tourette's Disorder จากเรื่อง It's Okay, That's Love (괜찮아, 사랑이야) ค่ะ

ซึ่งโรคเหล่านี้ล้วนเป็นโรคหายากและมีโอกาสเกิดขึ้นน้อยมาก แต่ก็ไม่ใช่ว่าจะไม่สามารถเกิดขึ้น ซึ่งการที่ซีรีส์เกาหลีนำเสนอเรื่องราวของโรคหายากเหล่านี้ก็ถือเป็นการนำเสนอให้คนส่วนใหญ่ได้รับรู้ถึงอาการและการมีอยู่ของโรคหายากเหล่านี้มากขึ้น และแน่นอนว่าสามารถทำให้ผู้ชมน้ำตานองได้ด้วยค่ะ


ความผิดปกติทางจิตใจ

 Kill Me, Heal Me


ด้วยสภาพสังคมที่มีภาวะกดดันและความเครียดสะสม ทำให้อาการวิตกกังวลหรือความผิดปกติทางสภาพจิตใจเป็นโรคที่เกิดขึ้นได้ ดังนั้นปัจจุบันซีรีส์เกาหลีหลายเรื่องจึงหยิบยกภาวะความผิดปกติทางด้านจิตใจมานำเสนอเช่น Kill Me, Heal Me, Hyde Jekyll, Me, it's okay to not be okay, Howetown Cha Cha Cha ค่ะ

การนำเสนอภาวะความผิดปกติทางจิตใจในซีรีส์เกาหลี เป็นอีกทางที่ช่วยทำให้คนส่วนมากรับรู้และเข้าใจภาวะที่เกิดขึ้น และเข้ากับสถานการณ์ปัจจุบันที่มีคนเกาหลีจำนวนไม่น้อยที่กำลังทนทุกข์กับความผิกปกติทางจิตใจที่เกิดขึ้น แต่คนรอบข้างกลับไม่เข้าใจค่ะ


 it's okay to not be okay


แม้ว่าทางการแพทย์การรักษาความผิดปกติทางจิตใจนั้นเป็นเรื่องที่ค่อนข้างยากเพราะไม่ใช่แค่การกินยาเท่านั้น แต่ต้องใช้เวลาและการปรับเปลี่ยนวิถึชีวิต รวมถึงการบำบัดหลายๆทางร่วมกัน แต่ก็ไม่ใช่ว่าจะรักษาไม่หาย โดยซีรีส์เกือบทุกเรื่องก็ได้นำเสนอถึงตอนจบที่ตัวละครที่มีภาวะความผิดปกติทางจิตใจสามารถกลับมาใช้ชีวิตได้อีกครั้ง ด้วยความเข้าใจของคนรอบข้างค่ะ



นี่ก็คือเรื่องราวของโรคที่พบได้ในซีรีส์เกาหลีค่ะ ใครคิดว่ามีโรคไหนอีกบ้างที่เจอได้ในซีรีส์เกาหลีบ่อยๆคอมเมนต์บอกหน่อยนะคะ


🤞🏻Subscribe พวกเรา Creatrip บน Youtube

Creatrip Instagram
instagram.com/creatrip.thailand

🎈ช้อปปิ้ง|สั่งซื้อสินค้าเกาหลี


LoadingIcon