logo

วัฒนธรรมความไม่เท่าเทียมของฝ่าย A และ B ในสังคมเกาหลี

จากเหตุการณ์ของไอรีน Red velvet ทำให้เกิดประเด็นถกเถียงอย่างต่อเนื่องบนโลกอินเตอร์เน็ตจนมีการหยิบยกคำนิยามของฝ่าย AและBขึ้นมา และพบกับตัวอย่างเหตุการณ์ความไม่เท่าเทียมที่เกิดขึ้นในอดีตของเกาหลี

정영여영이
4 years ago

จากเหตุการณ์ของไอรีน Red velvet ทำให้เกิดประเด็นถกเถียงอย่างต่อเนื่องบนโลกอินเตอร์เน็ตจนมีการหยิบยกคำนิยามของฝ่าย AและBขึ้นมา และพบกับตัวอย่างเหตุการณ์ความไม่เท่าเทียมที่เกิดขึ้นในอดีตของเกาหลี1

สวัสดีค่ะทุกคน! พวกเรา Creatrip ศูนย์รวบรวมข้อมูลการท่องเที่ยวเกาหลีที่อัพเดทโดยคนเกาหลีในทุก ๆ วัน


#วัฒนธรรมเกาหลี #คู่กรณี

#ไอดอลเกาหลี #คู่กรณีฝ่ายA #คู่กรณีฝ่ายB


เมื่อสองวันที่ผ่านมามีประเด็นร้อน  ในโลกออนไลน์ เมื่อชื่อของไอรีน (เบ จูฮยอน) สมาชิกวง Red Velvet เป็นสิ่งที่ถูกเสิรจ์หามากที่สุดในเกาหลี ไอรีนถูกพาดพิงว่าเป็น "ไอดอลพฤติกรรมแย่" จากโพสต์ของสไตลิสต์ชื่อดังที่ทำงานอยู่ในวงการกว่า 15 ปี ล่าสุดไอรีนได้ออกมายอมรับว่าเธอคือไอดอลที่ถูกพูดถึงจริงค่ะ


จากโพสต์ของสไตลิสต์คนดังกล่าวได้อ้างว่า "เธอคือคู่กรณีฝ่าย B (อีกฝ่ายคือคู่กรณีฝ่าย A)" ซึ่งสิ่งนี้กลายเป็นประเด็นที่ทำให้ชาวเน็ตส่วนใหญ่ลงความเห็นเข้าข้างฝ่ายสไตลิสต์ และหัวข้อเกี่ยวกับพฤติกรรมต่างๆของไอรีนในอดีต ถูกหยิบยกขึ้นมาเป็นประเด็นในโลกออนไลน์อย่างต่อเนื่องซึ่งถือเป็นเหตุการณ์ที่พบเห็นได้ยากในวงการ KPOPค่ะ


อะไรคือความหมายของ คู่กรณีฝ่าย A และคู่กรณีฝ่าย B ในความหมายของคนเกาหลี? แล้วทำไมเหตุการณ์ของไอรีนจึงกลายเป็นประเด็นร้อนแรงในสังคมกาหลี? แล้วไปดูกันดีกว่าค่ะ 


🤞🏻Subscribe พวกเรา Creatrip บน Youtube 

Creatrip Instagram
instagram.com/creatrip.thailand

🎈ช้อปปิ้ง|สั่งซื้อสินค้าเกาหลี



วัฒนธรรมคู่กรณีฝ่าย Aและฝ่าย Bในเกาหลี

อะไรคือความหมายของคู่กรณีฝ่าย A และฝ่าย B? 

จากเหตุการณ์ของไอรีน Red velvet ทำให้เกิดประเด็นถกเถียงอย่างต่อเนื่องบนโลกอินเตอร์เน็ตจนมีการหยิบยกคำนิยามของฝ่าย AและBขึ้นมา และพบกับตัวอย่างเหตุการณ์ความไม่เท่าเทียมที่เกิดขึ้นในอดีตของเกาหลี2


จากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นมีคำที่ถูกหยิบยกขึ้นมาใช้ 2 คำคือคำว่า คู่กรณีฝ่าย A (갑) ซึ่งมีหมายถึงผู้ที่มีอำนาจเหนือกว่าหรือตำแหน่งสูงกว่าและคำว่า คู่กรณีฝ่าย B (을) คือผู้ที่เป็นผู้ถูกกระทำหรืออ่อนแอ่กว่าค่ะ


คำว่าคู่กรณีฝ่าย A และฝ่าย B มักถูกหยิบยกถึงมาใช้ในความสัมพันธ์ระหว่างฝ่ายที่มีอำนาจเหนือกว่าและผู้ที่อ่อนแอกว่า: โดยทั่วไปคู่กรณีฝ่าย A จะถือเป็นผูัที่มีอำนาจ สามารถกำหนดทิศทางของสัญญาหรือเป็นผู้ที่ได้รับประโยชน์มากกว่าค่ะ สำหรับคู่กรณีฝ่าย B นั้นต้องยินยอมและเห็นด้วยกับความคิดเห็นของฝ่าย B โดยไม่มีสิทธิ์ออกความเห็น เนื่องจากฝ่าย A มีอำนาจมากกว่าค่ะ


จากเหตุการณ์ของไอรีน Red velvet ทำให้เกิดประเด็นถกเถียงอย่างต่อเนื่องบนโลกอินเตอร์เน็ตจนมีการหยิบยกคำนิยามของฝ่าย AและBขึ้นมา และพบกับตัวอย่างเหตุการณ์ความไม่เท่าเทียมที่เกิดขึ้นในอดีตของเกาหลี3

ที่มา :경향신문

ที่เกาหลีมีคำพูดที่ว่า "ฝ่าย A คือผู้ที่กดขี่จนเป็นที่มาของน้ำตาฝ่าย B"  (갑의 횡포 을의 눈물) ซึ่งแสดงให้เห็นถึงความไม่เท่าเทียมกันในสังคมเกาหลีระหว่างทั้งสองฝ่าย เป็นการแสดงลักษณะทางสังคมที่เป็นการประณามถึงผู้ที่มีอำนาจเหนือกว่าและเป็นผู้ที่ใช้ความรุนแรงค่ะ


แต่เหตุผลที่ทำให้เมื่อไหร่ที่เกิดข้อพิพาทระหว่างคู่กรณีฝ่าย A และ B เกิดขึ้น คนเกาหลีส่วนใหญ่มักรู้สึกโกรธและกลายเป็นหัวข้อถกเถียงคือ พวกเขารู้สึกเหมือนกับพวกเขาเป็นฝ่าย B (ผู้ที่ถูกกระทำ)เองค่ะ


ยกตัวอย่างเช่น พี่ชายคนโตของบ้านมักจะเป็นฝ่าย A ,หากเป็นที่โรงเรียนพวกรุ่นพี่ทั้งหลายจะรับบทเป็นฝ่าย A, หากเป็นกรณีของเหล่าทหาร ผู้ที่ผ่านการฝึกมาก่อนจะรับบทเป็นฝ่าย A เช่นกันค่ะ  หรือหากอยู่ในกรณีของการทำงานในบริษัทที่เกาหลีไม่ว่าจะเป็นรุ่นพี่,หัวหน้างานหรือแม้แต่เพื่อนร่วมงานก็สามารถกลายเป็นฝ่าย A ได้ทั้งหมดค่ะ สำหรับคนเกาหลี บุคคลธรรมดาทั่วไปมักตกเป็นฝ่าย B อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้และมักถูกกลั่นแกล้งด้วยผู้มีอำนาจค่ะ


จากเหตุการณ์ของไอรีน Red velvet ทำให้เกิดประเด็นถกเถียงอย่างต่อเนื่องบนโลกอินเตอร์เน็ตจนมีการหยิบยกคำนิยามของฝ่าย AและBขึ้นมา และพบกับตัวอย่างเหตุการณ์ความไม่เท่าเทียมที่เกิดขึ้นในอดีตของเกาหลี4ที่มา :한국일보

เนื่องความวัฒนธรรมเกาหลีที่ยกให้ฝ่าย A เป็นผู้ที่มีอำนาจเหนือกว่ามาเป็นระยะเวลานาน การที่ใครจะลุกขึ้นมาต่อสู้หรือเผชิญหน้ากับฝ่าย A ถือเป็นเรื่องยาก ดังนั้นคนส่วนใหญ่จึงเลือกที่จะเชื่อฟังฝ่ายที่มีอำนาจมากกว่า (คล้ายกับในประเทศญี่ปุ่น) แต่เมื่อไหร่ที่มีคนกล้าเปิดเผยความเลวร้ายของฝ่าย A ออกสู่สาธารณชน คนส่วนใหญ่จะแสดงความเห็นที่ค่อนข้างรุนแรงออกมาจำนวนมากพร้อมๆกันค่ะ 




วัฒนธรรมคู่กรณีฝ่าย Aและฝ่าย Bในเกาหลี

อะไรคือลักษณะของคู่กรณีฝ่าย A(갑질) ?

จากเหตุการณ์ของไอรีน Red velvet ทำให้เกิดประเด็นถกเถียงอย่างต่อเนื่องบนโลกอินเตอร์เน็ตจนมีการหยิบยกคำนิยามของฝ่าย AและBขึ้นมา และพบกับตัวอย่างเหตุการณ์ความไม่เท่าเทียมที่เกิดขึ้นในอดีตของเกาหลี5

ที่มา:한겨레

คำว่า 갑질 เป็นฮันจา(ภาษาจีน) ที่มีความหมายในภาษาเกาหลีคือ สิ่งที่ยากเย็น, คนที่หยิ่งผยองใช้อำนาจในทางที่ผิด,การใช้อำนาจข่มขู่ ส่วนมากหมายถึงความสัมพันธ์ระหว่างฝ่าย A ที่เป็นผู้ควบคุมฝ่าย B ค่ะ


คำว่า 갑질 ถูกนำมาใช้ในสังคมออนไลน์เมื่อปี 2013 แต่เมื่อไม่นานมานี้มีการระบุตัวตนของแต่ล่ะฝ่ายโดยแยกเป็นฝ่าย Aและฝ่าย B ค่ะ โดยเรียกฝ่าย A ว่า ฝ่ายหยางและฝ่าย B ว่า ฝ่ายหยิน ซึ่งตามความหมายของหยินหยางคือความสมดุล แต่ความหมายของสถานการณ์ที่ถูกหยิบยกขึ้นมากลับหมายความว่าฝ่าย A มีอำนาจมากกว่าฝ่าย Bค่ะ 


จากเหตุการณ์ของไอรีน Red velvet ทำให้เกิดประเด็นถกเถียงอย่างต่อเนื่องบนโลกอินเตอร์เน็ตจนมีการหยิบยกคำนิยามของฝ่าย AและBขึ้นมา และพบกับตัวอย่างเหตุการณ์ความไม่เท่าเทียมที่เกิดขึ้นในอดีตของเกาหลี6

ที่มา:단대신문

จากแนวคิดของหยินหยาง ถูกนำมาเปรียบเทียบใช้กับสถานการณ์ในปัจจุบัน โดยการเปรียบเทียบว่าบุคคลที่มีชื่อเสียงหรือมีอำนาจคือฝ่าย A และบุคคลธรรมดาทั่วไปคือฝ่าย B ค่ะ




วัฒนธรรมคู่กรณีฝ่าย Aและฝ่าย Bในเกาหลี

ทำไมกรณีของไอรีนถึงกลายเป็นประเด็นร้อน?

จากเหตุการณ์ของไอรีน Red velvet ทำให้เกิดประเด็นถกเถียงอย่างต่อเนื่องบนโลกอินเตอร์เน็ตจนมีการหยิบยกคำนิยามของฝ่าย AและBขึ้นมา และพบกับตัวอย่างเหตุการณ์ความไม่เท่าเทียมที่เกิดขึ้นในอดีตของเกาหลี7

ที่มา:연합뉴스

อยากที่บอกไปแล้วว่าคนส่วนใหญ่ในเกาหลีจะอยู่ในสถานะของฝ่าย B ตั้งแต่เกิดจนถึงวัยชรา และในความเป็นจริงพวกเขามักต้องเจอกับพฤติกรรมแย่ๆจากฝ่าย A ผู้ที่มีอำนาจมากกว่า ซึ่งส่งผลกระทบต่อสภาพจิตใจ


จากกรณีของสไตลิสต์ที่มีประเด็นกับไอรีน Red velvet ถึงแม้ว่าเขาจะได้รับคำขอโทษจากไอรีนและลบข้อความออกจากโซเชี่ยลแล้วก็ตาม แต่ความคิดที่ว่า "ไอรีน คือคู่กรณีฝ่าย A" ยังคงหัวข้อหลักของผู้ใช้สื่อสังคมออนไลน์ในเกาหลีค่ะ แต่ทำไมพฤติกรรมไม่น่ารักของเหล่าผูัมีชื่อเสียง (ถึงแม้ไม่ใช่คดีอาชญากรรมร้ายแรงหรือความผิดปกติทางสภาพจิตใจ) จึงกลายเป็นหัวข้อที่ถูกพูดถึงอย่างร้อนแรง? ประเด็นส่วนใหญ่ที่ถูกพูดถึงคือ "พฤติกรรมของไอดอล" ของไอรีนค่ะ


จากเหตุการณ์ของไอรีน Red velvet ทำให้เกิดประเด็นถกเถียงอย่างต่อเนื่องบนโลกอินเตอร์เน็ตจนมีการหยิบยกคำนิยามของฝ่าย AและBขึ้นมา และพบกับตัวอย่างเหตุการณ์ความไม่เท่าเทียมที่เกิดขึ้นในอดีตของเกาหลี8


SM Entertainment คือบริษัทเพลงยักษ์ใหญ่แห่งหนึ่งในเกาหลีใต้ ไม่ว่าจะผ่านเวลามานานแค่ไหนศิลปินของ SM ก็ยังคงตีตลาดเพลงได้ทั่วโลก ซึ่ง Red Velvet เป็นหนึ่งในศิลปินของ SM ที่ประสบความสำเร็จนับตั้งแต่ Girl's Generation และ F(x) นับตั้งแต่ไอรีนเดบิวตลอดช่วง 6 ปีที่ผ่านมา เธอประสบความสำเร็จและวงก็ติดอันดับ 3 อันดับเกริล์กรุ๊ปยอดฮิตในเกาหลีด้วยค่ะ 


จากเหตุการณ์ของไอรีน Red velvet ทำให้เกิดประเด็นถกเถียงอย่างต่อเนื่องบนโลกอินเตอร์เน็ตจนมีการหยิบยกคำนิยามของฝ่าย AและBขึ้นมา และพบกับตัวอย่างเหตุการณ์ความไม่เท่าเทียมที่เกิดขึ้นในอดีตของเกาหลี10


ไอรีน เป็นลีดเดอร์ของ Red Velvet และเป็นหนึ่งในศิลปินยอดนิยมของ SM Entertainment และเธอก็ได้รับความชื่นชมเพราะความสวยที่เฟอร์เฟคและบุคลิกภาพของเธอ จนกลายเป็นไอดอลหญิงที่ขึ้นชื่อเรื่องความสวยงามอันดับต้นๆของวงการค่ะ และเพราะภาพลักษณ์ที่ดีของเธอทำให้เหตุการณ์นี้ที่ดูขัดกับภาพลักษณ์กลายเป็นประเด็นที่ถูกพูดถึงอย่างหนักค่ะ




วัฒนธรรมคู่กรณีฝ่าย Aและฝ่าย Bในเกาหลี

ทำไมจึงเกิดความไม่เท่าเทียมในสังคมเกาหลี?

จากเหตุการณ์ของไอรีน Red velvet ทำให้เกิดประเด็นถกเถียงอย่างต่อเนื่องบนโลกอินเตอร์เน็ตจนมีการหยิบยกคำนิยามของฝ่าย AและBขึ้นมา และพบกับตัวอย่างเหตุการณ์ความไม่เท่าเทียมที่เกิดขึ้นในอดีตของเกาหลี11

ที่มา:백전백승

สังคมเกาหลีให้ความสำคัญกับเรื่องอายุอย่างมาก ผู้ที่มีอายุมากกว่าถือเป็นคนที่มีอำนาจเหนือกว่าและผู้ที่อายุน้อยกว่าต้องเป็นฝ่ายที่เชื่อฟังค่ะ ดังนั้นในสังคมเกาหลีผู้ที่มีอายุมากกว่า รวมถึงผู้ที่มีฐานะร่ำรวยและมีชื่อเสียงจึงอยู่ในฐานะฝ่าย A และบุคคลที่อ่อนแอ่หรือบุคคลธรรมดาทั่วไปจะอยู่ในฐานะฝ่าย B


โครงสร้างที่ไม่เท่าเทียมของสังคมเกาหลีทำให้สังคมเกาหลีเข้าใกล้กับความเป็นลัทธิทุนนิยม ที่ผู้คนต่างแข่งขันกันเพื่อความสำเร็จ ทั้งการแข่งขันเข้ามหาวิทยาลัยดังๆ,การเข้าทำงานบริษัทใหญ่ๆ และสุดท้ายบุคคลเหล่านั้นก็ตกอยู่ในฐานะฝ่าย B และต้องทำตามคำสั่งของฝ่าย A เพื่อรักษาผลประโยชน์ค่ะ


จากเหตุการณ์ของไอรีน Red velvet ทำให้เกิดประเด็นถกเถียงอย่างต่อเนื่องบนโลกอินเตอร์เน็ตจนมีการหยิบยกคำนิยามของฝ่าย AและBขึ้นมา และพบกับตัวอย่างเหตุการณ์ความไม่เท่าเทียมที่เกิดขึ้นในอดีตของเกาหลี12


แต่ความจริงแล้วลึกๆทุกคนก็ต้องการเป็นฝ่าย A แต่ในโลกแห่งความจริงมีคนจำนวนมากที่ต้องตกอยู่ในฐานะฝ่าย B อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ค่ะ แต่เมื่อใดที่มีโอกาสเป็นฝ่าย A คนเหล่านั้นมักจะใช้อำนาจเพื่อกลั่นแกล้งคนที่อ่อนแอ่กว่าเช่นเดียวกัน ยกตัวอย่างเช่น วัฒนธรรมในกรมทหารเกาหลีที่ทุกคนคงเคยได้ยินกันมาแล้วค่ะ

👉ข่าวลือด้านมืดเกี่ยวกับกรมทหารเรือเกาหลี



วัฒนธรรมคู่กรณีฝ่าย Aและฝ่าย Bในเกาหลี

กรณีของพนักงานต้อนรับของ Korean Air, Namyang Dairyและพนักงานรักษาความปลอดภัย

จากเหตุการณ์ของไอรีน Red velvet ทำให้เกิดประเด็นถกเถียงอย่างต่อเนื่องบนโลกอินเตอร์เน็ตจนมีการหยิบยกคำนิยามของฝ่าย AและBขึ้นมา และพบกับตัวอย่างเหตุการณ์ความไม่เท่าเทียมที่เกิดขึ้นในอดีตของเกาหลี12


ย้อนกลับไปเมื่อปี 2014 เกิดประเด็นของโจ ฮยอนอา รองประธานบริษัททายาทของ Korean Air ระหว่างที่เครื่องกำลังจะบินขึ้นเธอได้ต่อว่าพนักงานต้อนรับเพราะว่าไม่แกะถุงถั่วให้กับเธอ เธอคิดว่าตัวเองเป็นลูกค้าชั้น First class ทำไมต้องแกะถั่วด้วยตัวเอง จากนั้นเธอได้เรียกกัปตันออกมาเพื่อต่อว่าและบอกให้กัปตันหยุดการบินค่ะ


หลังจากที่เรื่องนี้ถูกเปิดเผยสู่สังคมเกาหลี ทำให้ Korean Air ถูกกล่าวหาว่าปกป้องรองประธานบริษัทที่แสดงอำนาจอย่างไม่สมควร โดยในตอนนั้นคนเกาหลีต่างเรียกเหตุการณ์ครั้งนั้นว่า "땅콩 회항" ค่ะ


หลังจากโจ ฮยอนอายอมรับผิดและขอโทษสังคมกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น เธอถูกจำคุก 10 เดือนในข้อหาขัดขวางการรักษาความปลอดภัยของสายการบินและการกระทำรุนแรง จากนั้นคนเกาหลีจำนวนมากต่างแสดงความโกรธเกรี้ยวในฐานะของฝ่าย B จนทำให้เกิด "กฏหมายการกลั่นแกล้งในที่ทำงาน" เมื่อปี 2019 ค่ะ


จากเหตุการณ์ของไอรีน Red velvet ทำให้เกิดประเด็นถกเถียงอย่างต่อเนื่องบนโลกอินเตอร์เน็ตจนมีการหยิบยกคำนิยามของฝ่าย AและBขึ้นมา และพบกับตัวอย่างเหตุการณ์ความไม่เท่าเทียมที่เกิดขึ้นในอดีตของเกาหลี13ที่มา:UPI뉴스

นอกจากนั้นยังมีเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นกับพนักงานของบริษัท Namyang Dairy ที่ถูกกลั่นแกล้งโดยผู้บริหาร หลังจากที่เรื่องนี้ถูกเปิดเผย คนจำนวนมากได้แสดงความไม่พอใจ และพนักงานขายที่ตกเป็นฝ่าย B ได้ก่อตั้งสมาคมเพื่อต่อสู้ทางกฏหมายและปกป้องลูกจ้างจากการกลั่นแกล้งภายในบริษัท ท้ายที่สุดอดีตผู้บริหารของ Namyang Dairy ถูกตัดสินให้จำคุก 1 ปี 6 เดือนค่ะ


จากเหตุการณ์ของไอรีน Red velvet ทำให้เกิดประเด็นถกเถียงอย่างต่อเนื่องบนโลกอินเตอร์เน็ตจนมีการหยิบยกคำนิยามของฝ่าย AและBขึ้นมา และพบกับตัวอย่างเหตุการณ์ความไม่เท่าเทียมที่เกิดขึ้นในอดีตของเกาหลี14

ที่มา:노컷뉴스

เหตุการณ์ที่เกี่ยวของกับฝ่าย B ล่าสุดคือเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นกับพนักงานรักษาความปลอดภัยที่อพาร์ทเมนต์แห่งหนึ่ง ที่มีปัญหากับผู้พักอาศัยเนื่องจากที่จอดรถ โดยผู้พักอาศัยคนดังกล่าวได้ทำร้ายร่างกายพนักงานรักษาความปลอดภัยภายในห้องที่ไม่มีกล้องวงจรปิด และแจ้งเรื่องไปยังสำนักงานอพาร์ทเมนต์เพื่อต้องการให้เขาออกจากงานค่ะ


แม้ว่าพนักงานรักษาความปลอดภัยคนดังกล่าวจะแจ้งตำรวจ แต่ผลการสอบสวนก็ล่าช้า จนเขารู้สึกหดหู่และทนไม่ไหวกับพฤติกรรมคุกคามของฝ่าย A (ผู้พักอาศัย) เขาจึงตัดสินใจฆ่าตัวตายค่ะ เหตุการณ์นี้ทำให้คนเกาหลีจำนวนมากแสดงความไม่พอใจและได้ทำการลงชื่อผ่านเว็บไซด์ของรัฐบาลมากกว่า 300,000 คนเพื่อขอให้รัฐบาลตรวจสอบข้อบังคับกฏหมายการทำงานของกลุ่มผู้ด้อยโอกาสและขอให้แก้ไขกฏหมายคุ้มครองแรงงานด้วยค่ะ

👉การตายของพนักงานรักษาความปลอดภัย



ความจริงแล้วความสัมพันธ์ระหว่างฝ่าย A และฝ่าย B เป็นสิ่งที่อยู่คู่กับสังคมเกาหลีมาอย่างยาวนาน ตราบใดที่คนทั่วไปยังไม่กล้าออกมาเปิดเผยเรื่องราวอันเลวร้ายที่เกิดขึ้น บุคคลนั้นก็จะกลายเป็นฝ่าย B ไปโดยปริยายค่ะ แต่หากพฤติกรรมของฝ่าย A ถูกเปิดเผยเมื่อไหร่ก็จะได้เห็นความเกรี้ยวกราดของฝ่าย B อย่างที่เห็นในตอนนี้ค่ะ


ในกรณีของไอรีน ถึงแม้ว่าเธอจะออกมายอมรับผิดแล้ว แต่การแสงความคิดเห็นแย่ๆบนโลกอินเตอร์เน็ตยังคงเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ซึ่งการแสดงความคิดเห็นในแง่ร้ายก็ถือเป็นไซเบอร์บูลลี่อีกหนึ่งรูปแบบที่ไม่ควรเกิดขึ้นค่ะ


แล้วเจอกันใหม่ครั้งหน้า สวัสดีค่ะ


🤞🏻Subscribe พวกเรา Creatrip บน Youtube 

Creatrip Instagram
instagram.com/creatrip.thailand

🎈ช้อปปิ้ง|สั่งซื้อสินค้าเกาหลี

โพสต์ที่น่าสนใจ
วัฒนธรรมการล่าแม่มดของเกาหลี
MeToo การล่วงละเมิดทางเพศและกระแสสตรีนิยม
ความเลื่อมล้ำทางเพศในสถานที่ทำงาน