MeToo การล่วงละเมิดทางเพศและกระแสสตรีนิยม
หลากหลายความคิดเห็นกับการเคลื่อนไหว"ME TOO" การเรียกร้องสิทธิ์ของผู้ที่ถูกล่วงละเมิดทางเพศ,ค่านิยมผู้ชายเป็นใหญ่, คดีความรุนแรงทางเพศและกระแสสตรีนิยมในประเทศเกาหลีใต้
สวัสดีค่ะ Creatrip ศูนย์รวมข้อมูลการท่องเที่ยวเกาหลีที่อัพเดทโดยคนเกาหลีในทุกๆวัน
#วัฒนธรรมเกาหลี #กระแสสตรีนิยม
#KoreaMeToo #คดีความรุนแรงทางเพศ
เมื่อต้นสัปดาห์ที่ผ่านมีข่าวลือเรื่องการเดทของหนุ่ม T.O.P สมาชิกวง Bigbang กับนักแสดงสาวคิม กาวินปล่อยออกมาให้แฟนๆได้ฮือหากัน นอกจากนั้นยังมีข่าวอดีตแฟนของนักร้องสาวผู้ล่วงลับคู ฮาร่า ที่เป็นช่างทำผมชื่อว่านายชเว ที่ในอดีตทั้งคู่เคยมีปากเสียงจนถึงขั้นทำร้ายร่างกายกัน โดยในตอนนี้ได้มีการเปิดเผยรายละเอียดจากศาล ว่าเขาเคยทำร้ายร่างกายผู้หญิงที่เขามีความสัมพันธ์ด้วยในอดีต......
🤞🏻Subscribe พวกเรา Creatrip บน Youtube
✨Creatrip Instagram
🎈instagram.com/creatrip.thailand
🎈ช้อปปิ้ง|สั่งซื้อสินค้าเกาหลี
เหตุการณ์การใช้ความรุนแรง
- นายชเว ได้เดินทางไปสถานีตำรวจเมื่อวันที่ 13 กันยายน เพื่อแจ้งความว่าเขาถูกทำร้ายร่างกายโดยแฟนสาวของเขา
- ในวันเดียวกันนั้น นายชเวยังได้ให้ข้อมูลเกี่ยวกับแฟนสาวของเขาว่า เธอเป็นผู้มีชื่อเสียงในวงการบันเทิง
- นายชเวเล่าว่า เขาได้บอกเลิกกับแฟนสาวเมื่อวันที่ 15 กันยายนและถูกเธอทำร้ายร่างกาย(ในข่าวมีการโชว์ร่องรอยบาดแผลบนใบหน้า)
- เมื่อวันที่ 17 กันยายนคู ฮาร่าได้เข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาล และมีการเปิดเผยร่องรอยบาดแผลบริเวณหัวเข่าและข้อศอกผ่านสื่อออนไลน์ และกล่าวว่าเธอถูกนายชเวทำร้ายร่างกายทั้งการกระทำและคำพูด
- และในวันที่ 17 และ 18 กันยายนนายชเวและคู ฮาร่าได้เข้าแจ้งความที่สถานีตำรวจในกรณีถูกทำร้ายร่างกาย
การเปิดเผยคลิปวิดิโอและข้อขัดแย้ง
- ข่าวเมื่อวันที่ 4 ตุลาคมรายงานว่า นายชเวได้แอบถ่ายวิดิโอในขณะที่กำลังมีกิจกรรมทางเพศเมื่อวันที่ 13 กันยายน(วันที่เข้าแจ้งความ)
- ทั้งคู่ทะเลาะกันหนักขึ้นเรื่อยๆ นายชเวอ้างว่าเขาไม่ได้ต้องการข่มขู่คู ฮาร่า แต่เขาได้ทำการเผยแพร่คลิปดังกล่าวออกไป
- จากกรณีที่มีคลิปหลุด ทางด้านเจ้าหน้าที่ตำรวจได้ทำการตรวจค้นโทรศัพท์มือถือและ USB ของนายชเวในวันที่ 2 ตุลาคม
- ทั้งคู่ได้แจ้งความและต้องการดำเนินคดีทั้งสองฝ่าย โดยได้ยืนยันความจริงจากฝั่งของตนเองเพื่อขอเรียกร้องความยุติธรรม
ปัจจุบันมีกระแสเรียกร้องสิทธิสตรีมากขึ้นในสังคมประเทศเกาหลีใต้ และจากกรณีของนักร้องผู้ล่วงลับคู ฮาร่าไม่เพียงเป็นเรื่องของวงการบันเทิงเท่านั้น ยังได้ก่อให้เกิดกระแสสังคมเรียกร้องให้สังคมหันมาสนใจกับการใช้ความรุนแรงกับผู้หญิงค่ะ
จากกรณีที่มีคลิปลับของนายชเวและคู ฮาร่าหลุดออกมา นายชเวอ้างว่า "การส่งคลิปไปไม่ใช่เพื่อการข่มขู่ แต่เพื่อเป็นการแก้ไขความสัมพันธ์" แต่หลายคนมีความคิดเห็นว่าการเผยแพร่คลิปดังกล่าว เพื่อต้องการที่จะแก้แค้นที่คู ฮาร่าเลิกกับเขาค่ะ
การกระทำแบบนี้ถูกเรียกว่า "การแก้แค้นด้วยคลิปโป๊" และนี่ไม่ใช่ครั้งแรกที่มีการเผยแพร่คลิปลับเพื่อการแก้แค้น ความจริงแล้วมีผู้หญิงเกาหลีหลายคนที่ต้องทนทุกข์ทรมานกับการแก้แค้นนี้ค่ะ การแอบถ่ายและภาพอนาจรถือเป็นสิ่งผิดกฏหมายในประเทศเกาหลีใต้ก็จริง แต่ว่าก็ยังคงมีหลายเว็บไซด์ที่เปิดพื้นที่ให้แชร์และดูคลิปอนาจารค่ะ
หลังจากที่มีข่าวเรื่องคลิปหลุดของคู ฮาร่า บางเว็บไซด์ถึงขั้นตั้งหัวข้อและประกาศตามหาคลิปดังกล่าว 🤬 เป็นเพราะหลายคนยังไม่ตระหนักว่าการกระทำแบบนี้เป็นพฤติกรรมที่เลวร้าย ถือเป็นการคุกคามทางเพศในอีกหนึ่งรูปแบบ และหลายคนยังไม่ตระหนักว่าการแอบถ่ายและรูปอนาจารถือเป็นการล่วงละเมิดทางเพศเช่นกันค่ะ
อาชกรรมทางเพศในรูปแบบดิจิทัล ประเทศเกาหลี:ความรุนแรงของสื่อลามาก
วิดิโอส่วนใหญ่ในเว็บไซด์ลามกอนาจารภายในประเทศเกาหลีเป็นการแอบถ่ายเพื่อการแก้แค้น!! ภาพและคลิปอนาจารถูกเผยแพร่เพื่อเป็นการแก้แค้นหลังจากที่คู่รักเลิกรากันไป เป็นภาพและวิดิโอในช่วงเวลาที่พวกเขากำลังความสุขกันอยู่ค่ะ
ด้วยเทคโนโลยีของกล้องแบบสมัยใหม่ ทำให้สามารถพกพาง่ายและสะดวกต่อการถ่ายได้ทุกที่ กล้องแอบถ่ายมีทั้งในรูปแบบของรูปทรงแก้วน้ำ,ปากกา,ขวดน้ำและอุปกรณ์เครื่องใช้ทั่วๆไป ทำให้ผู้หญิงหลายๆคนไม่รู้ว่ากำลังถูกแอบถ่ายอยู่ค่ะ
หลากหลายสถานการณ์ที่ชักจูงให้ผู้หญิงหลายคนต้องจำยอมสำหรับการถ่ายวิดิโอขณะกำลังมีเพศสัมพันธ์ บางครั้ง"อาจจะถูกข่มขู่เพื่อให้ยอมถ่ายภาพและวิดิโอ" ในหลายๆกรณีที่ผู้หญิงถูกข่มขู่จนเกิดความหวาดกลัว ทำให้ต้องยินยอมในทุกสถานการณ์และหลายครั้งที่คลิปถูกใช้ข่มขู่เมื่อฝ่ายหญิงต้องการที่จะเลิก และจะโดนขู่ว่าจะปล่อยคลิปที่แอบถ่ายไว้ให้อับอายค่ะ!! 🤬
จากรายงานข่าว มีรายงานว่าคลิปอนาจารไม่ได้มาจากการแอบถ่ายระหว่างคู่รักเพียงอย่างเดียว แต่ยังมีคลิปที่ถูกแอบถ่ายจากห้องพัก โดยชายคนหนึ่งที่ได้ทำการติดตั้งกล้องแอบถ่ายไว้ในห้องพักถึง 17 ห้องและภายในระยะเวลา 4 ปีมีคลิปที่ถูกแอบถ่ายมากกว่า 2,000 คลิปค่ะ
ปัญหาที่น่าหนักใจที่สุดก็คือ คลิปอนาจารเหล่านี้สามารถถูกเผยแพร่บนอินเตอร์เน็ตได้อย่างง่ายดาย และหลายๆคนก็ดูคลิปโดยไม่สนใจว่าเป็นเรื่องที่ผิดกฏหมาย...... 😤
อาชกรรมทางเพศในรูปแบบดิจิทัล ประเทศเกาหลี:พบกล้องแอบถ่ายในทุกๆที่
ไม่เพียงแค่การแอบถ่ายคลิปอนาจารจะเป็นปัญหาที่น่าหนักใจเท่านั้น ยังพบว่ามีการแอบติดตั้งกล้องขนาดเล็กเอาไว้ในสถานที่สาธารณะต่างๆเช่น ห้องเปลี่ยนเสื้อผ้า,ห้องน้ำสาธารณะและบนรถไฟใต้ดินค่ะ ทำให้ผู้หญิงเกาหลีหลายๆคนถึงขั้นหวาดกลัวการเข้าห้องน้ำสาธารณะ ถ้าหากพบรูหรืออุปกรณ์แปลกๆในสถานที่ต่างๆก็ทำให้เกิดการหวาดกลัวว่าจะเป็นกล้องแอบถ่ายค่ะ
ปัจจุบันมีเทคโนโลยีสำหรับการตรวจจับกล้องขนาดเล็กที่ถูกติดตั้งไว้เพื่อแอบถ่าย โดยใช้อุปกรณ์อิเล็กโทรนิกส์หรือแอฟพลิเคชั่นในมือถือเพื่อการตรวจสอบค่ะ บางคนจะคอยสังเกตุช่องหรือรูที่ต่างๆ หากพบช่องที่น่าสงสัยก็จะทำลายหรือไม่ก็หาอะไรมาปิดเอาไว้เพื่อความสบายใจค่ะ
การเข้าห้องน้ำสาธารณะหรือห้องเปลี่ยนเสื้อผ้าถือเป็นเรื่องที่น่ากังวลใจ หลายครั้งที่ต้องตรวจสอบพื้นที่รอบๆก่อนเพื่อความสบายใจค่ะ
อาชกรรมทางเพศในรูปแบบดิจิทัล ประเทศเกาหลี:เสียงสะท้อนและการเรียกร้องสิทธิ์
ในอดีตผู้หญิงหลายคนเคยหวาดกลัวกับคลิปอนาจารที่ถูกแอบถ่าย แต่ในปัจจุบันมีกระแสสังคมที่เรียกร้องให้คนหันมาสนใจกับปัญหาที่เกิดขึ้น โดยใช้สโลแกนว่า "ME TOO" เพื่อผลักดันให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในสังคมเกาหลี ทั้งเรื่องปัญหาการแอบถ่าย,อาชกรรมทางเพศและเรียกร้องให้เพิ่มโทษผู้กระทำผิดค่ะ
การประท้วงที่สถานีฮยอฮวาเมื่อปี 2018
ตั้งแต่เดือนพฤษภาคมปี 2018 ได้เกิดการประท้วงเพื่อเรียกร้องสิทธิสตรีบริเวณสถานีฮยอฮวา ที่กรุงโซลค่ะ โดยการประท้วงจะถูกจัดขึ้นทั้งหมด 5 ครั้งจนถึงเดือนตุลาคมค่ะ
การประท้วงที่สถานีฮยอฮวาครั้งแรกเกิดขึ้นจากกรณีที่ชายคนหนึ่งได้ถูกเผยแพร่ภาพอนาจารในบริเวณย่านฮงแด
จุดประสงค์หลักของการประท้วงครั้งแรกคือ"เพราะผู้กระทำผิดเป็นผู้หญิงและเหยื่อเป็นผู้ชาย ปัญหาครั้งนี้ถึงได้ถูกแก้ไขอย่างรวดเร็ว เราเชื่อว่าถ้าเหยื่อเป็นผู้หญิง ปัญหาจะไม่ถูกแก้ไขรวดเร็วขนาดนี้" จนทำให้เกิดสโลแกน "ME TOO" ที่เกิดขึ้นจากการที่สังคมเกาหลีปฏิบัติต่อผู้ชายกับผู้หญิงอย่างไม่เท่าเทียมกัน "me too!! และฉันที่เป็นผู้หญิงก็ถูกกระทำเช่นกัน!! "
มีผู้เข้าร่วมการประท้วงครั้งแรกประมาณ 12,000 คนแต่มีเจ้าหน้าที่ตำรวจควบคุมสังเกตการณ์มากกว่า 10,000 นาย และจากการประท้วงทั้งห้าครั้งก็ก่อให้เกิดกระแสสังคม โดยแบ่งแยกเป็นสองฝ่ายคือ ฝ่ายสนับสนุนและฝ่ายต่อต้านค่ะ
การประท้วงที่ถูกจัดขึ้นมีผู้เข้าร่วมมากขึ้นเรื่อยๆ โดยการประท้วงที่สถานีฮยอฮวาครั้งนี้ถือเป็น "การประท้วงเพื่อเรียกร้องสิทธิสตรี" ความเลื่อมล้ำทางเพศ จนทำให้หลายฝ่ายกังวลใจว่า การประท้วงครั้งนี้จะทำลายภาพลักษณ์ของกลุ่มสิทธิสตรีของประเทศเกาหลีใต้ค่ะ
การประท้วงที่สถานีกังนัมในปี 2016
ก่อนการประท้วงที่สถานีฮยออวาในปี 2016 เคยเกิดการประท้วงในลักษณะคล้ายๆกันขึ้นที่สถานีกังนัมในปี 2016 ค่ะ
แม้ว่าจำนวนผู้เข้าร่วมการประท้วงในปี 2016 จะไม่มากเท่ากับการประท้วงที่สถานีฮยอฮวาและระยะเวลาการประท้วงถูกจัดขึ้นในช่วงสั้นๆเท่านั้น แต่การประท้วงในครั้งนั้นก็เป็นอีกหนึ่งแรงผลักดันทำให้เกิด "กระแส ME TOO" และ "กระแสสตรีนิยม" ในสังคมเกาหลีในอนาคตค่ะ
การประท้วงเกิดจากคดีฆาตกรรมแบบสุ่มที่สถานีกังนัมเมื่อเดือนพฤษภาคมปี 2016 โดยเกิดจากชายคนหนึ่งผู้มีความเกลียดชังผู้หญิง ได้เข้าไปยังห้องน้ำและทำการฆาตกรรมเหยื่อแบบสุ่มค่ะ
เหตุการณ์ครั้งนั้นสร้างความตื่นตระหนกให้กับสังคมเกาหลีเป็นอย่างมาก จนก่อให้เกิดการไว้อาลัยแก่เหยื่อขึ้นบริเวณสถานีกังนัมค่ะ ในสถานที่ไว้อาลัยมีผู้หญิงจำนวนมากที่แสดงความเสียใจและหวาดกลัวต่อเหตุการณ์ทั้งหมด มันสร้างบาดแผลและย้ำเตือนให้ผู้หญิงนึกถึงช่วงเวลาที่พวกเธอเคยถูกทำร้าย บางคนพูดทั้งน้ำตาว่า "เพราะฉันเป็นผู้หญิง ซักวันฉันอาจจะตาย"😥
ช่วงท้ายของการประท้วงบรรดาผู้หญิงที่มีความโกรธแค้นต่อเหตุการณ์ครั้งนี้ ได้ต่อว่าผู้ชายขอให้หยุดการกระทำอันโหดร้ายและเลิกปฏิบัติเหมือนกับผู้ชายอยู่เหนือกว่า จนทำให้เกิดการขัดแย้งเกิดขึ้นกินระยะเวลาเกือบหนึ่งเดือน ถึงแม้ว่าหลังจากนั้นปัญหาทุกอย่างจะสงบลง แต่เหตุการณ์ครั้งนี้ก็ทำให้เกิดประเด็นเรื่องสิทธิสตรีขึ้นมาให้สังคมเกาหลีค่ะ
ความรู้เรื่องเพศสมัยโบราณของประเทศเกาหลี
"เพื่อหลีกเลี่ยงคดีทางเพศ ผู้หญิงไม่ควรอยู่ตัวคนเดียว" นี่เป็นประโยคจากหนังสือที่ฟังดูแล้วไม่ค่อยฉลาดเท่าไหร่ หมายความว่าแทนที่ผู้หญิงจะสามารถใช้ชีวิตของตัวเองและอยู่ร่วมกับเพศตรงข้าม ผู้หญิงควรจะอยู่แต่บ้านกับพ่อแม่อย่างนั้นหรือ? ในความเป็นจริงแล้ว ข้อความแบบนี้เป็นการทำร้ายความรู้สึกของผู้หญิง ตีหมายความว่าผู้หญิงต้องรักษาตัวเองแต่ผู้ชายจะทำอะไรก็ได้อย่างนั้นหรือ? หนังสือยังบอกอีกว่าผู้ชายมีสัญชาตญาณเหมือนสัตว์ป่าที่ไม่สามารถต้านทานได้และผู้หญิงก็เป็นเหยื่อเสมอ (ข้อความนี้มาจากหนังสือที่อ้างว่าเป็นมุมมองที่ได้จากเหยื่อ?)
ถ้าการที่หลายๆคนยังคงมีความเชื่อว่าผู้ชายเปรียบเสมือนสัตว์ป่าที่มีสัญชาตญาณที่ไม่สามารถควบคุมได้ ในขณะเดียวกันผู้หญิงก็ต้องตกเป็นเหยื่อเสมอ ลองคิดดูว่าถ้าความคิดแบบนี้ถูกส่งต่อไปยังรุ่นลูกรุ่นหลานเรื่อยๆ พวกเขาจะได้รับข้อความที่ผิดๆทำให้เกิดความเข้าใจเกี่ยวกับเรื่องเพศแบบผิดๆไปด้วย และสุดท้ายแล้วผู้ชายจะถูกมองว่าเป็นผู้กระทำเสมอค่ะ.......
กระแสและแรงผลักดัน Me Too
ก่อนการประท้วงที่สถานีฮยอฮวา ได้เกิดกระแสสังคมเพื่อเรียกร้องสิทธิสตรีตั้งแต่ช่วงต้นปี 2018 ในสังคมเกาหลี และนั้นก็เป็นอีกหนึ่งแรงผลักดันทำให้เกิดกระแส ME TOO เกิดขึ้นค่ะ
กระแส ME TOO เกิดขึ้นครั้งแรกที่สหรัฐอเมริกาเมื่อปี 2006 จุดประสงค์หลักของการเคลื่อนไหวเพื่อต้องการให้กำลังใจผู้หญิงและเด็ก ที่ต้องตกเป็นเบี้ยล่างของสังคม ให้มีกำลังใจและความกล้าที่จะเผชิญกับสถานการณ์ที่เลวร้ายค่ะ
การเคลื่อนไหว ME TOO ในประเทศเกาหลีใต้ เกิดขึ้นหลังจากที่มีพนักงานงานอัยการผู้หญิงคนหนึ่ง เปิดเผยว่าเธอถูกล่วงละเมิดทางเพศที่สำนักงานอัยการเมื่อปี 2018 ค่ะ เธอใช้ความกล้าทั้งหมดเพื่อเปิดเผยเรื่องราวการถูกล่วงละเมิดทางเพศ เธอต้องทนทุกข์ทรมานกับสิ่งที่เกิดขึ้นแแต่หลังจากการเปิดเผย เธอกลับถูกกล่าวหาและปล่อยข่าวเท็จสร้างความเสียหายให้กับอาชีพของเธอค่ะ
หลังจากที่เหยื่อการคุกคามทางเพศต้องเผชิญกับปัญหาข่าวลือและการนินทา พวกเขาได้ใช้ความกล้าทั้งหมดออกมาเรียกร้องจนทำให้เกิดกระแส ME TOO ค่ะ ในปัจจุบันกระแส ME TOO ได้ถูกใช้ในโรงเรียนมัธยมด้วย นักเรียนหลายๆคนกล่าวว่า "เคยได้ยินคำพูดที่ไม่ดีจากครู ทำให้รู้สึกอึดอัด" แต่เพราะพวกเขาเป็นเพียงนักเรียนและอีกฝ่ายเป็นครู ทำให้พวกเขาไม่สามารถปฏิเสธได้ค่ะ
ข่าวการฆ่าตัวตายของเหยื่อผู้ถูกกระทำมีให้เห็นอยู่เสมอ เหตุการณ์การฆ่าตัวตายของจัง จายอน หลังจากมีการเผยแพร่ภาพหลุดของเธอเมื่อ 10 ปีที่แล้ว จะมีคนเกาหลีซักกี่คนที่ยังจำได้? แล้วเราต้องเห็นข่าวแบบนี้ไปอีกนานแค่ไหน ?
อาชกรรมทางเพศในรูปแบบดิจิทัล ประเทศเกาหลี:สิทธิมนุษยชนที่ทุกคนควรตระหนัก
กระแสการเรียกร้องสิทธิสตรีตั้งแต่ปี 2016 ได้ก่อให้เกิดการเคลื่อนไหวเรียกร้องเกี่ยวกับสิทธิมนุษยชน โดยกล่าวว่าผู้ชายและผู้หญิงควรได้รับการปฏิบัติที่เท่าเที่ยมกัน แต่อย่างไรก็ตามก็ยังมีบางส่วนที่ไม่เห็นด้วยกับความคิดนี้ค่ะ การที่จะเปลี่ยนแปลงความคิดของคนนั้นเป็นเรื่องยากต้องเริ่มจากพื้นฐานค่ะ แต่เมื่อพิจารณาจากสังคมเกาหลีแล้ว การที่จะปรับเปลี่ยนความคิดของคนนั้นถือเป็นเรื่องยากและมักจะก่อให้เกิดความขัดแย้งเสมอๆค่ะ
กระแสการเรียกร้องสิทธิสตรีนั้นเมื่อมีผู้สนับสนุน ย่อมมีผู้ต่อต้านเสมอค่ะ
แล้วเราจะปล่อยให้ความคิดที่ว่า "ผู้ชายเป็นผู้ล่า" ต้องทำร้ายผู้บริสุทธิ์อีกนานแค่ไหนกัน ? ต้องมีเหยื่ออีกกี่คนถึงจะพอให้เกิดการเปลี่ยนแปลง? หลายความคิดเห็นยังคงเข้าใจผิดและมองว่าการเคลื่อนไหวของผู้หญิงในครั้งนี้คือ "ความคิดแบบสตรีนิยม" หรือแม้แต่เรื่อง "ความหมกหมุ่นของเพศหญิง"ค่ะ
คนในวงการบันเทิงหลายคนออกมาสนับสนุนการเคลื่อนไหวในครั้งนี้ แต่พวกเขากลับโดนกระแสต่อต้าน,ความคิดเห็นแย่ๆ หรือแม้แต่การกระทำแย่ๆค่ะ ทำไมการเรียกร้องสิทธิสตรีถึงกลายเป็นปัญหา ? ทุกคนควรมีสิทธิ์เท่ากันไม่ใช่หรือ? ไม่ว่าจะอยู่ในสถานการณ์แบบไหน,เพศ,ศาสนา,เชื้อชาติ,อายุ, ฐานะทางการเงินแบบไหน เพราะทุกคนเป็นมนุษย์เหมือนกัน ดังนั้นควรได้รับการปฏิบัติที่เท่าเทียมกันค่ะ!!!
ความกังวลจากการถูกทำร้ายร่างกายจากคู่รัก,ความกลัวเรื่องคลิปและการแอบถ่าย,ความกังวลในการใช้ห้องน้ำสาธารณะ,ความกลัวและความทุกข์ทรมานจากการถูกล่วงละเมิดทางเพศ,คดีความรุนแรงทางเพศ ทุกสถานการณ์สามารถเกิดขึ้นได้ในชีวิตประจำวัน แม้แต่ในบ้านของเรา แล้วเราจะปล่อยให้มันเกิดขึ้นไปอีกนานแค่ไหน?
แน่นอนว่าเหตุการณ์ทั้งหมดจะไม่เกิดขึ้น ถ้าทุกคนเคารพและปฏิบัติต่อกันอย่างเท่าเทียม ปัญหาทุกอย่างจะสามารถแก้ไขได้ค่ะ เริ่มจากตัวเราก่อนเป็นอย่างแรกและทุกอย่างจะดีขึ้นเรื่อยๆค่ะ
แล้วเจอกันใหม่ครั้งหน้า สวัสดีค่ะ
🤞🏻Subscribe พวกเรา Creatrip บน Youtube
✨Creatrip Instagram
🎈instagram.com/creatrip.thailand
🎈ช้อปปิ้ง|สั่งซื้อสินค้าเกาหลี
โพสต์ที่น่าสนใจ |
หมู่บ้านจิตรกรรมฝาผนังอีฮวา |
การพักโมเทลที่เกาหลี ฮเยฮวา แทฮังโน |
Powered by Froala Editor