logo
logo
DEPRECATED_CloseIcon

การพัฒนากลยุทธ์และเอาตัวรอดของบริษัทค่ายเพลงในเกาหลี

การพัฒนากลยุทธ์เอาตัวรอดของค่ายเพลงเกาหลี ภายใต้ความก้าวหน้าของเทคโนโลยี, โรคระบาดและการรวมตัวกันของ Big Hit, JYP และ SM

DefaultProfileIcon
찬이 @creatrip reporter
4 years ago
การพัฒนากลยุทธ์และเอาตัวรอดของบริษัทค่ายเพลงในเกาหลี-thumbnail
การพัฒนากลยุทธ์และเอาตัวรอดของบริษัทค่ายเพลงในเกาหลี-thumbnail

สวัสดีค่ะทุกคน! พวกเรา Creatrip ศูนย์รวบรวมข้อมูลการท่องเที่ยวเกาหลีที่อัพเดทโดยคนเกาหลีในทุกๆวัน


#ค่ายเพลงเกาหลี
#KPOP #ไอดอล

เมื่อเร็วๆนี้ ค่ายเพลงต่างๆในเกาหลีได้เผยแพร่รายงานการดำเนินงานสำหรับในช่วงครึ่งปีแรกไป ซึ่งเมื่อมองไปที่ช่วงครึ่งปีแรกของปี 2020เพียงอย่างเดียวก็มีเหตุการณ์สำคัญเกิดขึ้นมากมายเลยค่ะ


🤞🏻 ติดตามพวกเรา Creatrip บน Youtube

✨Creatrip อินสตาแกรม

instagram.com/creatrip.thailand

🎈ช้อปปิ้ง|สั่งซื้อสินค้าเกาหลี


การพัฒนากลยุทธ์เอาตัวรอดของค่ายเพลงเกาหลี ภายใต้ความก้าวหน้าของเทคโนโลยี, โรคระบาดและการรวมตัวกันของ Big Hit, JYP และ SM




Big Hit Labels: การรวมกันของค่ายเพลงขนาดเล็กที่มีศักยภาพ

สำหรับคนที่สนใจไอดอลก็มีเรื่องที่ควรรู้เกี่ยวกับ "Source Music, Pledis Entertainment และ Big Hit" ที่ได้กลายมาเป็นครอบครัวเดียวกันแล้วค่ะ และนี่คือปรากฎการณ์สำคัญในวงการไอดอลอย่างไม่ต้องสงสัย

นั่นหมายความว่า BTS (Big Hit), Tomorrow X Together (Big Hit), NU'EST (Pledis), SEVENTEEN (Pledis) และ Gfriend (Source Music) ได้กลายเป็นนักร้องภายใต้แบรนด์เดียวกันนั่นเอง

โดยเฉพาะ BTS และ SEVENTEEN ที่มาอยู่บริษัทเดียวกัน ซึ่งนับว่ามีบอยแบนด์ถึงสองจากสามวงที่แข็งแกร่งที่สุด (EXO, BTS, SEVENTEEN) มาอยู่ด้วยกัน และตามสถิติของ Goan Chart Music BTS และ SEVENTEEN มียอดขายอัลบั้มของทั้ง 2 วงรวมกันในช่วงครึ่งแรกของปีนี้คิดเป็น 53% ของยอดขายทั้งหมด 10 อันดับแรก จะเห็นได้ว่าทั้ง 2 กลุ่มเป็นวงที่มีอิทธิพลอย่างมากเลยค่ะ


การพัฒนากลยุทธ์เอาตัวรอดของค่ายเพลงเกาหลี ภายใต้ความก้าวหน้าของเทคโนโลยี, โรคระบาดและการรวมตัวกันของ Big Hit, JYP และ SM




ค่ายเพลงใหญ่

อีกเหตุการณ์ที่ยิ่งใหญ่สุดๆในช่วงครึ่งปีหลังของปี 2020 คือการลงทุนของ NAVER ใน SM กว่า 1 แสนล้านวอน และ SM และ JYP ได้ร่วมกันจัดตั้งบริษัทเฉพาะสำหรับจัดคอนเสิร์ตออนไลน์

เมื่อวันที่ 3 สิงหาคมที่ผ่านมา SM ประกาศว่า NAVER จะถือยอดรวม 1 แสนล้านวอนของสามบริษัทในเครือ SMEJ Plus, Misticstory และ Contents Fund ของ SM และในวันต่อมา SM และ JYP ได้ประกาศจัดตั้ง "Beyond LIVE Corporation · BLC" เพื่อร่วมกันวางแผนและดำเนินงานแบรนด์คอนเสิร์ตออนไลน์ Beyond LIVE

หากเหตุการณ์แบบนี้ไม่ได้เกิดขึ้นในอุตสาหกรรมบันเทิง แต่เป็นเหตุการณ์ทางการเมืองหรือสังคมก็เรียกได้ว่าเป็น"กลยุทธ์การควบรวมในแนวราบและแนวดิ่ง"นั่นเอง


การพัฒนากลยุทธ์เอาตัวรอดของค่ายเพลงเกาหลี ภายใต้ความก้าวหน้าของเทคโนโลยี, โรคระบาดและการรวมตัวกันของ Big Hit, JYP และ SMการพัฒนากลยุทธ์เอาตัวรอดของค่ายเพลงเกาหลี ภายใต้ความก้าวหน้าของเทคโนโลยี, โรคระบาดและการรวมตัวกันของ Big Hit, JYP และ SM


ปรากฎการณ์ใหม่ในตลาดอุตสาหกรรมบันเทิง

หลังจากได้เห็นรายงานดังกล่าวแล้วก็อดไม่ได้ที่จะนึกถึงการมาของยุค "บริษัทบันเทิงยักษ์ใหญ่หกแห่ง" หรือ "Big Six" ซึ่งที่กล่าวถึงในที่นี้รวม 3 ค่ายใหญ่อย่าง SM, JYP, YG, และค่ายใหญ่ไฟแรงอย่าง Big Hit, kakao M และ CJ ENM (Stone Music) จากมุมมองของตลาด ถ้าเพิ่ม NAVER อีกก็จะถือเป็นสุดยอดบริษัทยักษ์ใหญ่เจ็ดแห่งเลยทีเดียว


ยิ่งถ้าพูดถึงสถานะของ SM, JYP, YG, Big Hit และอิทธิพลของศิลปินในค่ายก็เรียกว่าไม่ใช่เล่นๆเลยทีเดียว


Kakao M หรือก่อนหน้านี้คือ LOEN Entertainment เป็นบริษัทผลิตและจัดจำหน่ายเพลงและยังมีส่วนร่วมในการวางแผนการจัดอีเวนต์และคอนเสิร์ตอื่นๆอีกด้วย ธุรกิจของบริษัทยังรวมถึงการบริหารดูแลศิลปิน, EDAM entertainment, Play M entertainment, Starship entertainment, Cre.Ker entertainment และค่ายอื่นๆ


CJ ENM (Stone Music) ยังมีค่ายย่อยๆเช่น Swing Entertainment และ Off The Record Entertainment นอกจากนี้ยังมีการร่วมมือกันกับ WM Entertainment, Lehua Entertainment, RBW Entertainment, MNH Entertainment, KQ Entertainment และบริษัทอื่นๆ ซึ่งCJ ENMก็อยู่ใน 50 อันดับแรกของเศรษฐกิจองค์กรขนาดใหญ่ในเกาหลีใต้เลยทีเดียว


บริษัททั้งหกแห่งนี้มีความแตกต่างไปตามวัฒนธรรมของตัวเอง แต่โดยส่วนใหญ่แล้วพวกเขามีสี่อย่างที่เหมือนกันดังนี้:


1. ช่องที่มีผู้ติดตามสูง (เช่น BANGTANTV, 1TheK, BLACKPINK ฯลฯ )

การพัฒนากลยุทธ์เอาตัวรอดของค่ายเพลงเกาหลี ภายใต้ความก้าวหน้าของเทคโนโลยี, โรคระบาดและการรวมตัวกันของ Big Hit, JYP และ SMการพัฒนากลยุทธ์เอาตัวรอดของค่ายเพลงเกาหลี ภายใต้ความก้าวหน้าของเทคโนโลยี, โรคระบาดและการรวมตัวกันของ Big Hit, JYP และ SMการพัฒนากลยุทธ์เอาตัวรอดของค่ายเพลงเกาหลี ภายใต้ความก้าวหน้าของเทคโนโลยี, โรคระบาดและการรวมตัวกันของ Big Hit, JYP และ SM



2. สามารถผลิตคอนเทนต์ขึ้นมาเอง (เช่น SM C&C, Mnet)

การพัฒนากลยุทธ์เอาตัวรอดของค่ายเพลงเกาหลี ภายใต้ความก้าวหน้าของเทคโนโลยี, โรคระบาดและการรวมตัวกันของ Big Hit, JYP และ SMคอนเทนต์ก่อนเดบิวต์ของวง Weeekly


3. สร้างกลุ่มศิลปินตามตลาดแต่ละประเทศ (JO1, NiziU, Weishen V ฯลฯ ) หรือสร้างระบบคอนเสิร์ตแบบ UNTACT เพื่อขยายฐานไปต่างประเทศ


การพัฒนากลยุทธ์เอาตัวรอดของค่ายเพลงเกาหลี ภายใต้ความก้าวหน้าของเทคโนโลยี, โรคระบาดและการรวมตัวกันของ Big Hit, JYP และ SMNiziU เกิร์ลกรุ๊ปที่มีเมมเบอร์ญี่ปุ่นล้วน

4. มียอดขายอัลบั้มและloyaltyสูง



จากสี่ประเด็นข้างต้นจะเห็นได้ว่าบริษัททั้งหกแห่งนี้ (แม้จะไม่มีสถานีโทรทัศน์ก็ยังมีอำนาจ) มีความสามารถในการสร้างศิลปินไอดอลตั้งแต่การเทรน การโปรโมตไปจนถึงการสร้างรายได้และจัดตั้งบริษัทย่อยที่แตกต่างกันเพื่อช่วยให้บรรลุเป้าหมายได้มากขึ้น


แม้จะไม่สามารถพูดได้เต็มปากว่าบริษัททั้งหกนี้เดินทางบนถนนดอกไม้ (โดยเฉพาะอย่างยิ่งหลังจากการทำงานของ CJ ENM ในซีรีส์ Produce ที่ทำให้ความน่าเชื่อถือของบริษัทถูกตั้งคำถามและกำลังเป็นปัญหา หรือรายการsurvival "I-LAND" ของ Big Hit Entertainmentที่กลับมีเรตติ้งต่ำ) แต่ก็ไม่สามารถปฏิเสธได้เลยว่าบริษัทใหญ่ๆมีพื้นฐานที่แตกต่างจากค่ายบันเทิงอื่นๆในระดับนึงเลยค่ะ




ปัญหาที่ค่ายเล็กต้องเผชิญ

ในอดีตความแตกต่างระหว่างค่ายขนาดใหญ่และขนาดเล็กนั้นมีมาก แม้ความสำคัญของตลาดต่างประเทศจะเพิ่มขึ้น แต่ในขณะเดียวกันอิทธิพลของตลาดในเกาหลีใต้(โดยเฉพาะตลาดอีเวนต์)ที่มีต่อไอดอลก็ลดลงซึ่งทำให้เกิดช่องว่างมากขึ้นจนค่ายขนาดเล็กไม่สามารถไปต่อได้


คอนเสิร์ตออนไลน์ของ BTS สร้างรายได้มากกว่า 2 แสนล้านวอน ซึ่งสะท้อนการมาถึงของยุคใหม่ แต่ในขณะเดียวกันก็ยังมีหลายค่ายที่ต้องปิดตัวลงเพราะไม่มีอะไรทำ


แน่นอนว่าในอดีตไอดอลนับไม่ถ้วนล้วนประสบความล้มเหลว แต่ในอดีตนั้นเป็นสถานการณ์ที่สามารถ "ลองทำอะไรก็ได้ที่ต้องการแล้วค่อยตาย" แต่ตอนนี้สถานการณ์กลับกลายเป็น "ถ้าทำอะไรไม่ได้ก็เท่ากับล้มเหลว" โดยเฉพาะอย่างยิ่งหลังการระบาดของโควิด 19


การพัฒนากลยุทธ์เอาตัวรอดของค่ายเพลงเกาหลี ภายใต้ความก้าวหน้าของเทคโนโลยี, โรคระบาดและการรวมตัวกันของ Big Hit, JYP และ SMSPECTRUM ปิดกิจการ

แต่ก่อนไอดอลรุ่นแรกๆที่มีชื่อเสียงส่วนใหญ่มาจากค่ายใหญ่ทั้งสามแห่ง แต่ก็ยังมีค่ายขนาดเล็กบ้างที่ได้เฉิดฉาย ศิลปินรุ่นที่สองจากในค่ายก็ยังมีชื่อเสียงเช่นกัน แต่ถึงตอนนี้ไอดอลที่มีชื่อเสียงส่วนใหญ่มาจากหกค่ายหลักๆ ซึ่งก็เป็นความจริงหากพูดถึงวงการไอดอลที่ให้ความสำคัญกับตลาดอัลบั้มอย่างมาก



ในตลาดอัลบั้ม ศิลปินที่สามารถยืนอยู่ได้ต้องมีอย่างใดอย่างหนึ่งจาก 3 อย่างนี้:


  1. อยู่ภายใต้สังกัดใหญ่ 6 แห่งข้างต้นหรือเป็นไอดอลที่เกี่ยวข้องกับบริษัทเหล่านี้ (เช่น ค่ายย่อยหรือบริษัทลูก)
  2. ศิลปินเดี่ยวที่มีประสบการณ์ออกรายการของ Mnet หรือกลุ่มไอดอลที่มีประสบการณ์มากที่กลับมาฟอร์มวงใหม่หรือทำโซโล่
  3. ไม่ได้อยู่ในสองประเภทแรก แต่มาจากค่ายที่มีไอดอลมีชื่อเสียง


การพัฒนากลยุทธ์เอาตัวรอดของค่ายเพลงเกาหลี ภายใต้ความก้าวหน้าของเทคโนโลยี, โรคระบาดและการรวมตัวกันของ Big Hit, JYP และ SM


ในอันดับชาร์ต GAON 2019 มีเพียงคังแดเนียลเท่านั้นที่เป็นศิลปินโซโล แต่แดเนียลก็ยังอยู่ในประเภทที่สอง และแม้ว่า X1 จะเป็นน้องใหม่แต่ก็สามารถติดอยู่อันดับแรกๆได้ ที่น่าตกใจยิ่งกว่านั้นคือมีเพียง TWICE จาก JYP ที่เป็นวงเกิร์ลกรุ๊ปเพียงวงเดียวที่สามารถติดอยู่ใน 10 อันดับแรก


เพียงแค่ดูชาร์ตอัลบั้มประจำปีก็รู้สึกได้เลยว่ามีเพียงค่ายใหญ่ๆในเกาหลีที่สามารถเฉิดฉายได้ในวงการนี้


และยิ่งในปัจจุบัน ค่ายใหญ่ก็เริ่มควบรวมกิจการเป็นครอบครัวเดียวกัน (Big Hit + Pledis + Source Music) เกิดการร่วมมือกันระหว่างบริษัทมากมาย (บริษัทคอนเสิร์ต UNTACT ของ SM และ JYP) รวมถึงร่วมมือกันเพื่อเดบิวต์ไอดอล ( "I-LAND" ของ Big Hit และ CJ ENM)


หลังจากสังเกตสถานการณ์เหล่านี้เราคงจะคาดเดาได้ว่าในอนาคตของตลาดไอดอลจะเป็นอย่างไร ดังนั้นบริษัทใหญ่ทั้ง 6 รายจึงมีการเตรียมความพร้อมสำหรับการพัฒนาและการสร้างพื้นฐานการดำเนินงานในอนาคต และการเลือกที่จะร่วมมือกันและสร้างความสัมพันธ์ทางธุรกิจนั้นก็คงจะเป็นเรื่องที่ถูกต้องค่ะ


แต่สิ่งที่น่ากังวลคือนอกจากสังกัดใหญ่ๆแล้ว จะมีสังกัดเล็กๆไหนบ้างที่สามารถฝ่าฟันวิกฤตในปัจจุบันและเตรียมพร้อมสำหรับอนาคตได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งจากหลายปัจจัยต่างๆ ซึ่งรวมถึงการมีช่อง YouTube ที่มีความสำคัญอย่างมากสำหรับการโปรโมต รวมถึงสามารถในการผลิตคอนเทนต์เองก็ปัญหาที่หนักหน่วงสำหรับบริษัทระดับกลางไปจนถึงเล็ก


การเกิดขึ้นของ YouTube ทำให้การลงคอนเทนต์วิดิโอหรือเพลงเป็นเรื่องง่ายขึ้น แต่อย่างไรก็ตาม การที่จะถูก "ทำให้เห็น" และ "ทำให้เป็นที่ชื่นชอบ" ก็เป็นอีกประเด็นที่น่าคิดเช่นกันค่ะ


ยิ่งพอเผชิญกับปัญหาโรคระบาด ปัจจัยที่สำคัญอย่างเงินทุนก็ส่งผลต่อความอยู่รอดของบริษัท อย่างไรก็ตามเราก็หวังว่าแต่ละบริษัท ไม่ว่าจะเล็กหรือใหญ่ จะสามารถหาทางและอยู่รอดได้ในสถานการณ์แบบนี้ค่ะ



ถ้าหากมีคำถามเพิ่มเติม สามารถเขียนคอมเมนท์ด้านล่างนี้ได้เลย หรือส่งอีเมล์มาหาเราได้ที่ help@creatrip.com เดี๋ยวเราจะรีบตอบกลับให้เร็วที่สุดค่ะ


🤞🏻 ติดตามพวกเรา Creatrip บน Youtube

✨Creatrip อินสตาแกรม

instagram.com/creatrip.thailand

🎈ช้อปปิ้ง|สั่งซื้อสินค้าเกาหลี

โพสต์ที่น่าสนใจ
กว่าจะเป็น SUGA BTS
เหตุผลที่วงไอดอลมีเมมเบอร์ต่างชาติ
ยอดอัลบัมในไตรมาสแรก 2020