แกะประวัติศาสตร์จากซีรีย์พีเรียดเกาหลี
เรียนรู้ประวัติศาสตร์เกาหลีผ่านซีรีส์พรีเรียด คำว่า "มามา" ใช้เรียกผู้ชายด้วยหรอ?
สวัสดีค่ะทุกคน! พวกเรา Creatrip ศูนย์รวบรวมข้อมูลการท่องเที่ยวเกาหลีที่อัพเดทโดยคนเกาหลีในทุก ๆ วัน
#วัฒนธรรมเกาหลี
#ซีรี่ส์เกาหลี
#ซีรี่ส์พีเรียดเกาหลี
#อัพเดทเกาหลี
ซีรีส์เกาหลีเป็นที่นิยมอย่างมาก ซึงนอกจากซีรีส์แนวโรแมนติกแล้ว ซีรีส์พีเรียดก็มาแรงไม่แพ้กันค่ะ โดยเฉพาะเรื่อง Kingdom และ Mr. Queen ถึงแม้ว่าทั้งสองเรื่องจะเป็นแนวที่ต่างกัน แต่ก็ได้รับความสนใจจากผู้ชมที่เกาหลีและในต่างประเทศค่ะ
วันนี้พวกเราจะขอนำเสนอข้อมูลบางส่วนเกี่ยวกับเครื่องแต่งกายจากซีรี่ส์เรื่อง Mr. Queen ค่ะ ซึ่งเนื้อหาบางส่วนก็อ้างอิงจากประวัติศาสตร์ของเกาหลี เนื้อหาจะน่าสนใจแค่ไหน ตามพวกเรามาเลยค่ะ ><
🤞🏻Subscribe พวกเรา Creatrip บน Youtube
✨Creatrip Instagram
🎈instagram.com/creatrip.thailand
ตัวละครจากซีรี่ส์พีเรียดเกาหลี
พระราชา(왕)
ในซีรี่ส์ได้นำเสนอในยุคที่ราชวงศ์โชซ็อนตกเป็นประเทศราชของฮ่องเต้จีน ดังนั้นประมุขสูงสุดของประเทศจึงไม่สามารถเรียกว่า "ฮ่องเต้หรือจักรพรรดิ"ได้ค่ะ (เพราะจะถือว่าเป็นการทัดเทียมกับจักรพรรดิ์จีน) เพราะเหตุผลนี้ประมุขของโชซ็อนจึงเรียกว่า “วัง (王: 왕) ซึ่งแปลว่า "กษัตริย์" นั้นเองค่ะ เหล่าขุนนางทั้งหลายจะเรียกว่า ชอนฮา (殿下:전하) หรืออย่างในรูปข้างบนที่เรียกว่า แทวัง (大王:대왕) หรือ วัง (王:왕) เพราะไม่สามารถเรียกด้วยคำว่า ปี้เซี่ย (陛下 หรือ พเยฮา ในสำเนียงเกาหลี) ได้เนื่องจากคำนี้ใช้สำหรับเรียกจักรพรรดิ์ของจีนได้องค์เดียวเท่านั้นค่ะ
องค์รัชทายาท (세자)
ต่อมานั้นก็คือองค์รัชทายาทค่ะ (ละลาย 😊) ในสมัยราชวงศ์โชซ็อนตกเป็นเมืองขึ้นของราชวงศ์หมิง จะมีคำที่ใช้เรียกโอรสของพระราชาคือคำว่าวังเซจา (王世子: 왕세자) หรือ เซจา (세자) ค่ะ ซึ่งในซีรี่ส์ทุกๆคนต้องเคยได้ยินตัวละครอื่นเรียกองค์รัชทายาทอีชาง ว่า เซจา (세자) หรือ ชอนฮา (邸下:저하) ใช่มั้ยล่ะค่ะ ซึ่งคำเหล่านี้ก็มีความหมายที่สามารถใช้เรียกแทนองค์รัชทายาทได้เช่นกันค่ะ
พระมเหสี(중전마마)
อีกตัวละครที่สำคัญในซีรี่ส์พีเรียดคือ พระมเหสีค่ะ จริงๆแล้วในซีรี่ส์พีเรียดของเกาหลีเรื่องอื่นๆมักได้ยินคำว่า มามา ที่จริงแล้วคำนี้ใว้เรียกนางใน เพื่อแสดงความเคารพค่ะ และคำว่า “จุงจอน(중전)” ก็มีความหมายว่า ตำหนักกลาง (中殿(중전)) ซึ่งคือที่ๆ พระมเหสีประทับนั้นเองค่ะ โดยตั้งแต่ปี 1432 (รัชสมัยพระเจ้าเซจงปีที่ 14) เป็นต้นมา ได้มีการเปลี่ยนคำเรียกพระมเหสีเป็น วังบี (王妃) และ พระนางตำหนักกลาง (中殿娘娘: 중전마마) และหลังจากสิ้นพระชนม์แล้วจะเปลี่ยนไปเรียกว่า วังฮู (王后: 왕후) ค่ะ
ความจริงแล้วพระพันปีควรเป็นพระมารดาของพระราชา แต่ในเรื่อง Me. Queen นั้นพระพันปีไม่ได้มีสายเลือดเดียวกับพระเจ้าชอลจงโดยตรง แต่พระพันปีคือราชินีของพระเจ้าซุนโจ (23) และพระเจ้าฮอนจง(24) มีศักดิ์เป็นหลานและมีความสัมพันธ์ห่างๆกับพระเจ้าชอลจง (25) ค่ะ แต่เพราะระบบของราชวงศ์โชซอนค่อนข้างซับซ้อน พระเจ้าชอลจงจึงไม่ได้เรียกพระพันปีว่า "เเม่"ค่ะ
สำหรับชื่อเรียกและตำแหน่งของผู้ที่อาศัยอยู่ในวังนั้นจะถูกแบ่งออกตามฐานะค่ะ โดยเราได้ทำตารางเปรียบเทียบสั้นๆให้เห็นความแตกต่างของตำแหน่งระหว่างราชวงศ์เกาหลี และราชวงศ์จีนค่ะ
Spouse of chinese dynasty | Chosun Dynasty spouse |
พระอัยยิกาของจักรพรรดิองค์ปัจจุบัน 太上皇后 | พระชายาของอดีตพระราชา (วังแทบี-왕대비) |
พระพันปีหลวง 太后 | พระชายาองค์ก่อน ซึ่งพูดแบบไม่เจาะจง (แทบี-대비) |
พระอัครมเหสี 皇后 | พระมเหสีของพระราชาองค์ปัจจุบัน (วังบี-왕비) |
พระมเหสี 1 皇貴妃 | พระสนมเอก จอง 1 พุม (พิน-빈) |
พระมเหสี 2 貴妃 | พระสนม จง 1 พุม (ควีอิน-귀인) |
พระมเหสี 3 妃 | พระสนม จอง 2 พุม (โซอี-소의) |
พระสนมเอก 嬪 | พระสนม จง 2 พุม (ซุกอี-숙의) |
พระสนม 1 貴人 | พระสนม จอง 3 พุม (โซยง-소용) |
พระสนม 2 常在 | พระสนม จง 3 พุม (ซุกยง-숙용) |
พระสนม 3 答應 | พระสนม จอง 4 พุม (โซวอน-소원) |
พระสนม 4 官女子 | พระสนม จง 4 พุม (ซุกวอน-숙원) |
หมายเหตุ : ในตารางไม่ได้รวมตำแหน่งสนมไว้นะคะ
โอรสคนแรกของพระราชา วอนจา(원자)
แหล่งข้อมูล : Netflix
สำหรับคำว่า “วอนจา” (원자) นั้นใช้เรียกโอรสคนแรกของพระราชาค่ะ แม้ว่าในซีรี่ย์องรัชทายาทอีชาง จะเป็นผู้สืบต่อบัลลังก์จากองค์พระราชา แต่ว่า!! เมื่อพระมเหสีให้กำเนิดโอรส ซึ่งมีฐานะเป็นโอรสคนแรกที่เกิดจากพระมเหสีองค์ปัจจุบัน ดังนั้น"อีชาง"ผู้ที่เกิดจากสนมจึงไม่สามารถสืบบัลลังก์ได้ค่ะ (ฮือ ฮือ เสียใจ 😭) ตำแหน่งรัชทายาทจึงกลายเป็นของโอรสที่เกิดพระมเหสี (ลูกเมียหลวง: 嫡出) ที่เรียกว่า วอนจา (元子) แทน ซึ่งเป็นไปตามธรรมเนียมของพระราชวังค่ะ
มามา(마마)
เชื่อว่าทุกคนคงคุ้นหูกับคำว่า “มามา” (마마) กันอยู่ใช่มั้ยคะ? ความจริงแล้วในสมัยโชซ็อน คำๆ นี้เป็นราชาศัพท์ที่มีไว้ใช้เรียกนางใน มเหสี พระพันปี แต่ต่อมาได้มีการนำไปใช้เรียกซังกุงด้วยค่ะ เรียกว่า "มามานิม" (마마님)
เพราะเหตุนี้ในซีรีส์เรื่อง คิงดอม (Kingdom) หลายตัวละครมักเรียกพระมเหสีว่า ชุงจอนมามา (ความหมายเดียวกับละครย้อนยุคในราชวงศ์จีนที่เรียกว่า เหนียงเหนียงค่ะ และเวลาเรียกซังกุงที่มีตำแหน่งสูงกว่าจะใช้คำว่า "ซังกุงมามานิม" ค่ะ
นอกจากนั้นแล้ว คำว่า “มามา” ยังสามารถใช่เรียกผู้ชายได้ด้วยนะคะ อย่างเช่นคำว่า “อัปป้ามามา” (아빠 마마) ที่ใช้สำหรับเรียกพระราชานั้นเองค่ะ ด้วยเหตุนี้คำว่า "มามา" จึงไม่ได้ใช้แค่กับผู้ชายเท่านั้น ที่จริงแล้วยังสามารถใช้เรียกชนชั้นสูงหรือผู้ที่มีสถานะสูงด้วยความเคารพค่ะ
ซังกุง(상궁)
ตำแหน่งซังกุงนั้น แรกสุดนั้นถือกำเนิดในราชวงศ์สุยของจีน จนมาถึงสมัยราชวงศ์ชิงจึงได้ยกเลิกระบบราชการนางในไปค่ะ
ในวัง ซังกุงสูงสุดและเป็นผู้ที่มีอำนาจมากสุดคือ เชโจซังกุง (제조상궁: 提調尚宮) ค่ะ ซึ่งในชีวิตประจำวันของพระราชาและพระมเหสีนั้น ข้างกายจะมี “ชีมิลซังกุง” (지밀상궁: 至密尚宮) อยู่เสมอค่ะ ซึ่งกว่าจะมาเป็นซังกุงนั้นไม่ใช่เรื่องง่ายเลยนะคะ เพราะต้องเข้าวังเรียนรู้แต่ยังเล็กเพื่อฝึกฝน และต้องมาจากตระกูลที่ดี ไม่ทรยศพระราชวงศ์ ไม่สร้างปัญหาในอนาคตหน้าค่ะ
ซังกุงนั้นไม่ใช่แค่นางในรับใช้เท่านั้นนะคะ ยังมีนางในที่ได้รับพระราชทานด้วยความเสน่หาจากพระราชาอีกด้วยค่ะ นางในพวกนี้จะได้รับการแต่งตั้งเป็น “ซึงอึนซังกุง” ( 承恩尚宮: 승은상궁) แต่จะอยู่ในสถานะที่ค่อนข้างอึดอัด เพราะว่าพระมเหสีจะเป็นคนจัดการเองค่ะ
ยังบัน(양반)
ราชวงศ์โชซ็อนในอดีต มีระบบการแบ่งแยกชนชั้นไว้อย่างชัดเจนค่ะ นอกเหนือไปจากพระราชวงศ์แล้ว ประชาชนโชซ็อน จะถูกแบ่งเป็น ยังมิน (良民 : 양민) กับ ชอนมิน (賤民 :천민) และ ยังมิน ยังถูกแบ่งเป็น 4 ประเภท โดยมี ยังบัน (兩班 : 양반) เป็นชนชั้นที่สูงที่สุดค่ะ
ชนชั้นยังบัน(兩班 : 양반) นั้นมีความคล้ายกับระบบ ซื่อไต้ฟู (士大夫) ของจีนในสมัยเดียวกันด้วยค่ะ แต่ในยุคโชซ็อนมีกฎระเบียบมากกว่า ดังนั้นชนชั้นยังบัน(兩班 : 양반)จึงไม่สามารถทำการค้าหรือทำการเกษตรได้ค่ะ ทำได้เพียงแค่ศึกษาตำราเท่านั้น
ชุงอิ(중인)
แหล่งข้อมูล : Netflix
ชนชั้นที่สองรองลงมาก็คือ ชุงอิน (中人: 중인) และอยู่ต่ำกว่ายังบันค่ะ เนื่องจากในยุคโชซ็อน มีระบบการสืบตระกูลที่อ้างอิงตามศักดิ์ของมารดา ด้วยเหตุผลนี้ลูกที่เกิดจากพ่อชนชั้นยังบันและแม่ชนชั้นซังมิน (常民: 상민 ก็คือชนชั้นไพร่ธรรมดาค่ะ) จึงต้องมีชนชั้นที่ต่ำกว่ายังบัน ซึ่งก็คือ ชุงอิน นั้นเองค่ะ
ชนชั้นชุงอินนั้นสามารถรับราชการได้นะค่ะ แต่ไม่สามารถรับตำแหน่งที่สำคัญหรือมีส่วนร่วมในการบริหารบ้านเมืองได้ ชุงอินจึงมักถูกมองว่าเป็นข้าราชการชั้นผู้น้อยเท่านั้นค่ะ
ซังมิน(상민)
แหล่งข้อมูล : Netflix
สมัยโชซ็อน 75% ของประชากรทั่วไปอยู่ในชนชั้นไพร่หรือ "ซังมิน" นั้นเองค่ะ พวกเค้าคือผู้ที่ทำการเกษตร ทำการประมง ค้าขาย โดยทั่วไปแล้วคนพวกนี้จะถูกผูกมัดให้ทำงานให้กับที่นาของชนชั้นยังบันค่ะ มีสถานะคือไพร่สามัญ ไม่มีคุณสมบัติในการสอบควากอ (科舉: 과거 ก็คือสอบจอหงวนของเกาหลีค่ะ) แต่สามารถสอบ จับกวา (雜科: 잡과) คือการสอบจำพวกช่างฝีมือต่างๆ ถ้าสอบผ่านก็มีโอกาสได้เลื่อนสถานะไปเป็นชุนชั้นชุงอินค่ะ
แพ็กจอง (백정)
แหล่งข้อมูล : Netflix
ชนชั้นแพ็กจอง (白丁: 백정) คือชนชั้นที่ต่ำที่สุดของยังมินค่ะ แต่ก็ยังมีสถานะที่สูงกว่าชนชั้น "ชอนมิน" ค่ะ โดยพื้นฐานแล้วชนชั้นนี้จะทำงานจำพวกฆ่าสัตว์ เพชฌฆาต และไม่รู้หนังสือ ถือเป็นชนชั้นกลางค่อนไปทางด้านล่างของสังคมค่ะ
ชอนมิน(천민)
แหล่งข้อมูล : Netflix
ชนชั้นล่างสุดในยุคโชซอนคือ ทาสและนางโลมค่ะ แม้ว่าจะได้แต่งงานกับชนชั้นขุนนาง (ยังบัน) แต่ด้วยระบบนับศักดิ์ทางแม่ ลูกที่เกิดมาก็เป็นได้แค่ชอนมินเท่านั้นค่ะ ถ้าต้องการเลื่อนสถานะทางสังคม อย่างมากที่สุดก็ทำได้แค่สอบจับกวาให้ผ่าน และรับราชการแต่ก็เป็นได้สูงสุดแค่ ชุงอิน เท่านั้นค่ะ
เป็นอย่างไรกันบ้างคะ สำหรับข้อมูลเล็กๆน้อยๆจากซีรี่ส์พีเรียดเกาหลีที่เราได้นำเสนอไปในวันนี้ ทั้งเพิ่มความเข้าใจในตัวละครแต่ละตัวมากขึ้น แถมทั้งได้เกร็ดความรู้ทางประวัติศาสาตร์เพิ่มเติมด้วยใช่มั้ยล่ะคะ ^^ ข้อมูลดีๆแบบนี้ หาได้ที่นี่ ที่เดียวที่ "เที่ยวฉบับคนเกาหลีกับ Creatrip " ค่ะ
สำหรับครั้งหน้าพวกเราจะมีข้อมูลอะไรดีๆมาอัพเดทอีกนั้น ต้องคอยติดตามกันให้ได้นะคะ สำหรับวันนี้ สวัสดีค่ะ ><
🤞🏻Subscribe พวกเรา Creatrip บน Youtube
✨Creatrip Instagram
🎈instagram.com/creatrip.thailand
โพสต์ที่เกี่ยวข้อง |
บทสัมภาษณ์นักเขียน "ชาวเกาหลีเหนือ" |
ดูซีรี่ย์เกาหลีปี 2020 ใน Netflix |
ตามรอย Itaewon Class |