เกาหลีใต้พบผู้ติดเชื้อที่ต้องสงสัยว่าเป็นการติดเชื้อซ้ำรอบที่สอง?
เกาหลีใต้พบผู้ติดเชื้อโควิด 19 ซ้ำรอบสองกว่า 705 รายและผู้ติดเชื้อไม่ทราบที่มากว่า 20%
Cr. SBS News
สวัสดีค่ะทุกคน! พวกเรา Creatrip ศูนย์รวบรวมข้อมูลการท่องเที่ยวเกาหลีที่อัพเดทโดยคนเกาหลีในทุก ๆ วัน
#ข่าวเกาหลี #ผู้ติดเชื้อซ้ำรอบสอง
#โคโรนาไวรัส #โควิด19
หน่วยงานสาธารณสุขเกาหลีใต้รายงานสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด 19 เมื่อวันจันทร์ (21) ระบุว่า ขณะนี้พบหญิงอายุช่วง 20 ปีในเขตพื้นที่โซลมีผลการตรวจหาเชื้อเป็นบวกรอบที่ 2 หลังจากที่เธอเคยได้รับการวินิจฉัยว่าติดเชื้อครั้งแรกเมื่อช่วงเดือนเมษายน
ข้อมูลเพิ่มเติม จำนวนผู้ติดเชื้อประจำวันอังคาร (22) มีจำนวน 61 ราย แบ่งเป็นการติดเชื้อภายในประเทศ 51 ราย
🤞🏻Subscribe พวกเรา Creatrip บน Youtube
✨Creatrip Instagram
instagram.com/creatrip.thailand
เกาหลีใต้พบผู้ติดเชื้อที่คาดว่าเป็นการติดเชื้อซ้ำสอง
Cr. The Korea Herald
จอง อึนคยอง หัวหน้าหน่วย KCDC กล่าวในการรายงานสรุปผผลว่า ขณะนี้พบผู้ติดเชื้อที่มีอายุน้อย ได้รับการยืนยันว่ามีผลการตรวจหาเชื้อเป็นบวกจริง หลังจากที่เมื่อ 6 วันก่อนผลการตรวจ RT-PCR ของเธอเป็นลบถึงสองครั้ง เธอยังกล่าวอีกว่า "ผลการสอบสวนของผู้ติดเชื้อรายนี้ยังไม่ชัดเจนที่จะระบุว่าเป็นการติดเชื้อซ้ำ"
ควาน จุนอุค รองหัวหน้าหน่วย KCDC กล่าวเพิ่มเติมว่า กรณีของผู้ติดเชื้อรายนี้คาดว่าเป็นการติดเชื้ออย่างต่อเนื่องจากไวรัส 2 สายพันธ์ุคือ สายพันธุ์ V และ GH และคาดว่ามีความเป็นไปได้ที่ผู้ป่วยจะได้รับเชื้อรอบสองก่อนที่ร่างกายเธอจะสามารถสร้างภูมิคุ้มกัน โดยการติดเชื้อทั้งสองครั้งเธอมีอาการบ่งชี้ระดับกลางเช่น การไอและการมีเสมหะ
จากรายงานของหน่วยงานสาธารณสุขเกาหลีระบุว่า ตั้งแต่ช่วงเดือนกุมภาพันธ์จนถึงขณะนี้มีผู้ติดเชื้อที่รักษาตัวหายแล้วอย่างน้อย 750 รายที่มีผลการตรวจหาเชื้อรอบที่สองเป็นบวก โดยยังไม่มีผู้ป่วยคนใดที่ได้รับการยืนยันว่า เป็นการผู้ที่ติดเชื้อซ้ำรอบที่สองอย่างเป็นทางการ
Cr. SBS News
ด้านหน่วยงานผู้รับผิดชอบได้แถลงการณ์เกี่ยวกับ "ผลการตรวจเชื้อเป็นบวกรอบสอง" ในเดือนเมษายนว่า ผลการตรวจหาเชื้อที่ออกมาเป็นเพียงเศษซากเชื้อบางส่วนที่ยังหลงเหลือในร่างกายและไม่สามารถแพร่กระจายโรคได้ ด้านผู้เชี่ยวชาญด้านโรคระบาดระบุว่า "การติดเชื้อซ้ำจากไวรัสต่างสายพันธ์ อาจเกิดขึ้นได้อย่างรวดเร็ว"
ผู้เชี่ยวชาญยังกล่าวอีกว่า มีความเป็นไปได้ที่ไวรัสโควิด 19 จะกลายเป็นเชื้อประจำถิ่นเหมือนกับไข้หวัดใหญ่ แต่ข่าวดีก็คือ อัตราการกลายพันธุ์ของไวรัสโควิด 19 ยังถือว่าช้าเมื่อเทียบกับไข้หวัดใหญ่ นอกจากนั้นการติดตามและเฝ้าสังเกตอาการของอดีตผู้ติดเชื้ออย่างใกล้จะช่วยทำให้เข้าใจกระบวนการการติดเชื้อได้มากขึ้น
Cr. SBS News
คุณหมอชอน อึนมี แพทย์ระบบทางเดินหายใจจาก Ewha Women University Medical Center กล่าวว่า การกลายพันธุ์ของเชื้อไวรัสอาจทำให้ความรุนแรงของเชื้อลดลง การติดเชื้อซ้ำในระบบทางเดินหายใจเช่นการติดหวัด ถือเป็นอาการป่วยที่ไม่รุนแรง แต่ในกรณีของไวรัสโควิด 19 มีอัตราการแพร่เชื้อที่มากกว่า
ขณะเดียวกันผู้ติดเชื้อที่ไม่สามารถระบุเส้นทางการติดเชื้อได้มีจำนวนเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ โดยพบว่าผู้ติดเชื้อในเขตพื้นที่โซลระหว่างวันที่ 13-19 กันยายนกว่า 28.8% เป็นผู้ติดเชื้อที่ไม่สามารถระบุเส้นทางการติดเชื้อ ซึ่งถือว่าเป็นสถิติที่สูงที่สุด นับตั้งแต่กลางเดือนสิงหาคมที่มีจำนวนผู้ติดเชื้อที่ไม่สามารถระบุเส้นทางได้คงที่อยู่ประมาณ 20%
ศูนย์มะเร็งแห่งชาติเกาหลีใต้ระบุว่า ความล้มเหลวในการติดตามเส้นทางการติดเชื้อเริ่มจากการพบผู้สูงอายุในศูนย์พักพิงจำนวนมากติดเชื้อตั้งแต่เดือนสิงหาคมที่ผ่านมา นอกจากนั้นการติดตามเส้นทางการติดเชื้อผ่านทางสมาร์ทโฟนหรือบัตรเครดิต ก็ไม่สามารถใช้ได้กับผู้ติดเชื้อสูงอายุเหล่านี้ได้
แหล่งข่าว The Korea Herald
🤞🏻Subscribe พวกเรา Creatrip บน Youtube
✨Creatrip Instagram
instagram.com/creatrip.thailand
โพสต์ที่น่าสนใจ |