logo
logo
DEPRECATED_CloseIcon

หรือชุดนักเรียนคือปัญหาของระบบการศึกษาเกาหลี?

เมื่อชุดนักเรียนคือสิ่งที่คนรุ่นก่อนปลูกฝังให้เชื่อว่าคือ "ระเบียบ" แต่ปัจจุบันชุดนักเรียนเกาหลีกลายเป็นเรื่องแฟชั่นและความเลื่อมล้ำทางเพศ?

마타티카
4 years ago
หรือชุดนักเรียนคือปัญหาของระบบการศึกษาเกาหลี?-thumbnail
หรือชุดนักเรียนคือปัญหาของระบบการศึกษาเกาหลี?-thumbnail

สวัสดีค่ะทุกคน! พวกเรา Creatrip ศูนย์รวบรวมข้อมูลการท่องเที่ยวเกาหลีที่อัพเดทโดยคนเกาหลีในทุก ๆ วัน


#ชุดนักเรียนเกาหลี #โรงเรียนเกาหลี

#เรียนต่อเกาหลี #นักเรียนเกาหลี


ในขณะที่หลายประเทศทั่วโลกยกเลิกระเบียบการบังคับใส่ยูนิฟอร์ม แต่บางประเทศร่วมถึงไทยและเกาหลียังคงมีระเบียบของการใส่ยูนิฟอร์มอยู่ค่ะ แต่แตกต่างกันที่เกาหลีใต้เปิดโอกาสให้แต่ล่ะโรงเรียนมีสิทธิ์เลือกได้ว่าจะมียูนิฟอร์มหรือไม่

วันนี้เราจะพาทุกคนไปรู้จักกับเรื่องราวของชุดยูนิฟอร์มของเด็กนักเรียนเกาหลีใต้กันค่ะ

🤞🏻Subscribe พวกเรา Creatrip บน Youtube

Creatrip Instagram
instagram.com/creatrip.thailand

🎈ช้อปปิ้ง|สั่งซื้อสินค้าเกาหลี


วัฒนธรรมชุดนักเรียนเกาหลี

เมื่อชุดนักเรียนคือสิ่งที่คนรุ่นก่อนปลูกฝังให้เชื่อว่าคือ


ถ้าถามนักเรียนไทยว่าชอบใส่ชุดนักเรียนหรือไม่? อาจมีทั้งคนที่บอกว่าชอบหรือไม่ชอบเท่าๆกัน แต่ที่เกาหลีชุดนักเรียนกลายเป็นอีกหนึ่งแฟชั่นที่มีกลุ่มเป้าหมายเป็นเด็กนักเรียนหรือวัยรุ่น แม้แต่นักท่องเที่ยวหลายๆคนก็อยากลองใส่ดูซักครั้งใช่มั้ยคะ?

คำถามคือ ทำไมคนอยากใส่ชุดนักเรียนเกาหลี? ทั้งๆที่ "ชุดนักเรียน" ควรเป็นเครื่องแบบที่แสดงถึงสถานะและความเป็นนักเรียน มากกว่าควรสวยงาม

บริษัทที่ผลิตชุดยูนิฟอร์มมักใช้เหล่าไอดอลชื่อดังเป็นพรีเซ็นเตอร์ชุดนักเรียน และซีรีส์หลายเรื่องก็นำเสนอชุดนักเรียนที่สื่อถึงเรื่องราวโรแมนติก หวานใสในวัยเรียน ทำให้ชุดนักเรียนเกาหลีกลายเป็นสัญลักษณ์ของแฟชั่นและเรื่องราวโรแมนติกไปเรียบร้อยแล้วค่ะ


การเรียกร้องของเด็กนักเรียนเกาหลี

ปี 1983-1985 รัฐบาลเกาหลีใต้ได้ยกเลิกระเบียบการใส่ชุดยูนิฟอร์มเนื่องจากมองว่า ชุดยูนิฟอร์มทำให้เกิดคความเลื่อมล้ำและการแบ่งแยก แต่กฎนี้มีผลบังคับใช้จนถึงปี 1986 จากนั้นรัฐบาลก็อนุญาตให้แต่ละโรงเรียนสามารถกำหนดชุดยูนิฟอร์มอีกครั้งค่ะ

ปัจจุบันระเบียบเกี่ยวกับชุดยูนิฟอร์มของเกาหลีขึ้นอยู่กับมาตรการของแแต่ล่ะโรงเรียน แต่โดยทั่วไปมักจะเป็นการใส่เสื้อเชิ้ตที่ขาวกับกระโปรงหรือกางเกงค่ะ จากสถิติของกระทรวงศึกษาเกาหลีใต้ มีนักเรียนหญิง 96.4% ที่สวมชุดยูนิฟอร์มเพื่อประโยชน์ด้านสภาพอากาศ, ปัญหาการคุกคามทางเพศ, ความเหลื่อมล้ำทางเพศ โดยกระทรวงการศึกษาเกาหลีได้อนุญาตให้นักเรียนหญิงสามารถใส่กางเกงได้ตั้งแต่ 2000 ค่ะ


เมื่อชุดนักเรียนคือสิ่งที่คนรุ่นก่อนปลูกฝังให้เชื่อว่าคือ Cr. Quartz

จอง จีอึน อายุ 32 ปี ปัจจุบันเธอเป็นผู้เชี่ยวชาญในโซลเล่าว่า สมัยที่เธอเรียนการถูกตบหน้าเพราะแต่งตัวผิดระเบียบ, ทั้งการแต่งตัว, การใส่ต่างหู หรือแม้แต่การกินขนมหรือแม้แต่เรื่องรูปร่างหน้าตาก็ถือเป็นเรื่องปกติ เพราะตอนนั้นเธอยังเด็กมากและยังไม่รู้ว่าควรจะทำยังไง แต่เธอหวังว่าเด็กรุ่นใหม่จะไม่ต้องเจอสภาพเดียวกับเธออีกค่ะ

ปัญหาที่เกิดขึ้นเริ่มมาจากความเหลื่อมล้ำ โดยโรงเรียนมักกำหนดสิ่งที่เรียกว่า “ความไม่เหมาะสม” ที่ไม่มีเหตุผลอย่างเช่น นักเรียนหญิงไม่สามารถผูกเนคไทด์สีน้ำเงินได้ โดยโรงเรียนอ้างว่า “สีน้ำเงินไม่เหมาะสมกับผู้หญิง” หรือการถูกตำหนิเพราะใส่กางเกงพละหลังจากจบวิชาพละ รวมไปถึงการที่บริษัทผลิตยูนิฟอร์มใช้นางแบบเป็นเหล่าไอดอลที่มีรูปร่างผอมเพรียว ทำให้ภาพลักษณ์ของชุดนักเรียนที่ดูดีคือ การใส่ชุดแบบรัดรูปค่ะ


เมื่อชุดนักเรียนคือสิ่งที่คนรุ่นก่อนปลูกฝังให้เชื่อว่าคือ Cr. The Korea Herald: โฆษณาชุดนักเรียนที่บรรยายถึงกระเป๋าสำหรับลิปสติก


นักเรียนหญิงคนหนึ่งเล่าว่า “ฉันถูกบอกให้ทำตัวให้ดูเหมือนนักเรียนเวลาที่อยู่โรงเรียน” โดยการห้ามแต้งหน้า, ห้ามใส่ต่างหู, หรือแม้แต่การทาลิปสติก แต่ในทางตรงกันข้าม นางแบบในโฆษณาชุดนักเรียนกลับแต่งหน้า และมีการโฆษณาว่ากระเป๋านักเรียนถูกออกแบบให้สำหรับใส่ลิปสติกค่ะ

ช่วงยุคปี 2000 การลงโทษนักรียนที่ทำผิดกฎอาจรุนแรงถึงขั้นตบหน้า แต่ปัจจุบันการลงโทษคือการเขียนจดหมายสำนึกผิดค่ะ นักเรียนจะถูกบังคับให้เขียนถึงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น และลงท้ายว่า “ขอโทษและสำนึกผิด” ค่ะ

ปัญหาอีกอย่างที่นักเรียนหญิงมักเจอคือ การสวมใส่ชุดผิดไซส์และขนาดเล็กจนเกินไป มีนักเรียนหลายคนที่พยายามหาเสื้อผ้าไซส์ของตัวเอง แต่เมื่อไปยังร้านกลับได้รับคำตอบว่า “ถ้าเธอใส่ไซส์ใหญ่กว่านี้ เธอจะดูไม่ดีนะ” ค่ะ นอกจากนั้นหากนักเรียนหญิงคนไหนต้องการใส่กางเกงแทนกระโปรง พวกเธอต้องมีเหตุผลพิเศษมายืนยัน เช่น การมีแผลเป็นขนาดใหญ่ที่ขา หรือเหตุผลที่ใหญ่พอที่ทำให้ครูอนุญาตค่ะ

ชเว ยุนจอง นักวิจัยอาวุโส ของสถาบัน Korean Women’s Development Institute กล่าวว่า “ชุดยูนิฟอร์มเป็นการจำกัดสิทธิของผู้หญิงด้วยเรื่องเพศและการเคลื่อนไหว ความจริงแล้วชุดยูนิฟอร์มคือการบ่งบอกว่าพวกเขาเป็นใคร พวกเขาเป็นนักเรียน ดังนั้นชุดควรเป็นสิ่งที่ช่วยให้พวกเขาสามารถทำหน้าที่ได้อย่างเต็มที่ แต่ชุดยูนิฟอร์มพวกนี้กำลังจำกัดสิทธิในการเคลื่อนไหวร่างกาย ซึ่งมันไม่ช่วยให้พวกเขาทำหน้าที่ของตัวเองได้ดีขึ้นเลย” ค่ะ

นอกจากนั้นมีครูบางท่านยืนยันว่าเคยเห็นกลุ่มนักเรียนชายคุกคามทางเพศนักเรียนหญิง โดยการ ”ประเมิน” ความสวยและรูปร่างของนักเรียนหญิงผ่านชุดยูนิฟอร์มค่ะ ครูยังเล่าอีกว่า ครั้งหนึ่งเธอเคยอนุญาตให้นักเรียนหญิงใส่กางเกงแทนกระโปรงได้ถ้าพวกเธอต้องการ แต่กลุ่มนักเรียนชายกลับตอบว่า “ถ้าไม่มีใครใส่กระโปรง พวกเราจะหาความสนุกได้จากไหนล่ะ?”


ชุดยูนิฟอร์มราคาสูง

เมื่อชุดนักเรียนคือสิ่งที่คนรุ่นก่อนปลูกฝังให้เชื่อว่าคือ Cr.biaswrecker


ทุกคนเคยสงสัยมั้ยว่าทำไมเด็กเกาหลีถึงชอบใส่ชุดนักเรียนแบบรัดรูป? ความจริงแล้วมีนักเรียนอยู่ 2 แบบค่ะ คือคนที่ใส่รัดรูปตามแฟชั่นกับคนที่จำเป็นต้องใส่แบบรัดรูป เพื่อนเราเคยบอกว่าราคาชุดนักเรียนที่เกาหลีแพงมาก ดังนั้นเด็กเกาหลีจึงมีชุดนักเรียนแค่ไม่กี่ชุดและส่วนมากจะซื้อเพี่ยงครั้งเดียวและใส่ไปจนกว่าจะจบค่ะ

จากที่ค้นหาในเว็บ Never จากโพสต์คุณแม่หนึ่งท่านที่พาลูกชายไปซื้อชุดนักเรียน เห็นว่าแค่เสื้อเชิ้ตและกางเกงตัวล่ะ 34,000 วอน ( ประมาณ 1,100 บาท) ชุดพละ 75,000 วอน (ประมาณ 2,200 บาท) ซึ่งถือว่าแพงมากๆค่ะ ดังนั้นเด็กเกาหลีที่ตัวโตขึ้นจะต้องใส่ชุดนักเรียนตัวเดิมจนกว่าจะจบ และหากใส่ไม่ได้ก็ต้องใส่เสื้อยืดด้านในและใส่เสื้อเชิ้ตของโรงเรียนด้านนอกค่ะ


ทุกคนอ่านแล้วคิดยังไงกับการใส่ชุดยูนิฟอร์มหรือชุดนักเรียนคะ? สำหรับเราการใส่ชุดนักเรียนถือเป็นความทรงจำที่ทำให้นึกถึงความรู้สึกตอนเป็นเด็ก แต่นักเรียนทุกคนควรมีสิทธิในการเลือกว่าอยากใส่หรือไม่ใส่ เพราะเราคิดว่าถึงแม้การใส่ชุดนักเรียนจะบ่งบอกสถานะได้ แต่มันไม่ได้มีผลต่อการเรียนแต่มันกลับเป็นภาระสำหรับหลายๆคนค่ะ

แล้วเจอกันใหม่ครั้งหน้า สวัสดีค่ะ

🤞🏻Subscribe พวกเรา Creatrip บน Youtube

Creatrip Instagram
instagram.com/creatrip.thailand

🎈ช้อปปิ้ง|สั่งซื้อสินค้าเกาหลี

โพสต์ที่น่าสนใจ
ยอดเข้าชมมากที่สุด

LoadingIcon