logo

วัฒนธรรมการเลือกตั้งประธานาธิบดีของเกาหลี

มาเรียนรู้เกี่ยวกับวัฒนธรรมการเลือกตั้งประธานาธิบดีของเกาหลีที่หลาย ๆ คนอาจจะไม่รู้กันเถอะ!

Yeong
a year ago

วัฒนธรรมการเลือกตั้งประธานาธิบดีของเกาหลี

สวัสดีค่ะทุกคน! พวกเรา Creatrip ศูนย์รวบรวมข้อมูลการท่องเที่ยวเกาหลีที่อัพเดทโดยคนเกาหลีในทุก ๆ วัน


#ประธานาธิบดี #รีวิวเกาหลี

#การเลือกตั้ง #วัฒนธรรมเกาหลี

 

วันนี้เราจะมาพาทุกคนไปเรียนรู้เกี่ยวกับวัฒนธรรมการเลือกตั้งประธานาธิบดีของเกาหลีที่หลาย ๆ คนอาจจะไม่รู้กันค่ะ! ในวันที่ 9 มีนาคม 2022 ที่จะถึงนี้ถือเป็นวันที่สำคัญมาก ๆ สำหรับชาวเกาหลี เนื่องจากเป็นวันที่ประชาชนจะได้ไปลงคะแนนเพื่อเลือกประธานาธิบดีครั้งที่ 20 ของเกาหลีนั่นเองค่ะ   


🤞🏻Subscribe พวกเรา Creatrip บน Youtube 

Creatrip Instagram
instagram.com/creatrip.thailand

🎈ช้อปปิ้ง|สั่งซื้อสินค้าเกาหลี


วัฒนธรรมการเลือกตั้งประธานาธิบดีของเกาหลี

มุนแจอิน

news1


วาระการดำรงตำแหน่งของประธานาธิบดีแห่งสาธารณรัฐเกาหลีคือ 5 ปีค่ะ ดังนั้นวาระการดำรงตำแหน่งของผู้ที่จะได้รับเลือกในวันที่ 9 มีนาคม 2022 คือตั้งแต่วันที่ 10 พฤษภาคม 2022 จนถึง 9 พฤษภาคม 2027


การเลือกตั้งประธานาธิบดีของเกาหลี ศาล


ระบบการเลือกตั้งประธานาธิบดีของเกาหลีใต้มีการเปลี่ยนแปลงมากมายผ่านการแก้ไขรัฐธรรมนูญหลายครั้งค่ะ มีหลายกรณีที่ประธานาธิบดีได้รับอนุญาตให้เข้ารับการเลือกตั้งใหม่อีกครั้ง และมีบางกรณีที่ประธานาธิบดีขยายวาระเป็น 7 ปี

นอกจากนี้ก็ยังมีกรณีที่ประชาชนไม่ได้มีส่วนร่วมในการเลือกตั้งโดยตรง แต่ประธานาธิบดีได้รับเลือกทางอ้อมผ่านรัฐสภาด้วยค่ะ


วัฒนธรรมการเลือกตั้งประธานาธิบดีเกาหลี

NEWSIS


คนเกาหลีทุกคนที่อายุเกิน 18 ปีจะมีสิทธิ์ลงคะแนนเสียงในการเลือกตั้งประธานาธิบดี และมีเพียงพลเมืองที่มีอายุมากกว่า 40 ปีเท่านั้นที่มีสิทธิ์ลงสมัครรับตำแหน่งประธานาธิบดีค่ะ



ประวัติการเลือกตั้งและด้านมืดที่เกิดขึ้น

ประวัติการเลือกตั้งและด้านมืดที่เกิดขึ้น


ในเดือนมีนาคม ปี 2022 นี้กำลังจะมีการเลือกตั้งประธานาธิบดีครั้งที่ 20 ของเกาหลีค่ะ แต่ในความเป็นจริงแล้วมุน แจอินซึ่งเป็นประธานาธิบดีคนปัจจุบันเป็นประธานาธิบดีคนที่ 12 ของเกาหลีเท่านั้น พูดง่าย ๆ ก็คือแม้จะมีการเลือกตั้งมากว่า 19 ครั้ง แต่ประธานาธิบดีมีเพียงแค่ 12 คนเท่านั้นค่ะ

สาเหตุมาจากประวัติศาสตร์อันมืดมนและการปกครองแบบเผด็จการในอดีต แม้ในปัจจุบันเกาหลีจะสามารถเป็นประชาธิปไตยได้แล้ว แต่ก็แลกมาด้วยกระบวนการที่เข้มงวดค่ะ

วันนี้เราจะพาทุกคนไปดูเหตุการณ์สำคัญ ๆ ในประวัติศาสตร์สมัยใหม่และร่วมสมัยของเกาหลีที่เกี่ยวข้องกับการเลือกตั้งประธานาธิบดีค่ะ แต่เนื่องจากประวัติศาสตร์สมัยใหม่ของเกาหลีมีความเกี่ยวพันกับประเด็นละเอียดอ่อนมากมาย เช่น การเมือง, การพัฒนาเศรษฐกิจ, สงคราม, และความสัมพันธ์กับเกาหลีเหนือ ดังนั้นใน 1 เหตุการณ์จึงมีมุมมองที่หลากหลายมาก ๆ เลยล่ะค่ะ

เพราะฉะนั้น สำหรับใครที่ต้องการทราบข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับประวัติศาสตร์สมัยใหม่ของเกาหลี ก็สามารถไปตรวจสอบบทความและวารสารทางวิชาการต่าง ๆ นอกเหนือจากนี้ได้เลยนะคะ!


1. อี ซึงมัน (이승만)

  • ประธานาธิบดีคนที่ 1-3
  • ระยะเวลา: 24 กรกฎาคม 1948 - 27 เมษายน 1960


อีซึงมัน (이승만)


หลังจากที่เกาหลีใต้ได้รับการปลดปล่อยจากญี่ปุ่น คาบสมุทรเกาหลีก็ถูกแบ่งออกเป็นเกาหลีเหนือและเกาหลีใต้โดยสหรัฐอเมริกาและสหภาพโซเวียตค่ะ ในขณะนั้นมีการเจรจาหลายครั้งเพื่อเลือกผู้นำในการรวมสองเกาหลีเข้าด้วยกัน แต่การเจรจากลับไม่เป็นไปด้วยดีเท่าไหร่นัก


อีซึงมัน (이승만)  ประธานาธิบดีคนที่ 1-3


ในช่วงยุคอาณานิคมของญี่ปุ่น อีซึงมันซึ่งเป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวางว่าเป็นประธานาธิบดีรักษาการได้เข้าเจรจาทางการทูตกับสหรัฐอเมริกา โดยเขาได้เริ่มต้นนโยบาย "โค่นล้มคอมมิวนิสต์" ขึ้นมา

ในที่สุด เมื่อวันที่ 10 พฤษภาคม 1948 รัฐสภาก็ได้ก่อตั้งขึ้นโดยผ่านการเลือกตั้งทั่วไปของสมัชชาแห่งชาติที่เป็นอิสระในเกาหลี และในการลงคะแนนเสียงที่จัดขึ้นในสมัชชาแห่งชาติ อีซึงมันก็ได้รับเลือกให้เป็นประธานาธิบดีคนแรกของรัฐบาลเกาหลีในวันที่ 24 กรกฎาคมค่ะ


ยุคของอีซึงมัน (이승만)


หลังจากดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีเข้าวาระที่สอง เขาก็ได้เปลี่ยนรัฐธรรมนูญให้เป็นไปตามความต้องการของตัวเอง โดยได้ยกเลิกข้อจำกัดในการเลือกตั้งประธานาธิบดีคนใหม่จนทำให้เขาได้รับเลือกให้เป็นประธานาธิบดีคนที่ 3 และ 4 ในเวลาต่อมา

อย่างไรก็ตาม ในการเลือกตั้งครั้งที่ 4 ของเขาถือว่าเป็นการเลือกตั้งที่โกงและรุนแรงอย่างเห็นได้ชัด ดังนั้นการปฏิวัติในวันที่ 19 เมษายนจึงเกิดขึ้น และอี ซึงมันก็ต้องลาออกจากตำแหน่งประธานาธิบดีในที่สุดค่ะ


2. ยุน โบซอน (윤보선)

  • ประธานาธิบดีคนที่ 4
  • ระยะเวลา: 12 สิงหาคม 1960 - 24 มีนาคม 1962


ยุนโบซอน (윤보선)


การปฏิวัติในวันที่ 19 เมษายนได้นำไปสู่การล่มสลายของระบอบอี ซึงมัน และจากนั้นยุน โบซอนก็ได้รับเลือกเป็นประธานาธิบดีคนที่ 4 ของเกาหลีค่ะ อย่างไรก็ตาม เขาลาออกในปี 1962 เนื่องจากการรัฐประหารในวันที่ 15 พฤษภาคม 1961 (เหตุการณ์รัฐประหาร 16 พฤษภาคม)


3. พัค จองฮี (박정희)

  • ประธานาธิบดีคนที่ 5 - 9
  • ระยะเวลา: 7 ธันวาคม 1963 - 26 ตุลาคม 1979


พัคจองฮี (박정희)


ภายหลังจากการรัฐประหารเมื่อวันที่ 16 พฤษภาคม พัค จองฮีก็ได้ลงสมัครรับเลือกตั้งประธานาธิบดีครั้งที่ 5 ในปี 1963 และได้รับเลือกให้เป็นประธานาธิบดีค่ะ จากนั้นเช่นเดียวกับเหตุการณ์ของอี ซึงมัน เขาได้แก้ไขรัฐธรรมนูญเพื่อขยายระยะเวลาของการเป็นประธานาธิบดีและเริ่มต้นระบอบเผด็จการ


ผลงานของพัคจองฮี


พัค จองฮีเป็นประธานาธิบดีที่ดำรงตำแหน่งยาวนานที่สุดในประวัติศาสตร์ของเกาหลี โดยมีระยะเวลาถึง 17 ปีด้วยกัน

เขาคิดค้นนโยบายด้านเศรษฐกิจผ่านขบวนการก่อสร้างหมู่บ้านใหม่ (새마을 운동) และแผนพัฒนาเศรษฐกิจ 5 ปี เรียกได้ว่าเขานำการเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างมหาศาลมาสู่ประเทศและช่วยให้เกาหลีบรรลุการส่งออกกว่า 10,000 ล้านเหรียญสหรัฐเป็นครั้งแรก

หลังสงครามเกาหลี ประเทศที่ยากจนอย่างเกาหลีใต้ซึ่งต้องได้รับความช่วยเหลือจากประเทศอื่น ๆ ก็ประสบความสำเร็จในการพัฒนาเศรษฐกิจอย่างโดดเด่น


สถานีมาซาน


อย่างไรก็ตาม การเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างรวดเร็วนี้ก็ต้องแลกมากับการเสียสละและความยากลำบากของคนงานค่ะ

นอกจากนี้พัค จองฮีก็ยังใช้ระบอบการปกครองแบบเผด็จการที่ใช้ทั้งกำลังและละเลยอุดมการณ์ประชาธิปไตย และในที่สุดก็นำไปสู่การประท้วงของพลเมืองที่จัดขึ้นในเมืองมาซาน จังหวัดปูซานค่ะ

จากนั้นไม่นานเขาก็ถูกลอบยิงจนเสียชีวิต ถือเป็นการยุติการปกครองแบบเผด็จการในยุคของพัค จองฮีลงอย่างสมบูรณ์


4. ชเว กยูฮา (최규하)

  • ประธานาธิบดีคนที่ 10
  • ระยะเวลา: 6 ธันวาคม 1979 - 16 สิงหาคม 1980


ชเวกยูฮา (최규하)


ชเว กยูฮาเป็นนายกรัฐมนตรีภายใต้รัฐบาลของพัค จองฮีค่ะ เขาเข้ารับตำแหน่งประธานาธิบดีหลังจากการลอบสังหารประธานาธิบดีพัค จองฮีเมื่อวันที่ 26 ตุลาคม 1979

อย่างไรก็ตามในวันที่ 12 ธันวาคมของปีนั้น การรัฐประหารนำโดยองค์กรเอกชนแห่งใหม่ของกองทัพบกก็บีบให้เขาต้องลาออกจากตำแหน่งประธานาธิบดีหลังจากดำรงตำแหน่งได้เพียง 8 เดือนเท่านั้น


5. ชอน ดูฮวาน (전두환)

  • ประธานาธิบดีคนที่ 11 - 12
  • ระยะเวลา: 27 สิงหาคม 1980 - 24 กุมภาพันธ์ 1988


ชอนดูฮวัน (전두환)


ไม่ว่าจะเป็นซีรีส์หรือภาพยนตร์ที่เกี่ยวกับประวัติศาสตร์ของเกาหลีในช่วงการเรียกร้องประชาธิปไตย ก็มักจะเป็นเรื่องราวในช่วงเวลาการปกครองของประธานาธิบดีชอน ดูฮวานทั้งนั้นเลยล่ะค่ะ

เมื่อทหารเข้าควบคุมกองทัพและทำลายคุณค่าของประชาธิปไตยในวันที่ 12 ธันวาคม ประชาชนในกวางจูจึงเริ่มออกมาเคลื่อนไหวเพื่อประชาธิปไตยจนเกิดเป็นเหตุการณ์ต่อสู้เพื่อประชาธิปไตยในกวางจู

อย่างไรก็ตาม ชอน ดูฮวานได้ระดมกำลังทหารทั้งหมดเพื่อปราบปรามการประท้วงและสังหารหมู่ประชาชนอย่างไร้ความปราณีค่ะ


ขบวนการประชาธิปไตยที่กวางจู


หลังจากการลาออกของประธานาธิบดีชเว กยูฮา ชอน ดูฮวานก็ได้รับเลือกให้เป็นประธานาธิบดีคนที่ 11 เป็นระยะเวลาถึง 7 ปี จากนั้นเขาก็ได้รับเลือกให้เป็นประธานาธิบดีคนที่ 12 ผ่านการเลือกตั้งทางอ้อมโดยรัฐสภาด้วยนะคะ

อย่างไรก็ตาม เนื่องจากการประท้วงและการต่อต้านของประชาชน รวมถึงการเรียกร้องให้มีการเลือกตั้งประธานาธิบดีโดยตรง โดยต้องให้ประชาชนได้เข้าร่วมในการเลือกตั้งประธานาธิบดีอย่างโปร่งใส ก็ทำให้ระบบการเลือกตั้งครั้งที่ 12 เปลี่ยนไปและชอน ดูฮวานก็ต้องลาออกในที่สุดค่ะ


6. โน แทอู (노태우)

  • ประธานาธิบดีคนที่ 13
  • ระยะเวลา: 25 กุมภาพันธ์ 1988 - 24 กุมภาพันธ์ 1993


โนแทอู (노태우)


โน แทอูเป็นผู้นำในการรัฐประหารในวันที่ 12 ธันวาคมค่ะ โดยเขาได้รับเลือกเป็นประธานาธิบดีคนที่ 12 ของเกาหลีผ่านการเลือกตั้งโดยตรงจากประชาชน ทำให้เขากลายเป็นประธานาธิบดีคนแรกของเกาหลีที่ชนะการเลือกตั้งได้อย่างใสสะอาด

เขาวางแผนในการปรับปรุงรัฐธรรมนูญให้มีความเป็นประชาธิปไตยมากขึ้น และได้จัดตั้งให้มีการเลือกตั้งประธานาธิบดีโดยตรง รวมถึงเปลี่ยนระยะเวลาการดำรงตำแหน่งของประธานาธิบดีจาก 7 ปีมาเป็น 5 ปีด้วยค่ะ

 

7. พัค กึนฮเย (박근혜)

  • ประธานาธิบดีคนที่ 18
  • ระยะเวลา: 25 กุมภาพันธ์ 2013 - 10 มีนาคม 2017


พัคกึนฮเย (박근혜)


พัค กึนฮเยเป็นประธานาธิบดีคนแรกที่ล้มเหลวในการอยู่ให้ครบวาระ 5 ปีค่ะ และถูกเรียกร้องจากประชาชนให้ลาออก มีการประท้วงและเรียกร้องให้มีการฟ้องร้องเธอในข้อหาต่าง ๆ มากมาย เช่น ความสัมพันธ์ของพัค กึนฮเยและชเว ซุนซิล, การรับสินบนจากบริษัทขนาดใหญ่, การใช้อำนาจโดยมิชอบ เป็นต้น

ในท้ายที่สุด ศาลรัฐธรรมนูญของเกาหลีก็ได้ตัดสินให้ถอดถอนและบังคับให้เธอลาออกจากตำแหน่งก่อนกำหนด


การประท้วงถอดถอนพัคกึนฮเย


นับตั้งแต่สมัยของประธานาธิบดีโน แทอู วันเลือกตั้งประธานาธิบดีก็ถูกกำหนดให้เป็นวันที่ 25 กุมภาพันธ์ค่ะ แต่เนื่องจากการลาออกก่อนกำหนดของประธานาธิบดีพัค กึนฮเย จึงทำให้ต้องมีการจัดการเลือกตั้งและกำหนดวันเลือกตั้งใหม่เป็นวันที่ 10 พฤษภาคมแทนนั่นเอง



ข้อควรรู้เกี่ยวกับการเลือกตั้งประธานาธิบดีของเกาหลี


1. อัตราของผู้ที่มีสิทธิเลือกตั้ง

อัตราของผู้ที่มีสิทธิเลือกตั้ง

dailian


นับตั้งแต่ระบบการเลือกตั้งประธานาธิบดีโดยตรงได้รับการฟื้นฟูในปี 1987 มีจำนวนผู้มีสิทธิเลือกตั้งเกิน 80% มาเข้าร่วมในการเลือกตั้งประธานาธิบดีครั้งที่ 13 และ 15 ค่ะ แต่ในปี 2000 เป็นต้นไป จำนวนผู้มีสิทธิเลือกตั้งที่มาใช้สิทธิ์กลับลดลงจนเหลือประมาณ 70% - 63% เท่านั้น

อย่างไรก็ตาม หลังจากที่ประธานาธิบดีพัค กึนฮเยถูกถอดถอน จำนวนผู้มีสิทธิเลือกตั้งที่มาใช้สิทธิ์ก็เพิ่มขึ้นเป็น 77.2% ในช่วงการเลือกตั้งประธานาธิบดีครั้งที่ 19 ซึ่งเรียกได้ว่าเป็นอัตราที่สุดที่สุดในรอบ 20 ปีเลยล่ะค่ะ


2. ขั้นตอนการเตรียมตัวเพื่อลงเลือกตั้ง

ขั้นตอนการเตรียมตัวเพื่อลงเลือกตั้ง

Yonhap news


ภายในพรรคการเมืองแต่ละพรรคจะมีการเลือกตั้งภายในที่เรียกว่า "การเลือกตั้งขั้นต้น" เพื่อเลือกสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรมาเป็นผู้สมัครชิงตำแหน่งประธานาธิบดีค่ะ กล่าวอีกนัยหนึ่งก็อาจจะเรียกได้ว่าเป็นการคัดเลือกภายในพรรคก่อนการเลือกตั้งประธานาธิบดีอย่างเป็นทางการนั่นเอง


ขั้นตอนการเตรียมตัวเพื่อลงเลือกตั้ง

SNL


ส.ส. ผู้ลงสมัครชิงตำแหน่งประธานาธิบดีผ่านพรรคต่าง ๆ จะเริ่มดำเนินกิจกรรมเพื่อเรียกร้องการสนับสนุนและประกาศคำมั่นสัญญาผ่านสื่อต่าง ๆ โดยล่าสุดเหล่า ส.ส. ก็ยังไปออกรายการบันเทิงมากมาย เช่น SNL เพื่อเรียกร้องการสนับสนุนจากเหล่าเยาวชนค่ะ


ขั้นตอนการเตรียมตัวเพื่อลงเลือกตั้ง


จากนั้นเหล่าผู้สมัครก็จะต้องเข้าร่วม "การอภิปรายผู้ท้าชิงตำแหน่งประธานาธิบดี" โดยจะเป็นการถามคำถามและอภิปรายนโยบายต่าง ๆ อย่างเฉียบขาดและชาญฉลาด พวกเขามักจะอภิปรายอย่างดุเดือดและกล่าวถึงคำมั่นสัญญา, นโยบาย, และแผนทางการเมือง

โดยผู้สมัครตำแหน่งประธานาธิบดีแต่ละคนจะใช้เวลาอภิปรายประมาณ 2 ชั่วโมงค่ะ


ขั้นตอนการเตรียมตัวเพื่อลงเลือกตั้ง

Phim A Violent Prosecutor


การเลือกตั้งประธานาธิบดีจะมีขึ้นในวันพุธแรกเมื่อวาระของประธานาธิบดีคนปัจจุบันเหลือ 70 วัน และระยะเวลาเตรียมการเลือกตั้งคือ 23 วันค่ะ

จากจุดนี้ไป ผู้สมัครแต่ละคนจะต้องลงทะเบียนอย่างเป็นทางการในฐานะผู้สมัครชิงตำแหน่งประธานาธิบดีและเริ่มเตรียมตัวสำหรับการเลือกตั้งอย่างจริงจัง โดยจะมีการกำหนดแคมเปญการเลือกตั้งและดำเนินไปเรื่อย ๆ จนกว่าจะถึงวันก่อนวันเลือกตั้งค่ะ


áp phích quảng bá của các ứng cử viên tổng thống

Yonhap news


ในช่วง 23 วันของการรณรงค์หาเสียง ผู้สมัครจะต้องขับรถไปตามถนนและกล่าวสุนทรพจน์ในที่สาธารณะ พวกเขาจะไปเดินแจกจ่ายนามบัตรและใบปลิวให้กับคนที่เดินผ่านไปมาด้วยตนเอง รวมถึงหาเสียงผ่านการติดโปสเตอร์, แบนเนอร์, และสื่ออื่น ๆ ด้วย


3. เอกลักษณ์และวัฒนธรรมการหาเสียงของเกาหลี

วัฒนธรรมการหาเสียงของเกาหลี


ตลาดดั้งเดิมและร้านอาหารเป็นหนึ่งในสถานที่ที่ผู้สมัครชิงตำแหน่งประธานาธิบดีมักจะไปรณรงค์หาเสียงอยู่บ่อยครั้ง เนื่องจากคนในตลาดส่วยใหญ่จะเป็นคนมีอายุและสนใจการเมืองมาก ๆ ก็เลยต้องมารณรงค์หาเสียงด้วยตนเองค่ะ


วัฒนธรรมการหาเสียงของเกาหลี


นอกจากนี้ เนื่องจากในตลาดและร้านอาหารเป็นสถานที่ที่แสดงให้เห็นถึงวิถีชีวิตที่แท้จริงของผู้คน ผู้สมัครจึงตั้งใจลงไปเยี่ยมชมสถานที่เหล่านั้นด้วยตนเองเพื่อเน้นภาพลักษณ์ที่อบอุ่นและใกล้ชิดกับผู้คนนั่นเองค่ะ

โดยในหมู่ผู้สมัคร ภาพที่รู้จักกันอย่างแพร่หลายเลยก็คือภาพที่ประธานาธิบดีอี มยองบัค (이명박) กินกุกบับที่ร้านอาหารนั่นเองค่ะ

การเพิ่ม "กักดูกี" หรือกิมจิหัวไชเท้าหั่นแบบลูกเต๋าลงในน้ำซุปและทานอย่างเอร็ดอร่อยแสดงให้เห็นว่าเขาก็กินกุกบับเป็นประจำเช่นกัน แน่นอนว่าภาพนี้ก็สร้างความประทับใจอย่างล้ำลึกให้กับชาวเกาหลีด้วยนะคะ


4. วันเลือกตั้งถือเป็นวันหยุดตามกฎหมาย

วันเลือกตั้งถือเป็นวันหยุดตามกฎหมาย


ในวันเลือกตั้งประธานาธิบดีและวันเลือกตั้งรัฐสภาถือเป็นวันหยุดราชการ เพื่อดึงดูดให้คนเกาหลีมาลงคะแนนเสียงมากขึ้นนั่นเองค่ะ

โดยการเลือกตั้งประธานาธิบดีและการเลือกตั้งทั่วไปสำหรับสมาชิกรัฐสภาจะจัดขึ้นทั้งวันในวันพุธค่ะ เนื่องจากถ้าจัดขึ้นในช่วงสุดสัปดาห์ก็อาจจะมีผู้มาใช้เสียงน้อยเพราะต้องการพักผ่อนนั่นเอง

และถ้าหากจัดการเลือกตั้งขึ้นในวันจันทร์หรือวันศุกร์ คนส่วนใหญ่ก็เลือกที่จะหยุด 3 วันติดต่อกันและไม่ต้องการไปเลือกตั้งค่ะ ทำให้ต้องกำหนดวันเลือกตั้งให้เป็นวันพุธของสัปดาห์แทน


5. การลงคะแนนล่วงหน้า

การลงคะแนนล่วงหน้า

newsway


ปกติแล้วเราจะสามารถลงคะแนนได้ตั้งแต่ 06.00-18.00 น. ของวันเลือกตั้งค่ะ อย่างไรก็ตาม หากไม่สามารถมาเลือกตั้งในวันเลือกตั้งได้ ก็สามารถไปลงคะแนนล่วงหน้าได้เช่นกันค่ะ

ในปีนี้ การลงคะแนนเสียงล่วงหน้าจะจัดขึ้นตั้งแต่เวลา 06:00 - 18:00 น. ในวันที่ 4 - 5 มีนาคมที่จะถึงนี้ค่ะ


การลงคะแนนล่วงหน้า

Nspna


และเนื่องจากคนเกาหลีเป็นคนชอบทำไรเร็ว ๆ ดังนั้นคนบางคนก็ไม่ได้มีธุระในวันเลือกตั้งแต่อย่างใด เพียงแค่ต้องการมีส่วนร่วมในการลงคะแนนเสียงก่อนกำหนดหรืออาจจะเป็นเพราะต้องการใช้เวลาในวันหยุดให้เกิดประโยชน์สูงสุด

ผู้ที่มาใช้สิทธิในเลือกตั้งล่วงหน้าสำหรับการเลือกตั้งประธานาธิบดีครั้งที่ 19 คือ 26.06% ซึ่งสูงมาก ๆ แม้ว่าจะไม่ใช่วันเลือกตั้งก็ตาม อาจกล่าวได้ว่าการลงคะแนนเสียงล่วงหน้าช่วยเพิ่มอัตราการชนะได้ค่อนข้างมากเลยละค่ะ


6. การหาเสียงเลือกตั้ง

การหาเสียงเลือกตั้ง

segye


ในช่วงการเลือกตั้งก็จะมีรถตู้ของผู้สมัครสัญจรไปมาพร้อมกับป้ายพิมพ์ขนาดใหญ่ โดยรถยนต์จะเปิดลำโพงและผู้สมัครก็จะมายืนพูดถึงนโยบายของตัวเองอย่างแข็งขัน


การหาเสียงเลือกตั้ง

Newsis


เพื่อให้ได้มาซึ่งคะแนนเสียงของผู้ที่มีสิทธิเลือกตั้ง โฆษณาที่น่าดึงดูดพร้อมเสียงเพลงทร็อตก็ดังขึ้นมาค่ะ และในตอนที่ผู้สมัครกำลังหาเสียง ผู้สนับสนุนก็จะร่วมเดินเคียงข้างไปกับพวกเขาแล้วตะโกนสโลแกนเพื่อช่วยเหลือพวกเขาด้วย


7. หน้ากากและถุงมือไนลอน

หน้ากากและถุงมือไนลอน

Joongang Ilbo


การเลือกตั้งสมัชชาแห่งชาติครั้งที่ 21 จัดขึ้นเมื่อวันที่ 15 เมษายน 2020 ยังคงเป็นที่ถกเถียงกันเรื่อย ๆ แม้กระทั่งก่อนการเลือกตั้งจะเริ่มขึ้นค่ะ เนื่องจากหลาย ๆ คนเป็นกังวลเพราะในตอนนั้นการระบาดของโควิด-19 เพิ่งจะเริ่มต้นขึ้น

เพื่อป้องกันการแพร่กระจายของงโรคโควิด-19 คณะกรรมการการเลือกตั้งแห่งชาติจึงได้แจกจ่ายถุงมือพลาสติกให้กับทุกคนที่มาลงคะแนนเสียง

ด้วยมาตรการที่เข้มงวดนี้ทำให้แทบไม่มีการแพร่กระจายของเชื้อระหว่างการเลือกตั้ง แต่ก็ยังมีปัญหาอื่นเกิดขึ้นแทนค่ะ เพราะถุงมือพลาสติกแบบใช้แล้วทิ้งกลายเป็นขยะที่มีจำนวนมากขึ้นสูงถึง 1,716 เมตรค่ะ


8. การแสดงออกทางโซเชียลมีเดีย

การแสดงออกทางโซเชียลมีเดีย

SBS


หลังจากไปลงคะแนนแล้ว ผู้ที่มาใช้สิทธิ์ก็มักจะได้รับตราประทับบนมือเพื่อยืนยันว่าพวกเขาได้ลงคะแนนแล้วเรียบร้อย ถ้าตามไอจีของคนเกาหลีก็จะพบกับสตอรี่แนว ๆ นี้มากมายเลยล่ะค่ะ

อย่างไรก็ตาม เนื่องจากในตอนนี้ไม่ได้รับอนุญาตให้ประทับตราโดยตรงที่หลังมือเนื่องจากการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ผู้คนจึงมักจะประทับตราลงบนถุงมือพลาสติกหรือโพสต์เอกสารยืนยันการลงคะแนนเสียงใน SNS อื่น ๆ แทนค่ะ


การแสดงออกทางโซเชียลมีเดีย


นอกจากนี้ก็ยังมีคนดังมากมายที่ออกมาลงภาพถ่ายการเลือกตั้งบนโซเชียลมีเดียเพื่อกระตุ้นให้แฟน ๆ ออกไปโหวตมากยิ่งขึ้น ส่วนสิ่งสำคัญสำหรับคนดังก็คือจะต้องเป็นกลางทางการเมืองเมื่อโพสต์เกี่ยวกับการเลือกตั้งบนโซเชียลมีเดียค่ะ


การแสดงออกทางโซเชียลมีเดีย


รูปภาพที่โพสต์โดย Defconn ได้รับความสนใจเป็นอย่างมากเลยล่ะค่ะ เสื้อแจ็กเก็ตสีน้ำเงินและสีแดงเป็นสัญลักษณ์ของทั้งพรรครัฐบาลและพรรคฝ่ายค้าน และใบหน้าที่ไร้อารมณ์ก็แสดงให้เห็นถึงทัศนคติที่ "เป็นกลาง" จนทำให้แฟน ๆ หัวเราะไม่หยุด


9. การประกาศผลคะแนน

การประกาศผลคะแนน


ณ เวลา 18.00 น. หลังจากสิ้นสุดระยะเวลาลงคะแนนเลือกตั้ง การนับคะแนนก็จะเริ่มขึ้นอย่างรวดเร็วค่ะ ต้องบอกเลยว่านี่ถือเป็นช่วงที่คนเกาหลีไม่ละสายตาออกจากรายการนับคะแนนโหวตเลยทีเดียว


การประกาศผลคะแนน


นอกจากนี้ก็ยังมีการถ่ายทอดสดผลการนับคะแนนของผู้สมัครแต่ละคนในแต่ละภูมิภาคด้วยนะคะ และเมื่อเร็ว ๆ นี้ก็มีการนำภาพการ์ตูนของผู้สมัครมาใช้เพื่อดึงดูดผู้ชมให้มากขึ้นด้วยค่ะ~




เป็นยังไงกันบ้างคะกับวัฒนธรรมการเลือกตั้งประธานาธิบดีของเกาหลีที่หลาย ๆ คนอาจจะไม่รู้? เดี๋ยวในเร็ว ๆ นี้ที่เกาหลีก็จะมีการเลือกตั้งประธานาธิบดีคนใหม่เกิดขึ้นเช่นกัน มารอติดตามสถานการณ์ไปพร้อม ๆ กันนะคะ~   


🤞🏻Subscribe พวกเรา Creatrip บน Youtube 

Creatrip Instagram
instagram.com/creatrip.thailand

🎈ช้อปปิ้ง|สั่งซื้อสินค้าเกาหลี

ยอดเข้าชมมากที่สุด

LoadingIcon
ยอดเข้าชมมากที่สุด