เพลง Into the New World กลายเป็นเพลงสามัคคีในยุครุ่นมิลเลนเนียล
เมื่อเพลงเดบิวต์ของ Girls' Generation กลายเป็นเพลงสามัคคีและให้กำลังใจในยุคมิลเลนเนียล
สวัสดีค่ะทุกคน! พวกเรา Creatrip ศูนย์รวบรวมข้อมูลการท่องเที่ยวเกาหลีที่อัพเดทโดยคนเกาหลีในทุก ๆ วัน
#เทรนด์เกาหลี #IntotheNewWorld
#GirlsGeneration #ซอนโยชิแด #มิลเลนเนียล
'Into the New World' ซึ่งเป็นเพลงเดบิวต์ของ Girls' Generation ยังคงเป็นเพลงแห่งความสามัคคีในยุคมิลเลนเนียล โดยในบทความนี้เราจะมาพูดถึงความหมายของเพลง และอิมแพคของเนื้อเพลงที่กลายเป็นเพลงประจำกลุ่มการเคลื่อนไหวต่างๆในสังคมกัน
🤞🏻Subscribe พวกเรา Creatrip บน Youtube
✨Creatrip Instagram
instagram.com/creatrip.thailand
🎈ช้อปปิ้ง|สั่งซื้อสินค้าเกาหลี
เพลง 'Into the New World' กลายเป็นเพลงสามัคคีในยุครุ่นมิลเลนเนียล
หลังจากที่เดบิวต์ด้วยซิงเกิ้ล "Into the New World" ในปี 2007 Girls' Generation ก็กลายเป็นตัวท้อปและกลายเป็นหนึ่งในวงเกิร์ลกรุ้ปที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในวงการK-POP
เขียนโดย Kenzie นักแต่งเพลงจากค่าย SM Entertainment และสามีของเธอและนักแต่งเพลง คิมจองเบ ทำร่วมสร้างเพลงที่มีทำนองเพลงที่ร่าเริงสนุกสนานมาพร้อมกับเนื้อเพลงที่แน่วแน่อย่าง "อุปสรรคในอนาคตที่ไม่อาจล่วงรู้ได้ ฉันจะไม่เปลี่ยนแปลง ฉันจะไม่ยอมแพ้" และ "ฉันทิ้งความโศกเศร้าของโลกนี้ไว้เบื้องหลัง เดินไปตามทางทางที่ไม่คุ้นเคย โดยมีแสงไฟสลัวนำทาง"
cr.Twitter
โดยในการชุมนุมเรียกร้องสิทธิสตรีจากกลุ่มแฟมินิสต์และกลุ่มต่างๆ รวมถึงศูนย์รับมือความรุนแรงทางเพศทางไซเบอร์ของเกาหลี และสมาคมแรงงานสตรีแห่งเกาหลีในเดือนกุมภาพันธ์ ผู้ประท้วงเดินขบวนบนถนนใจกลางกรุงโซลในขณะที่ลำโพงดังลั่นเพลง Into the New World ขณะถือป้ายที่เขียนว่า “ความเท่าเทียม ไม่ใช่ความเกลียดชัง” และ “แฟมินิสต์จะเปลี่ยนโลก”
Raphael Rashid ผู้สื่อข่าวต่างประเทศที่ประจำในโซลได้พูดถึงเลงนี้ว่า ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา 'Into the New World' ได้กลายเป็นเพลงที่เกี่ยวข้องกับวัฒนธรรมการประท้วงของเกาหลีใต้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในหมู่คนหนุ่มสาวชาวเกาหลีที่มีแนวคิดเสรีนิยมที่เรียกร้องให้มีการเปลี่ยนแปลง
เพลงนี้ใช้ในระหว่างการจุดเทียนเพื่อแสดงจุดยื่นในการต้องการความโปร่งใสจากอดีตประธานาธิบดี ปาร์คกึนฮเย อีกทั้งยังถูกใช้ในการประท้วงเพื่อประชาธิปไตยในฮ่องกง เพลงนี้สามารถถ่ายทอดความคิดที่ว่า 'เราทุกคนอยู่ร่วมกันได้ไม่ว่าจะเจอความทุกข์ยากอะไรก็ตาม
แต่ว่าไม่มีต้นทางที่ชัดเจนว่าเพลงของเกิร์ลกรุ๊ปที่ไม่ได้มีความเกี่ยวข้องกับการเมืองแต่อย่างใด กลับกลายเป็นที่นิยมในหมู่ผู้ประท้วงได้อย่างไร แต่เชื่อกันว่าวิดีโอการประท้วงของนักศึกษาที่มหาวิทยาลัยสตรีอีฮวา ในกรุงโซลเมื่อปี 2016 มีส่วนสำคัญที่ทำให้เพลงนี้มีการใช้อย่างแพร่ลายภายหลังต่อมา
ในวิดีโอที่เป็นที่โด่งดัง นักเรียนร่วมกันร้องเพลงพร้อมเพรียงกันขณะที่พวกเขาประท้วงการตัดสินใจของโรงเรียนในการเปิดโครงการมอบปริญญาที่ได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาลสำหรับสตรีวัยทำงานที่ไม่มีประสบการณ์ด้านการศึกษาระดับอุดมศึกษามาก่อน โดยกล่าวว่าโรงเรียนพยายาม "ขายใบจบการศึกษา"
การประท้วงดังกล่าวได้ถอนตัวในเวลาต่อมา และอธิการบดีของมหาวิทยาลัยสตรีอีฮวาในขณะนั้นตัดสินใจลาออกจากตำแหน่งหลังจากการประท้วง
โดย ชเวฮาริม ผู้เขียนบทความเกี่ยวกับ K-POP ได้ทำการพูดถึงเนื้อเพลง Into the New World ว่า เนื้อเพลงที่ทรงพลังของเพลงเป็นสิ่งที่สะท้อนและเชื่อมความรู้สึกของผู้ประท้วงหลาย ๆ คน ด้วยเนื้อเพลงที่บอกให้ผู้คนก้าวไปข้างหน้าแม้จะมีอุปสรรคและไปสู่โลกใหม่ด้วยกัน
ในท่อนสุดท้ายที่ว่า 'ฉันแข็งแกร่งขึ้นเพียงแค่คิดถึงคุณ ช่วยฉันด้วย ช่วยฉันที่ ฉันจะได้ไม่ต้องร้องไห้' มันแสดงให้ทุกคนมีแรงจูงใจซึ่งกันและกัน และข้อความนี้ถูกส่งโดยกลุ่มที่ร้องเพลงอย่างทรงพลังและมาจากใจอย่างพร้อมเพรียงกัน
ในกลุ่มคน LGBTQ เพลงนี้ถือว่าอยู่ในพื้นที่พิเศษในจิตใจของทุกคนเช่นกัน Heezy Yang นักเคลื่อนไหวและแดร็กควีนที่รู้จักในชื่อ Hurricane Kimchi ได้แสดงเพลงนี้ระหว่างงานรำลึกเมื่อต้นปีนี้สำหรับ พลทหาร พยอนฮีซู ทหารข้ามเพศที่ถูกบังคับให้ออกจากกองทัพหลังจากเข้ารับการผ่าตัดแปลงเพศ และได้ปลิดชีวิตตัวเองเมื่อปีที่แล้ว
เพลงเป็นสัญลักษณ์ของการสื่อสารระหว่างผู้คนและมีพลังในรวมตัวสามัคคีกัน ในปี 2021 ทิฟฟานี่จาก Girls’ Generation ได้ปรากฏตัวในวิดีโอร่วมกับกลุ่มคน LGBTQ ซึ่งร่วมกันลิปซิงค์และเต้นไปกับเพลง Into The New World ซึ่งเรียกได้ว่าเป็นช่วงเวลาที่น่าจดจำสำหรับคนในกลุ่ม LGBTQ ในเกาหลีเป็นอย่างมาก
ที่มา : The Korea Herald
🤞🏻Subscribe พวกเรา Creatrip บน Youtube
✨Creatrip Instagram
instagram.com/creatrip.thailand
🎈ช้อปปิ้ง|สั่งซื้อสินค้าเกาหลี