การกลั่นแกล้งบนโลกออนไลน์ของคนเกาหลี
ปัญหาการกลั่นแกล้งบนโลกออนไลน์ในเกาหลีที่ทำให้คนดังจำนวนมากตัดสินใจจบชีวิตตัวเองลง
สวัสดีค่ะทุกคน! พวกเรา Creatrip ศูนย์รวบรวมข้อมูลการท่องเที่ยวเกาหลีที่อัพเดทโดยคนเกาหลีในทุก ๆ วัน
#ข่าวเกาหลี #การกลั่นแกล้ง
#สังคมเกาหลี #คนดังเกาหลี
การกลั่นแกล้งกันบนโลกออนไลน์เป็นสิ่งที่หลายประเทศบนโลกประสบปัญหาและพบเจออย่างมากในตอนนี้ เกาหลีก็เช่นกัน! ไม่เพียงแค่คนธรรมดาเท่านั้น แต่คนดังอย่างไอดอล, ดาราหรือแม้แต่นักกีฬาก็ต้องเจอกับคอมเมนต์ที่แย่ๆต่างๆนานา ไม่ว่าจะเป็นในเรื่องของผลงานหรือแม้แต่รูปร่าง หน้าตา จนทำให้หลายคนตัดสินใจจบชีวิตของตัวเองลง
ไม่นานมานี้ ปัญหาไซเบอร์บูลลี่ในเกาหลีก็กลับมาเป็นประเด็นร้อนอีกครั้ง หลังจากนักกีฬาวอลเลย์บอล "คิมอินฮยอก" และยูทูบเบอร์สาว "โชจางมี" ตัดสินใจจบชีวิตตัวเองลงแม้อายุยังน้อยหลังจากต้องเผชิญกับคอมเมนต์ที่ไม่ดีและเกลียดชัง ตามไปดูเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นและประเด็นที่กำลังได้รับความสนใจในเกาหลีตอนนี้กันค่ะ
🤞🏻Subscribe พวกเรา Creatrip บน Youtube
✨Creatrip Instagram
instagram.com/creatrip.thailand
🎈ช้อปปิ้ง|สั่งซื้อสินค้าเกาหลี
การกลั่นแกล้งบนโลกออนไลน์ของคนเกาหลี
cr: mentalup
ข่าวเกี่ยวกับการกลั่นแกล้งของคนเกาหลีพบเห็นได้บ่อยครั้ง ไม่ว่าจะเกิดกับคนธรรมดา, ดาราหรือแม้แต่ไอดอลก็ต้องเผชิญกับปัญหานี้ จนหลายคนตัดสินใจจบชีวิตอันมีค่าของตัวเองลง และคนเกาหลีก็ได้ออกมาเรียกร้องหลายครั้งเกี่ยวกับกฎหมายและบทลงโทษของไซเบอร์บูลลี่ เนื่องจากบทลงโทษเบาเกินไปทำให้ปัญหายังคงเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง
โดยการเรียกร้องให้เพิ่มบทลงโทษก็กลับมาประเด็นอีกครั้งหลังจากข่าวการเสียชีวิตจากการตัดสินใจจบชีวิตตัวเองลงล่าสุดของนักวอลเลย์บอลอาชีพชาย "คิมอินฮยอก" ซึ่งถูกกลั่นแกล้งบนโลกออนไลน์มานานหลายปีเนื่องจากรูปร่างหน้าตาคล้ายกับผู้หญิง รวมถึงยูทูบเบอร์ "โชจางมี" ที่ถูกกล่าวหาว่าทำตัวไม่เหมาะสม ได้จุดชนวนให้คนเกาหลีจำนวนมากออกมาเรียกร้องให้มีการลงโทษที่รุนแรงขึ้นสำหรับการกลั่นแกล้งบนโลกออนไลน์และการแสดงความคิดเห็นที่ไม่เหมาะสมและเป็นอันตราย
cr: hihkey
"คิมอินฮยอก" นักวอลเลย์บอลวัย 27 ปี ถูกพบว่าเสียชีวิตจากการฆ่าตัวตายที่บ้านของเขาในซูวอน ห่างจากกรุงโซลไปทางใต้ประมาณ 45 กิโลเมตร เมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา โดยตำรวจได้กล่าวว่าเขาได้ทิ้งบันทึกเกี่ยวกับชีวิตที่เจ็บปวดของเขาเอาไว้
การเสียชีวิตเกิดขึ้นหลังจากที่เขาได้ออกมากล่าวถึงเรื่องราวความทุกข์ทางจิตใจของเขา หลังจากที่เขาต้องเผชิญกับคอมเมนต์แสดงความเกลียดชัง, การกลั่นแกล้งและข่าวลือที่ไม่มีมูลความจริงเกี่ยวกับรูปร่างและอัตลักษณ์ทางเพศของเขา โดยหลายคนกล่าวว่า เขาเป็นเกย์หรือแต่งหน้า
คิมอินฮยอกชี้แจ้งเรื่องข่าวลือ
cr. dong A
ซึ่งภายหลังเขาได้ออกมากล่าวผ่านทาง Instagram ส่วนตัวของเขาเมื่อปีที่แล้วว่า “เขาไม่เคยแต่งหน้า, ไม่ได้ชอบผู้ชาย, รวมถึงกล่าวว่าเขามีแฟนแล้ว และไม่เคยปรากฏตัวในภาพยนตร์สำหรับผู้ใหญ่เลย” พร้อมเสริมว่าเขาเหนื่อยกับการต้องเผชิญกับความคิดเห็นเกลียดชังดังกล่าวเป็นอย่างมาก
เขายังเสริมอีกว่า “คนที่ไม่รู้ว่าจริงๆ แล้วเขาเป็นคนยังไงส่งข้อความมาหาเขาแบบนับไม่ถ้วนและโพสต์ความคิดเห็นที่น่ารังเกียจทุกครั้งที่เขาทำการแข่งขัน ซึ่งสิ่งเหล่านี้ยากต่อการอดทนและแบกรับเอาไว้ ฉะนั้น ได้โปรดหยุด” ซึ่งเป็นสิ่งที่เขาขอร้องทุกคนเอาไว้ผ่าน Instagram เมื่อสิงหาคมที่ผ่านมา
cr: 스포츠경향
หลังจากการเสียชีวิตของเขาเพียง 1 วัน ครอบครัวของยูทูบเบอร์ชื่อดังของเกาหลีอย่าง "โชจางมี" หรือรู้จักกันในนามของ Jammi บน Youtube และแพลตฟอร์มสตรีมมิ่งเกม Twitch ก็ได้โพสต์ข้อความผ่านทางเว็บไซต์ของ Twitch ว่าเธอตัดสินใจจบชีวิตของเธอลง หลังจากประสบกับภาวะซึมเศร้าอย่างรุนแรงจากคำพูดแสดงความเกลียดชังและข่าวลือออนไลน์
โดยในปี 2019 โชจางมีวัย 27 ปี ถูกกล่าวหาว่าใช้ท่าทางที่ผู้ชมจำนวนมากตีความว่าเป็นการแสดงออกถึงการเกลียดชังผู้ชาย ซึ่งใช้กันโดยกลุ่มเฟมินิสต์ ซึ่งพวกเขาอ้างว่ามีความหมายที่ผิดทางศีลธรรม และตั้งแต่นั้นมาเธอก็ต้องทนทุกข์จากความคิดเห็นทางออนไลน์ที่มุ่งร้ายและข้อความที่สร้างความเสื่อมเสียทางเพศ ซึ่งยังคงดำเนินต่อไปแม้เธอจะหยุดทำการสตรีมไประยะหนึ่งแล้วก็ตาม รวมถึงเธอได้ออกมาชี้แจ้งและขอโทษกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นแล้วถึง 2 ครั้ง
cr: 동아일보
หลังจากรายงานการเสียชีวิตของเธอ คำร้องถูกโพสต์บนเว็บไซต์ของทำเนียบประธานาธิบดีชองวาแด เรียกร้องให้มีการลงโทษที่รุนแรงต่อผู้ใช้ YouTube และนักวิจารณ์ออนไลน์บางคนที่เผยแพร่ข่าวลือเกี่ยวกับเธอและแสดงความคิดเห็นแสดงความเกลียดชัง
โดยคำร้องได้รับการสนับสนุนจากผู้คนมากกว่า 140,000 คนในเช้าวันอังคาร
การกลั่นแกล้งทางอินเตอร์เน็ตถือเป็นปัญหาร้ายแรงที่เกิดขึ้นในเกาหลีมาเป็นเวลานาน โดยกรณีของคนดังที่ปลิดชีพตัวเองหลังจากทุกข์ทรมานจากคำพูดแสดงความเกลียดชังทางออนไลน์เป็นเวลาหลายปีที่หลายๆคนคงทราบกันก็คือ ซอลลี่ และคูฮารา ที่ทั้ง 2 ต้องเผชิญหน้ากับข้อความแสดงความเกลียดชังมาเป็นเวลานาน
ซึ่งเป็นผลมาจากการเรียกร้องให้ผ่านร่าง "กฎหมายซอลลี่" โดยกฎหมายฉบับนี้มีจุดมุ่งหมายในการหามาตรการจัดการอย่างเข้มงวดต่อผู้ที่แสดงความคิดเห็นมุ่งร้ายต่อใครก็ตามบนอินเตอร์เน็ตนั่นเองค่ะ โดยมีการเรียกร้องให้ทุกคนที่จะเขียนคอมเมนต์ต้องระบุชื่อจริง ๆ และผู้ที่แสดงความคิดเห็นอาจจะมีความผิดฐานหมิ่นประมาทบุคคลอื่นได้เช่นกันค่ะ
แม้ "กฎหมายซอลลี่" ยังไม่ได้รับการการประกาศใช้อย่างเป็นทางการ แต่เว็บไซต์หลัก ๆ ของเกาหลีอย่าง Naver และ Daum ก็ประกาศยกเลิกฟังก์ชั่นการคอมเมนต์ในข่าวของศิลปินรวมถึงนักกีฬาเมื่อปลายเดือนกุมภาพันธ์ 2021 รวมถึง Naver ยังได้ยกเลิก "ฟังก์ชัน Hot Search" ที่มีมานาน 16 ปีอย่างเป็นทางการอีกด้วย
cr: koreabizwire
แต่นักวิชาการชาวเกาหลียังคงกล่าวว่า เนื่องจากแพลตฟอร์ม SNS โกลบอลอื่นๆอย่าง Youtube, Twitter, Facebook และ Instagram ไม่มีการปิดแสดงความคิดเห็นของผู้เข้าชม จึงยังคงเป็นปัญหาร้ายแรงอยู่
ทนายความที่ดูแลเรื่องการหมิ่นประมาทและการกลั่นแกล้งบนอินเทอร์เน็ต "คิมแทยอน" กล่าวว่า ผู้คนจำนวนมากขึ้นกำลังทุกข์ทรมานจากภาวะซึมเศร้าและปัญหาทางจิตต่างๆ อันเนื่องมาจากคำพูดที่สร้างความเกลียดชังทางออนไลน์ ซึ่งเป็นปัญหาที่อาจทำลายชีวิตบุคคลที่ได้รับข้อความเหล่านั้นได้
จำนวนคดีหมิ่นประมาทและการดูหมิ่นออนไลน์เพิ่มขึ้นทุกปีจาก 13,348 ในปี 2017 เป็น 19,388 ในปี 2020 แต่อัตราการตรวจพบอาชญากรลดลงจาก 73.1% เป็น 65.2% ในช่วงเวลาเดียวกันตามข้อมูลจากสำนักงานตำรวจแห่งชาติ
cr: kerouinternetcultures
ปัญหาคือผู้คนมักจะโพสต์ความคิดเห็นที่มุ่งร้ายต่อผู้อื่นบนแพลตฟอร์มระดับโลก เช่น YouTube และ Instagram แทนการโพสต์ข้อความเหล่านั้นลงบนแพลตฟอร์มของเกาหลีใต้ เนื่องจากรู้ว่าเป็นเรื่องยากสำหรับหน่วยงานสืบสวนที่จะได้รับความร่วมมือจากแพลตฟอร์มเหล่านั้นในการตามหาที่อยู่และตัวตนของผู้ใช้งาน
ตามกฎหมายแล้ว ผู้ที่ใส่ร้ายบุคคลอื่นในระบบเครือข่ายข้อมูล เช่น อินเทอร์เน็ต อาจต้องโทษจำคุกสูงสุด 3 ปี หรือปรับ 30 ล้านวอน (25,000 ดอลลาร์สหรัฐ) แต่บทลงโทษสูงสุดดังกล่าวแทบไม่มีการบังคับใช้ ผู้เชี่ยวชาญกล่าว
คิมกล่าวว่า “ถึงแม้ผู้กระทำความผิดจะถูกจับได้ พวกเขามักจะจบลงด้วยบทลงโทษเล็กน้อย เช่น ค่าปรับ” โดยอ้างว่าขาดความตระหนักรู้ของสาธารณชนต่อความร้ายแรงของอาชญากรรมดังกล่าว ซึ่งเกาหลีควรเปลี่ยนการรับรู้นี้และรักษาความจริงจังที่สะท้อนอยู่ในกฎหมาย
🤞🏻Subscribe พวกเรา Creatrip บน Youtube
✨Creatrip Instagram
instagram.com/creatrip.thailand
🎈ช้อปปิ้ง|สั่งซื้อสินค้าเกาหลี