logo

เทรนด์การใช้ชีวิตหรูหราของวัยรุ่นเกาหลี

เทรนด์การใช้ชีวิตแบบหรูหราที่กระเป๋ามาจาก Gucci ,รองเท้าจาก Balenciaga แต่อาหารกลางวันเป็นข้าวปั้นจากร้านสะดวกซื้อ

Jihyun Lee
2 years ago

สวัสดีค่ะทุกคน! พวกเรา Creatrip ศูนย์รวบรวมข้อมูลการท่องเที่ยวเกาหลีที่อัพเดทโดยคนเกาหลีในทุก ๆ วัน


#วัฒนธรรมเกาหลี #คนเกาหลี

#นิสัยคนเกาหลี #แบรนด์เนม


ทุกคนมีของแบรนด์เนมที่ใช้อยู่กี่ชิ้นคะ? ที่เกาหลีสมัยก่อนสินค้าฟุ่มเฟือยราคาแพงถือเป็นสินค้าเฉพาะของคนวัยกลางคนหรือผู้ประสบความสำเร็จที่มีอำนาจทางเศรษฐกิจเท่านั้น แต่เมื่อไม่นานมานี้เหล่าวัยรุ่นเกาหลีอายุระหว่าง 20-30 ปีกลายเป็นผู้บริโภคสินค้าฟุ่มเฟือยรายใหญ่ของสินค้าแบรนด์เนมค่ะ!

หลายครั้งที่เราได้ยินเหล่าเด็กนักเรียนชั้นมัธยมที่จับกลุ่มคุยกันเรื่องกระเป๋า, เครื่องสำอางหรูหราราคาแพงค่ะ

วันนี้มาเรียนรู้เกี่ยวกับเทรนด์การใช้สินค้าฟุ่มเฟือยราคาแพงของคนเกาหลีในแง่มุมต่างๆว่าเป็นเพราะอะไร?


  🤞🏻Subscribe พวกเรา Creatrip บน Youtube 

Creatrip Instagram
instagram.com/creatrip.thailand

🎈ช้อปปิ้ง|สั่งซื้อสินค้าเกาหลี



เทรนด์การใช้ชีวิตหรูหราของวัยรุ่นเกาหลี

คนเกาหลีcr. 연합뉴스


ทุกคนเคยได้ยินคำว่า "open run" หรือเปล่า? มันหมายถึง การวิ่งไปที่ร้านค้าทันทีที่ประตูห้างสรรพสินค้าเปิด เพราะความนิยมในสินค้าฟุ่มเฟือยอย่างไม่ที่เคยปรากฏมาก่อนในประเทศเกาหลีตั้งแต่ปีที่แล้ว ทำให้เรื่องง่ายที่จะเห็นผู้คนเข้าแถวรอหน้าห้างสรรพสินค้าหรูในเกาหลีค่ะ


นิสัยคนเกาหลี

cr. 뉴시스


ถึงขนาดมีงานพาร์ทไทม์เป็นเอเจนซี่รับงาน Open run โดยมีค่าจ้างรายวันอยู่ที่ 100,000 วอนและว่ากันว่าถ้าลูกค้าซื้อสินค้าที่ต้องการได้จะได้รับเงิน 300,000 วอนรวมค่าธรรมเนียมที่ทำงานสำเร็จค่ะ


สินค้าแบรนด์เนมcr. GQ Italia


ตามรายงานของ Euromonitor International บริษัทวิจัยตลาดระดับโลก ขณะที่ตลาดสินค้าฟุ่มเฟือยทั่วโลกหดตัวลง 19% เมื่อปีที่แล้ว แต่ยอดขายสินค้าฟุ่มเฟือยของเกาหลีเพิ่มขึ้นเป็น 12,254 พันล้านดอลลาร์!!  

ทำให้ตอนนี้เกาหลีหน้าเยอรมนี ซึ่งเป็นหนึ่งในตลาดสินค้าหรูหราที่ใหญ่ที่สุดในโลก และเป็นประเทศที่รักการใช้ของหรูหราเป็นอันดับ 7 ของโลกในปีนี้ นั้นมีเหตุผลมาจากอะไรนะ?


คนเกาหลี


เทรนด์การบริโภคสินค้าฟุ่มเฟือยของคนรุ่นใหม่เกาหลีเรียกว่า MZ โดยเพิ่มขึ้นมาเป็น Generation MZ หมายถึงเด็กที่เกิดระหว่างปี 1980 ถึงต้นยุค 2000 คือคนที่อยู่ในช่วงวัยรุ่นถึงอายุ 30 ปีในเกาหลีค่ะ

จะเห็นได้ว่าสัดส่วนการซื้อสินค้าฟุ่มเฟือยในวัย 20 และ 30 ปีที่ห้างสรรพสินค้า Lotte ในเกาหลีเพิ่มขึ้นเยอะมากๆจาก 38.2% ในปี 2018, 41.4% ในปี 2019 และ 44.9% ในปี 2020 โดยยอดขายสินค้าแบรนด์หรูของห้างสรรพสินค้า Shinsegae มีกลุ่มเป้าหมายคือคนช่วงอายุ 20-30 ปีได้เกินครึ่งแล้วค่ะ


คนเกาหลี


เหมือนกับรถยนต์นำเข้าที่หรูหราที่มียอดขายสูงสุดประมาณ 270,000 คันและมีส่วนแบ่งตลาดประมาณ 16% ในตลาดเกาหลีในปีที่แล้วซึ่งคนส่วนใหญ่ที่ซื้อรถยนต์นำเข้าคือคนวัย 30 ปีเช่นกันค่ะ โดยคนในวัย 20 และ 30 ปีคิดเป็น 40% เลยค่ะ


นิสัยคนเกาหลี


ที่น่าแปลกใจยิ่งกว่านั้นก็คือเทรนด์การใช้ชีวิตแบบหรูหรานี้ส่งผลถึงเด็กวัยรุ่นอายุ 10 ปีด้วยค่ะ

ทุกคนรู้จักเพลงที่ชื่อว่า "Spine Breaker" ของ BTS หรือเปล่า? คำว่า "ตัวหักกระดูกสันหลัง" เกิดขึ้นเมื่อ 10 ปีที่แล้ว  โดยตอนนั้นเสื้อแพดดิ้งของ North Face มีราคาประมาณ 500,000 - 600,000 วอน กลายเป็นที่นิยมของวัยรุ่นเกาหลี เป็นคำที่สร้างขึ้นเพื่อหมายความว่าต้องทำงานจนกระดูกสันหลังหักเพราะต้องซื้อเสื้อผ้าราคาแพงให้ลูกหลายค่ะ


ฮวาซา


แต่เทรนด์การใช้ชีวิตแบบหรูหราของคนเกาหลีตอนนี้มันหนักยิ่งกว่าเมื่อ 10 ปีที่แล้วอีกเพราะไม่ใช่แค่หลักแสนและเป็นหลักล้านวอนเลยค่ะ


ชาอึนอู


จากการสำรวจนักเรียนมัธยมต้นและมัธยมปลายของ Smart School Uniform เมื่อปีที่แล้วพบว่า 56.4% ตอบว่า "พวกเขาซื้อของฟุ่มเฟือย" นอกจากนี้ผลการสำรวจวัยรุ่นและวัย 20 ปีของ Part-timer Heaven ซึ่งเป็นแพลตฟอร์มที่เชี่ยวชาญงานพาร์ทไทม์ในปีที่แล้วพบว่า 33.6% ของวัยรุ่นตอบว่า "มีแผนจะซื้อสินค้าฟุ่มเฟือยใหม่จากเงินของขวัญวันชูซอก"ค่ะ


นิสัยคนเกาหลี

cr. YouTube 한별 hanbyul


เรื่องแปลกคือกลุ่มคน MZ ส่วนใหญ่ไม่ได้ฐานะดีที่จะซื้อของฟุ่มเฟือยมากมายขนาดนี้!!!

อย่างเพราะเหล่าวัยรุ่นยังเป็นนักเรียน ซึ่งส่วนใหญ่ไม่มีงานทำ จึงไม่มีความสามารถในการซื้อสินค้าฟุ่มเฟือย โดยส่วนใหญ่พ่อแม่จะซื้อให้หรือพวกเขาจะประหยัดเงินที่ได้รับจากพ่อแม่เพื่อเอาไปซื้อ หรือแม้แต่ทำงานพิเศษค่ะ

เมื่อพิจารณาว่าค่าแรงขั้นต่ำในปี 2021 เท่ากับ 8,720 วอน (ประมาณ 220 บาท) เหล่าวัยรุ่นจึงต้องทำงานเป็นเวลานานเพื่อซื้อสินค้าฟุ่มเฟือยราคาแพงค่ะ


นิสัยคนเกาหลี


สำหรับคนช่วงวัย 20 และ 30 ปีก็สถานการณ์ไม่ต่างกันค่ะ 

จากข้อมูลของสำนักงานสถิติแห่งชาติ MDIS ของกลุ่มประชากรอายุ 25-39 ปี ที่เข้าศึกษาหรือสำเร็จการศึกษาจากวิทยาลัย มีคนประมาณ 320,000 คนที่ไม่มีประสบการณ์ในการทำงาน และที่เกาหลีอัตราการว่างงานสูงอย่างต่อเนื่องในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมาค่ะ

ตัวเลข 320,000 คนก็ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน แม้ว่าจะโชคดีพอที่จะหางานทำได้ แต่ก็มีคนทำงานที่ไม่ประจำจำนวนมาก ดังนั้นจึงมีปัญหาเรื่องความมั่นคงอยู่บ่อยครั้งค่ะ


นิสัยคนเกาหลี


ยิ่งไปกว่านั้นคนในวัย 20 และ 30 จำนวนมากยังคงพึ่งพาพ่อแม่ของพวกเขาอยู่ เพราะราคาบ้านที่สูงอย่างไม่น่าเชื่อในเกาหลี ตามข้อมูลที่เผยแพร่โดยสำนักงานสถิติแห่งชาติในปีนี้ 54.8% ของประชากรที่ยังไม่แต่งงานในวัย 30 ยังคงอาศัยอยู่กับพ่อแม่ค่ะ

แต่เมื่ออายุมากขึ้น ทำให้เกิดความคิดว่าควรมีสินค้าหรูหราที่เหมาะสมกับวัย ตอนที่เราเป็นนักศึกษาที่อายุช่วง 20 ปีแต่ก็มีเพื่อนรอบข้างมากมายที่ใช้ของแบรนด์เนมราคาแพง แม้ว่าจะเป็นการซื้อตามความสามารถของพวกเขา แต่ความจริงพวกเขาใช้จ่ายมากกว่าเงินที่หามาได้ค่ะ


แล้วทำไมกลุ่มคนเกาหลี MZ จึงเลือกใช้ของหรูหรา?

1. วัฒนธรรม FLEX 

คนเกาหลี


วัฒนธรรม FLEX หมายถึง วัฒนธรรมที่แสดงถึงความสำเร็จหรือความมั่งคั่งของตัวเอง เมื่อฮิปฮอปเริ่มสร้างตัวเองให้เป็นวัฒนธรรมกระแสหลักในเกาหลี คำที่นักร้องฮิปฮอปใช้ก็เข้ามาในชีวิตของคนเกาหลี และวัฒนธรรม FLEX ที่จะรักษาคุณค่าของตัวเองด้วยการซื้อของราคาแพงที่ปกติแล้วไม่สามารถซื้อได้ค่ะ


นิสัยคนเกาหลี


ตามวัฒนธรรม FLEX ที่มีความต้องการจะแสดงให้คนอื่นเห็น เพราะกลุ่ม MZ มีความคุ้นเคยกับสภาพแวดล้อมของสื่อโซเชียลมาก พวกเขาจึงอวดตัวเองด้วยการอัปโหลดภาพของการใช้ชีวิตหรูหราบนโลกโซเชียลค่ะ 

ถ้าค้นหาแฮชแท็ก #flex บน Instagram จะเห็นโพสต์ประมาณ 370,000 โพสต์ (ณ เดือนมิถุนายน 2021) ที่คนเกาหลีอัปโหลดภาพของสินค้าหรูหราค่ะ


คนเกาหลีcr. 김해뉴스


นอกจากนี้ถ้าค้นหาคำว่า "명품 언박싱", "명품 하울" บน YouTube จะเห็นคลิปของวัยรุ่นและคนช่วงอายุ 20 ปีที่ซื้อสินค้าฟุ่มเฟือยจำนวนมากในราคาหลายล้านวอนหรือหลายหมื่นวอนที่มาโชว์ค่ะ


คนเกาหลี


การซื้อและถือของราคาแพงแบบนี้ และการอัปโหลดบนโซเชียลมีเดียได้กลายเป็นสิ่งที่คนรุ่น MZ เรียกว่าเป็นแนวทางฮิปสเตอร์ ยิ่งซื้อและโชว์มากเท่าไหร่ก็จะกลายเป็นการสร้างความเชื่อว่าตัวเองเหมาะสมกับสินค้าเหล่านี้มากเท่านั้นค่ะ


2. เพราะราคาบ้านสูงขึ้นจึงมีวัฒนธรรม YOLO 


YOLO เป็นคำใหม่ที่ชื่อย่อมาจากประโยค "You Only Live Once" หมายถึงการใช้ชีวิตที่ให้ความสำคัญกับความสุขของตัวเองในปัจจุบันโดยไม่ต้องคิดเผื่ออนาคตหรือผู้อื่น วัฒนธรรม YOLO ได้แพร่หลายไปทั่วเกาหลีเมื่อไม่กี่ปีที่ผ่านมา บางคนมองว่าการบริโภคสินค้าฟุ่มเฟือยที่เพิ่มขึ้นเมื่อเร็วๆนี้เป็นวัฒนธรรมของ YOLO ค่ะ


ชีวิตในเกาหลี


ตอนนี้ราคาบ้านในเกาหลีแพงมากๆ ปัจจุบันราคาเฉลี่ยของอพาร์ตเมนต์ในกรุงโซลอยู่ที่ 900 ล้านวอน ไม่ใช่แค่บ้านในโซลเท่านั้นแต่ยังรวมไปถึงเขตเมืองใกล้กรุงโซลด้วยค่ะ เมื่อราคาอสังหาริมทรัพย์พุ่งสูงขึ้นคนรุ่น MZ รู้ดีว่าไม่ว่าจะออมเงินและประหยัดเงินหนักแค่ไหนก็ไม่สามารถ "ซื้อบ้านของตัวเอง" ได้เหมือนกับคนรุ่นเก่าค่ะ


ที่พักในเกาหลี


ความจริงค่าจ้างและรายได้แรงงานปี 2019 ที่ประกาศโดยสำนักงานสถิติแห่งชาติ พบว่ารายได้เฉลี่ยต่อเดือนสำหรับคนในวัย 20 คือ 2.21 ล้านวอน, คนช่วงอายุ 30 ปีคือ 3.35 ล้านวอนและเพิ่มเป็น 3.57 ล้านวอนสำหรับคนช่วง 40 ปีค่ะ

แต่มีเพียงไม่กี่คนที่คาดหวังว่าพวกเขาจะสามารถซื้อบ้านได้ด้วยเงินที่พวกเขาหาได้จากแรงงานเท่านั้นค่ะ


นิสัยคนเกาหลีcr. 시사저널


ดังนั้นคนรุ่น MZ จึงเลิกซื้อบ้านและเลือกแสวงหาความสุขของตนเองโดยเพิ่มการบริโภคในปัจจุบัน และนำไปสู่การบริโภคของที่หรูหรา ซึ่งทางจิตวิทยาอธิบายไว้ว่า คนรุ่น MZ ของเกาหลีจะมีความพึงพอใจทางจิตใจด้วยการรวบรวมเงินเดือนส่วนหนึ่งและซื้อสินค้าฟุ่มเฟือยที่ไม่เกินมาตรฐานการครองชีพอย่างมีนัยสำคัญค่ะ


3. ประสบการณ์สำคัญกว่าการบริโภค + การเติบโตของตลาดมือสอง 

คนเกาหลีcr.헤럴드 경제


ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมาตลาดมือสองในเกาหลีเติบโตขึ้นอย่างมาก ใครๆก็ซื้อขายของดีๆในราคาต่ำได้ง่ายๆ ด้วยแอพพลิเคชั่น เช่น Joonggonara (중고나라), Bunjang (번개장터), Karrot Market (당근마켓) ซึ่งคนรุ่นใหม่ที่คุ้นเคยกับการซื้อขายของใช้ของคนอื่น เริ่มซื้อขายของมือสองตามภาพด้านบนค่ะ


เยริ Red velvet


Generation MZ ให้ความสำคัญกับประสบการณ์การใช้สินค้าแบรนด์ดังมากกว่าการซื้อและเป็นเจ้าของตลอดไป ดังนั้นหลังจากซื้อเสื้อผ้าหรือของหรูหราแล้ว พวกเขาจะใช้ซักพักและขายของในตลาดมือสอง และสนุกกับการซื้อผลิตภัณฑ์ใหม่ด้วยเงินเพิ่มเล็กน้อยค่ะ


นิสัยคนเกาหลี


กรณีสินค้าแบรนด์หรูซึ่งแตกต่างจากสินค้ามือสองอื่นๆ เพราะราคาไม่ได้ลดลงมาก แต่หากเป็นผลิตภัณฑ์รุ่นลิมิเต็ดอิดิชั่นก็อาจขายได้ในราคาที่สูงกว่าราคาซื้อ ถือเป็นการลดการซื้อสินค้าใหม่ๆค่ะ


ปัญหาที่เกิดขึ้น

1. การสร้างความไม่เท่าเทียม 

วัยรุ่นเกาหลี


อย่างแรกคืออาจทำให้เกิดความรู้สึกแปลกแยกในกลุ่มเด็กเพราะการซื้อสินค้าฟุ่มเฟือย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกลุ่มวัยรุ่นที่มีปัญหาในการซื้อของฟุ่มเฟือยค่อนข้างจะรู้สึกถูกกีดกันและแปลกแยกจากคนอื่นๆค่ะ


นิสัยคนเกาหลีcr. 한국일보


นอกจากเรื่องการใช้ความหรูหราแล้วยังมีเด็กช่วงอายุ 10 ปีหลายคนได้แสดงความคิดเห็นเช่น "ถ้าได้เจอพ่อแม่ดีๆก็คงจะดี", "ฉันต้องใช้เงิน 50,000 วอนไปอีกกี่เดือน" ดังนั้นจึงเป็นเรื่องยากที่จะบอกว่าสถานการณ์แท้จริงเป็นยังไงค่ะ


2. ความสมดุลของผู้บริโภค 

นิสัยคนเกาหลี


อย่างที่สองคือปัญหาเรื่องโพลาไรซ์ในการบริโภค ในอดีตคนร่ำรวยจะบริโภคสินค้าราคาแพงและคนรายได้ต่ำบริโภคสินค้าราคาต่ำ แต่ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมาแม้แต่คนที่มีรายได้น้อยก็ยังสะสมเงินเดือนหลายเดือนเพื่อบริโภคสินค้าราคาแพง ซึ่งสร้างปัญหาเรื่องการแบ่งขั้วในการบริโภคค่ะ


คนเกาหลีcr. bgf 리테일


มันคือการประหยัดเงินในการซื้อของใช้ประจำวันเพื่อซื้อของราคาแพง แม้ว่าปริมาณการบริโภคต่อคนจะเพิ่มขึ้นแต่นี่เป็นปัญหาใหญ่เพราะอาจส่งผลเสียต่อเศรษฐกิจของเกาหลีค่ะ



นิสัยคนเกาหลี


นี่เป็นเรื่องยากที่จะวิพากษ์วิจารณ์การบริโภคฟุ่มเฟือยที่เพิ่มของคนรุ่นใหม่ของเกาหลีว่าเป็นเพียงการบริโภคที่หรูหราหรือเพราะการบริโภคคือการแสวงหาความสุขของตนเองกันแน่ค่ะ ทุกคนคิดยังไงกับเทรนด์การใช้ชีวิตหรูหราของคนเกาหลีบ้างคะ?

แล้วเจอกันใหม่ครั้งหน้า สวัสดีค่ะ  😊


  🤞🏻Subscribe พวกเรา Creatrip บน Youtube 

Creatrip Instagram
instagram.com/creatrip.thailand

🎈ช้อปปิ้ง|สั่งซื้อสินค้าเกาหลี

ยอดเข้าชมมากที่สุด

LoadingIcon
ยอดเข้าชมมากที่สุด