logo
logo
DEPRECATED_CloseIcon

ทำความรู้จักกับ RPS (Real Person Slash)

มีการยื่นคำร้องต่อ Blue House ให้ลงโทษผู้ที่ใช้ไอดอลชายไปในทาง RPS มีผู้ร่วมลงชื่อมากกว่า 120k คน!

Dahye Ko
4 years ago
ทำความรู้จักกับ RPS (Real Person Slash)-thumbnail
ทำความรู้จักกับ RPS (Real Person Slash)-thumbnail

สวัสดีค่ะทุกคน! พวกเรา Creatrip ศูนย์รวบรวมข้อมูลการท่องเที่ยวเกาหลีที่อัพเดทโดยคนเกาหลีในทุก ๆ วัน


#RPSคืออะไร #ไอดอลชาย

#อาชญากรรมทางเพศ #คู่จิ้น


ทุกคนรู้จัก RPS (Real Person Slash) กันมั้ยคะ? เมื่อเร็ว ๆ นี้ มีการยื่นคำร้องต่อ Blue House ให้ลงโทษผู้ที่ใช้ไอดอลชายไปในทาง RPS ที่สำคัญคือมีผู้ร่วมลงชื่อมากกว่า 120k คน! เห็นได้ชัดว่าคนเกาหลีกำลังให้ความสำคัญกับวัฒนธรรมการใช้ RPS ขนาดไหน วันนี้เราจะมาพาทุกคนไปรู้จักคำ ๆ นี้กันค่ะ!


🤞🏻Subscribe พวกเรา Creatrip บน Youtube

Creatrip Instagram
instagram.com/creatrip.thailand

🎈ช้อปปิ้ง|สั่งซื้อสินค้าเกาหลี


ทำความรู้จักกับ RPS (Real Person Slash)


RPS (알페스) ย่อมากจากคำว่า Real Person Slash เป็นการแต่งนิยายหรือใช้ข้อความให้เกิดความเข้าใจผิดเกี่ยวกับความสัมพันธ์ของตัวละครที่เป็นบุคคลที่มีอยู่จริง ซึ่งสิ่งที่คนเกาหลีกำลังให้ความสำคัญอยู่ในตอนนี้ก็คือการที่แฟนคลับนำศิลปินชาย โดยเฉพาะไอดอลชายที่พวกเขาชื่นชอบมาเป็นตัวเอก แล้วจินตนาการหรือแต่งนิยายให้เกิดการรักร่วมเพศระหว่างไอดอลชาย 2 คนนั้น


คำร้อง


โดยตอนนี้มีการยื่นคำร้องต่อ Blue House ให้ลงโทษผู้ที่ใช้ไอดอลชายไปในทาง RPS ที่สำคัญคือมีผู้ร่วมลงชื่อมากกว่า 120k คน! ในคำร้องระบุว่าในนิยายหรือข้อความของแฟนคลับคนนั้น ๆ ใช้คำอธิบายที่ชัดเจนเพื่อบรรยายความสัมพันธ์ทางเพศที่ผิดปกติระหว่างศิลปินชายด้วยกันเอง ซึ่งเป็นคนที่มีตัวตนอยู่จริง และแม้กระทั่งมีการยรรยายถึงการทำอาชญากรรมทางเพศ เช่น การข่มขืน


RPS

(รูปภาพประกอบไม่เกี่ยวข้องกับบทความ)


ในขณะเดียวกัน ศิลปินชายหลายคน รวมถึงศิลปินชายที่มีอายุมากกว่าหรือยังไม่บรรลุนิติภาวะก็ได้กลายเป็นตัวละครที่แฟนคลับนำมาประกอบจินตนาการนั้น ๆ ในหมู่บทความหรือนิยายมีการกล่าวถึงความรุนแรงทางเพศต่อศิลปิน ซึ่งนี่ก็เป็นเรื่องที่ร้ายแรงมาก ๆ คนทั่วไปวิจารณ์ทั้งผู้เขียนและผู้อ่านอย่างรุนแรง ว่าเป็นอาชญากรและยังได้ก่ออาชญากรรมโดย "การใช้ไอดอลชายมาเป็นวัตถุทางเพศ" ซึ่งเป็นสิ่งที่ยอมรับไม่ได้โดยสิ้นเชิง


(รูปภาพประกอบไม่เกี่ยวข้องกับบทความ)


ส่วนหนึ่งของคำร้องยังชี้ไปถึงการทำงานที่ไม่มีประสิทธิภาพของบริษัทของศิลปิน เพราะบางทีวัฒนธรรม RPS หรือวัฒนธรรมคู่จิ้นก็เรียกกระแสให้ศิลปินชายคนนั้น ๆ ได้ ซึ่งเป็นการทำให้ผู้ที่ใช้ศิลปินไปในทาง RPS ไม่ได้รู้สึกว่ามันเป็นการกระทำที่ผิด และยังหวังอีกว่ารัฐบาลจะสามารถดำเนินการจำกัดการเข้าถึงโซเชียลมีเดียที่เกี่ยวข้องได้อย่างรวดเร็ว

(Simba Zawadi)


สาเหตุที่ความร้ายแรงในการ RPS ถูกพูดถึงกันอย่างแพร่หลายต้องยกความดีความชอบให้กับศิลปินชาย Simba Zawadi เขาเป็นนักร้องชาวเกาหลีใต้ และเขาได้เผยแพร่คำร้องนี้ใน SNS ของเขาเอง เขาให้ความเห็นว่า "หลังจากเหตุการณ์การก่ออาชญากรรมทางเพศ N Room นั้น สังคมเกาหลีควรตื่นตัวและตระหนักเกี่ยวกับการใช้ความรุนแรงทางเพศได้แล้ว"


ทำความรู้จักกับ RPS (Real Person Slash)

(รูปภาพประกอบไม่เกี่ยวข้องกับบทความ)


แต่ในขณะเดียวกันก็มีคนที่สนับสนุนสนับสนุนวัฒนธรรมนี้ พวกเขาต่างก็บอกว่ามันเป็นเพียงหนึ่งใน "วัฒนธรรมบันเทิง" ของแฟน ๆ เท่านั้น ไม่ได้คิดเป็นจริงเป็นจังหรือตั้งใจทำให้ศิลปิเสียหาย ในความเป็นจริงวัฒนธรรมคู่จิ้นได้ถูกฝังลากลึกและแพร่กระจายไปทั่ว แม้แต่บริษัทของศิลปินก็สร้างบรรยากาศของคู่รักร่วมเพศในกลุ่มบอยแบนด์ ทั้งโดยเจตนาและโดยไม่ได้ตั้งใจ



เป็นยังไงกันบ้างคะทุกคน? เห็นด้วยหรือไม่เห็นด้วยกับการยื่นคำร้องครั้งนี้คะ? แต่ไม่ว่ายังไงการใช้ไอดอลชายหรือศิลปินชายที่มีตัวตนอยู่จริงเป็นวัตถุทางเพศก็ไม่ใช่เรื่องดีนะคะ



🤞🏻Subscribe พวกเรา Creatrip บน Youtube

Creatrip Instagram
instagram.com/creatrip.thailand

🎈ช้อปปิ้ง|สั่งซื้อสินค้าเกาหลี


โพสต์ที่น่าสนใจ