logo
เขต

เบื้องลึกของอาการป่วยทางจิตใจของเหล่าไอดอล

มาเจาะลึกถึงสาเหตุเบื้องลึกของอาการป่วยทางสภาพจิตใจ, ภาวะวิตกกังวลและโรคซึมเศร้าที่เกิดกับไอดอลเกาหลี

Yujin Kim
3 years ago

สวัสดีค่ะทุกคน! พวกเรา Creatrip ศูนย์รวบรวมข้อมูลการท่องเที่ยวเกาหลีที่อัพเดทโดยคนเกาหลีในทุก ๆ วัน


#KPOP #ไอดอลเกาหลี

#โรคซึมเศร้า #อาการป่วย


เมื่อช่วงต้นเดือนธันวาคมที่ผ่านมา ซอนมี ได้เป็นแขกร่วมรายการและเธอได้เปิดเผยว่าตัวเธอถูกวินิจฉัยว่ามี "ความผิดปกติทางบุคลิกภาพ" และได้เปิดเผยว่าในอดีตเธอต้องมีช่วงเวลาที่ลำบากในฐานะไอดอลกว่าเธอจะสามารถปรับตัวได้เหมือนทุกวันนี้ค่ะ

ในโลกแห่งความเป็นจริงไม่ได้มีเพียงซอนมีเท่านั้นที่ต้องทุกข์ทรมานกับอาการป่วยทางจิตใจและภาวะวิตกกังวล แต่ยังมีเด็กทั้งชายและหญิงอีกหลายคนที่กำลังเจอกับสิ่งเหล่านี้เช่นกันค่ะ 

วันนี้เราจะพาทุกคนไปค้นหาความจริงว่าอะไรคือสาเหตุที่ทำให้ไอดอลต้องทนทุกข์ทรมานกับความผิดปกติทางสภาพจิตใจ 

🤞🏻Subscribe พวกเรา Creatrip บน Youtube 

Creatrip Instagram
instagram.com/creatrip.thailand

🎈ไอดอลเกาหลี


เบื้องลึกของอาการป่วยทางจิตของเหล่าไอดอล

การเป็นบุคคลที่อยู่ท่ามกลางจุดสนใจ 

คำนิยามของ


คำนิยามของ "ไอดอล" คือสิ่งที่ถูกกำหนดไว้ให้มีความเฟอร์เฟคแบบ 100% และมีลักษณะใกล้เคียงกับ "พระเจ้า" ด้วยสิ่งนี้ทำให้ทั้งสื่อและแฟนคลับต่างคาดหวังว่าไอดอลจะเป็นบุคคลที่สมบูรณ์แบบเปรียบเสมือน "พระเจ้า" แห่งโลกมนุษย์ค่ะ 


ไอดอลที่ดีต้อง สุภาพ, บริสุทธิ์, ไม่มีอารมณ์โกรธ และต้องทำงานหนักตลอดเวลา สิ่งเหล่านี้ถูกปลูกฝังให้กับพวกเขาตั้งแต่ตอนเป็นเด็กฝึกหัด และพวกเขาก็จำสิ่งเหล่านั้นมาใช้ในชีวิตจริง เมื่อออกสื่อแล้วทุกการกระทำและคำพูด จะถูกวิพากวิจารณ์ได้เสมอทั้งจากสื่อและประชาชนค่ะ

นอกจากต้องรับคำวิจารณ์จากสื่อแล้ว ยังมีข้อความด้านลบที่คนทั่วไปพิมพ์ลงในสื่อโซเชียลต่างๆ และปัญหาคือคนทั่วไปไม่รู้สึกอะไรกับการกระทำแบบนี้ค่ะ 


ไอรีนและโซยอน ต้องเจอกับประเด็นขัดแย้งระหว่างการออกอากาศ

ไอรีนและโซยอน ต้องเจอกับประเด็นขัดแย้งระหว่างการออกอากาศ 


ไม่ว่าเหล่าไอดอลจะแสดงท่าทางอะไรออกมาก็มักจะถูกจับตามองจนกลายเป็นประเด็นให้ถูกวิจารณ์อยู่เสมอ ดังนั้นไอดอลส่วนใหญ่จึงเลือกที่จะไม่แสดงอารมณ์หรือท่าทางออกมามากนัก ทำได้แต่เพียงการเก็บความรู้สึกเอาไว้ค่ะ 

การที่จะเป็นไอดอลนั้นต้องมีความแข็งแรงทั้งทางร่างกายและจิตใจ นอกจากนั้นยังต้องมีความสามารถและทักษะการออกสื่อ สามารถแสดงออกได้อย่างเหมาะสมเมื่ออยู่บนเวทีค่ะ เคยมีคำพูดที่ว่า "ไอดอลเป็นอาชีพ" แต่ก็เป็นอาชีพที่ได้รับแรงกดดันและความเครียดจากภายนอกและภายนอกค่ะ 


เพราะเหตุนี้อาจบอกได้ว่าชีวิตของไอดอลอยู่กับความวิตกอยู่เสมอ


เพราะเหตุนี้อาจบอกได้ว่าชีวิตของไอดอลอยู่กับความวิตกอยู่เสมอ แต่พวกเขาก็อยู่ได้ด้วยเป้าหมายที่จะประสบความสำเร็จ ซึ่งมันก็ดีกว่าชีวิตการเป็นเด็กฝึกค่ะ แต่ภาพของความสำเร็จที่แสดงผ่านสื่อนั้นก็คือ การมีชีวิตที่หรูหรา, มีบ้านหลังใหญ่ แต่หลังกล้องนั้นพวกเขาอาจจะต้องพยายามอย่างมากเพื่อมาถึงจุดนี้ค่ะ 


เห็นได้จากรายการต่างๆที่เด็กฝึกเข้าร่วมเพื่อจะได้เป็นไอดอล


เห็นได้จากรายการต่างๆที่เด็กฝึกเข้าร่วมเพื่อจะได้เป็นไอดอล พวกเขาต้องผ่านการฝึกหนักทั้งทางร่างกายและจิตใจ นอกจากนั้นยังเจอกับการกระทำและคำพูดตำหนิที่บางครั้งก็รุนแรงจนพวกเขาต้องร้องไห้ออกมา นั้นก็แสดงให้เห็นว่าเหล่าไอดอลต้องเจอกับช่วงเวลาที่ยากลำบากตั้งแต่ตอนเป็นเด็กฝึกค่ะ 


นอกจากนั้นสื่อยังไม่ได้โชว์ถึงส่วนของสัญญาหรือความจริงทั้งหมดของการเป็นไอดอล แต่เน้นเรื่องความลำบากเท่านั้น แม้ว่าจะสามารถชนะการแข่งขันจนได้เดบิวแล้ว แต่สภาพจิตใจที่บอบช้ำก็ไม่ได้ดีขึ้น และยังต้องเจอกับความกดดันเพิ่มเติมจากการประสบความสำเร็จหรือยอดขายอัลบั้มค่ะ 


ขณะที่กำลังเตรียมตัวเพื่อคัมแบ็ค เหล่าไอดอลต้องเจอกับการฝึกอย่างหนักและมีตารางงานที่แน่นตลอด


ขณะที่กำลังเตรียมตัวเพื่อคัมแบ็ค เหล่าไอดอลต้องเจอกับการฝึกอย่างหนักและมีตารางงานที่แน่นตลอด ไม่ว่าจะเหนื่อยมากแค่ไหนแต่ต่อหน้าสื่อพวกเขาต้องยิ้มแย้ม และต้องพยายามแสดงออกมาให้ดีที่สุด แม้จะเป็นไอดอลที่มีชื่อเสียงแล้วก็ตาม ก็ย่อมมีเวลาที่ยากลำบาก แต่เมื่ออยู่ท่ามกลางแสงไฟพวกเขาต้องพยายามอย่างหนักเพื่อรักษาภาพพจน์ และแสดงออกมาให้ดีที่สุดค่ะ 


ไอดอลที่อายุช่วง 10 ปี IZONE10 จาง วอนยอง, นัม โดฮยอน, Busters แชยอน


นอกจากนั้นแต่ละค่ายยังมีระบบดูแลศิลปินที่ค่อนข้างเคร่งครัด ทำให้ถูกละเมิดสิทธิความเป็นส่วนตัวและไอดอลที่ยังคงเป็นเด็กนักเรียนถูกละเมิดสิทธิเรื่องการเรียนอีกด้วย ด้วยการใช้ชีวิตแบบนี้จึงเป็นเรื่องยากที่ไอดอลจะสามารถหาเพื่อนในช่วงวัยเดียวกันได้และยังต้องคอยพึ่งพาคนของบริษัทอยู่ตลอด นอกจากนั้นหลังจากเดบิวต้องเผชิญกับความกดดันเพื่อจะประสบความสำเร็จอีกค่ะ 

โดยเฉพาะไอดอลที่อยู่ในระบบการดูแลของค่ายตั้งแต่เด็ก ทำให้พวกเขาไม่มีโอกาสออกไปเที่ยวกับเพื่อนๆและมีเวลาไปโรงเรียนน้อยกว่าปกติ ดังนั้นเบื้องหลังกล้องชีวิตของพวกเขาจึงมีช่วงเวลาที่เหนื่อยและยากลำบากค่ะ เป็นไปได้ยากที่ไอดอลจะไม่ถูกละเมิดสิทธิส่วนตัว และนั้นก็เป็นปัญหาของวงการไอดอลที่ควรได้รับการแก้ไขในอนาคตค่ะ 


สาเหตุของอาการป่วยทางจิตใจ 

ความจริงแล้วสาเหตุของอาการป่วยทางจิตใจของไอดอลมีหลายสาเหตุ แต่เราได้รวบรวม 5 สาเหตุหลักที่ได้รับการพูดถึงมากจากสื่อและการสัมภาษณ์ค่ะ 

1. เมื่อไอดอลกลายเป็นสินค้าทางเพศ (성 상품화)

ในรายการ Missback เป็นรายการที่เปิดโอกาสให้ไอดอลหญิงที่เคยเดบิวมาก่อน


ในรายการ Missback เป็นรายการที่เปิดโอกาสให้ไอดอลหญิงที่เคยเดบิวต์มาก่อน เข้าร่วมรายการเพื่อจะได้กลับมามีชื่อเสียงอีกครั้งที่ออกอากาศเมื่อไม่นานมานี้ หนึ่งสมาชิกวง Stella ได้ออกมาเปิดเผยเกี่ยวกับการเป็นวัตถุทางเพศค่ะ เมื่อปี 2011 วง Stella ได้เดบิวในคอนเซปต์แบบไร้เดียงสาแต่ก็ไม่ประสบความสำเร็จ ทางค่ายจึงเปลี่ยนคอนเซปต์เป็นแนวเซ็กซี่ รวมถึงการใส่ชุดที่เปิดเผยมากเกินไปค่ะ 


กายอง อดีตสมาชิก Stella เล่าว่าถึงแม้ตอนนั้นเธอจะรู้สึกดีที่มีตารางงานมากมาย แต่ก็ต้องเจอกับการที่ต้องใส่ชุดที่เปิดเผยร่างกายมากเกินไปเมื่อขึ้นแสดง และต้องเสี่ยงกับการถูกแอบถ่ายจากมุมต่างๆ ซึ่งภาพเหล่านั้นก็เป็นการล่วงละเมิดทางเพศและมีการแสดงความคิดเห็นในทางลบมากมายค่ะ 


กายองบอกว่าจนถึงตอนนี้บาดแผลในจิตใจของเธอก็ยังคงไม่หาย


กายองบอกว่าจนถึงตอนนี้บาดแผลในจิตใจของเธอก็ยังคงไม่หาย เธอต้องใส่เสื้อแขนยาวและกางเกงขายาวตลอดเวลาแม้แต่ในช่วงหน้าร้อน และจนถึงทุกวันนีก็ยังคงมีข้อความเสนอเรื่องการซื้อบริการทางเพศมาหาเธอตามช่องทางต่างๆค่ะ


การที่ค่ายใช้ไอดอลเป็นสื่อทางเพศทำให้เกิดความเสียหายต่อสภาพจิตใจของไอดอล เป็นเรื่องเจ็บปวดที่ไอดอลต้องทนรับเพียงฝ่ายเดียวจากกระทำของสื่อและของค่ายค่ะ   


2. ความคิดเห็นด้านลบดาซัม Sistar ได้เขียนข้อความว่า

ดาซัม Sistar ได้เขียนข้อความว่า "ฉันทนมาตลอด 6 ปีแต่ตอนนี้ฉันเหนื่อยเหมือนจะตายแล้ว"'


ความคิดเห็นที่ไม่ดีเป็นปัจจัยที่ก่อให้เกิดปัญหาทางสังคมอย่างต่อเนื่อง ไม่เพียงแต่ไอดอลเท่านั้นแต่ยังรวมถึงดาราเกาหลีอีกหลายคนที่ต้องเจอกับปัญหาเหล่านี้ ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมามีการแสดงความคิดเห็นที่เป็นอันตรายจำนวนมากโดยไม่เปิดเผยตัวตน รวมไปถึงการวิพากษ์วิจารณ์ครอบครัวและเพื่อนของคนดังด้วยค่ะ


เรน Nuest ได้รับข้อความที่แสดงความเห็นในทางลบผ่านทางไอจี/ คนที่ส่งข้อความมาถูกปรับ 2 ล้านวอน


ทุกวันนี้ SNS เปรียบเสมือนเป็นดาบ 2 คมสำหรับไอดอล เพราะในแต่ละวันพวกเขาได้รับข้อความจำนวนมากจากแฟนๆ รวมไปถึงกลุ่มแอนตี้ผ่านทางโซเชียลมีเดีย และแน่นอนว่าข้อความเหล่านั้นมีท้ังดีและไม่ดี โดยส่วนมากเป็นการส่งจากบัญชีที่ไม่ระบุตัวตน (แอคหลุม) ซึ่งมาพร้อมกับถ้อยคำหยาบคายและคำสาปแช่ง ถือว่าเป็นสิ่งที่ไอดอลต้องพบบ่อยมาก

บัญชีต่างๆที่ไม่มีการเปิดเผยตัวตนมักที่จะคอยตามก่อกวนเหล่าคนมีชื่อเสียง ซึ่งสร้างความกลัวและความกดดันทางจิตใจให้กับพวกเขา หลายคนกลายเป็นโรคซึมเศร้าและมีอาการเครียด โดยที่หลายๆค่ายไม่มีกฎหรือการดำเนินการทางกฎหมายใดๆเพื่อปกป้องศิลปิน และหากมี บทลงโทษก็ค่อนข้างที่จะเบาไปสำหรับคนกลุ่มนี้เมื่อเปรียบเทียบกับความเจ็บปวดและทุกข์ทรมานที่ไอดอลต้องเจอ


3. ความว่างเปล่าและความเหงา เมียร์ อดีตสมาชิกวง MBLAQ เปิดเผยในช่อง YouTube


มีร์ อดีตสมาชิกวง MBLAQ เปิดเผยในช่อง YouTube ของเขาเกี่ยวกับความผิดปกติทางจิตของไอดอลเช่น โรคซึมเศร้าและโรควิตกกังวล โดยเขาเล่าว่าความว่างเปล่าและความเหงาเป็นสาเหตุใหญ่ที่สุดของอาการซึมเศร้าและโรควิตกกังวลค่ะ

ความเป็นจริงไม่ได้มีเพียงมีร์เท่านั้น แต่รวมถึงไอยู, จีดราก้อนและไอดอลคนอื่นๆ ที่หลังจากจบจากคอนเสิร์ตแล้วพวกเขาต้องเจอกับความว่างเปล่าค่ะ 


ว่ากันว่าเมื่อไอดอลพบกับแฟนๆ หลายหมื่นคนบนเวทีที่สวยงามและมีเสียงดัง



ว่ากันว่าเมื่อไอดอลพบกับแฟนๆ หลายหมื่นคนบนเวทีที่สวยงามและมีเสียงดัง แต่หลังจากกลับไปที่ห้องพักหรือที่บ้านบรรยากาศของสถานที่นั้นจะรู้สึกหนักและมืดมากค่ะ แน่นอนว่ามีกลุ่มคนที่คอยให้กำลังใจหลังจบคอนเสิร์ต แต่หลายๆครั้งที่มีร์รู้สึกว่าพวกเขาคุยกันไม่ค่อยเก่งทำให้ทำได้แค่เพียงการนั่งฟังเพลงเท่านั้นค่ะ


วันหนึ่งขณะดูทีวีเขาก็รู้สึกแปลกๆ เมื่อเห็นว่าตัวเองมีความสุขและสดใสมากตอนที่ออกสื่อต่าง


ความจริงแล้วไอดอลรู้สึกเหงาแม้ว่าบุคลิกและภาพลักษณ์ของพวกเขาตอนออกอากาศจะดูสดใสและร่าเริงมากแค่ไหน สำหรับมีร์ เขาเคยเป็นโรควิตกกังวลและไม่สามารถออกจากบ้านได้เป็นเวลา 2 ปีค่ะ

วันหนึ่งขณะดูทีวีเขาก็รู้สึกแปลกๆ เมื่อเห็นว่าตัวเองมีความสุขและสดใสมากตอนที่ออกสื่อต่างซึ่งแตกต่างจากตัวของเขามาก หลังจากนั้นเขาก็กลัวที่จะซ่อนบุคลิกของตัวเองและกลัวการพบปะผู้คนเพราะเขาคิดว่ามันอาจไม่ใช่ตัวจริงของเขาที่คนอื่นๆชอบค่ะ


4. การกลั่นแกล้ง

หตุการณ์การกลั่นแกล้งของ AOA ถือเป็นเรื่องที่ทำให้หลายคนตกใจมากเมื่อเดือนกรกฎาคมปี 2020 ที่ผ่านมา



เหตุการณ์การกลั่นแกล้งของ AOA ถือเป็นเรื่องที่ทำให้หลายคนตกใจมากเมื่อเดือนกรกฎาคมปี 2020 ที่ผ่านมา มีการเปิดเผยผ่านทางโซเชียลมีเดียของมินอาว่าหัวหน้าวงอย่างจีมินได้กลั่นแกล้งเธอเป็นเวลากว่า 10 ปี

ครั้งหนึ่งขณะที่ตารางงานของวงกำลังยุ่งทั้งๆที่พ่อของเธอเสียชีวิตทำให้เธอรูสึกเสียใจจนน้ำตาคลอในห้องพัก แต่จีมินกลับลากมินอาไปที่ตู้เสื้อผ้าแล้วพูดว่า "เพราะเธอคนเดียว ทำให้บรรยากาศมันมืดมนไปหมดแล้ว" ซึ่งกลายเป็นประเด็นที่ทำให้แฟนๆหลายคนหันหลังให้จีมินค่ะ


เนื่องจากการถูกกลั่นแกล้งมานานกว่า 10 ปี


เนื่องจากถูกกลั่นแกล้งมานานกว่า 10 ปี ทำให้มินอาต้องทนทุกข์ทรมานจากโรคซึมเศร้าและโรควิตกกังวล รวมไปถึงการทำร้ายตัวเองที่ทำให้หลายคนกังวลค่ะ จากเหตุการณ์การกลั่นแกล้งของ AOA ที่กินเวลามานานกว่า 10 ปี ทำให้แฟนๆกังวลว่ากลุ่มอื่นๆ อาจมีการกลั่นแกล้งเช่นเดียวกัน การกลั่นแกล้งอาจเป็นเรื่องตลกสำหรับคนที่ทำ แต่มันได้ทิ้งรอยบาดแผลที่เหยื่อจะไม่มีวันลืมค่ะ


5. การถูกบุกรุกความเป็นส่วนตัว (สตอล์กเกอร์, ซาแซง)

V BTS ได้พูดตอนกำลังไลฟ์ถึงซาแซงว่า "ผมรู้สึกกลัวมาก"


การละเมิดความเป็นส่วนตัวของสตอล์กเกอร์แลซาแซงที่เฝ้าติดตามชีวิตส่วนตัวของไอดอลทั้งหมดภายใต้ชื่อแฟนคลับ เป็นอีกปัจจัยที่สร้างความเสียหายทางจิตใจให้กับไอดอล จนทำให้เกิดกรณีของการถอนตัวของสมาชิกวงไอดอลหญิงเมื่อเดือนพฤษภาคมปี 2020 เพราะมีปัญหาการบุกรุกความเป็นส่วนตัวจากแฟนคลับค่ะ

สมาชิกที่ถอนตัวคือเยซอ สมาชิกวง Busters ที่เกิดในปี 2005 ค่ะ


สมาชิกที่ถอนตัวคือเยซอ สมาชิกวง Busters ที่เกิดในปี 2005 ค่ะ


ในตอนนั้นเยซอได้สื่อสารกับแฟนคลับโดยเปิด V app ประมาณ 21.00 น. ที่ร้านกาแฟแห่งหนึ่งในจังหวัดคยองกี ซึ่งเป็นบ้านเกิดของเธอ โดยใช้เวลาประมาณ 2 ชั่วโมงและมุ่งหน้ากลับบ้านในเวลาประมาณ 23:00 น.ค่ะ

แต่ตอนนี้มีซาแซงชื่อดังของ Busters ไปที่ร้านหนังสือ Yesbook บริเวณใกล้เคียงกับร้านกาฟและได้บอกว่าเขาได้ถ่ายภาพไอดอลโดยไม่มีผู้จัดการ ต่อมาเยซอได้ประกาศออกจากวงพร้อมกับข้อความขอโทษแฟนๆและพูดว่า "ฉันรู้สึกเกลียดที่ต้องเผชิญกับทั้งคนทีชอบและไม่ชอบฉันไปแล้ว"


ไอดอลที่ออกมาเปิดเผยว่ามีอาการป่วยทางจิตใจ  

แม้ว่าในอดีตเรื่องการของอาการเจ็บป่วยทางด้านจิตใจเป็นเรื่องที่ไอดอลต้องปกปิดเอาไว้ แต่ปัจจุบันมีไอดอลหลายคนที่กล้าออกมาเปิดเผยว่าตัวเองกำลังเผชิญกับสภาพปัญหาด้านจิตใจอย่างกล้าหาญค่ะ เรามาดูกันดีกว่าว่าจะมีไอดอลคนไหนบ้าง


ซอนมี

ซอนมีพูดอย่างเปิดเผยเกี่ยวกับอาการป่วยทางจิตของเธอโดยบอกว่าสาเหตุที่เธอออกจาก Wonder Girls


ซอนมีพูดอย่างเปิดเผยเกี่ยวกับอาการป่วยทางจิตของเธอโดยบอกว่าสาเหตุที่เธอออกจาก Wonder Girls เป็นเพราะเธอมี "บุคลิกภาพผิดปกติ" หมายถึงความผิดปกติของบุคลิกภาพที่อารมณ์พฤติกรรมและความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลไม่มั่นคงและผันผวนมาก ซึ่งเธอได้รับการวินิจฉัยเมื่อประมาณ 5 ปีที่แล้วค่ะ

เธอเล่าว่า "เมื่อฉันออกจาก Wonder Girls หัวใจของฉันเจ็บปวดไม่ใช่ร่างกายของฉัน" และกล่าวว่า "ฉันเดบิวต์ในช่วงวัยรุ่น ซึ่งเป็นช่วงที่ฉันต้องกาการรสร้างตัวตนและใช้เวลาส่วนใหญ่ในรถซึ่งนั้นอาจเป็นสาเหตุหลัก" แต่ซอนมีกล่าวว่าเธอเอาชนะสิ่งนี้ได้ด้วยการรักษาอย่างต่อเนื่องและกล่าวว่า "เพราะฉันเอาชนะมันได้ฉันจึงพูดได้อย่างสบายใจ"ค่ะ


แทยอน


แทยอนได้เปิดเผยกับแฟน ๆ ผ่านอินสตาแกรมเมื่อปี 2019 ว่าเธอที่เป็นโรคซึมเศร้า และแทยอนบอกกับแฟน ๆ ที่กังวลเพราะเห็นว่าเธอไม่ค่อยอัพเดทบทอินสตาแกรมว่า "ตอนนั้นฉันป่วยนิดหน่อยค่ะ"

"ตอนนี้ฉันกำลังพยายามรักษาตัวอยู่ ฉันจะต้องหายค่ะ" เป็นข้อความที่เธอสารภาพกับแฟนๆอย่างกล้าหาญ และแฟนๆก็ต่างเข้าไปให้กำลังใจมากมายค่ะ ยังมีไอดอลอีกหลายคนที่ต้องเผชิญกับโรคซึมเศร้าขณะที่มีตารางงานแสนยุ่ง ฟังแล้วน่าเศร้ามากค่ะ


ฮยอนอา

เมื่อเดือนพฤศจิกายนฮยอนอาได้โพสต์ข้อความผ่าน SNS ของเธอว่า

เมื่อเดือนพฤศจิกายนฮยอนอาได้โพสต์ข้อความผ่าน SNS ของเธอว่า "ฉันอยากเล่าเรื่องของฉันให้คุณฟัง" ในข้อความฮยอนอาสารภาพว่าเธอได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรควิตกกังวลและโรคซึมเศร้าในปี 2016 และป่วยเป็นโรค "vasovagal syncope" ซึ่งเป็นอาการป่วยประเภทหนึ่งที่ทำให้หมดสติและล้มลงในทันทีค่ะ

vasovagal syncope เป็นสัญญาณของอาการวิงเวียนศีรษะและคลื่นไส้ก่อนที่จะหมดสติและล้มลง นอกจากนี้ยังกล่าวว่ามีอาการของผิวซีด, เหงื่อออกมากผิดปกติและรู้สึกเหนื่อยล้าง่ายค่ะ นอกจากนี้ฮยอนอายังได้รับการสนับสนุนจากผู้คนมากมายที่ออกมาเปิดเผยว่าเธอได้รับการรักษาอย่างต่อเนื่องค่ะ



การเปลี่ยนแปลงเพื่อสุขภาพจิตของไอดอล 

เหตุการณ์การฆ่าตัวตายของไอดอลที่เกิดจากสิ่งนี้ยังเพิ่มขึ้นในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา ทำให้เกิดความกังวลเกี่ยวกับสิทธิของไอดอลมากขึ้นกว่าเมื่อก่อน และนั้นก็เป็นจุดเปลี่ยนของแฟนคลับและไอดอลที่ต้องการทำเพื่อช่วยเหลือสภาพจิตใจของเหล่าไอดอลค่ะ

 


การเปลี่ยนแปลงของแฟนคลับ 

แน่นอนว่ายังมีซาแซงแฟนและสตอล์กเกอร์อีกมากมายที่ละเมิดสิทธิส่วนบุคคลของไอดอล เมื่อช่วงเวลาที่ไอดอลหยุดพักจากทำกิจกรรม ซึ่งนั้นก็ทำให้ไอดอลต้องทนทุกข์ทรมานกับช่วงเวลาเหล่านี้ 

ช่วงเวลาที่ไอดอลหยุดพักจากตารางงานที่แสนวุ่นวาย ถือเป็นช่วงเวลาที่แฟนคลับรู้สึกสบายใจ แต่ในทางตรงข้ามเมื่อไอดอลมตารางงานที่วุ่นวาย เหล่าแฟนคลับจะออกมาประท้วงบริษัทที่จัดตารางงานที่หนักเกินไป โดยการแถลงการณ์เพื่อประณามค่ายหรือลงชื่อสมัครเพื่อประท้วงค่ะ


ตัวอย่างของการเรียกร้องระหว่างแฟนคลับและบริษัท RBW ของ Mamamoo

แฟนคลับเรียกร้องให้เลื่อนคอนเสิร์ตของ มามามู 


ตัวอย่างของการเรียกร้องระหว่างแฟนคลับและบริษัท RBW ของ Mamamoo เพื่อให้เลื่อนการจัดคอนเสิร์ตเมื่อปี 2018 ซึ่งแฟนๆไม่เห็นด้วยกับแผนการของเอเจนซี่ในการจัดตารางงานที่ไม่สมเหตุสมผลสำหรับคอนเสิร์ตที่รวม 2 อัลบั้มถึง 7 ครั้งเจ็ดครั้งในญี่ปุ่นและทัวร์คอนเสิร์ตตลอดทั้งปีค่ะ

ในแถลงการณ์แฟนๆขอเลื่อนกำหนดการคอนเสิร์ตแผนกิจกรรมที่จัดลำดับตามความสำคัญของสุขภาพของศิลปินและเพื่อกิจกรรมในอนาคต ทาง RBW ต้นสังกัดของ Mamamoo ยอมรับการประท้วงจากแฟนๆและตัดสินใจเลื่อนคอนเสิร์ตออกไปค่ะ


การดูแลสภาพจิตใจ  

ตั้งแต่ปี 2010 เป็นต้นมา มีค่ายเพลงหลายค่ายได้จัดตังหน่วยสำหรับการดูแลสุขภาพจิตของไอดอลและเด็กฝึกในสังกัดค่ะ ตัวอย่างเช่น Big Hit และ Cube Entertainment ซึ่งเราจะมาเล่าให้ฟังกันค่ะ 


1. Big Hit Entertainment


Big Hit เป็นค่ายของ BTS ที่กลายเป็นศิลปินระดับโลก แม้จะเพิ่งเดบิวต์ในฐานะไอดอลระดับโลกแต่ BTS ก็ทุ่มเทให้กับกิจกรรมต่างๆและอ่อนน้อมถ่อมตนกับ ARMY ที่เป็นแฟนคลับมากๆค่ะ

ค่ายได้จัดตั้งทีมที่จัดการสภาพโดยรวม รวมถึงความคิดของศิลปินและเมื่อเด็กฝึกหัดที่อาจมีปัญหาจากความวิตกกังวลเกี่ยวกับอนาคต เพราะตระหนักดีว่าสภาพจิตใจและร่างกายของไอดอลมีความสำคัญมากเพียงใดและกำลังเป็นบริษัทตัวอย่างของค่ายเพลงในเกาหลีค่ะ  


2. CUBE Entertainment

เช่นเดียวกับด้านการให้ความรู้ด้านเสียงและทักษะการเต้น


Cube Entertainment เป็นต้นสังกัดของ (G) Idle, CLC และ Pentagon มีชื่อเสียงในด้านการให้ความรู้แก่เด็กฝึกหัดด้วยหลักสูตรที่มีโครงสร้างดีเช่น ชั้นเรียนภาษาเกาหลีสำหรับเด็กฝึกหัดชาวต่างชาติ คลาสเรียนเนื้อเพลง และการประพันธ์เพลงสำหรับเด็กฝึกหัด นอกจากนั้นยังมีคลาสเรียนภาษาต่างประเทศและคลาสเรียนแฟชั่นด้วยค่ะ

เช่นเดียวกับด้านการให้ความรู้ด้านการร้องและทักษะการเต้น นอกจากนั้นยังดูแลด้านจิตใจซึ่งถูกบรรจุไว้ในหลักสูตรด้วยค่ะ ถือเป็นการช่วยดูแลจิตใจในระยะยาวของเด็กฝึกและศิลปินโดยช่วยไม่ให้พวกเขาต้องรู้สึกเครียดควบคู่ไปกับการให้คำปรึกษาทางจิตวิทยาอย่างสม่ำเสมอค่ะ



พอรู้แบบนี้แล้วก็รู้เลยว่าชีวิตของไอดอลไม่ใช่เรื่องง่ายๆ โดยเฉพาะเรื่องสภาพจิตใจที่เมื่อเกิดความเสียหายแล้วก็ยากที่จะทำให้กลับมาเป็นเหมือนเดิมได้ค่ะ   แฟนคลับก็คงทำได้แต่เป็นกำลังใจและสนับสนุนไอดอลต่อไปค่ะ


🤞🏻Subscribe พวกเรา Creatrip บน Youtube 

Creatrip Instagram
instagram.com/creatrip.thailand

🎈ไอดอลเกาหลี

โพสต์ที่น่าสนใจ


ยอดเข้าชมมากที่สุด

ยอดเข้าชมมากที่สุด