การป้องกันการแพร่ระบาดของโควิด-19 ในสถานที่ต่างๆที่เกาหลี
มาดูมาตรการสุดรัดกุมในสถานที่ต่างๆสำหรับป้องกันโควิด-19 ที่เกาหลีกัน!
ที่มา : The Wall Street Journal
สวัสดีค่ะทุกคน! พวกเรา Creatrip ศูนย์รวบรวมข้อมูลการท่องเที่ยวเกาหลีที่อัพเดทโดยคนเกาหลีในทุกๆวัน
#การแพร่ระบาดของโควิด19 #โควิด19
#มาตรการป้องกัน #SocialDistance
ถึงแม้ว่าทางเกาหลีจะลดระดับการป้องกันการแพร่ระบาดของโควิด-19 ลงไปเหลือเพียงระดับที่ 1 แล้ว
แต่ว่ามาตรการต่างๆตามสถานที่พักผ่อนหรือคาเฟ่ก็ยังมีให้เห็นกันเป็นปกติค่ะ เรามาดูกันดีกว่าว่ามาตรการป้องกันเหล่านี้มีอะไรบ้าง~
🤞🏻 ติดตามพวกเรา Creatrip บน Youtube
instagram.com/creatrip.thailand
🎈ช้อปปิ้ง|สั่งซื้อสินค้าเกาหลี
มาตรการป้องกันการแพร่ระบาดของโควิด 19 ในเกาหลี
1. ต้องเขียนชื่อหรือสแกน QR โค้ดยืนยันตัวตนทุกที่
ในการไปทานอาหารหรือว่าไปนั่งที่คาเฟ่ต่างๆ จะต้องสแกนบาร์โค้ดเพื่อยืนยันตัวตน หรือว่ากรอกเบอร์โทรและเขตที่อยู่ไว้คร่าวๆค่ะ เนื่องจากเป็นการช่วยควบคุมโรคระบาดในทางหนึ่งค่ะ เพราะว่าถ้าหากใครเดินทางมาจากพื้นที่เสี่ยง หรือว่าพื้นที่ที่มีผู้ติดเชื้อแล้ว ทางรัฐบาลจะได้มีการติดตามเส้นทางการเดินทางและสามารถตามให้ไปตรวจได้สะดวกขึ้นค่ะ (อันนี้คล้ายๆแอปไทยชนะเลยค่ะ แต่ว่าสามารถเปิด QR code ได้จากแอปพลิเคชั่น Naver หรือ Kakaotalk ได้เลยค่ะ~ สะดวกมากๆ)
แต่ละร้านจะมีฟอร์มแบบนี้ให้กรอกก่อนเข้าใช้บริการค่ะ
แต่ว่าถ้าหากใครไม่อยากกรอกฟอร์ม หรือว่าขี้เกียจกรอก (แบบเรา... 🤣🤣) ก็สามารถเปิด KakaoTalk หรือ Naver เพื่อสร้าง QR Code ส่วนตัวและสแกนได้เลยค่ะ รวดเร็วทันใจมาก~
ถ้าหากใครซื้อเป็นแบบ Take out หรือว่าห่อกลับบ้าน ไม่ต้องสแกนนะคะ
สำหรับโรงภาพยนตร์ต่างๆจะแตกต่างออกไปนิดนึงค่ะ เพราะว่าจะมาเป็นรูปแบบของการกรอกข้อมูลในฟอร์มออนไลน์ค่ะ โดยสามารถโหลดฟอร์มได้จากการแสกน QR Code ที่หน้าโรงภาพยนตร์เลยค่ะ เมื่อกรอกข้อมูลต่างๆเรียบร้อยแล้วสามารถแสดงให้พนักงานดู พนักงานก็จะแสตมป์ตั๋วให้เรา ถือว่าเป็นการเสร็จสรรพ สามารถเข้าไปชมภาพยนตร์ได้เลยค่ะ 😍👍🏻
2. เว้นระยะห่าง 1-2 เมตร
ถึงแม้ว่าตอนนี้จะลดมาตรการป้องกันลงเป็นระดับ 1 แล้ว แต่ว่าก็ยังต้องมีการเว้นระยะห่างระหว่างกัน หรือว่า Social Distance 1-2 เมตรอยู่ค่ะ
แม้แต่ตอนที่ไปซื้อกาแฟตอนเช้าที่ต้องต่อแถวกัน ก็ต้องไม่ลืมเว้นระยะห่างทางสังคมนะคะ 😉 ร้านกาแฟบางที่จะมีการขีดเส้นบนพื้นไว้ให้ด้วยค่ะ ถ้าหากว่าลูกค้าไม่แน่ใจว่า 1 เมตรคือความห่างประมาณเท่าไหร่
ที่มา : The Korea Times
สำหรับตอนนี้ ถ้าต้องการไปทานอาหารที่ร้านอาหารหรือคาเฟ่ ก็ยังต้องนั่งเว้นโต๊ะกันอยู่ค่ะ โดยโต๊ะที่ต้องเว้น จะมีสัญลักษณ์หรือป้ายห้ามนั่งติดไว้ค่ะ
(ในความคิดเรา เราว่าแบบนี้ก็สะดวกดีนะคะ เพราะว่าไม่ค่อยรู้สึกแออัดเท่าไหร่ค่ะ >.<)
แต่ว่าถ้าใครที่ไม่อยากนั่งแยกกัน ก็อาจจะต้องนั่งข้างกันแบบในภาพค่ะ 😅
ส่วนในโรงภาพยนตร์นะคะ ถ้าใครอยากไปเดทช่วงนี้ อาจจะรู้สึกเหงาๆ ไม่ได้อารมณณืเดทแบบเต็มที่ค่ะ เนื่องจากว่ามาตรการของโรงภาพยนตร์ต่างๆก็คือต้องนั่งที่เว้นที่ค่ะ 😅 ส่วนกลุ่มเพื่อนถ้าไปเป็นกลุ่มใหญ่ๆ ก็ต้องนั่งแยกกันหมดเช่นเเดียวกันค่ะ
สำหรับสถานที่ออกกำลังก็เช่นเดียวกันค่ะ การใช้เครื่องออกกำลังต่างๆก็ต้องใช้แบบเครื่องเว้นเครื่องค่ะ แต่อันนี้เราว่าแอบสบายกว่าเดิมเยอะเลยค่ะ เพราะว่าฟิตเนสที่เกาหลีพื้นที่ไม่ค่อยใหญ่เท่าที่ไทย ทำให้ค่อนข้างแออัดมากๆค่ะ พอเว้นระยะห่างซักนิดเลยทำให้รู้สึกพอหายใจหายคอได้สะดวกตอนออกกำลังค่ะ 😉
สำหรับคนที่อยากจะนั่งปิคนิคชิลๆริมทะเล หรือริมแม่น้ำ ก็ต้องมีการเว้นระยะห่างเช่นกันค่ะ ทางเมืองต่างๆที่มีสถานที่พักผ่อนหย่อนใจเช่นนี้ ก็จะมีการตีกรอบไว้ค่ะ ดังนั้นใครจะไปปิคนิค ก็ต้องนั่งอยู่ในกรอบของตัวเองนะคะ 😊
สำหรับที่นั่งต่างๆ ถ้าหากเป็นที่นั่งติดกัน ก็จะมีการให้เว้นตรงกลางแบบนี้ค่ะ ภาพนี้เป็นภาพจากสถานีรถไฟ KTX ค่ะ ผู้โดยสารที่นั่งรอรถไฟ ต้องนั่งแยกกันเช่นเดียวกันค่ะ~
3. การไปเที่ยวผับในยุคโควิด 19 : เต้น 1 ชั่วโมง พัก 10 นาที
ถึงแม้ว่ามาตรการควบคุมการแพร่ระบาดของโควิด-19 จะลดระดับลงไปแล้ว แต่ว่าก็ได้มีมาตรการใหม่สำหรับลดความเสี่ยงสำหรับสถานบันเทิงต่างๆ เช่น คลับ, บาร์ค่ะ นั่นก็คือต้องมีระยะเวลาพักเต้นค่ะ
นั่นก็คือ สามารถเต้นกันได้เต็มที่เป็นเวลา 1 ชั่วโมง แต่ว่าต้องพัก 10 นาทีทุกชั่วโมง เป็นการทำให้คนกลุ่มใหญ่ๆแยกจากกันเป็นเวลาพักหนึ่งค่ะ
แต่ว่าถ้าหากคลับไหนอยากให้คนได้สนุกกันอย่างเต็มอิ่ม ก็สามารถเลือกตัวเลือก เปิดเพลงยาว 3 ชั่วโมงและพัก 30 นาทีได้เช่นกันค่ะ
4. การให้บริการต่างๆที่ถูกแทนที่ด้วยเทคโนโลยี
เพื่อลดการติดต่อจากการสัมผัส เกาหลีได้ใช้อุปกรณ์ต่างๆ และเครื่องมือเพื่อลดความเสี่ยงต่อการแพร่ระบาดของโควิด-19 ค่ะ จะมีเทคโนโลยีอะไรที่มาแทนที่บ้าง ไปดูกันค่ะ!
ที่ทุกๆคนคุ้นเคยที่สุด ก็น่าจะเป็นเครื่องจ่ายเงินด้วยตัวเองค่ะ ลูกค้าสามารถสแกนบาร์โค้ดและจ่ายเงินด้วยตัวเองได้เลย ตัวอย่างเช่นที่ร้านสะดวกซื้อต่างๆ, ซุปเปอร์มาร์เก็ต เช่น E-mart และที่ไดโซะเกาหลีค่ะ
ซุปเปอร์มาร์เก็ตใหญ่หลายๆที่ได้เพิ่ม Self check-in หรือว่าเค้าท์เตอร์สำหรับจ่ายเงินเองขึ้นมาเยอะมากๆเลยค่ะ ตัวอย่างเช่น E-mart ที่ได้เพิ่มเค้าท์เตอร์เหล่านี้ถึง 700 เครื่อง (ปีที่แล้วเพิ่มไปเพียงแค่ 150 เครื่อง), Lotte Mart ได้เพิ่มขึ้น 512 เครื่อง, Homeplus ทั้ง 88 สาขา ได้เพิ่มขึ้นเช่นกัน รวมเป็น 399 เครื่องค่ะ
โดยเค้าท์เตอร์เหล่านี้ จะมีที่สแกนบาร์โค้ดไว้ให้ค่ะ และลูกค้าสามารถเลือกวิธีจ่ายเงินแบบต่างๆ ทั้งแบบเงินสด, บัตรเครดิต, จ่ายผ่านแอปพลิเคชั่น รวมถึงใช้คูปองหรือบัตรของขวัญได้หมดเลยค่ะ เราว่าเพราะว่าเค้าท์เตอร์เหล่านี้มีเยอะ ทำให้สะดวกและรวดเร็วกว่าแคชเชียร์ปกติมากๆเลยค่ะ โดยเฉพาะถ้าหากซื้อของแค่ชิ้นเดียว
ที่โรงภาพยนตร์ต่างๆ ตอนนี้ก็มีที่สำหรับรับขนมต่างๆที่ซื้อเข้าไปทานเล่นตอนชมภาพยนตร์ค่ะ โดยบริการนี้สามารถใช้ได้โดยการสั่งขนมและน้ำจากแอปพลิเคชั่นของโรงภาพยนตร์ จ่ายเงินผ่านแอปพลิเคชั่นและไปเปิดรับขนมโดยการแสกน QR code ได้ตามช่องที่ขึ้นในแอปพลิเคชั่นเลยค่ะ สะดวกมากๆ~ แถมไม่ต้องต่อคิวด้วยค่ะ อิอิ
5. ที่กั้นพลาสติก
อาวุธสำคัญอีกอย่างของการป้องกันการแพร่ระบาดก็คือ ที่กั้นพลาสติกค่ะ! ถึงแม้ว่าจะดูเป็นการป้องกันแบบง่ายๆ แต่ก็ช่วยป้องกันการแพร่ระบาดได้ระดับนึงเลยค่ะ ดังนั้น เราจะสามารถเจอน้องๆที่กั้นเหล่านี้ได้ตามร้านอาหารค่ะ
นอกจากร้านอาหารแล้ว โรงอาหารตามโรงเรียนและที่ทำงานก็มีให้เห็นทั่วไปเลยค่ะ แม้แต่ในร้านสะดวกซื้อบางที่ก็มีการกั้นแบบนี้ค่ะ ร้านสะดวกซื้อแถวบ้านเราคือ มีช่องแค่ให้มือยื่นเอาบัตรเข้าไปให้จ่ายเงินแค่นั้นเลยค่ะ 👍🏻
เป็นยังไงบ้างคะ สำหรับมาตรการต่างๆที่เกาหลีใช้ในการป้องกันการแพร่ระบาดของโควิด-19?
นี่เป็นเพียงตัวอย่างของการป้องกันในบางที่นะคะ ถ้าหากอยากรู้เพิ่มเติม สามารถติดตามทางบล้อคของเราได้เรื่อยๆเลยน้า~ ถ้ามีอะไรเด็ดๆจะมาแนะนำกันอีกค่ะ อิอิ
🤞🏻Subscribe พวกเรา Creatrip บน Youtube
✨Creatrip Instagram
instagram.com/creatrip.thailand
🎈ช้อปปิ้ง|สั่งซื้อสินค้าเกาหลี
โพสต์อื่นๆที่น่าสนใจ |