วัฒนธรรมเพลงทร็อทของเกาหลี
ทำไมอยู่ดี ๆ เพลงทร็อทก็เป็นที่นิยมขึ้นอีกครั้ง? ยิ่งคลาสสิคก็ยิ่งดี?
สวัสดีค่ะทุกคน! พวกเรา Creatrip ศูนย์รวบรวมข้อมูลการท่องเที่ยวเกาหลีที่อัพเดทโดยคนเกาหลีในทุก ๆ วัน
#เพลงดั้งเดิมของเกาหลี #ทร็อท
#แนะนำ
มรดกที่ลุ่มลึกล้ำค่าที่สุดของชาติใดชาติหนึ่งก็คือ ศิลปะและวัฒนธรรมที่มีรากฐานมาจากดนตรีและภาพวาด เมื่อเวลาผ่านไป ภาพวาดอาจจะเสียราคาตามเวลาและดนตรีเองก็เป็นสิ่งที่จับต้องไม่ได้ แต่สามารถส่งผ่านแบบปากต่อปากผ่านท่วงทำนองและการแสดง ถือเป็นการถ่ายทอดทางมรดกวัฒนธรรมค่ะ
ในวันนี้ เราจะมาแนะนำเพลงดั้งเดิมของเกาหลีหรือเพลงทร็อทที่อยู่ในกระแสเพลงป็อปสมัยนี้ให้ได้รู้จักกันค่ะ บอกได้เลยว่า ตอนนี้กำลังเป็นเทรนด์และสู้กับกระแสไอดอล K-pop สุดๆเลย ไปดูกันเลยค่ะ~
🤞🏻Subscribe พวกเรา Creatrip บน Youtube
✨Creatrip Instagram
instagram.com/creatrip.thailand
🎈บริการความงาม / เครื่องเขียน / รองเท้า / เครื่องแต่งกายเกาหลี
วัฒนธรรมเพลงทร็อทของเกาหลี
จุดเริ่มต้นของเพลงทร็อท
การแสดงเพลงเกาหลีแบบดั้งเดิมหรือทร็อท(트로트) ได้รับความนิยมสูงและเป็นกระแสอยู่ในประเทศเกาหลีเป็นระยะเวลานาน ตั้งแต่ช่วงจักรวรรดิเกาหลีสิ้นสุดลงในต้นศตวรรษที่ 20 การนิยามคำว่าทร็อทอย่างชัดเจนนั้นออกจะยากอยู่ เพราะไม่ใช่ทั้งเพลงโบราณ ไม่ใช่เพลงญี่ปุ่นและไม่ใช่เพลงลูกทุ่ง ถือเป็นเพลงที่เป็นเอกลักษณ์ของเกาหลีที่โลดแล่นอยู่ในกระแสวัฒนธรรม
ทร็อทในยุคแรก ๆ นั้นใช้สเกลแบบยาวและให้ความรู้สึกที่เป็นเอกลักษณ์แบบสุด ๆ ในยุคปัจจุบัน ทร็อทมีการเปลี่ยนแปลงไปเยอะเหมือนกันและมีความคล้ายคลึงกับบัลลาดและร็อค
อีนันยาง "Tears of Mokpo"(1935)
อย่างไรก็ตาม ในช่วงต้นของการพัฒนาเพลงทร็อทเป็นยุคที่มีการยึดครองจากจักรวรรดิญี่ปุ่นซึ่งอุปกรณ์บันทึกเสียงและวัฒนธรรมของญี่ปุ่นได้รับอิทธิพลจากทางตะวันตก ทำให้มีการเปลี่ยนแปลงของทร็อท อย่างไรก็ตาม คนเกาหลีบางคนเชื่อว่า ในยุคนั้น เพลงสไตล์นี้ไม่ถือเป็นเพลงทร็อท แต่เป็นเพลงป็อปผสมสไตล์ตะวันตกและญี่ปุ่นโดยที่มีอิทธิพลร่วมสมัยของแต่ละภูมิภาคในเกาหลีร่วมอยู่ด้วย
ถือได้ว่าเพลงเกาหลีในยุคก่อนนั้นดูมีความเป็นญี่ปุ่นมากกว่าที่จะเป็นเพลงดั้งเดิมของเกาหลีและไม่สามารถเรียกว่าเป็นเพลงทร็อทอย่างเต็มปากได้
นัมอินซู "Sorrowful Serenade" (1937)
หลายคนอธิบายว่า การทำเพลงสไตล์เกาหลีในยุคที่จักรวรรดีญี่ปุ่นกำลังครองเกาหลีนั้นเป็นเรื่องยากมาก เนื้อหาออกจะสนับสนุนทางญี่ปุ่นและเป็นสไตล์ที่คนญี่ปุ่นชื่นชอบ
ด้วยสาเหตุนี้ เกาหลีใต้จึงได้พัฒนาเพลงทร็อทอีกครั้งในปี 1950 ซึ่งเป็นช่วงสิ้นสุดการปกครองของญี่ปุ่นและสงครามเกาหลี
อีนันยาง ""Tears of Mokpo" (1935)
การพัฒนาของเพลงทร็อท
หลังจากที่เกาหลีแยกตัวออกจากการปกครองของญี่ปุ่นและสิ้นสุดงครามเกาหลีในปี 1950 แล้ว ถึงเพลงทร็อทจะยังมีกลิ่นอายจักรวรรดิญี่ปุ่นอยู่บ้าง ทางรัฐบาลก็ได้พยายามลบล้างรากฐานของญี่ปุ่นและสร้างเอกลักษณ์ของเกาหลีขึ้นมา เพลงทร็อทเริ่มเป็นกระแสในเกาหลีและได้รับการยอมรับในประเทศขึ้นมา
ในปี 1970 ก่อนเพลงลูกทุ่งของเกาหลีจะขึ้นโชว์ ทร็อทถือเป็นเพลงที่ได้รับความนิยมสูง เนื่องจากสงครามเกาหลีในปี 1950 เพลงทร็อทเต็มไปด้วยความเศร้าและอารมณ์ที่รุนแรงจนกลายมาเป็นผลงานชิ้นเอกร่วมสมัยแห่งยุค
ในช่วงนั้น ทร็อทได้กลายเป็นเพลงยอดนิยมของเกาหลีที่ลบล้างความเป็นญี่ปุ่นและสะท้อนอารมณ์ของสไตล์เกาหลี ไม่ได้เป็นการประดับการแสดงของญี่ปุ่นอีกต่อไป แต่กลายเป็นส่วนหนึ่งของประวัติศาสตร์ดนตรีเกาหลี
เนื้อเพลงเต็มไปด้วยความรัก การจากลาและการคิดถึงบ้านในยุคสงครามเกาหลีหรือเนื้อเพลงที่สะท้อนความเป็นชนบท แม้แต่สำเนียงท้องถิ่น ทร็อทมีความเป็นพื้นบ้านอยู่ในตัว เมื่อเทียบกับเพลงเคป็อปที่ดูออกจะเป็นสไตล์อนาคตก้าวหน้า ทร็อทดูเป็นเพลงที่ไม่ค่อยมีการเปลี่ยนแปลงมากนักและสะท้อนอารมณ์ของนักร้องเป็นส่วนใหญ่
ยุคมืดของเพลงทร็อท
MBC "University Ballad Festival" (1988)
ตั้งแต่ปี 1970 ถึง 1980 เพลงลูกทุ่งได้กำเนิดขึ้นมา ถึงจะไม่ใช่เพลงกระแสหลักเหมือนทร็อท แต่ก็ถือว่าอันตรายต่อพื้นที่ของเพลงทร็อทเป็นอย่างมาก
ในตอนนั้น มีการเคลื่อนไหวทางสังคมเกิดขึ้นอย่างมาก คนเกาหลีเต็มไปด้วยความรู้สึกที่ว่า "ประเทศของเราควรดีได้กว่านี้" ทร็อทซึ่งถือเป็นเพลงเศร้า หวนระลึกถึงวันเก่า ๆ จึงเริ่มถดถอยลงและถึงขั้นย่ำแย่ในปี 1990 จนถือเป็นยุคตกต่ำที่สุดของเพลงทร็อทเกาหลี
นอกจากนี้ ยังมีทร็อทบางวลที่มีกลิ่นอายความเป็นทร็อทน้อยมาก แถมยังเต้นแบบฮิปฮอปด้วย ทำให้ยุคต้นศตวรรษที่ 21 ถือเป็นจุดเริ่มต้นการพัฒนาของเคป็อป
การกลับมาอีกครั้งของเพลงทร็อท
ถึงทร็อทจะไม่ได้หายสาบสูญไป ศิลปินหลายคนยังผลิตเพลงให้เข้ากับบริบทของเกาหลี แต่ความรู้สึกของคนทั่วไปต่อทร็อทไม่ค่อยดีเท่าใหร่นัก แถมยังถูกมองว่าเป็นเพลงที่คนสูงวัยหรือดูสไตล์แก่ ๆ อีกด้วย ดังนั้น การผลิตเพลงทร็อทของคนรุ่นใหม่ถึงชะงักลงและมีแต่นักร้องรุ่นเดอะเท่านั้นที่ยังคงต่อชีวิตเพลงทร็อท
จางยุนจอง "My God! "(2004)
ถึงแม้ว่าทร็อทจะไม่ได้ดังเปรี้ยงปร้างหรือได้รับความนิยมจากสื่อเหมือนเคป็อป เพลงทร็อทยังคงได้รับความนิยมในงานท้องถิ่นต่าง ๆ นักร้องเคป็อปเองก็ออกเพลงสไตล์ทร็อทเช่นกัน จนทำให้คนรุ่นใหม่รู้จักทร็อทมากขึ้น ทั้งทางโฆษณาและรายการแข่งร้องเพลง
จุดพีคอีกครั้งของเพลงทร็อท
(ที่มา: TV North Korea)
ในยุคที่อินเทอร์เน็ตเข้าถึงทุกหย่อมหญ้า เพลงทร็อทได้แทรกซึมเข้าไปในรูปแบบของรายการโชว์และรายการวาไรตี้ เนื้อเพลงที่น่าสนใจ ทำนองที่สนุกสนานและคนก็เริ่มร้องเพลงทร็อทมากขึ้นเรื่อน ๆ "วัฒนธรรมเก่าแก่" นึ้จึงเริ่มกระจายไปในกลุ่มวัยรุ่นซึ่งเป็นวัยที่นำเทรนด์
จากผลสำรวจ จำนวนการพูดถึงเพลงทร็อทในปี 2017 - 2018 ไม่ได้มีการเปลี่ยนแปลงมากนัก แต่ในปี 2019 เป็นต้นไป การค้นหาเริ่มพุ่งจาก 136,000 เป็น 244,000 ครั้ง จนถึง 379,000 ครั้งเลยทีเดียว
ยูแจซอก
ในรายการ Hangout with Yoo ยูแจซอกได้ทำให้เพลงทร็อทไปถึงจุดพีคอีกครั้ง คนยุคใหม่ได้รู้จักกับเพลงทร็อทมากขึ้น เทรนด์เรโทรและเทรนด์ในการย้อนระลึกถึงความหลังกลายเป็นกระแสหลักของเกาหลีและนักร้องเพลงทร็อทรุ่นก่อน ๆ เองก็ได้รับการกล่าวถึงอีกด้วย
(Source: KBS)
นักร้องเพลงทร็อทนาฮุนอา หรือเป็นที่รู้จักกันดีในนาม "จักรพรรดิเพลงทร็อท" ได้มีคอนเสิร์ตพิเศษในช่วงชูซอกทาง KBS ในปี 2020 เป็นครั้งแรกในรอบ 15 ปีและทำลายสถิติสูงสุดเป็นประวัติกาลด้วยเรตติ้ง 38% ในปูซานและ 30% ในโซล
อนาคตของเพลงทร็อท
มีคนพูดถึงกระแสทร็อทในปัจจุบันว่า อาจเป็นแค่กระแสระยะสั้น เนื่องจากกระแสของเพลงทร็อทมาจากตัวบุคคล ไม่ใช่ตัวเนื้อเพลง มีรายการที่สร้างนักร้องเพลงทร็อทที่ได้รับความนิยม แต่เรตติ้งที่กลาง ๆ ไม่โดดเด่นก็พิสูจน์ถึงความกังวลได้เป็นอย่างดี
หลังจากที่รายการ "Miss Trot" และ "Mr Trot" รวมถึงอีกหลายช่องได้จัดรายการประกวดร้องเพลงทร็อทขึ้น ผลลัพธ์คือทำให้นักร้องที่มีความสามารถเริ่มเหนื่อยล้าและรายการมีอายุแค่สั้น ๆ เพียงเท่านั้น ทำให้คนเริ่มกลัวว่า รายการแบบนี้จะตามรอยรายการสร้างไอดอลในที่สุด
(Source: TV North Korea)
สถานการณ์ที่เหมือนรายการ "The Unit", "MIXNINE" "Under Nineteen" และรายการอื่น ๆ ที่ผุดตามความสำเร็จของ "PRODUCE 101" เป็นเหมือนตอนนี้ที่ "Miss Trot" และ "Mr Trot" ถูกสร้างขึ้นมา
แต่อย่างไรก็ตาม ความไม่จีรังยั่งยืนก็พบได้ทั่วไปตามปกติของโลก ไม่ช้าก็เร็ว จนกว่าคนจะเริ่มรับรู้ถึงวัฒนธรรมเพลงที่แท้จริงของทร็อท อนาคตของเพลงทร็อทก็ยังถือว่าไม่มั่นคงเท่าไหร่นัก
และทั้งหมดนี่ก็คือบทความเกี่ยวกับเพลงทร็อท เป็นยังไงกันบ้างคะ? อ่านจบแล้วอยากเริ่มฟังเพลงทร็อทกันขึ้นมาบ้างมั้ยคะ?
ไว้เจอกันใหม่คราวหน้า บ๊ายบายค่ะ~
🤞🏻Subscribe พวกเรา Creatrip บน Youtube
✨Creatrip Instagram
instagram.com/creatrip.thailand
🎈บริการความงาม / เครื่องเขียน / รองเท้า / เครื่องแต่งกายเกาหลี
โพสต์ที่น่าสนใจ |
10 เคล็ดลับแต่งไดอารี่สไตล์เกาหลี |
6 งานอดิเรกยอดฮิตในเกาหลีช่วงโควิด |
วิถีชีวิตแบบปัลลี่ ปัลลี่ |