logo
logo
DEPRECATED_CloseIcon

วัฒนธรรมของมหาวิทยาลัยเกาหลี

เฉพาะเด็กปี 1 ของมอเท่านั้นที่ชอบใส่เสื้อแจ็คเก็ตเบสบอล? MT คืออะไร? งานฉลองของมหาวิทยาลัยใช้เงินไปกว่า 100 ล้านวอน?

Jeongyeong Yeo
2 years ago
วัฒนธรรมของมหาวิทยาลัยเกาหลี-thumbnail
วัฒนธรรมของมหาวิทยาลัยเกาหลี-thumbnail

สวัสดีค่ะทุกคน! พวกเรา Creatrip ศูนย์รวบรวมข้อมูลการท่องเที่ยวเกาหลีที่อัพเดทโดยคนเกาหลีในทุก ๆ วัน


#วัฒนธรรมเกาหลี

#เปิดเทอม #เรื่องน่ารู้

#เสื้อแจ็คเก็ตเบสบอล #ความกลมเกลียว


ที่เกาหลีเปิดเทอมอีกรอบแล้วค่ะ! เดือนกันยายนคือเดือนเปิดเทอมของภาคเรียนที่สองในเกาหลีใต้ซึ่งจะต่างจากของไทยที่เปิดเทอมในเดือนสิงหาคม~

อย่างไรก็ตาม เราเชื่อว่ามีหลายคนที่อยากรู้เกี่ยวกับเรื่องชีวิตของเด็กมหาลัยเกาหลีใช่มั้ยคะ? ทั้งงานรื่นเริงของมอ MT ชีวิตกลางคืนและแจ็คเก็ตเบสบอลที่เด็กมหาลัยชอบใส่กัน ไปไขข้อข้องใจกันเลย~


🤞🏻Subscribe พวกเรา Creatrip บน Youtube

Creatrip Instagram
instagram.com/creatrip.thailand

🎈บริการความงาม / เครื่องเขียน / รองเท้า / เครื่องแต่งกายเกาหลี



วัฒนธรรมของมหาวิทยาลัยเกาหลี

1. แจ็คเก็ตเบสบอลของเด็กมหาลัย

TWICE


เวลามาเกาหลีก็มักจะเห็นเด็กมหาลัยใส่เสื้อแจ็กเก็ตเบสบอลของมอตามถนนเต็มไปหมดเลย จริง ๆ บางคนถือว่าเป็น "ยูนิฟอร์มของมหาลัย" เลยล่ะค่ะ แทบทุกมอจะทำเสื้อแจ็คเก็ตนี้ขึ้นมาให้นักเรียนได้ซื้อกันตามใจชอบ

จริง ๆ ในตอนแรกนั้นเป็นเพราะจำนวนของนักเรียนที่สอบเข้าเรียนต่อในมหาวิทยาลัยได้มีน้อยมาก ทำให้การเป็นนักเรียนมหาวิทยาลัยถือเป็นหน้าเป็นตาในสังคมเลยทีเดียว เพื่อเน้นย้ำความแตกต่างนี้จึงได้มีการติดตราของมหาลัยไว้บนเสื้อ ในยุคหลัง ๆ เทคโนโลยีในการทำเสื้อผ้าและปริ้นท์สีมีการพัฒนามากยิ่งขึ้นและจำนวนของมหาวิทยาลัยในเกาหลีก็เพิ่มมากขึ้น ทำให้มออื่น ๆ เริ่มทำเสื้อแจ็คเก็ตของมอตัวเองตามไปด้วย


มหาวิทยาลัยเกาหลี


อย่างที่ทุกคนทราบกันดีกว่าคนเกาหลีมีความรักชาติสูงมากและมีความเป็นกลุ่มก้อน ถึงแม้จะเป็นแค่นักเรียนมหาลัย การใส่ยูนิฟอร์มของมอยังแสดงถึงความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกันตอนแข่งกีฬาระหว่างมหาลัยอีกด้วย ตอนเกมส์เริ่มต้นขึ้น จะเห็นเลยว่ามีนักเรียนที่เข้าชมเกมส์สวมใส่แจ็คเก็ตของมอเพื่อทำให้ดูเป็นกลุ่มก้อนมากขึ้น นอกจากนี้ ยังทำให้นักเรียนระมัดระวังตัวในความประพฤติเวลาใส่เสื้อที่มีตราของมหาลัยเพื่อรักษาภาพลักษณ์อีกด้วย

นอกจากนี้ เสื้อแจ็ดเก็ตเบสบอลยังใช้อวดมอที่เรียนอีกด้วย แถมตัวเลขที่แขนเสื้อไม่ได้หมายถึงตัวเลขธรรมดาทั่วไป แต่แสดงถึงปีที่เข้าเรียน ดังนั้น คนที่ใส่เสื้อแจ็คเก็ตส่วนใหญ่จึงเป็นเด็กปี 1 ค่ะ พวกรุ่นพี่ที่ออกจากกรมแล้วหรือปีสูง ๆ มักไม่ค่อยชอบใส่กันเท่าไหร่นัก

และเมื่อเร็วๆนี้มีบางมหาวิทยาลัยเปลี่ยนจากการสลักหมายเลขประจำตัวและชื่อ เป็นเพียงชื่อคณะตามความต้องการของนักเรียนด้วยค่ะ


2. อายุเฉลี่ยของนักเรียนชาย

เด็กมหาลัยเกาหลีที่เป็นผู้ชายมักจะดรอปเรียนกลางคันเพื่อไปเข้ากรมก่อนค่ะ

ทหารเกาหลี


เนื่องจากว่าต้องเข้ากรมไปทำหน้าที่ 1 ปี 10 เดือน เกือบสองปีเลยก็ว่าได้ ถือว่าเสียโอกาสในการหางานและฝึกงานไปช่วงนั้นเลย แต่ถ้าผ่านการเกณฑ์ทหารมาก่อน บริษัทจะพิจารณาที่จะรับมากขึ้น รวมไปถึงความสัมพันธ์ด้วย ถ้าเข้ากรมมาก่อน ความสัมพันธ์จะมั่นคงมากขึ้น(เพราะไม่ต้องหายไปเข้ากรมกลางคัน) แถมกลับออกมายังดูโตขึ้นอีกด้วย

สมมุติว่าเข้าเรียนหลักสูตร 4 ปีเมื่อภาคการศึกษาเดือนมีนาคม 2020 นักศึกษาชายจะเลือกเข้าเรียนปีหนึ่งก่อนเพื่อให้คุ้นชินกับสภาพแวดล้อมและได้รู้จักคนเพิ่มขึ้น ก่อนจะกลับมาหลังออกจากกรมแล้ว จากนั้นก็จะไปเกณฑ์ทหารในปีสองกัน แล้วค่อยกลับมาเรียนต่อค่ะ


ทหารเกาหลี


อย่างไรก็ตาม หลังจากที่เรียนจบแล้ว คนเกาหลีมักจะเรียนต่อโทเลย(대학원) ผู้ชายที่เรียนจบตรีของเกาหลีมักจะมีอายุประมาณ 26-27 ปีค่ะ

นี่คืออีกเหตุผลหนึ่งที่รุ่นพี่ของมหาลัยมักไม่ใส่เสื้อแจ็คเก็ตเบสบอลแล้ว



ธรรมเนียมของเด็กปี 1

สำหรับที่เกาหลีนักศึกษาชั้นปีที่ 1 จะเรียกว่า "새내기" (หมายถึงคนมาใหม่) แต่น่าเสียดายเพราะการแพร่ระบาดของโควิด ทำให้เด็กๆมหาลัยปีการศึกษา 2020, 2021ไม่สามารถสนุกกับวัฒนธรรมของเด็กใหม่ได้ค่ะ ได้แต่หวังว่าสถานการณ์จะกลับสู่ภาวะปกติโดยเร็วที่สุดค่ะ

แต่เดี๋ยวเราจะแนะนำธรรมเนียมและกิจกรรมของเด็กปี 1 ในเกาหลีให้ทุกคนได้รู้กันก่อนค่ะ


Orientation (OT), แซทอ (새터)

มหาลัยเกาหลี


หลังจากเข้ามหาวิทยาลัยแล้วช่วงกลางเดือนกุมภาพันธ์ นักศึกษาใหม่จะเข้าร่วมงานใหญ่ที่เรียกว่า OT (ปฐมนิเทศ) หรือ 새터 (งานสำหรับเด็กใหม่) โดยเด็กปี 1 ส่วนใหญ่จะเข้าร่วมในกิจกรรมนี้ และรุ่นพี่ปีที่ 2 และ 3 และอาจารย์บางคนก็เข้าร่วมด้วย ดังนั้นจึงเป็นโอกาสที่จะได้เจอผู้คนจำนวนมากในมหาลัยได้ค่ะ

เนื่องจากจำนวนนักเรียนที่เข้าร่วมมีมากจึงมักไปรีสอร์ทขนาดใหญ่ และกำหนดการคือ 2 วัน 1 คืน หรือ 3 วัน 2 คืน วันแรกเด็กใหม่จะต้องพูดคุยกับอาจารย์และรุ่นพี่ เพื่อรับคำแนะนำเกี่ยวกับชีวิตในมหาลัยและการเรียนในภาควิชา ทำกิจกรรมต่างๆและเล่นเกมกลุ่ม เพื่อทำความรู้จักกับเพื่อนๆค่ะ


มหาลัยเกาหลี

cr. 불교공뉴스


หลังอาหารเย็น เพื่อให้รู้สึกภูมิใจกับมหาลัยมากขึ้น จะมีการแสดงต่างๆ ที่จัดทำโดยสโมสรมหาวิทยาลัยหรือกลุ่มเชียร์ของมหาลัยค่ะ


มหาลัยเกาหลี


คืนสุดท้ายของ OT เพื่อทำความรู้จักกัน เด็กๆจะร่วมกันดื่มแอลกอฮอล์และกินขนมที่ห้องพักและเล่นเกมดื่มต่างๆด้วยกัน บางคนก็ดื่มจนถึงตี 4 เลยค่ะ

แต่เมื่อไม่นานมานี้มีเหตุการณ์ที่นักศึกษาผู้ซึ่งปกติไม่ดื่มแอลกอฮอล์ เสียชีวิตที่ OT ขณะดื่มเพราะจากบรรยากาศรอบตัวและแรงกดดันจากรุ่นพี่ ทำให้เขาไม่สามารถปฏิเสธและต้องดื่มจนเสียชีวิต เนื่องจากในเกาหลีมีวัฒนธรรมที่คนอายุมากกว่าจะเทแอลกอฮอล์ให้กับเด็กๆ ซึ่งคนที่อายุน้อยกว่าปฏิเสธไม่ได้ ดังนั้นเด็กใหม่จึงจำเป็นต้องดื่มเครื่องดื่มที่รุ่นพี่เทให้ค่ะ


มหาลัยเกาหลี



เมื่อทราบถึงความร้ายแรงของปัญหานี้แล้ว จึงมีการรณรงค์ให้ยกเลิกวัฒนธรรมการบังคับดื่มแอลกอฮอล์ และเปลี่ยนวัฒนธรรม OT เพื่อให้เด็กๆสามารถเพลิดเพลินกับ OT ได้อย่างปลอดภัย โดยเน้นว่าเป็นทางเลือกของนักเรียนเองว่าจะดื่มหรือไม่ค่ะ

การเปลี่ยนแปลงนี้ทำให้คนที่ไม่ดื่มแอลกอฮอล์สามารถเล่นเกมกับเพื่อนๆ ได้ในขณะที่ดื่มน้ำเปล่าหรือน้ำอัดลม นอกจากนี้การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ยังทำให้เกิดการล่วงละเมิดทางเพศในบางครั้งอีกด้วย รุ่นพี่ส่วนหนึ่งจึงต้องทำหน้าที่เป็นเจ้าหน้าที่ดูแลงานและจัดการเพื่อไม่ให้เกิดปัญหาการดื่มที่ไม่พึงประสงค์ค่ะ


밥약มหาลัยเกาหลี



ตอนเปิดภาคเรียนนักศึกษาจะยุ่งทั้งกับการเรียนและกิจกรรมต่างๆ แถมยังไม่รู้จักพื้นที่รอบๆมหาลัยอีกด้วย จึงเป็นช่วงเวลาที่เหล่ารุ่นพี่จะพาน้องๆไปเลี้ยงข้าว เรียกว่า "밥약" (พับยัก) ค่ะ


อาหารเกาหลี


"밥약" หมายถึงการนัดกินข้าว ซึ่งส่วนใหญ่คืออาหารกลางวันหรืออาหารเย็น โดยอาจจะเป็นรุ่นพี่พบตอนงาน OT หรือรุ่นพี่ที่เรียนด้วยกันและส่วนใหญ่รุ่นพี่จะไปร้านอาหารที่ใกล้กับมหาลัยค่ะ เพื่อให้รุ่นน้องได้รู้จักร้านอาหารและพื้นที่รอบๆค่ะ โดยมื้อแรกรุ่นพี่จะเป็นคนเลี้ยงและรุ่นน้องเป็นคนจ่ายครั้งต่อไปค่ะ

ธรรมเนียมนี้จะทำให้เด็กใหม่ได้รู้จักรุ่นพี่และร้านอาหารรอบๆมหาลัย และปีต่อไปเมื่อน้องใหม่เข้าโรงเรียน พวกเขาก็จะกลายเป็นรุ่นพี่ที่ทำแบบเดียวกันค่ะ


การโดดเรียน
โรงเรียนเกาหลี


นักเรียนเกาหลีที่เรียนหนักจนถึงมัธยมจะสนุกกับชีวิตอิสระเมื่อกลายเป็นนักศึกษาวิทยาลัยและบางครั้งก็โดดเรียนด้วยค่ะ แต่การโดดเรียนต้องดูก่อนนะคะว่าคลาสไหนพอจะสามารถทำได้บ้าง หรือไม่ก็เข้าไปเช็คชื่อแล้วก็แอบออกมาก่อนค่ะ

โดยส่วนมากนักศึกษาจะออกไปพักผ่อนบนสนามหญ้าของมหาลัย และสั่งอาหารเดลิเวอรี่มากินหรือออกไปชมวิวอย่างแม่น้ำฮันค่ะ


April Fool's day
มหาลัยเกาหลี


วันที่ 1 เมษายนคือวัน April Fool's Day ซึ่งวัฒนธรรมมหาวิทยาลัยเกาหลีคือนักศึกษาจะสวมชุดนักเรียนมัธยมปลาย มาและถ่ายรูปที่ระลึกกันค่ะ แถมยังมีการแกล้งกันและเพลิดเพลินไปกับวัฒนธรรมวันเอพริลฟูลเดย์นี้อีกด้วย ดังนั้นหากในวันนี้เห็นนักเรียนม.ปลายบนรถไฟใต้ดินไปวิทยาลัยในตอนเช้าก็ไม่ต้องแปลกใจนะคะ


วัฒนธรรมการนัดบอร์ดแบบกลุ่ม
เรียนต่อเกาหลี


การนัดบอร์ดแบบกลุ่มถือเป็นไฮไลท์ของชีวิตในมหาวิทยาลัยค่ะ โดยอาจเป็นการนัดพบของผู้หญิง 3 คนและผู้ชาย 3 คนเพื่อใช้เวลาพูดคุยและทำความรู้จักกันในร้านอาหารหรือบาร์ ซึ่งเป็นการพบปะผู้คนใหม่ๆจากมหาวิทยาลัยอื่นหรือกับเด็กจากเมเจอร์อื่นค่ะ


เรียนต่อเกาหลี


การนัดบอร์ดแบบกลุ่มชายและหญิง (ผู้ที่เป็นเจ้าภาพการประชุม) อาจจะส่งข้อความว่า "ชาย/หญิง 3 คนจากภาควิชา OO University " คนที่จะไปนัดบอร์ดจะได้รับการคัดเลือกตามลำดับก่อนหลัง และโดยเฉพาะอย่างยิ่งในเดือนมีนาคมและเมษายน ซึ่งเป็นเวลาที่การนัดบอร์ดจะคึกคักที่สุด ที่นั่งจะเต็มในเวลาไม่ถึงนาทีค่ะ


เรียนต่อเกาหลี

คนที่ไปร่วมงานอาจจะรู้สึกอึดอัดในตอนแรก แต่พวกเขาก็รู้จักกันเมื่อถามคำถามและเล่นเกมดื่มเหล้า มีหลายคนที่นัดพบกันต่อหลังจากพบกันที่การนัดบอร์ดแบบกลุ่มนี้และพัฒนาเป็นความสัมพันธ์แบบคู่รัก แต่ก็ไม่เป็นเช่นนั้นเสมอไปนะคะ เพราการไปนัดบอร์ดเพื่อหาคนรักก็ไม่ได้ประสบผลสำเร็จเสมอไปค่ะ ดังนั้นคนที่ไปควรจะคิดว่าเป็นการหาเพื่อนใหม่มากกว่าค่ะ



MT วัฒนธรรมของเด็กมหาลัยเกาหลี

เฉพาะเด็กปี 1 ของมอเท่านั้นที่ชอบใส่เสื้อแจ็คเก็ตเบสบอล? MT คืออะไร? งานฉลองของมอใช้เงินไปกว่า 100 ล้านวอน?


MT ย่อมาจากคำว่า Membership Training จริง ๆ ไม่ได้มีแค่ในมหาลัย แต่ในบริษัทหรือชมรมเองก็มีเช่นกันค่ะ อีกคำของ MT คือ "การปฐมนิเทศ" หรือ "ㅇㅇ training" ในเกาหลี

การทำ MT คือการมารวมตัวกันของคนที่ไม่รู้จักกันเลย แต่จะสนิทกันมากขึ้นจากการเดินทาง สนุกไปด้วยกันและดื่มด้วยกันค่ะ


เฉพาะเด็กปี 1 ของมอเท่านั้นที่ชอบใส่เสื้อแจ็คเก็ตเบสบอล? MT คืออะไร? งานฉลองของมอใช้เงินไปกว่า 100 ล้านวอน?


นอกเหนือจากการแนะนำตัว กินข้าวและเล่นเกมส์แล้ว ในตอนเย็นจะมีการดื่มเหล้าแบบไม่มีจุดสิ้นสุดอยู่ค่ะ ในเกาหลี รุ่นพี่จะเทเหล้าให้รุ่นน้องและรุ่นน้องก็ห้ามปฏิเสธด้วย ดังนั้น คนที่ไป MT มักจะดื่มเกินขีดความสามารถของตัวเองและอ้วกเละไปหมด จนบางครั้งต้องส่งไปโรงพยาบาลเลยก็มี เมื่อไม่นานมานี้ ได้มีการเรียกร้องให้งดการดื่มเหล้าใน MT แต่ดูเหมือนจะไม่มีใครสนใจมากนัก


เรียนต่อเกาหลี


MT ต่างจาก OT เพราะ MT จะไปกับผู้คนจากแผนกหรือชมรมเดียวกัน และโดยทั่วไปแล้วจะมีผู้เข้าร่วม 10 ถึง 20 คนค่ะ เวลาและสถานที่ที่จะไปแตกต่างกันไปมากขึ้นอยู่กับกลุ่มที่จะไป แต่ส่วนใหญ่ในช่วงวันหยุดไปที่หุบเขาหรือแม่น้ำเพื่อย่างเนื้อและดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เพื่อเพิ่มมิตรภาพ



เกมในวงเหล้าเกาหลี

เด็กใหม่สามารถเรียนรู้เกมวงเหล้ามากมายจากรุ่นพี่ที่ OT และ MT ที่ปกติจะจัดขึ้นในเดือนมีนาคมและกันยายนได้ โดยมีเกมหลายประเภทที่นักศึกษาวิทยาลัยส่งต่อกันมานานแบบรุ่นสู่รุ่น และบางเกมก็ยังถูกนำไปเล่นในรายการวาไรตี้ยอดนิยมของเกาหลีอีกด้วย มาตามไปดูกันดีกว่าค่ะว่ามีเกมไหนที่น่านำไปเล่นกันบ้าง


เกมสตรอว์เบอร์รี่ (딸기 게임)



ยู แจซอก


การเล่นเกมสตรอว์เบอร์รี่ (딸기 게임) ทุกคนจะนั่งเป็นวงกลมและปรบมือเป็นจังหวะ ซึ่งเมื่อเกมเริ่มต้น ผู้เริ่มเกมจะชี้ไปที่คนคนหนึ่งและพูดว่า "딸기" 1-8 ครั้ง โดยคนที่โดนเรียกชื่อต่อไปจะต้องพูดว่า 딸기 ตามจำนวนครั้งที่คนเริ่มเกมพูดค่ะ

ตัวอย่างเช่น ถ้าคนหนึ่งพูดว่า "딸기 셋" คนที่โดยเรียกชื่อจะต้องพูดว่า 딸기 3 ครั้งตามจังหวะเสียงปรบมือของคนอื่น เมื่อเวลาผ่านไป ความเร็วของเกมจะเพิ่มขึ้นและจังหวะก็ซับซ้อน ดังนั้นความยากก็จะเพิ่มขึ้นตามเช่นกันค่ะ


เกมอาณาจักรสัตว์ (동물의 왕국)


รายการเกาหลี


ก่อนเริ่มเกมผู้เล่นแต่ละคนต้องตัดสินใจว่าจะเป็นสัตว์ชนิดใด พร้อมคิดท่าการเคลื่อนไหวของสัตว์ตัวนั้น เช่น ถ้าเป็นช้าง อาจทำมือเป็นงวงช้าง โดยเมื่อเกมเริ่มต้นขึ้น ผู้เล่นแต่ละคนจะแนะนำตัวว่าเป็นสัตว์ชนิดใดพร้อมกับทำท่าประกอบ เพื่อใช้ในการเล่นเกม เนื่องจากเกมนี้เป็นเกมที่ห้ามส่งเสียงพูด ทำได้เพียงแค่แสดงท่าทางเท่านั้น ซึ่งหลังจากแนะนำตัวกันครบ ผู้เริ่มเกมจะทำท่าสัตว์ของตัวเอง พร้อมกับท่าสัตว์ของผู้เล่นที่ต้องการเรียก

ผู้เล่นที่ถูกเรียกก็ต้องทำท่าของตัวเองและเรียกคนต่อไปโดยการทำท่าสัตว์ของคนๆนั้น ความยากก็คือเราต้องจำท่าสัตว์ทั้งหมดของที่ผู้เล่นคนอื่นๆทำ รวมถึงต้องคอยสังเกตุให้ดีด้วยค่ะว่าคนเล่นทำท่าสัตว์ของเราหรือไม่ หากลืมท่าของตัวเอง หรือของเพื่อนก็คือพลาดเลยค่ะ....แถมบางคนก็ชอบทำท่าสัตว์แบบแปลกๆ ทำให้จำยากอีกด้วย


เกมร้องเพลง (레코드 게임 )

Girls Generation


เมื่อเริ่มเกมจะตั้งชื่อนักร้องหรือกลุ่มไอดอล คนอื่นๆ ก็ต้องผลัดกันร้องเพลงของนักร้องทีละคน ถ้าใครที่ร้องไม่ได้ก็แพ้ไปค่ะ ตอนที่เราเล่นเกม (ปี 2017) มีทั้ง BTS, Twice และ Black Pink แต่หลังจากเวลาผ่านไปก็จะมีเพลงฮิตของ Girls' Generation, Wonder Girls และ Big Bang ออกมาด้วยค่ะ


เกมฮุนมินจองอึม (훈민정음 게임)


รายการเกาหลี

คือเกมห้ามพูดภาษาต่างประเทศนั่นเองค่ะ เนื่องจากคนเกาหลีมักที่จะมีคำศัพท์เฉพาะของตัวเอง หรือนำคำจากภาษาอังกฤษมาใช้ใช้ในชีวิตประจำวันเช่น Okay, No, Let's go, One Shot ดังนั้นในการเล่นเกมฮุนมินจองอึม คำเหล่านี้คือคำต้องห้ามค่ะ แม้ว่าสมาร์ทโฟนหรือทีวี ก็ไม่สามารถพูดได้เช่นกัน เพราะถือเป็นคำที่มาจากภาษาต่างประเทศค่ะ

เกมนี้เล่นประมาณ 15 ถึง 30 นาที และในช่วงเวลานี้จะต้องไม่ใช้ใช้ภาษาต่างประเทศหรือสำนวนภาษาต่างประเทศ หากใช้สำนวนนี้โดยไม่ได้ตั้งใจจะต้องดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ โดยเฉพาะหากเล่นเกมร้องเพลงไปด้วยละก็จะเป็นอะไรที่น่าปวดหัวมาก เพราะเนื้อเพลงส่วนใหญ่มีแต่ภาษาอังกฤษค่ะ



ค่าเรียนมหาวิทยาลัยของเกาหลีแพงมาก

ค่าเทอมเกาหลี

จากแบบสำรวจเมื่อปี 2020 ค่าเฉลี่ยของค่าเทอมสำหรับมหาวิทยาลัยเอกชนคือ 7.17 ล้านวอน (ประมาณ 180,000 บาท) และค่าเรียนเฉลี่ยของคณะแพทยศาสตร์ของมหาวิทยาลัยเอกชนคือ 10.27 ล้านวอน (ประมาณ 263,000 บาท) มหาวิทยาลัยยอนเซและโคเรียมีค่าเทอมที่สูงลิ่วเลยล่ะค่ะ


เรียนต่อเกาหลี


ส่วนค่าเทอมของมหาวิทยาลัยรัฐบาลและมหาวิทยาลัยแห่งชาติคือ 4.08. วอน(ประมาณ 104,000 บาท) ซึ่งถือว่าเป็นภาระของผู้ปกครองและนักศึกษา

นอกจากคนที่หยุดเรียนเพื่อไปเป็นทหารแล้ว ยังมีบางคนที่ดรอปเพื่อทำงานเก็บเงินจนกว่าจะมีค่าเรียน แล้วค่อยกลับมาเรียนใหม่ ดังนั้น จึงมีนักศึกษาทำงานในร้านอาหารใกล้ ๆ กับมหาวิทยาลัยเพื่อเก็บเงินสำหรับค่าเทอมและความบันเทิงส่วนตัว



มีผู้เยาว์ในรั้วมหาลัยมั้ยนะ?

เด็กเกาหลี


ประเทศเกาหลีมีการนับอายุที่ออกจะแปลกกว่าประเทศอื่นหน่อย ๆ คือ "คนที่เกิดเร็ว(빠른년생)" ใช้เรียกคนที่เกิดระหว่างเดินมกราคมถึงกุมภาพันธ์ของปีค่ะ ส่วนคนที่เกิดเดือนมีนาคมถึงธันวาคมถือเป็นกลุ่มอายุเดียวกันเพราะมหาลัยมักจะเริ่มเทอมแรกเดือนมีนาคม

ดังนั้น จึงมีเหตุการณ์ที่เด็กอายุแค่ 18 ปี(19 ปีเกาหลี) ที่เข้ามหาลัยแล้วต้องอยู่คลาสเดียวกับคนที่อายุ 19 ปี(20 ปีเกาหลี) แต่ม่สามารถไปไนท์คลับหรือดื่มเหล้าได้ ส่วนพวกเกิดเร็วจะมีอายุ 21 ปีซึ่งจริง ๆ แล้วอายุแค่ 19 ปีนั่นแหละ และคนอายุปกติที่ 20 ปีค่ะ


โซจู


การนับแบบนี้ทำให้หลายคนสับสนมาก ๆ และการไปดื่มเหล้าแต่ละครั้งก็ยากที่จะรู้ว่า ใครบรรลุนิติภาวะแล้วบ้าง ดังนั้น ตั้งแต่ปี 2009 เกาหลีใต้จึงได้ยกเลิกระบบการนับอายุแบบคนเกิดเร็วและใช้ระบบอื่นแทน

เอาง่าย ๆ เลยละกันค่ะ คนเกาหลีที่มีอายุต่ำกว่า 19 ปีไม่สามารถดื่มเหล้าหรือสูบบุหรี่ได้ แต่ดาราไอดอลจะฉลองบรรลุนิติภาวะตอนอายุ 20 ปี? เนื่องจากการที่จะอายุ 20 ปีได้ต้องให้ผ่านวันเกิดไปได้ก่อน แต่สำหรับคนเกิดเร็วจะมีอายุ 20 ปี ทั้ง ๆ ที่อายุจริง 18 ปีค่ะ



งานรื่นเริงประจำปีของมหาวิทยาลัยเกาหลี

มหาวิทยาลัยเกาหลี


งานรื่นเริงประจำปีของมหาลัยในเกาหลีนั้นเรียกได้ว่า ยิ่งใหญ่เกินบรรยายจริง ๆ ทั้งนักร้องดังที่จะมาสร้างความบันเทิงให้ที่มอและความน่าตื่นเต้นของงาน

แต่ละปี เวลาที่มอจะมีงาน สภานักศึกษาจะหาทางติดต่อบริษัทโบรกเกอร์เพื่อเชิญนักร้องและไอดอลดัง ๆ มาแสดงที่มอ ศิษย์เก่าของมหาวิทยาลัยหลายแห่งจะใช้ช่วงเวลานี้ในการหวนคืนสถาบันเพื่อนัดพบกับรุ่นน้องที่รู้จัก เจอเพื่อนร่วมรุ่นเก่า ๆ ในช่วงนั้นที่มอจะเต็มไปด้วยบรรยากาศแห่งวัยหนุ่มสาวสุด ๆ


มหาวิทยาลัยเกาหลี


อย่างไรก็ตาม แต่ละมอแอบมีการขิงใส่กันเรื่องงานโรงเรียนค่ะ เช่น "ปีที่แล้วมีไอดอลกลุ่มนี้ ทำไมปีนี้ไม่มี?" หรือ "มอนั้นจ้างนักร้องคนนั้นมา ทำไมมอเราไม่จ้างบ้าง?" เป็นต้น ทำให้สภานักศึกษาใจป้ำกล้าลงเงินกว่าหลายล้านวอนเพื่องานรื่นเริง ทำให้หลัง ๆ มีการเรียกร้องให้เปิดเผยงบประมาณของงานประจำปีอย่างโปร่งใสมากขึ้นค่ะ



เป็นยังไงกันบ้างคะ? น่าสนใจมั้ยเอ่ย? ใครที่เคยดูซีรีส์เกาหลีก็น่าจะเคยเห็นชีวิตของเด็กมหาลัยในเกาหลีกันมาก่อนบ้าง แอบคล้าย ๆ กันเลยใช่มั้ยคะ?

ไว้เจอกันใหม่คราวหน้า บ๊ายบายค่ะ~

🤞🏻Subscribe พวกเรา Creatrip บน Youtube

Creatrip Instagram
instagram.com/creatrip.thailand

🎈บริการความงาม / เครื่องเขียน / รองเท้า / เครื่องแต่งกายเกาหลี