วัฒนธรรมการสักของเกาหลี
ทำไมสื่อเกาหลีถึงชอบเบลอรอยสัก? ตีแผ่เรื่องราววัฒนธรรมการสักในเกาหลี
สวัสดีค่ะทุกคน! พวกเรา Creatrip ศูนย์รวบรวมข้อมูลการท่องเที่ยวเกาหลีที่อัพเดทโดยคนเกาหลีในทุกๆวัน
#วัฒนธรรมเกาหลี
#รอยสัก #Tattoo
เพื่อนๆทุกคนคิดยังไงเกี่ยวกับรอยสักกันบ้างคะ? คิดว่ามันเป็นศิลปะหรือการแสดงอำนาจ? เป็นการสื่อสารแบบนึงกับคนอื่นๆหรือเป็นเพียงแค่เพื่อความสวยงามเท่านั้น?
ล่าสุดวัฒนธรรมการสักในเกาหลีค่อนข้างบูมมากในช่วงนี้ แต่ถึงแม้ศิลปินเกาหลีหลายคนจะมีรอยสัก แต่เวลาไปออกสื่อก็มักจะต้องคอยปกปิดรอยสักกันอยู่ค่ะ
วันนี้เราจะพูดถึงเกี่ยวกับวัฒนธรรมการสักของเกาหลี ตั้งแต่ต้นกำเนิดของ "รอยสัก" ในแง่ประวัติศาสตร์จนถึงความคิดเห็นเกี่ยวกับรอยสักในปัจจุบันกันค่ะ
🤞🏻 ติดตามพวกเรา Creatrip บน Youtube
instagram.com/creatrip.thailand
🎈ช้อปปิ้ง|สั่งซื้อสินค้าเกาหลี
วัฒนธรรมการสักของเกาหลี
1. ต้นกำเนิดของรอยสัก / รอยสักของเกาหลี
ในยุคสามฮั่นเกาหลี (ตั้งแต่ปลายศตวรรษที่ 2 ถึงศตวรรษที่ 4 ก่อนคริสต์ศักราช) มีตำนานนิทานพื้นบ้านที่เกี่ยวข้องกับรอยสัก แต่บันทึกในส่วนตรงกลางนั้นขาดหายไป
แผนที่ยุคสามฮั่น (ที่มา: Wikipedia)
คำว่ารอยสัก (문신 / มุนชิน) ปรากฏขึ้นในวรรณกรรมอีกครั้งในพงศาวดารโครยอ ซึ่งในครั้งนี้ไม่ใช่ในรูปแบบนิทานพื้นบ้าน แต่เป็นกฎหมาย
ซึ่งนักประวัติศาสตร์หลายคนยังคงศึกษาหาสาเหตุของการสิ้นสุดของวัฒนธรรมการสักในยุคสามก๊กเกาหลี
และในปัจจุบันมีการสันนิษฐานกันว่าประเพณีการสักได้หายไปเนื่องจากอิทธิพลทางวัฒนธรรมจากภาคกลาง
แผนที่ยุคสามก๊ก (ที่มา: Wikipedia)
นอกจากนี้ ในยุคโกโจซอน (ตั้งแต่ 2333 ปีก่อนคริสตกาลถึง 108 ปีก่อนคริสตกาล) ยังมีข้อห้าม 8 ประการ ซึ่งหนึ่งในแปดข้อห้ามนั้นสันนิษฐานว่าอาจมีการห้ามสักด้วย
แต่อย่างไรก็ตาม ในภาคใต้นั้นมีประเพณีการสักตามธรรมเนียม แต่บันทึกเรื่องนี้หายไปในช่วงต้นของยุคสามก๊กเกาหลี
ซึ่งนักประวัติศาสตร์มองว่าหลังจากการก่อตั้งสามก๊ก ซึ่งมีการกำหนดระเบียบการแต่งกาย รวมถึงอิทธิพลจากทางเหนือที่ห้ามมีรอยสัก อาจทำให้ประเพณีการสักในภาคใต้ค่อยๆเลือนหายไป
วัฒนธรรมการสักของเกาหลี
2. วิวัฒนาการของรอยสัก
ถึงแม้จะไม่มีบันทึกเกี่ยวกับรอยสักลงโทษในช่วงสามก๊กก็ตาม แต่ตั้งแต่ยุคโครยอ คนที่ถูกจับได้หลังจากขโมยของและหนีจากการถูกเนรเทศจะโดนสักลงโทษบนใบหน้า
และหากพบว่าหนีไปอีกก็จะมีการเพิ่มโทษขึ้น
ที่มา: KBS
นักประวัติศาสตร์มองว่าการสักลงโทษนั้นถูกนำมาจากการลงโทษในราชวงศ์ซ่ง มีการกล่าวถึงในประมวลกฎหมาย "คยองกุกแดจอน" ว่าหลังจากได้รับการพิจารณาคดีตามกฎหมาย
ถ้าโจรไม่ได้รับโทษประหารชีวิตจะถูกทำเครื่องหมายด้วยหมึกบนร่างกาย ซึ่งถ้าหากทำความผิดอีกก็จะถูกแขวนคอ
นอกจากนี้ ใน"โจซอนวังโจชิลลก" บันทึกสมัยโชซอนยังมีบันทึกอีกว่ามีคนขโมยวัวและถูกจับตัดหู แต่ต่อมาเขาขโมยเสื้อผ้าแล้วหนีไปพร้อมกับม้า ซึ่งเมื่อถูกจับได้ภายหลังก็ถูกสักบนใบหน้า
และตั้งแต่ยุคนี้รอยสักไม่ได้เป็นวัฒนธรรมร่วมระหว่างเกาหลีอีกต่อไป แต่กลายเป็นสัญลักษณ์ของอาชญากร
นอกจากนี้ในบันทึกแห่งราชวงศ์โชซอนยังบันทึกอีกด้วยว่าในปีที่ 11 ของพระเจ้าซองจง (ค.ศ. 1479) อออูดงประพฤติตัวไม่สอดคล้องกับบรรทัดฐานทางสังคมในสมัยนั้น เพราะหล่อนมีความสัมพันธ์กับผู้ชายหลายคน จึงถูกสักบนแขน ซึ่งจะเห็นได้ว่าในสมัยโชซอนนอกจากอาชญากรจะถูกทรมานแล้วการลงโทษด้วยรอยสักยังเกิดขึ้นในความสัมพันธ์ระหว่างชายหญิงอีกด้วย
วัฒนธรรมการสักของเกาหลี
3. วัฒนธรรมการสักของเกาหลีในปัจจุบัน
เช่นเดียวกับหลายๆประเทศ ในช่วงแรกๆเกาหลียังมีอคติเกี่ยวกับรอยสัก และรอยสักเป็นเหมือนสัญลักษณ์ของมาเฟีย คนไม่มีศีลธรรมหรือมีนิสัยโหดร้าย
อย่างไรก็ตามสำหรับวัยรุ่นในปัจจุบันรอยสักเป็นเหมือนการสักเพื่อเป็นที่ระลึกหรือแสดงถึงบุคลิกภาพส่วนตัว เรื่องอคติไม่สำคัญกับพวกเขาอีกต่อไป
ซึ่งศิลปินเกาหลีหลายคนก็มีรอยสักกันมากมาย ไม่ว่าจะเป็นรอยสักเล็กๆหรือสักตัวอักษรเพื่อเป็นที่ระลึก
อย่างไรก็ตามในสื่อของสถานีโทรทัศน์กระแสหลักของเกาหลี เช่น SBS, KBS, MBC หากศิลปินหรือนักแสดงมีรอยสักตามส่วนต่างๆของร่างกาย พวกเขาจะถูกหลีกเลี่ยงการถ่ายส่วนนั้น
หรือต้องมีการปกปิดรอยสัก เช่น การใส่เสื้อปิด ใช้พลาสเตอร์ปิดแผลหรือใช้เมคอัพปกปิดรอย
ซึ่งหลายช่องสถานีที่เป็นหัวอนุรักษ์นิยมส่วนใหญ่ยังคงมองว่าผู้ชมยังคงเป็นผู้เยาว์ และไม่ต้องการที่จะถ่ายทอดส่วนที่มีรอยสัก
ถึงแม้ว่าบางช่องจะไม่สนใจว่าเรื่องรอยสัก และศิลปินมีอิสระที่จะเปิดเผย แต่อย่างไรก็ตามคนเกาหลีก็เห็นพ้องกันว่าไม่ควรมีการเปิดเผยรอยสักทางสื่อ
แม้กระทั่งในซีรีย์เกาหลี พระเอกและนางเอกมักจะไม่มีรอยสักยกเว้นแต่จะมีความจำเป็นสำหรับเนื้อเรื่อง ในแง่หนึ่งมันอาจจะเป็นการสร้างความประทับใจให้กับผู้ชม
และยังเป็นเหมือนการช่วยทีมงานอีกทางหนึ่งเพื่อให้การออกอากาศเป็นไปได้อย่างราบรื่นมากขึ้น
วัฒนธรรมการสักของเกาหลี
4. ความถูกต้องตามกฎหมาย
กฎหมายเกาหลีกำหนดไว้อย่างชัดเจนว่ารอยสักเป็นการปฏิบัติงานทางการแพทย์ดังนั้นจึงต้องมีใบอนุญาตอย่างถูกต้องเพื่อเป็นช่างสัก
ที่มา: Comedy.com
แต่ช่างสักและแอคเคาท์ตามอินสตาแกรมส่วนใหญ่นั้นไม่ได้รับอนุญาตจากรัฐบาลเกาหลี ดังนั้นจึงมักไม่มีการโฆษณาอย่างโจ่งแจ้งมากนัก
ซึ่งคาดว่ามีช่างสักผิดกฎหมายมากกว่า 20,000 คนในเกาหลี
แต่ข้อดีของการสักใต้โต๊ะในเกาหลีใต้คือความสะดวกรวดเร็วและถูก ซึ่งเป็นการบุกเบิกอุตสาหกรรมการสักที่รวดเร็ว แต่ในทางการแพทย์และกฎหมายนั้นยังคงประเด็นสำคัญในเกาหลี
แต่คนทั่วไปอาจไม่ใจดีกับคนที่มีรอยสักเสมอไป โดยเฉพาะศิลปินที่เปิดเผยรอยสักใหม่บนโซเชียลมีเดีย แม้จะตั้งใจหรือไม่ตั้งใจก็ตาม ซึ่งมักจะมีคอมเมนท์หลายอย่าง เช่น "มีรอยสักอีกไหม" "ค่ายรู้ไหม?" " หรือ "รอยสักดูดีนะ" "ฉันสนับสนุนให้เธอเป็นตัวของตัวเอง" แต่อย่างไรก็ตามในการออกสื่อส่วนมากยังไม่อนุญาติให้เปิดเผยรอยสักอยู่ดี ดังนั้นการสักจึงเป็นเหมือนการสื่อสารรูปแบบหนึ่งระหว่างศิลปินกับแฟนๆหรือแม้กระทั่งการสื่อสารทางอารมณ์ของตัวศิลปินเอง
วัฒนธรรมการสักของเกาหลี
5. ความขัดแย้งของศิลปินที่มีรอยสักกับสาธารณะชน
รอยสักไม่เพียงแต่จะส่งผลกระทบต่อการออกอากาศของสถานีโทรทัศน์เท่านั้น แต่ยังส่งผลต่อชีวิตของศิลปินอีกด้วย เช่น ศิลปินบางคนที่มีรอยสักขนาดใหญ่อาจถูกห้ามไม่ให้เข้าสถานที่
ที่มา: SMTOWN
ก่อนหน้านี้มีรอยสักขนาดใหญ่อยู่ในรูปของ ยุนอา Girls 'Generation ซึ่งทำให้เธอถูกวิพากษ์วิจารณ์เพราะเธอถูกมองว่าเป็นคนที่มีบุคลิกเรียบร้อย
แม้จะมีการคาดเดาว่าจะเป็นเพียงสติกเกอร์ก็ตาม แต่จากปฏิกิริยาของชาวเน็ตแล้วแสดงให้เห็นว่ายังมีคนที่มองผู้หญิงมีรอยสักในแง่ลบอยู่เป็นจำนวนมาก
ฮัน ซอฮี นักแสดงจากซีรีย์ "The World of Couples" ก็ถูกวิจารณ์อย่างหนักเช่นกันเพราะก่อนหน้านี้เธอมีรอยสักขนาดใหญ่บนแขน แม้ว่าตอนนี้จะถูกลบออกไปแล้ว แต่สื่อก็ยังมองว่ารอยสักของเธอเป็น "รอยเปื้อน"
และเมื่อล่าสุดนี้เน็ตไอดอลชาวฟิลิปปินส์ - อเมริกันที่มีแฟนคลับติดตามกว่าหลายสิบล้านคน ซึ่งรอยสักบนแขนของเธอคล้ายกับธงอาทิตย์อุทัยที่เป็นสัญลักษณ์ของความรุนแรงในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ของญี่ปุ่น จึงทำให้คนเกาหลีไม่พอใจอย่างมากและเรียกร้องให้เธอออกมาขอโทษ ซึ่งเธอเองก็ได้ออกมาขอโทษด้วยตัวเองแล้ว
แต่เหตุการณ์นี้นำไปสู่ความขัดแย้งระหว่างเกาหลีใต้และฟิลิปปินส์ เพราะชาวเน็ตฟิลิปปินส์มองว่าชาวเน็ตเกาหลีหัวรุนแรงเกินไปและเกิดเป็นเคมเปญต่อต้านคนเกาหลี
ที่มา : Dong-A Ilbo
แต่อย่างไรก็ตามในสังคมเกาหลี ผู้หญิงยังคงถูกปิดกั้นจากการมีรอยสักอยู่มาก ซึ่งจะเห็นได้ว่าศิลปินชายที่มีรอยสักมักจะเป็นที่ยอมรับมากกว่าศิลปินหญิงที่มีรอยสัก
นอกจากนี้กองทัพเกาหลียังกำหนดอย่างชัดเจนว่าห้ามไม่ให้บุคคลที่มีรอยสักขนาดใหญ่เข้าประจำการในกองทัพ ดังนั้นหลายคนจึงเลือกที่จะมีรอยสักเพื่อหลีกเลี่ยงจากการเข้าเกณฑ์ทหาร
แต่กองทัพก็มีการตอบโต้ต่อพฤติกรรมนี้ว่า "เป็นการสร้างความเสียหายโดยเจตนาต่อร่างกาย"
ถ้าหากมีคำถามเพิ่มเติม สามารถเขียนคอมเมนท์ด้านล่างนี้ได้เลย หรือส่งอีเมล์มาหาเราได้ที่ help@creatrip.com เดี๋ยวเราจะรีบตอบกลับให้เร็วที่สุดค่ะ แล้วเจอกันใหม่โพสต์หน้าค่ะ!
🤞🏻 ติดตามพวกเรา Creatrip บน Youtube
instagram.com/creatrip.thailand
🎈ช้อปปิ้ง|สั่งซื้อสินค้าเกาหลี
โพสต์ที่น่าสนใจ |
เซเลปเกาหลีผู้ทลายอคติลบๆของรอยสัก |
มุมที่ไม่คาดคิดของคนดังเกาหลี |
ความชอบที่ไม่เหมือนใครของไอดอลเกาหลี |