ทำไมบริการ self-service ถึงได้บูมในเกาหลี?
ทำไมเกาหลีถึงบ้าใช้ self-service แทบทุกที่? แล้วมันสะดวกต่อลูกค้าจริงหรอ?
สวัสดีค่ะทุกคน! พวกเรา Creatrip ศูนย์รวบรวมข้อมูลการท่องเที่ยวเกาหลีที่อัพเดทโดยคนเกาหลีในทุก ๆ วัน
#ธุรกิจเกาหลี #Self-service
#ร้านค้าในเกาหลี #อัพเดทเกาหลี
ถ้าได้มาเกาหลีจะเห็นเลยว่า มีการใช้ self-service แทบจะทุกที่เลย ตั้งแต่ร้านอาหาร คาเฟ่ ร้านสะดวกซื้อ ซุปเปอร์มาร์เก็ต ปั๊มน้ำมันและอีกมากมาย...แก่นของการใช้บริการแบบนี้คือ ลูกค้าต้องบริการตัวเองซึ่งปกติจะเป็นหน้าที่ของพนักงานในร้านที่ต้องทำค่ะ
ว่าแต่ว่า การใช้ self-service แบบนี้จะสะดวกขึ้นจริงมั้ยนะ? ไปดูกันดีกว่าค่ะ~
🤞🏻Subscribe พวกเรา Creatrip บน Youtube
✨Creatrip Instagram
instagram.com/creatrip.thailand
🎈บริการความงาม / เครื่องเขียน / รองเท้า / เครื่องแต่งกายเกาหลี
ทำไมบริการ self-service ถึงได้บูมในเกาหลี?
ตัวอย่างของการใช้ self-service เช่น ถ้าในคาเฟ่ ลูกค้าต้องไปรับของเอง ถือไปไว้ที่โต๊ะเองและพอทานเสร็จก็นำกลับไปไว้ในที่ที่ร้านกำหนดให้
ส่วนในร้านอาหารก็จะเป็นร้านที่หยิบอาหารและน้ำดื่มเอง เช่น ร้านแฟรนไชส์ต่าง ๆ อย่างแมคโดนัลด์, Gongcha และ Egg Drop เป็นต้น นอกจากนี้ก็ยังต้องกดสั่งอาหารเองจากตู้อีกด้วย ว่าแต่ว่า ทำไมเกาหลีถึงฮิตใช้ self-service กันนัก? แล้วลูกค้าจะไม่รู้สึกลำบากกว่าเดิมหรอ?
cr: koreatimes
Pulsenews ได้ให้เหตุผลไว้ว่า การใช้ระบบ self-service นี้มีเพื่อจุดประสงค์ในการลดค่าใช้จ่ายในการจ้างพนักงาน โดยเฉพาะในช่วงที่โควิดระบาดแบบนี้ ทำให้เห็นหลายร้านในเกาหลีใช้ self-service กันตรึม ซุปเปอร์มาร์เก็ตใหญ่ ๆ อย่าง E-Mart ก็เพิ่มจำนวนเคาท์เตอร์ที่ไม่ต้องใช้คนกว่า 700 เครื่องเลยทีเดียว ถือว่าเพิ่มขึ้น 150 เครื่องเมื่อเทียบกับปีที่แล้ว
ส่วนที่ Lotte Mart มีการเพิ่มเคาท์เตอร์จ่ายเงินด้วยตัวเองถึง 512 เครื่อง (เพิ่มมาอีก 71 เคาท์เตอร์เมื่อเทียบกับปีที่แล้ว) และ Homeplus ในตอนนี้มี 88 สาขาและเคาท์เตอร์ self-service 399 เครื่อง เคาท์เตอร์ชำระเงินที่ไม่ต้องใช้แรงงานคนมีการใช้เครื่องสแกนบาร์โค้ดทำให้ลูกค้าสามารถยิงบาร์โค้ดคิดเงินเองได้ รูปแบบการจ่ายเงินมีทั้งการชำระด้วยการ์ดและมือถือ ทำให้สะดวกสุด ๆ
cr: dispatch
อีกสาเหตุที่ทำให้ร้านต่าง ๆ หันมาใช้ระบบ self-service นี้เพื่อลดการสัมผัสระหว่างคนต่อคนในช่วงที่ COVID-19 ระบาดอย่างในปัจจุบันนี้ นอกจากนี้ ทางร้านยังอยากให้ลูกค้าได้สัมผัสประสบการณ์ใหม่และมีความรู้สึกเหมือนได้เป็นเจ้าของร้านเองตอนที่คิดเงิน ยิ่งมีส่วนร่วมในการชำระเงินมากเท่าไหร่ ก็ยิ่งเพิ่มความผูกพันมากเท่านั้น
อย่างไรก็ตาม self-service ก็ยังมีข้อเสียอยู่หลายจุดเหมือนกัน สำหรับผู้สูงอายุแล้ว การใช้ self-service ถือว่าไม่สะดวกเอามาก ๆ จนบางครั้งก็ไม่ใช้บริการเพราะเครื่อง self-service นี้เลยละค่ะ ดังนั้น ร้านไหนที่จะใช้ self-service ควรจะมีคำแนะนำที่บอกไว้อย่างชัดเจนในจุดที่มองเห็นได้ชัดในร้านค่ะ
นอกจากนี้ ด้วยคอนเซปต์ "ลูกค้าคือพระเจ้า" ทำให้ลูกค้าบางกลุ่มต้องการใช้เงินให้คุ้มกับบริการที่พวกเขาได้รับซึ่งทำให้ลูกค้ากลุ่มนี้ไม่ต้องการใช้บริการแบบ self-service ซึ่งเป็นค่านิยมที่เปลี่ยนได้ยาก ดังนั้น ทางบริษัทต้องพยายามอย่างหนักเพื่อเปลี่ยนค่านิยมของลูกค้าให้ได้
เนื้อหาข้างบนนี้คือข้อมูลเกี่ยวกับบริการ self-service ในเกาหลีค่ะ ส่วนตัวเราคิดว่า เป็นบริการที่สะดวกมาก ๆ เลย แต่ข้อเสียก็คือทำให้การจ้างแรงงานลดลงและเป็นการเพิ่มอัตราคนว่างงานเพิ่มขึ้นค่ะ
ไว้เจอกันใหม่คราวหน้า บ๊ายบายค่ะ~
🤞🏻Subscribe พวกเรา Creatrip บน Youtube
✨Creatrip Instagram
instagram.com/creatrip.thailand
🎈บริการความงาม / เครื่องเขียน / รองเท้า / เครื่องแต่งกายเกาหลี
โพสต์ที่น่าสนใจ |
7 เรื่องที่อาจทำให้ชาวต่างชาติมีปัญหากับตม.เกาหลี |
นักโทษคดีข่มขืนชื่อดังกำลังจะถูกปล่อยตัว |
คู่ซี้เซเลบเกาหลี |