logo
logo
DEPRECATED_CloseIcon

การประท้วงในประเทศเกาหลี : การประท้วงอย่างสันติ

เกาหลีใต้เป็นอีกหนึ่งประเทศที่มีการประท้วงอยู่บ่อย ตามประวัติศาสตร์เคยมีการประท้วงที่ใช้ความรุนแรงกับกลุ่มนักศึกษาจนเกิดการเสียชีวิต แต่ในปัจจุบันดูเหมือนว่าแนวทางการประท้วงเปลี่ยนไปในทางสงบมากขึ้น

마타티카
4 years ago
การประท้วงในประเทศเกาหลี : การประท้วงอย่างสันติ-thumbnail
การประท้วงในประเทศเกาหลี : การประท้วงอย่างสันติ-thumbnail


The world

สวัสดีค่ะทุกคน! พวกเรา Creatrip ศูนย์รวบรวมข้อมูลการท่องเที่ยวเกาหลีที่อัพเดทโดยคนเกาหลีในทุก ๆ วัน


#วัฒนธรรมเกาหลี #การประท้วง

#ประวัติศาสตร์เกาหลี #การชุมนุม


ปัจจุบันประชาชนในแต่ล่ะประเทศมีสิทธิในการแสดงความคิดเห็นและเรียกร้องสิทธิของตัวเอง ดังนั้นการประท้วงเป็นอีกหนึ่งวิธีการแสดงออกด้านความคิดเห็นของประชาชนต่อรัฐบาลหรือหน่วยงานค่ะ ประเทศเกาหลีใต้ก็เป็นอีกหนึ่งประเทศที่มีการประท้วงอยู่บ่อยครั้งแต่น้อยครั้งที่จะเห็นข่าวว่ามีการใช้กำลังกับประชาชนค่ะ

วันนี้เราจะพาทุกคนไปย้อนดูการประท้วงที่เกิดขึ้นในประเทศเกาหลีใต้ และแนวทางที่เปลี่ยนไปของการประท้วง

🤞🏻 ติดตามพวกเรา Creatrip บน Youtube

✨Creatrip อินสตาแกรม

instagram.com/creatrip.thailand

🎈ช้อปปิ้ง|สั่งซื้อสินค้าเกาหลี


การประท้วงในประเทศเกาหลีใต้


เกาหลีใต้เป็นอีกหนึ่งประเทศที่มีการประท้วงอยู่บ่อย ตามประวัติศาสตร์เคยมีการประท้วงที่ใช้ความรุนแรงกับกลุ่มนักศึกษาจนเกิดการเสียชีวิต แต่ในปัจจุบันดูเหมือนว่าแนวทางการประท้วงเปลี่ยนไปในทางสงบมากขึ้นKoreatimes

ย้อนไปเมื่อปี 1987 ประเทศเกาหลีใต้เกิดการประท้วงครั้งใหญ่ โดยกลุ่มนักศึกษาได้ต่อต้านระบบเผด็จการของภาครัฐและเรียกร้องให้มีการเลือกตั้ง พร้อมทั้งผลักดันให้ประเทศเข้าสู่ระบบประชาธิปไตย จากคำบอกเล่าของนักข่าวชาวอังกฤษที่เข้ามาสังเกตการณ์ในขณะนั้นกล่าวว่า กลุ่มนักศึกษาพยายามฝ่าแผงกั้นและขว้างปาก้อนอิฐใส่เจ้าหน้าที่ตำรวจ และเจ้าหน้าตัดสินใจยิงก๊าซน้ำตาใส่ผู้ประท้วงค่ะ

ในช่วงการประท้วงมีการใช้ความรุนแรงจากกลุ่มไม่ทราบฝ่าย โดยนักศึกษาต่างเรียกพวกนั้นว่า "กลุ่มนักเลง" ซึ่งเชื่อกันว่าเป็นเจ้าหน้าที่ตำรวจหรือเป็นคนของรัฐบาลส่งมาค่ะ จากเหตุการณ์ครั้งนั้นมีนักศึกษาเสียชีวิตจำนวนหนึ่งและส่งผลให้ฝ่ายทหารต้องเข้าสู่ระบบการเลือกตั้งในปีต่อมาค่ะ


เกาหลีใต้เป็นอีกหนึ่งประเทศที่มีการประท้วงอยู่บ่อย ตามประวัติศาสตร์เคยมีการประท้วงที่ใช้ความรุนแรงกับกลุ่มนักศึกษาจนเกิดการเสียชีวิต แต่ในปัจจุบันดูเหมือนว่าแนวทางการประท้วงเปลี่ยนไปในทางสงบมากขึ้น


ขณะนั้นกรมตำรวจเกาหลีใต้ถูกวิจารณ์จากนานาชาติว่าใช้ความรุนแรงเกินเหตุ เนื่องจากการใช้ก๊าซน้ำตากับผู้ชุนนุม ซึ่งไม่เคยพบว่ามีการใช้ระหว่างการประท้วงมาก่อน

การประท้วงเพื่อเรียกร้องประชาธิปไตยครั้งใหญ่ในเกาหลีเกิดขึ้นครั้งแรกเมื่อปี 1987 โดยกลุ่มนักศึกษาและหลังจากนั้นอีกประมาณ 30 ปีก็เกิดการประท้วงครั้งใหญ่ขึ้นอีกครั้ง โดยประชาชนเรียกร้องให้ถอดถอนปาร์ค กึนฮเย ประธานธิบดีเกาหลีใต้ในขณะนั้น เนื่องจากถูกตั้งข้อสงสัยว่าใช้อำนาจโดยมิชอบและเอื้อผลประโยชน์ให้กับกลุ่มธุระกิจค่ะ


เกาหลีใต้เป็นอีกหนึ่งประเทศที่มีการประท้วงอยู่บ่อย ตามประวัติศาสตร์เคยมีการประท้วงที่ใช้ความรุนแรงกับกลุ่มนักศึกษาจนเกิดการเสียชีวิต แต่ในปัจจุบันดูเหมือนว่าแนวทางการประท้วงเปลี่ยนไปในทางสงบมากขึ้นstraitstimes

จากเหตุกาณ์ครั้งนั้นปาร์ค กึนฮเย ถูกสอบสวนและตรวจสอบหลักฐาน และสุดท้ายก็พบว่าเธอมีความผิดฐานทุจริตและใช้อำนาจโดยมิชอบจริง และถูกตัดสินจำคุกเป็นเวลา 32 ปีค่ะ

ถึงแม้ว่าทั้งสองการประท้วงมีจุดมุ่งหมายดียวกัน คือเพื่อเรียกร้องประชาธิปไตยให้กับประเทศ แต่ดูเหมือนว่าทั้งสองเหตุการณ์จะมีแนวทางต่างกันอย่างสิ้นเชิง โดยพบว่าการประท้วงครั้งแรกมีการใช้ความรุนแรงแต่ครั้งที่สองเป็นไปด้วยความสงบค่ะ


การประท้วงในปัจจุบัน

เกาหลีใต้เป็นอีกหนึ่งประเทศที่มีการประท้วงอยู่บ่อย ตามประวัติศาสตร์เคยมีการประท้วงที่ใช้ความรุนแรงกับกลุ่มนักศึกษาจนเกิดการเสียชีวิต แต่ในปัจจุบันดูเหมือนว่าแนวทางการประท้วงเปลี่ยนไปในทางสงบมากขึ้นCBC News

การประท้วงในประเทศเกาหลีปัจจุบันถูกเรียกว่า "Candlelight revolution" เนื่องจากประชาชนออกมาประท้วงด้วยความสงบและจุดเพียงเทียนไขเพื่อแสดงตัวเท่านั้นค่ะ นอกจากนั้นจากคำบอกเล่าของเจ้าหน้าที่ตำรวจและผู้ประท้วง ต่างกล่าวตรงกันว่า ระหว่างการประท้วงไม่มีความขัดแย้งเกิดขึ้นระหว่างทั้งสองฝ่าย

หนึ่งในผู้ประท้วงกล่าวว่า "กาประท้วงเกิดจากความโกรธที่มีต่อปาร์ค กึนฮเย ซึ่งมันไม่เกี่ยวข้องกับเจ้าหน้าที่ที่มาเพื่อปฏิบัติหน้าที่ของตัวเองเท่านั้น"


เกาหลีใต้เป็นอีกหนึ่งประเทศที่มีการประท้วงอยู่บ่อย ตามประวัติศาสตร์เคยมีการประท้วงที่ใช้ความรุนแรงกับกลุ่มนักศึกษาจนเกิดการเสียชีวิต แต่ในปัจจุบันดูเหมือนว่าแนวทางการประท้วงเปลี่ยนไปในทางสงบมากขึ้นAPNews

อีกหนึ่งความเสียงจากผู้ประท้วงอายุ 34 ปีกล่าวว่า "ฉันรู้สึกว่าระหว่างเรา (เจ้าหน้าที่กับผู้ประท้วง) เหมือนมีข้อตกลงที่ไม่จำเป็นต้องพูดออมา พวกเรารู้ว่าเจ้าหน้าที่มาเพื่อปฎิบัติหน้าที่ และเจ้าหน้าที่ก็เชื่อใจพวกเราว่า เราจะไม่ใช้ความรุนแรงเช่นกัน และฉันก็รู้สึกเสียใจกับพวกเขาด้วย"


ด้านเจ้าหน้าที่ตำรวจที่ออกปฏิบัติงาน

เกาหลีใต้เป็นอีกหนึ่งประเทศที่มีการประท้วงอยู่บ่อย ตามประวัติศาสตร์เคยมีการประท้วงที่ใช้ความรุนแรงกับกลุ่มนักศึกษาจนเกิดการเสียชีวิต แต่ในปัจจุบันดูเหมือนว่าแนวทางการประท้วงเปลี่ยนไปในทางสงบมากขึ้นBBC News

เจ้าหน้าที่เชว ผู้ออกปฏิบัติหน้าที่รักษาความปลอดภัยในการประท้วงกล่าวว่า เขาไม่เคยลืมการออกปฏิบัติในการประท้วงครั้งแรกของเขาในปี 2015 ซึ่งเป็นการประท้วงของกลุ่มเกษตรกร เขาเล่าว่า สถาการณ์ตอนนั้นกดดันมากและผู้ชุมนุมเริ่มใช้ความรุนแรงโดยการขว้างก้อนอิฐและฉีดสเปรย์จากถังดับเพลิงใส่เจ้าหน้าที่ค่ะ

มีเจ้าหน้าที่บางส่วนได้รับบาดเจ็บ เจ้าหน้าที่จึงตัดสินใจฉีดน้ำใส่กลุ่มผู้ประท้วง และจากเหตุการณ์นั้นทำให้มีผู้ประท้วงเสียชีวิต จนเจ้าหน้าที่ถูกตราหน้าว่าใช้ความรุนแรงกับประชาชนเกินเหตุค่ะ

เขายังกล่าวทิ้งท้ายอีกว่า เหตุการณ์ครั้งนั้นไม่ใช่เรื่องปกติของเจ้าหน้าที่ เพราะเจ้าหน้าที่ทุกนายถูกฝึกฝนว่าไม่ให้ใช้ความรุนแรงกับประชาชน พวกเขาไม่พกอาวุธปืน,กระบองเหล็ก หรือแม้แต่สเปรย์พริกไทย โดยปกติเจ้าหน้าที่จะพกแต่โล่พลาสติกเท่านั้นค่ะ


เกาหลีใต้เป็นอีกหนึ่งประเทศที่มีการประท้วงอยู่บ่อย ตามประวัติศาสตร์เคยมีการประท้วงที่ใช้ความรุนแรงกับกลุ่มนักศึกษาจนเกิดการเสียชีวิต แต่ในปัจจุบันดูเหมือนว่าแนวทางการประท้วงเปลี่ยนไปในทางสงบมากขึ้นมิน กับรยอง อธิบดีกรมตำรวจแห่งชาติเกาหลีใต้ โค้งคำนับขอโทษเบ อึนซิม แม่ของลี ฮันยอล นักศึกษาผู้เสียชีวิตจากเหตุการประท้วงปี 1987

ล่าสุดเมื่อวันที่ 10 มิถุนายนที่ผ่านมาเนื่องในวันครบรอบ 33 ปีการประท้วงเพื่อเรียกร้องประชาธิปไตย ทางกรมตำรวจแห่งชาติเกาหลีได้ได้ออกนโยบาย "Human rights code of conduct" ซึ่งเป็นแนวทางปฏิบัติงานที่คำนึงถึงสิทธิของประชาชนเป็นอันดับแรก โดยเจ้าหน้าที่สามารถปฏิเสธคำสั่งที่รู้สึกว่าเป็นการใช้ความรุนแรงกับประชาชนได้ค่ะ


กรมตำรวจแห่งชาติเกาหลีใต้กล่าวว่า "ความปลอดภัยจะไม่คงอยู่ถาวร ถ้าไม่ได้รับการสนับสนุนด้านสิทธิมนุษยชน และเราจะทำให้มั่นใจว่า Human rights code ไม่ใช่เพียงแค่การประกาศ แต่จะเป็นแนวทางการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ทุกคน"


ภายใต้ระบบประชาธิปไตย ประชาชนทุกคนมีสิทธิในการแสดงความคิดเห็นและมีสิทธิตรวจสอบการทำงานของรัฐบาล หากการแสดงออกทางความคิดเป็นไปในทางสงบ ทีมงาน Creatrip ขอเป็นอีกเสียงสนับสนุนการประท้วงอย่างสันติค่ะ

🤞🏻 ติดตามพวกเรา Creatrip บน Youtube

✨Creatrip อินสตาแกรม

instagram.com/creatrip.thailand

🎈ช้อปปิ้ง|สั่งซื้อสินค้าเกาหลี

โพสต์ที่น่าสนใจ

อัพเดตคดีเบิร์นนิ่งซัน