logo
logo

ซาทูริ : ภาษาถิ่นของประเทศเกาหลี

พบกับ "ซาทูริ" หรือภาษาถิ่นของประเทศเกาหลี ความแตกต่างที่เกิดขึ้นในพื้นที่ต่างๆของเกาหลี นอกจากคำศัพท์แล้วยังมีสำเนียงที่ต่างกันด้วย!

Namdong Park.
4 years ago

พบกับ "ซาทูรี" หรือภาษาถิ่นของประเทศเกาหลี ความแตกต่างที่เกิดขึ้นในพื้นที่ต่างๆของเกาหลี นอกจากคำศัพท์แล้วยังมีสำเนียงที่ต่างกันด้วย!

สวัสดีค่ะ พวกเรา Creatrip ศูนย์รวบรวมข้อมูลการท่องเที่ยวเกาหลีที่อัพเดทโดยคนเกาหลีในทุกๆวัน


#วัฒนธรรมเกาหลี #ภาษาถิ่น

#ภาษาเกาหลี #ซาทูริ


เวลาที่ดูซีรีส์เกาหลี ทุกคนเคยได้ยินการพูดภาษาหรือสำเนียงที่ฟังแล้วไม่เหมือนภาษาเกาหลีปกติบ้างมั้ยคะ นั้นเรียกว่า "ซาทูริ" ค่ะ ในซีรีส์เรื่อง "Reply" มีตอนที่นำเสนอเกี่ยวกับซาทูริของพื้นที่ต่างๆในประเทศเกาหลี ดูแล้วทั้งขำทั้งสนุกมากค่ะ

วันนี้เราจะนำเสนอความรู้เล็กน้อยเกี่ยวกับภาษาถิ่นของประเทศเกาหลีค่ะ ถ้าทุกคนเข้าใจพื้นฐานของ "ซาทูริ" จะช่วยให้ทุกคนเข้าใจความหมายและวิธีการพูดภาษาถิ่นของคนเกาหลีมากขึ้นค่ะ


🤞🏻Subscribe พวกเรา Creatrip บน Youtube 

Creatrip Instagram
instagram.com/creatrip.thailand

🎈ช้อปปิ้ง|สั่งซื้อสินค้าเกาหลี



การแนะนำเบื้องต้น


พบกับ "ซาทูรี" หรือภาษาถิ่นของประเทศเกาหลี ความแตกต่างที่เกิดขึ้นในพื้นที่ต่างๆของเกาหลี นอกจากคำศัพท์แล้วยังมีสำเนียงที่ต่างกันด้วย!

อย่างที่ทุกคนรู้กันดีว่าประเทศเกาหลีใต้เดิมทีเป็นประเทศเดียวกับเกาหลีเหนือ โดยแต่ล่ะพื้นที่จะแบ่งออกจากกันตามเส้นทางธรรมชาติ ซึ่งมีทั้งภูเขาและแม่น้ำค่ะ

แนวกั้นทางธรรมชาติที่ใหญ่ที่สุดก็คือภูเขาแทแบก (Taebaek Mountains ) ซึ่งเป็นแนวกั้นระหว่างกึ่งกลางทางทิศตะวันออก ซึ่งอยู่ในพื้นที่ของจังหวัดคยองซัง ซึ่งในอดีตเป็นพื้นที่ของอณาจักรชินลาค่ะ ทางทิศตะวันตกนั้นมีภูเขาแพกเจ ซึ่งเป็นเขตจังหวัดชอลลาในปัจจุบัน พื้นที่ของจังหวัดคังวอนโดและพื้นที่ของประเทศเกาหลีเหนือทั้งหมดเคยเป็นอณาจักรของโกคูรยอค่ะ

หลังจากมีการรวมประเทศในสมัยชินลา แต่ล่ะพื้นทียังคงหลงเหลือเอกลักษณ์โดยเฉพาะภาษาค่ะ ซึ่งคำศัพท์ของแต่ล่ะพื้นที่ถูกแชร์และใช้ผสมกันจนเป็นคำศัพท์ในปัจจุบัน แต่ยังคงหลงเหลือสำเนียงของแต่ล่ะพื้นที่ ซึ่งทำให้ภาษาเกาหลีมีเสน่ห์มากขึ้นค่ะ

ต่อไปเราไปดูกันดีกว่าว่าแต่ล่ะพื้นที่จะมีสำเนียงที่แตกต่างกันอย่างไรค่ะ


พื้นที่จังหวัดจอลลา (Jeolla-do)


พบกับ "ซาทูรี" หรือภาษาถิ่นของประเทศเกาหลี ความแตกต่างที่เกิดขึ้นในพื้นที่ต่างๆของเกาหลี นอกจากคำศัพท์แล้วยังมีสำเนียงที่ต่างกันด้วย!Jeonju hanok village

สำเนียงของจังหวัดชอลลาเป็นที่รู้จักกันดีว่า เป็นสำเนียงของทางตะวันตกเฉียงใต้ของเกาหลีค่ะ เป็นอีกหนึ่งสำเนียงที่มีคนใช้มากที่สุดในเกาหลี ใช้กันในจังหวัดชอลลาเหนือ,ชอลลาใต้และจังหวัดกวางจูค่ะ

ลักษณะพิเศษ


1. การพูดลงท้าย

สำเนียงของพื้นที่ชอลลา จะฟังดูนุ่มนวลกว่าสำเนียงในพื้นที่อื่นๆ เนื่องจากพูดลงท้ายที่เป็นเอกลักษณ์ค่ะ เวลาพูดมักจะลงท้ายด้วยคำว่า "อิ๊ง"잉 (ing), "รังเก" 랑께 (rang-gae), หรือ "ดังเก" 당께 (dang-gae)  ในหลายๆประโยคค่ะ โดยเฉพาะคำว่า "อิ๊งและเอ๊ง" ถือเป็นซิกเนอร์เจอร์ของสำเนียงชอลลาเลยค่ะ

ในสำเนียงของชอลลาสามารถลงท้ายด้วย "อิ๊ง" แทบทุกประโยค อย่างเช่นถ้าอยากจะพูดว่า  ~했다(แฮดตะ) แปลว่า ทำไปแล้ว เพียงแค่เติมคำว่า "อิ๊ง" ลงท้ายจะพูดว่า ~했다잉 (แฮดตะอิ๊ง) ซึ่งความหมายก็ยังเหมือนเดิมแต่จะฟังแล้วเป็นสำเนียงของชอลลาค่ะ

"รังเก"랑께 (rang-gae), กับ "ดังเก" 당께 (dang-gae)  เป็นคำที่ใช้แทนคำว่า ~니까 (นิก้า เป็นการบอกถึงเหตุและผล) เช่นคำว่า 다니까 (ทานิก้า) จะพูดว่า 당께(ทังเก), และ 라니까(รานิก้า) พูดว่า랑께(รังนิก้า) เช่นหากจะพูดว่า 맞다니까 แปลว่าถูกต้องหรือเป็นเรื่องจริง จะพูดว่า 맞당께 (มัดดังเก) แต่ถ้าพูดว่ามันไม่จริง 아니랑께 (อานิรังเก) แทนที่จะพูดว่า 아니라니까.

2. การอุทาน

มีคำสำหรับการอุทานหลายคำในสำเนียงของชอลลา สามารถใช้เติมข้างหน้าประโยคจะยิ่งฟังแล้วเหมือนสำเนียงของชอลลาค่ะ

มีคำว่า 아따 (อาตา), 오메 (โอเม), 겁나게 (ก๊อบนาเก), 허벌나게 (ฮอบอลนาเก) และอีกหลายๆคำที่สามารถใช้ในการอุทานค่ะ

แต่ถ้าอยากรวมคำอุทานเข้ากับสำเนียงการลงท้ายของชอลลาจะยิ่งฟังแล้วเหมือนคนในพื้นที่มากขึ้น ยกตัวอย่างเช่น 아따 아니랑께  (อาตา อานิรังเก) แปลว่า "มันไม่เป็นความจริงเลย" หรือสามาสารถใช้คำว่า 아따 กับ오메 สลับกันได้ค่ะ
 

 3. 거시기 (กอชิกี)

คำว่า 거시기 (กอชิกี) เป็นคำที่ถูกใช้มากที่สุดของของในพื้นที่ชอลลา ซึ่งใช้เรียกสิ่งที่เราจำชื่อไม่ได้หรือไม่รู้จักค่ะ เป็นคำที่คนชอลลารู้กันกันดี แค่พูดขึ้นมาก็สามารถเข้าใจกันได้อย่างอัตโนมัติ มันน่าทึ่งมากที่คนชอลลาแค่พูดว่า 거시기 ก็สามารถสื่อความหมายกันได้

ถ้าลองพูดคำว่า 거시기 สำหรับเรียกสิ่งที่จำชื่อไม่ได้กับคนชอลลา รับรองว่าพวกเขาต้องประทับใจแน่นอนค่ะ

ศิลปินคนดังที่ใช้สำเนียงจอลลา


1. ยูโน 

พบกับ "ซาทูรี" หรือภาษาถิ่นของประเทศเกาหลี ความแตกต่างที่เกิดขึ้นในพื้นที่ต่างๆของเกาหลี นอกจากคำศัพท์แล้วยังมีสำเนียงที่ต่างกันด้วย!

ยูโน มาจากจังหวัดกวางจู ดังนั้นเขาจึงพูดสำเนียงชอลลาได้ สามารถฟังยูโนพูดสำเนียงจอลลาได้จากในคลิปค่ะ


2. โดฮี

พบกับ "ซาทูรี" หรือภาษาถิ่นของประเทศเกาหลี ความแตกต่างที่เกิดขึ้นในพื้นที่ต่างๆของเกาหลี นอกจากคำศัพท์แล้วยังมีสำเนียงที่ต่างกันด้วย!

โดฮีมาจากยอลซู ในเขตจังหวัดจอลลาเหนือ ในซีรีส์เรื่อง  Reply 1994 โดฮีก็ได้พูดสำเนียงจอลลาด้วยค่ะ




พื้นที่คยองซัง (Gyeongsang-do)


พบกับ "ซาทูรี" หรือภาษาถิ่นของประเทศเกาหลี ความแตกต่างที่เกิดขึ้นในพื้นที่ต่างๆของเกาหลี นอกจากคำศัพท์แล้วยังมีสำเนียงที่ต่างกันด้วย!Gyeongju Cheomseongdae

สำเนียงของพื้นที่คยองซู เป็นอีกหนึ่งสำเนียงที่พบได้บ่อยๆ อาจจะฟังดูแข็งๆในตอนแรกแต่ก็เต็มไปด้วยความรู้สึกเด็ดเดี่ยว คนในพื้นรวมถึงชาวต่างชาตินิยมใช้สำเนียงนี้ค่ะ


ลักษณะพิเศษ


1. สำเนียง

พบกับ "ซาทูรี" หรือภาษาถิ่นของประเทศเกาหลี ความแตกต่างที่เกิดขึ้นในพื้นที่ต่างๆของเกาหลี นอกจากคำศัพท์แล้วยังมีสำเนียงที่ต่างกันด้วย!


ในภาษาอังกฤษจะไม่มีเสียงสูงต่ำ และแม้ว่าจะพูดด้วยโทนเสียงเดียวก็สามารถสื่อสารกันได้


แต่ว่าสำเนียงของพื้นที่คยองซัง มีการออกเสียงที่เป็นเอกลักษณ์ หลายคนที่พูดสำเนียงคยองซูได้มักจะลืมการพูดสำเนียงคยองซูหลังจากที่ได้ใช้ชีวิตในโซลหนึ่งปี ดังนั้นคนดังที่มาจากคยองซังหลายคนจึงลืมการพูดสำเนียงนี้ และเหลือคนที่พูดได้น้อยค่ะ

ยกตัวอย่างเช่น 가가 가가?,แปลว่า "ใช่เขาหรอ?" ต้องออกเสียงว่า กา↗ กา↘ กา↗ กา↗ ต้องออกเสียงให้ถูกต้องเท่านั้นถึงจะมีความหมายถูกต้อง เพราะถ้าพูดสำเนียงผิดความหมายของประโยคก็จะเปลี่ยนค่ะ


2. ประโยคการซักถาม

ถ้าหากต้องการใช้ประโยคคำถามในสำเนียงคยองซัง


ใช่ / ไม่ใช่
คำอธิบาย
คำนาม
가 (คา)
고 (โก)
คำกริยา
나 (นา)
노 (โน)


1) หากต้องการถามคำถามเกี่ยวสิ่งของที่ต้องการคำตอบว่า ใช่หรือไม่ใช่ จะต้องเติมคำว่า가 ท้ายคำถาม 이게 그것이가? (อิกอ คือก๊อดชิกา?) แปลว่า "อันนี้ใช่มั้ย" 

2) หากต้องการอธิบายเกี่ยวกับสิ่งของ ต้องเติมคำว่า 고 เช่น 왜 그것이고? (เว คือก๊อดซิโก?) แปลว่า "ทำไมถึงเป็นอันนี้?".

3) หากต้องการถามคำถามเกี่ยวกับใช่หรือไม่ เกี่ยวกับสถานการณ์ต่างๆ ต้องเติมคำว่า나 เช่น 오늘 머 하나? (โอนึล มอฮานา ?) แปลว่า "วันนี้จะทำอะไรหรอ?". 

4) หากต้องการอธิบายเกี่ยวสถานการณ์ ต้องเติมคำว่า เช่น 오늘 머하노? (โอนึล มอฮาโน?) แปลว่า "วันนี้เป็นยังไงบ้าง?". 


3. 맞나 (มัชนา)

คำว่า 맞나(มัชนา) เป็นอีกหนึ่งคำที่ถูกใช้บ่อยที่สุดในพื้นที่คยองซัง แปลว่า "มันเป็นแบบนั้นหรอ?" ในสำเนียงโซล แต่ในพื้นที่คยองซัง คือการตอบรับเวลาที่เรารับฟังคู่สนทนาพูดอยู่คล้ายๆกับการอือออไปกับคนพูด

เวลาที่กำลังเพื่อนพูดแล้วตอบรับด้วยคำว่า 아, 맞나 (อา มัชนา) เป็นการแสดงออกว่าเรากำลังตั้งใจฟังที่เขาพูดอยู่ค่ะ 


ศิลปินคนดังที่พูดสำเนียงคยองซัง


1. ชอง อึนจี

พบกับ "ซาทูรี" หรือภาษาถิ่นของประเทศเกาหลี ความแตกต่างที่เกิดขึ้นในพื้นที่ต่างๆของเกาหลี นอกจากคำศัพท์แล้วยังมีสำเนียงที่ต่างกันด้วย!
อึนจีเกิดที่ปูซาน เธอสามารถพูดสำเนียงคยองซัง สามารถฟังได้จากซีรีส์ Reply 1997 ค่ะ


2. Simon Dominic

พบกับ "ซาทูรี" หรือภาษาถิ่นของประเทศเกาหลี ความแตกต่างที่เกิดขึ้นในพื้นที่ต่างๆของเกาหลี นอกจากคำศัพท์แล้วยังมีสำเนียงที่ต่างกันด้วย!

Simon Dominic เกิดที่ปูซานเช่นกัน เขาเคยโชว์การพูดสำเนียงคยองซังในรายการหลายครั้งค่ะ



พื้นที่คังวอน (Gangwon-do)


พบกับ "ซาทูรี" หรือภาษาถิ่นของประเทศเกาหลี ความแตกต่างที่เกิดขึ้นในพื้นที่ต่างๆของเกาหลี นอกจากคำศัพท์แล้วยังมีสำเนียงที่ต่างกันด้วย!

Sokcho

ถึงแม้ว่าจังหวัดคังวอนโด จะอยู่ใกล้โซลและมีระบบขนส่งที่สะดวกระหว่างเขตพื้น สามารถเดินทางไปเที่ยวคังวอนโดได้ในหนึ่งวัน และวัยรุ่นทั่วไปก็สามารถพูดสำเนียงโซลได้โดยไม่มีสำเนียงของภาษาถิ่นเลย แต่ความจริงแล้วในพื้นที่คังวอนโดก็มีสำเนียงภาษาที่น่าสนใจค่ะ

ลักษณะพิเศษ


1. การพูดลงท้าย

หลายคนเข้าใจผิดว่าคนพื้นคังวอนโดจะลงท้ายประโยคด้วยคำว่า 드래요 (ดือเรโย) แต่ความจริงแล้วพวกเขาใช้คำว่า 래요 (แรโย) แทนคำว่า드래요 โดยทั่วไปในภาษาเกาหลีมักจะลงท้ายด้วยคำว่า 래요 ในการส่งต่อประโยคของคนอื่นแต่ในคังวอนโดจะเป็นการพูดถึงคำพูดของตัวเองค่ะ 

เมื่อต้องการถามเส้นทางจะใช้ประโยคว่า 거기 어디에요? (คอกี ออดิเอโย?), แต่ที่คังวอนโดจะใช้ประโยคคำถามว่า 거 어디래요? (คอ ออดิเรโย?) โดยทั่วไปคำตอบจะเป็น 여기 강릉이에요 (ยอกี คังรึงอีเอโย) แต่ที่คังวอนโดจะเป็น 여 강릉이래요 ค่ะ

 

2. 마카 (มาก้า)

คำว่า 마카 (มาก้า) คือคำว่า 모두 (โมดู: ทั้งหมด) และ 마세요 (มาเซโย) คือคำว่า맛있어요 (มัชชิดซอโย: อร่อย) หากได้ยินคำพูดพวกนี้ในคังวอนโดจะแปลว่า อาหารอร่อยทุกเมนูค่ะ


ศิลปินคนดังที่พูดสำเนียงคังวอนโด


1. คิม ฮีชอล

พบกับ "ซาทูรี" หรือภาษาถิ่นของประเทศเกาหลี ความแตกต่างที่เกิดขึ้นในพื้นที่ต่างๆของเกาหลี นอกจากคำศัพท์แล้วยังมีสำเนียงที่ต่างกันด้วย!


ฮีชอลเกิดที่เฮวงซอง ในพื้นที่จังหวัดคังวอนโด เขาใช้ชีวิตอยู่ในโซลเป็นเวลานานและไม่มีสำเนียงใดๆ แต่ในช่วงแรกที่เขาเดบิวเขาก็มีการใช้สำเนียงคังวอนโดเล็กน้อยค่ะ



2. คัง ฮเยจอง

พบกับ "ซาทูรี" หรือภาษาถิ่นของประเทศเกาหลี ความแตกต่างที่เกิดขึ้นในพื้นที่ต่างๆของเกาหลี นอกจากคำศัพท์แล้วยังมีสำเนียงที่ต่างกันด้วย!

คัง ฮเยจองไม่ได้เกิดที่จังหวัดคังวอนโด แต่เธอต้องรับบทเป็นผู้หญิงในจังหวัดคังวอนโดในเรื่อง Welcome to Dongmakgol ซึ่งถือเป็นการโปรโมทสำเนียงคังวอนโดค่ะ



พื้นที่ชุงชอง (Chungcheong-do)


Satoori | Learn the features of every Korean dialects!

Taean

พื้นที่ชุงชองมีเขตพื้นที่ใกล้กับโซล และมีสำเนียงภาษาถิ่นของพื้นที่ แต่สำเนียงของชุงชองไม่ได้ฟังดูแตกต่างจากภาษาปกติซักเท่าไหร่ ฟังแล้วรู้สึกว่าเป็นมิตรค่ะ


ลักษณะพิเศษ


1. พูดช้า

ลักษณะการพูดในพื้นที่ชุงชองจะพูดแบบช้าเป็นเอกลักษณ์ ถึงแม้ในปัจจุบันวัยรุ่นจะไม่ได้พูดช้าแบบนั้นแล้วก็ตาม ในอดีตลักษณะการพูดของชุงชองจะเป็นสำเนียงที่ฟังแล้วรู้สึกนุ่มนวล ช้า และผ่อนคลาย ในปัจจุบันคนสูงอายุในพื้นที่ยังคงเอกลักษณ์การพูดแบบนั้นอยู่ค่ะ


2. การพูดลงท้าย

การพูดด้วยสำเนียงชุงชองต้องลงท้ายด้วยคำว่า 여(ยอ), 유(ยู), หรือ 야(ยา) ทุกประโยคค่ะ

ทั่วไปถ้าลงท้ายประโยคด้วยคำว่า 야 (ยา) ในภาษาเกาหลี แต่ที่ชุงชองจะใช้คำว่า 여 แทน เช่นพูดว่า 뭐야? (โมยา) แปลว่า "อะไร?",จะพูดว่า 뭐여? (โมยอ)

หากประโยคที่ลงท้ายด้วยคำว่า 요 (โย),จะเปลี่ยนเป็นคำว่า 유 เช่น 그래요 (คือเรโย) เปลี่ยนเป็น 그래유 (คือเรยู) ในการพูดสำเนียงชุงชองค่ะ

หากประโยคที่ลงท้ายด้วย 애 (เอ) จะถูกเปลี่ยนเป็น 야 เช่น 왜 그랬대? (เว คือเรดเท : ทำไมเขาถึงทำแบบนั้น?), จะต้องพูดว่า 왜 그랬댜 (เว คือเรดทยา) แทนค่ะ


3. 기 (กิ)

คำที่เป็นเอกลักษณ์ของสำเนียงชุงชองก็คือคำว่า 기 (กิ), แปลว่า "ถูกต้อง" สามารถใช้ในรูปแบบของ 기다 (กิดา), 기여 (กิยอ), 기지(กิจิ), และอีกหลายรูปแบบ หากต้องการถามว่าใช่หรือไม่สามารถใช้ประโยคว่า기여 안 기여? (กิยอ อัน กิยอ?). 


ศิลปินคนดังที่พูดสำเนียงชุงชอง


1. คัง ฮานึล

พบกับ "ซาทูรี" หรือภาษาถิ่นของประเทศเกาหลี ความแตกต่างที่เกิดขึ้นในพื้นที่ต่างๆของเกาหลี นอกจากคำศัพท์แล้วยังมีสำเนียงที่ต่างกันด้วย!

คัง ฮานึลเกิดที่ปูซาน แต่ในซีรีส์เรื่อง When the Camellia Blooms  เขาต้องรับบทเป็นจำหน้าที่ตำรวจในพื้นชุงชอง และเขาก็ได้พูดสำเนียงชุงชองในเรื่องค่ะ



2. ปาร์ค โบยัง

พบกับ "ซาทูรี" หรือภาษาถิ่นของประเทศเกาหลี ความแตกต่างที่เกิดขึ้นในพื้นที่ต่างๆของเกาหลี นอกจากคำศัพท์แล้วยังมีสำเนียงที่ต่างกันด้วย!

ปาร์ค โบยังเกิดที่จึงพยอง ในจังหวักชุงชอง และเธอก็ได้รับบทเป็นเด็กที่จังหวัดชุงชองในเรื่อง Hot Young Bloods ค่ะ



เชจู


พบกับ "ซาทูรี" หรือภาษาถิ่นของประเทศเกาหลี ความแตกต่างที่เกิดขึ้นในพื้นที่ต่างๆของเกาหลี นอกจากคำศัพท์แล้วยังมีสำเนียงที่ต่างกันด้วย!

Jeju Island

สำเนียงของเกาะเชจูเป็นที่พูดถึงอย่างมาก มีเอกลักษณ์และเป็นเรื่องยากมากที่คนนอกพื้นจะเข้าใจได้ค่ะ

ลักษณะพิเศษ


1. คำศัพท์

สำเนียงของชอลลาและคยองซัง ถึงแม้จะมีเอกลักษณ์เฉพาะตัว แต่คนทั่วไปสามารถเข้าใจได้เนื่องจากใช้คำศัพท์เหมือนกัน เช่น 아버지 (อาปอจิ: พ่อ) คือคำว่า 아방 (อาบัง), 어머니 (ออมอนิ: แม่) คือคำว่า 어멍 (ออมอง)

2. การพูดลงท้าย

หลายประโยคของสำเนียงเชจูลงท้ายด้วยคำว่า 엔 (เอน) เช่น 나는 간다 (นานึน คันดา: ฉันกำลังไป) จะใช้คำว่า 나는 가멘 (นานึน คาเมน) ในสำเนียงเชจูค่ะ

หากต้องการอธิบายถึงสถานการณ์ที่ทำจะใช้คำว่า 젠 (เจน) เช่น 나 잘래 (นา ชัลเร :ฉันจะนอน) จะเปลี่ยนเป็นคำว่า 나 자젠 (นา ชาเจน)

และยังมีการใช้  켄 (เคน) ซึ่งมีรูปแบบการใช้ที่ซับซ้อนและเป็นคำศัพท์ที่ยากค่ะ


3. ᄒᆞᆫ저 옵서예

ประโยคนี้แปลว่ายินดีต้อนรับ ซึ่งสามารถเห็นได้ที่สนามบินเกาะเชจู ร้านอาหาร และตามสถานที่ต่างๆในเกาะ แต่ในภาษาเกาหลีไม่ได้ใช้อักษร ᄒᆞᆫ ในภาษาเกาหลีทั่วไปแล้วค่ะ

สามารถออกเสียงได้ทั้ง "ฮัน" และ "ฮุน" แล้วแต่รูปประโยคที่ใช้ สามารถเห็นอักษรนี้ได้ในเกาะเชจูค่ะ


ศิลปินคนดังที่พูดสำเนียงเกาะเชจู


1. บู ซึงกวาน

พบกับ "ซาทูรี" หรือภาษาถิ่นของประเทศเกาหลี ความแตกต่างที่เกิดขึ้นในพื้นที่ต่างๆของเกาหลี นอกจากคำศัพท์แล้วยังมีสำเนียงที่ต่างกันด้วย!

ซึงกวานมาจากเกาะเชจู และเขาก็ภูมิใจในสำเนียงเกาะเชจูมากค่ะ เขายังเคยเปลี่ยนเนื้อเพลงของวงเป็นภาษาเชจูในรายการด้วยค่ะ


2. Mina

พบกับ "ซาทูรี" หรือภาษาถิ่นของประเทศเกาหลี ความแตกต่างที่เกิดขึ้นในพื้นที่ต่างๆของเกาหลี นอกจากคำศัพท์แล้วยังมีสำเนียงที่ต่างกันด้วย!

มินะสมาชิกลง Gugudan เป็นอีกหนึ่งไอดอลที่มาจากเกาะเชจูค่ะ



โซล


พบกับ "ซาทูรี" หรือภาษาถิ่นของประเทศเกาหลี ความแตกต่างที่เกิดขึ้นในพื้นที่ต่างๆของเกาหลี นอกจากคำศัพท์แล้วยังมีสำเนียงที่ต่างกันด้วย!

Gyeongbokgung Palace

ประหลาดใจเลยใช่มั้ยคะ ความจริงแล้วโซลก็มีสำนียงเหมือนพื้นที่อื่นๆ และภาษาของโซลก็ไม่ใช่ภาษาเกาหลีมาตราฐานด้วย ในอดีตคนที่อาศัยในพื้นที่โซลมีสำเนียงภาษาที่มีเอกลักษณ์ แต่ปัจจุบันก็มีการเปลี่ยนแปลงไปตามเวลาค่ะ


ลักษณะพิเศษ


1. 루, 구 (รู, กู)

ฟังแล้วเหมือนคนโซลต้องการพูดในสำเนียงดูน่ารัก ความจริงแล้วสามารถเปลี่ยนคำว่า 로 (โร) และ 고 (โก) เป็นคำว่า 루 (รู) และ 구 (กู) ได้ค่ะ

สำหรับประโยคว่า 진짜로 (ชินจาโร: จริงๆ), สามารถพูดได้ว่า 진짜루 (ชินจารู), และประโยคว่า 하라고 (ฮาราโก : ทำซิ), สามารถพูดได้ว่า 하라구 (ฮารากู) ซึ่งไม่แตกต่างจากภาษาเกาหลีทั่วไป แต่ก็น่าทึ่งใช่มั้ยคะที่โซลเองก็มีสำเนียง้องถิ่นเหมือนกัน

2. ~ㄹ려고

หากต้องการพูดถึงเหตุการณ์ในอนาคตจะเติมคำว่า 려고 (รยอโก), แต่ในโซลจะใช้คำว่า ㄹ려고 (อึล รยอโก) เช่นต้องการพูดว่า 사려고 한다 (ซารยอโก ฮันดา: ต้องการที่จะซื้อมัน), สามารถพูดได้ว่า 살려고 한다 (ซัลรยอโก ฮันดา)


 ศิลปินคนดังที่พูดสำเนียงโซล


ศิลปินคนดังแทบทุกคนสามารถพูดสำเนียงโซลได้ และทุกคนก็ใช้สำเนียงโซลในการพูดค่ะ


สำหรับโพสต์นี้ก็เป็นการอธิบายเกี่ยวกับสำเนียงภาษาถิ่นในพื้นที่ต่างๆของประเทศเกาหลีใต้ หากใครมีคำถามเกี่ยวกับเนื้อหาสามารถคอมเมนต์ได้นะคะ หรือใครอยากติดต่อพวกเราสามารถติดต่อพวกเราได้ทีอีเมล์ help@creatrip.com

แล้วเจอกันใหม่ครั้งหน้า สวัสดีค่ะ

🤞🏻Subscribe พวกเรา Creatrip บน Youtube 

Creatrip Instagram
instagram.com/creatrip.thailand

🎈ช้อปปิ้ง|สั่งซื้อสินค้าเกาหลี

โพสต์ที่น่าสนใจ