logo
logo
DEPRECATED_CloseIcon

การแจกใบปลิวเพื่อการประชาสัมพันธ์และให้ข้อมูล หรือเป็นเพื่อต้องการแค่ยั่วยุเท่านั้น

วิเคราะห์เหตุการณ์แจกใบปลิวประเด็นปัญหาระหว่างเกาหลีเหนือและเกาหลีใต้ ปัญหาสงครามเย็นที่ดำเนินมาอย่างยาวนาน

피비 @creatrip
4 years ago
การแจกใบปลิวเพื่อการประชาสัมพันธ์และให้ข้อมูล หรือเป็นเพื่อต้องการแค่ยั่วยุเท่านั้น-thumbnail
การแจกใบปลิวเพื่อการประชาสัมพันธ์และให้ข้อมูล หรือเป็นเพื่อต้องการแค่ยั่วยุเท่านั้น-thumbnail

สวัสดีค่ะ Creatrip ศูนย์รวมข้อมูลการท่องเที่ยวเกาหลีที่อัพเดทโดยคนเกาหลีในทุกๆวัน


#สงครามเย็น #แจกใบปลิว

#เกาหลีเหนือ #ข่าวเกาหลี


แม้ว่าจะเข้าสู่ปี 2020 ที่ทั้งเทคโนโลยีและการสื่อสารก้าวหน้าไปไกล และสามารถติดต่อสื่อสารกับคนที่อยู่คนฝั่งโลกได้ภายในไม่กี่วินาที แต่ดูเหมือนว่าการแจกใบปลิว ยังคงเป็นวิธีการสื่อสารระหว่างเกาหลีเหนือและเกาหลีใต้ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของสงครามเย็นที่มีในอดีตค่ะ

เมื่อช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา การแจกใบปลิวโดยการปล่อยบอลลูนข้ามไปยังฝั่งเกาหลีเหนือ ก่อให้เกิดภาวะกดดันระหว่างทั้งสองประเทศค่ะ


🤞🏻Subscribe พวกเรา Creatrip บน Youtube

Creatrip Instagram
instagram.com/creatrip.thailand

🎈ช้อปปิ้ง|สั่งซื้อสินค้าเกาหลี


การปล่อยบอลลูนใบปลิว

วิเคราะห์เหตุการณ์แจกใบปลิวประเด็นปัญหารัหว่างเกาหลีเหนือและเกาหลีใต้ ปัญหาสงครามเย็นที่ดำเนินมาอย่างยาวนาน
เมื่อช่วงสัปดาห์ที่แล้ว มีเหตุการณ์ที่ผู้ต่อต้านชาวเกาหลีเหนือที่ลี้ภัยอยู่ในประเทศเกาหลีใต้ ปล่อยบอลลูนที่มีใบปลิวและข้อความให้ประชาชนต่อต้านรัฐบาลไปยังฝั่งเกาหลีเหนือ ก่อให้เกิดภาวะกดดันระหว่างทั้งสองประเทศ และล่าสุดฝั่งเกาหลีเหนือได้ระเบิดสำนักงานติดต่อระหว่างประเทศในเขตเมืองแคซอง ประเทศเกาหลีเหนือ และยังแถลงอีกทางเกาหลีเหนือจะทำการตอบโต้ฝั่งเกาหลีใต้รวมถึงการส่งบอลลูนใบปลิวไปฝั่งเกาหลีใต้ด้วยค่ะ

แต่คำถามที่ยังน่าสงสัยก็คือ ทำไมรัฐบาลเกาหลีเหนือถึงฉุนเฉียวกับการปล่อยใบปลิวที่มีเพียงข้อความและรูปภาพ ใบปลิวสามารถปลุกปั่นให้ประชาชนเกาหลีเหนือที่อยู่ในประเทศที่ปิด ลุกขึ้นมาต่อต้านรัฐบาลของคิม จองอึนได้จริงหรือ?


วิเคราะห์เหตุการณ์แจกใบปลิวประเด็นปัญหารัหว่างเกาหลีเหนือและเกาหลีใต้ ปัญหาสงครามเย็นที่ดำเนินมาอย่างยาวนาน


ปาร์ค ซองฮยอก ผู้ต่อต้านชาวเกาหลีเหนือ หัวหน้ากลุ่มผู้เรียกร้องเสรีภาพสำหรับชาวเกาหลีเหนือ และเป็นกลุ่มที่ดำเนินการแจกใบปลิวมานานนับปีกล่าวว่า หากประชาชนเกาหลีเหนือได้อ่านใบปลิวจะทำให้ประชาชนรู้ความจริงเกี่ยวรัฐบาลค่ะ

เขากล่าวว่า “ผู้ต่อต้านชาวเกาหลีเหนือหลายคนและตัวผมเคยอ่านข้อความในใบปลิวตอนที่กลับไปเกาหลีเหนือ มันทำให้ผมตื่นและรับรู้เลยว่าความจริงเป็นอย่างไร ความจริงและสิ่งที่รัฐบาล(เกาหลีเหนือ)บอกเรานั้น ต่างกันอย่างสิ้นเชิง” คำพูดของนายปาร์ค ในการสัมภาษณ์

เนื่องจากประเทศเกาหลีเหนือปิดกั้นการสื่อสารทุกช่องทาง ดังนั้นการแจกใบปลิวโดยการปล่อยลงมาจากอากาศจึงเป็นวิธีการติดต่อสื่อสารที่ได้ผลดีค่ะ


วิเคราะห์เหตุการณ์แจกใบปลิวประเด็นปัญหารัหว่างเกาหลีเหนือและเกาหลีใต้ ปัญหาสงครามเย็นที่ดำเนินมาอย่างยาวนาน


เนื้อหาในใบปลิวอื่นๆอาจจะไม่ทันสมัย ซึ่งนั้นไม่ใช่ประเด็นหลักที่น่ากังวล แต่เป็นเพียงข้ออ้างของเกาหลีเหนือที่จะเพิ่มความได้เปรียบในความสัมพันธ์กับโซลและวอชิงตัน


“ประชาชนเกาหลีเหนือตระหนักถึงสิ่งที่เกิดขึ้นรอบโลก และพวกเขามีการพัฒนามากกว่าที่พวกเราได้รับรู้” คำพูดของคิม ดงยอบ ศาสตราจารย์มหาวิทยาลัย Kyungnam University’s Far East Institute กรุงโซล “ใบปลิวไม่มีอิทธิพลต่อระบบทางการปกครองและประชาชนเกาหลีเหนือ” ฝั่งเกาหลีเหนือแสดงความโกรธต่อผู้ต่อต้านแปรพักตร์ที่ดูถูกต่อผู้นำสูงสุด แต่แรงจูงใจหลักของการเคลื่อนไหวก็คือ เพื่อต้องการข่มขู่เกาหลีใต้และเพื่อการยั่วยุทางการทหาร


ภาวะสงครามที่ดำเนินมาอย่างยาวนาน

วิเคราะห์เหตุการณ์แจกใบปลิวประเด็นปัญหารัหว่างเกาหลีเหนือและเกาหลีใต้ ปัญหาสงครามเย็นที่ดำเนินมาอย่างยาวนาน
ภาวะสงครามระหว่างสองประเทศสิ้นสุดลงและเข้าสู่การสงบสงบศึกตั้งแต่ปี 1953 การแจกใบปลิวกลายเป็นเครื่องมือการทำสงครามประสาทระหว่างทั้งสองประเทศ พร้อมกับการส่งเสียงสัญญาณโฆษณาระหว่างเขตแดนค่ะ

รัฐบาลเกาหลีใต้เคยเป็นผู้นำในการแจกใบปลิวข้ามชายแดน แต่ก็ยุติไปตั้งแต่ต้นปี 2000 ช่วงการบริหารของคิม แดจอง โดยทั้งสองฝั่งพยายามร่วมมือกันในข้อตกลง “Sunshine Policy”ค่ะ

หลังจากนั้นการแจกใบปลิวถูกดำเนินการโดยภาคประชาชนที่ส่วนใหญ่เป็นผู้ต่อต้านชาวเกาหลีเหนือผู้ที่ต่อต้านรัฐบาลเกาหลีเหนือค่ะ


วิเคราะห์เหตุการณ์แจกใบปลิวประเด็นปัญหารัหว่างเกาหลีเหนือและเกาหลีใต้ ปัญหาสงครามเย็นที่ดำเนินมาอย่างยาวนานปาร์ค ซองฮยอก

FFNK (Fighters for Free North Korea) เป็นเพียงไม่กี่องค์กรที่ยังคงดำเนินการแจกใบปลิว แม้ว่าหลายองค์กรได้หยุดการแจกใบปลิวตั้งแต่ปี 2018 ที่ความสัมพันธ์ระหว่างทั้งสองประเทศเริ่มดีขึ้นค่ะ


จากข้อมูลของ Unification Ministry กล่าวว่ามีการปล่อยบอลลูนใบปลิวกว่า 94 ครั้งในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา มีใบปลิวมากกว่า 19 ล้านแผ่น และ FFNK เป็นผู้ดำเนินการมาก 65 ครั้งค่ะ

การปล่อยบอลลูนครั้งล่าสุดเกิดขึ้นเมื่อ 31 พฤษภาคม โดยการปล่อยข้อความประชาสัมพันธ์ 500,000 แผ่น,หนังสือ 50 เล่ม, แบงค์ 1 ดอลลาร์ 2,000 ใบ และ SD การ์ด 2,000 แผ่น ที่เมืองกิมโป จังหวัดคยองกีค่ะ

เนื้อหาในใบปลิวจะมีเปลี่ยนแปลงทุกครั้ง และเนื้อหาล่าสุดเกี่ยวกับผู้นำคิม จองอึนที่ถูกเรียกว่า “คนหลอกลวง” ซึ่งกล่าวว่าทรัพย์สินทั้งหมดได้มาจาก”เลือด หยาดเหงื่อและความลำบาก”ของประชาชนผู้อดอยาก นอกจากนั้นเขายังถูกเรียกว่า “Butcher” (คนล่าสัตว์) และ “ปีศาจ” ผู้ที่ออกคำสั่งฆ่าคิม จองนัม พี่ขายของเขาค่ะ


วิเคราะห์เหตุการณ์แจกใบปลิวประเด็นปัญหารัหว่างเกาหลีเหนือและเกาหลีใต้ ปัญหาสงครามเย็นที่ดำเนินมาอย่างยาวนาน

นอกจากนั้นยังมีใบปลิวพร้อมกับแบงค์ 1 ดอลลาร์ ซึ่งทางองค์กรคาดหวังให้ประชาชนเห็นและหยิบขึ้นมาอ่าน และมีหนังสือกับ SD การ์ดที่มีข้อมูลเกี่ยวกับความเจริญก้าวหน้าของเกาหลีใต้ค่ะ

องค์กรมีแผนที่จะแจกใบปลิวอีก 1 ล้านแผ่นข้ามเขตชายแดนไปยังฝั่งเกาหลีเหนือเพื่อย้ำเตือนถึงวันครบรอบ 70ปี แห่งสงครามเกาหลี ซึ่งเริ่มตั้งแต่ 25 มิถุนายน 1950 ด้วยข้อความว่า “คิม อิลซอง ปู่ของคิม จองอึน ผู้เริ่มก่อสงครามระหว่างสองประเทศที่ฆ่าผู้คนไปถึง 3 ล้านคน”


การส่งบอลลูนที่บรรจุก๊าซฮีเลียม หรือไฮโดรเจน สามารถลอยไปไกลถึง 200 กิโลเมตร และบรรจุน้ำหนักได้ถึง 10 กิโลกรัมค่ะ เมื่อบอลลูนลอยไปไกลจนข้ามเขตชายแดน จะมีอุปกรณ์ที่จะทำให้ถุงบรรจุใบปลิวแตกและใบปลิวจะถูกปล่อยลงสู่พื้นค่ะ โดยล่าสุดทางองค์กร FFNK ได้ใช้ระบบ GPS ในการติดตามตำแหน่งของบอลลูน


ใบปลิว หรือ ขยะ?
วิเคราะห์เหตุการณ์แจกใบปลิวประเด็นปัญหารัหว่างเกาหลีเหนือและเกาหลีใต้ ปัญหาสงครามเย็นที่ดำเนินมาอย่างยาวนาน


บอลลูนที่ถูกส่งออกไป ไม่สามารถข้ามเขตชายแดนไปได้ทั้งหมด บางส่วนได้ตกลงแถวเขตชายแดนเกาหลีใต้ทำให้เกิดปัญหาขยะที่สร้างความเดือดร้อนให้กับผู้อยู่อาศัยค่ะ


ผู้ที่อาศัยบริเวณเขตชายแดนได้ออกมาต่อต้านการปล่อยบอลลูนเนื่องจากก่อให้เกิดปัญหาขยะทั้งใบปลิว และถุงพลาสติกค่ะ


ปัญหาเรื่องสิ่งแวดล้อมและความปลอดภัยเป็นอีกหนึ่งประเด็นที่ทางรัฐบาลเกาหลีใต้พยายามต่อต้านและห้ามการปล่อยบอลลูน แต่ในขณะเดียวกันก็มีการเรียกร้องสิทธิเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นเช่นกันค่ะ “freedom of speech “


ยูล ซังคี ตัวแทนของ Unification Ministry กล่าวว่า “ใบปลิวส่วนใหญ่ถูกพบในเขตชายแดนเกาหลีใต้ และก่อให้เกิดปัญหาขยะและมลพิษ เพิ่มภาระให้กับประชาชนที่อาศัยในแทบนั้น”


วิเคราะห์เหตุการณ์แจกใบปลิวประเด็นปัญหารัหว่างเกาหลีเหนือและเกาหลีใต้ ปัญหาสงครามเย็นที่ดำเนินมาอย่างยาวนาน

นายปาร์ค หัวหน้ากลุ่ม FFNK กล่าวว่าใบปลิว 70-80% ถูกส่งไปยังฝั่งเกาหลีเหนือ และหากใบปลิวบางส่วนที่ตกในฝั่งเกาหลีใต้ ทางองค์กรจะเป็นผู้จัดการเก็บและส่งใบปลิวไปยังฝั่งเกาหลีเหนือในอนาคตค่ะ

Unification Ministry กล่าวเพิ่มเติมอีกว่า การปล่อยบอลลูนใบปลิวก่อให้เกิดปัญหากับผู้อยู่อาศัยในเขตชายแดน และมีประเด็นเรื่องความปลอดภัยอีกด้วย นอกจากนั้นจะก่อให้เกิดสภาวะกดดันทางทหารด้วยค่ะ


เมื่อปี 2014 เกิดการยิงปะทะในเขตชายแดน เนื่องจากทหารเกาหลีเหนือพยายามยิ่งบอลลูนที่ถูกปล่อยจากฝีมือของกลุ่มต่อต้าน


ทำไมเกาหลีเหนือจึงแสดงความฉุนเฉียวในครั้งนี้?

วิเคราะห์เหตุการณ์แจกใบปลิวประเด็นปัญหารัหว่างเกาหลีเหนือและเกาหลีใต้ ปัญหาสงครามเย็นที่ดำเนินมาอย่างยาวนาน


ประเทศเกาหลีเหนือ ค่อนข้างอ่อนไหวเกี่ยวกับประเด็นการต่อต้านคิม จองอึน ผู้ที่ถือว่าเป็นผู้นำสูงสุดของประเทศ

ฝั่งเกาหลีเหนือได้แสดงถึงความไม่พอใจที่เพิ่มมากขึ้น โดยมองว่าการแจกใบปลิวคือการแสดงออกที่เป็นปรปักษ์และเป็นการกระทำที่ไม่สามารถทนได้อีกต่อไป จึงตัดสินใจแสดงออกถึงการเป็นศัตรูกับฝั่งเกาหลีใต้ค่ะ

คำแถลงการณ์จากฝั่งเกาหลีเหนือกล่าวว่า “พวกเขากล้าที่จะดูถูกผู้นำสูงสุดของเรา และกล้าที่จะปลุกปั่นประชาชนของเรา นี่คือสัญญาณบ่งบอกถึงการเป็นปรปักษ์กับประเทศของเรา” และกล่าวเพิ่มเติมว่า “ประเด็นที่เกี่ยวข้องกับผู้นำสูงสุดของเรา จะไม่มีการให้อภัยหรือโอกาสใดๆทั้งนั้น”


วิเคราะห์เหตุการณ์แจกใบปลิวประเด็นปัญหารัหว่างเกาหลีเหนือและเกาหลีใต้ ปัญหาสงครามเย็นที่ดำเนินมาอย่างยาวนาน


ยัง มูจิน ศาสตราจารย์แห่งมหาวิทยาลัย University of North Korean Studies กล่าวว่า “การแจกใบปลิวเพื่อต่อต้านผู้นำสูงสุดของประเทศ ที่ถูกยกย่องให้เป็นเหมือนเจ้าชีวิตและแสงสว่าง ถือเป็นการประกาศถึงสงคราม” และกล่าวอีกว่า “เราต้องมีคำตอบให้กับเกาหลีเหนือ อย่างน้อยรัฐบาลเกาหลีใต้ต้องมีวิธีการจัดการเช่นการออกกฎหมายเพื่อต่อต้านการแจกใบปลิว ไม่อย่างนั้นทางเกาหลีเหนือจะเพิ่มระดับความตึงเครียดต่อไป”


แม้ว่าสถานการณ์เรื่องการแจกใบปลิวยังคงเป็นเรื่องที่น่ากังวล แต่ทางฝั่งเกาหลีใต้ต้องมองให้ลึกลงไปกว่าประเด็นเรื่องใบปลิว และมองหาเจตนาของเกาหลีเหนือ


ศาสตราจารย์คิมกล่าวว่า “ปัญหาหลักคือความไม่พอใจต่อเกาหลีใต้ในการประชุมที่ฮานอย ซึ่งไม่สามารถหาข้อตกลงได้” ในตอนนี้ฝั่งเกาหลีเหนือพยายามหาข้อแก้ตัวในการแสดงออกถึงความไม่พอใจที่เกิดขึ้น และพอดีกับมีการปล่อยใบปลิวทำให้ประเด็นเรื่องใบปลิวกลายเป็นเครื่องมือทางการเมือง


วิเคราะห์เหตุการณ์แจกใบปลิวประเด็นปัญหารัหว่างเกาหลีเหนือและเกาหลีใต้ ปัญหาสงครามเย็นที่ดำเนินมาอย่างยาวนาน


ลี จองชุล ศาสตราจารย์คณะรัฐศาสตร์แห่งมหาวิทยาลัย Soongsil University แสดงความคิดเห็นว่า ความตึงเครียดที่เกิดขึ้นล่าสุดคือการแสดงออกถึงความไม่พอใจเนื่องจากการประชุมระหว่างสหรัฐและเกาหลีเหนือที่เกิดขึ้นที่ฮานอยเมื่อกุมภาพันธ์ ประกอบกับการที่ฝั่งเกาหลีใต้ยังไม่มีการจัดการเรื่องความสัมพันธ์ระหว่างสองประเทศค่ะ


“หากเกาหลีเหนือมีเจตนาจงใจยั่วยุเพื่อต้องการให้เกิดการเจรจาต่อรอง ดังนั้นควรมีการเตรียมการสำหรับขั้นตอนต่อไปหลังจากความตึงเครียดครั้งนี้” และหากเกาหลีใต้ล้มเหลวในการจัดการเรื่องความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ทางเกาหลีเหนืออาจจะเริ่มต้น “Christmas gift “ (เกาหลีเหนือเคยขู่ว่าจะส่งของขวัญคริสต์มาสไปให้สหรัฐ แต่ว่าจะเป็นอะไรนั้นขึ้นอยู่กับการเจรจาตกลง) ที่เคยกล่าวไว้เมื่อปีที่แล้ว ภายในสิ้นปีนี้ค่ะ


🤞🏻Subscribe พวกเรา Creatrip บน Youtube

Creatrip Instagram
instagram.com/creatrip.thailand

🎈ช้อปปิ้ง|สั่งซื้อสินค้าเกาหลี

โพสต์ที่น่าสนใจ