logo
เขต

ชีวิตของเด็กต่างชาติในมหาลัยเกาหลี

เรื่องราวในซีรีย์ที่นางเอกเข้าสู่รั้วมหาลัยใช้ชีวิตอย่างสวยงาม, รุ่นพี่หล่อๆที่คอยดูแล, รุ่นน้องน่ารักที่แอบดูอยู่ห่างๆ มันคือเรื่องจริงหรือไม่?

마타티카
4 years ago

สวัสดีค่ะ Creatrip ศูนย์รวมข้อมูลการท่องเที่ยวเกาหลีที่อัพเดทโดยคนเกาหลีในทุกๆวัน


#วัฒนธรรมเกาหลี #เรียนต่อเกาหลี

#ชีวิตมหาวิทยาลัย #มหาวิทยาลัยเกาหลี


เชื่อว่าหลายๆคน คงมีเป้าหมายหรือความฝันที่อยากเรียนต่อในระดับที่สูงขึ้น การเรียนต่อต่างประเทศถือเป็นอีกหนึ่งตัวเลือกที่น่าสนใจค่ะ จากผลสำรวจเมื่อวันที่ 1 เมษายนปี 2019 พบว่าประเทศเกาหลีใต้มีจำนวนนักเรียนต่างชาติมากถึง 160,165 คน และดูเหมือนว่าจะเพิ่มมากขึ้นในทุกๆปีค่ะ


สำหรับเราการได้รับโอกาสให้มาเรียนต่อที่ประเทศเกาหลีใต้ ถือเป็นโอกาสที่ดีที่จะได้เรียนรู้ประสบการณ์และวัฒนธรรมค่ะ แต่!! ชีวิตการเรียนมหาวิทยาลัยเกาหลีนั้น จะเหมือนกับเรื่องราวในซีรีส์รักวัยรุ่นที่เราเคยดูกันหรือไม่? สำหรับชาวต่างชาติมีเรื่องอะไรที่ถือว่าเป็น culture shocked หรือเปล่า วันนี้เราจะขอแชร์ประสบการณ์ที่เราได้รับมาในช่วงเรียนให้กับทุกคนค่ะ หวังว่าคงมีประโยชน์กับคนที่กำลังจะมาเรียนต่อหรือมีแผนที่จะมาเรียนต่อที่ประเทศเกาหลีใต้นะคะ

  หมายเหตุ : เรื่องราวทั้งหมดเขียนขึ้นจากประสบการณ์และความคิดเห็นส่วนตัว ขอให้ทุกคนเปิดใจกว้างๆสำหรับเรื่องเราเล็กๆของเราด้วยนะคะ


🤞🏻Subscribe พวกเรา Creatrip บน Youtube 

Creatrip Instagram
🎈instagram.com/creatrip.thailand

🎈ช้อปปิ้ง|สั่งซื้อสินค้าเกาหลี


รุ่นพี่ยืนหนึ่ง

เรื่องราวในซีรีย์ที่นางเอกเข้าสู่รั้วมหาลัยใช้ชีวิตอย่างสวยงาม,รุ่นพี่หล่อๆที่คอยดูแล, รุ่นน้องน่ารักที่แอบดูอยู่ห่างๆ มันคือเรื่องจริงหรือไม่?Cheese in the trap

ทุกคนอาจจะเคยได้ยินมาบ้างแล้วว่า ประเทศเกาหลีเป็นประเทศที่ให้ความสําคัญกับอายุและความซีเนียร์มากค่ะ ดังนั้นการที่เราเข้าไปเป็นเด็กใหม่ในห้องเรียน คำถามแรกที่เรามักจะโดนถามเป็นประจำคือ “เกิดปีอะไร” และสิ่งที่น่าเจ็บใจก็คือ ที่เกาหลีจะนับอายุตั้งแต่ตอนอยู่ในท้องว่า 1 ปี ดังนั้นพอเกิดออกมาปุ๊บ!! เด็กเกาหลีจะอายุ 1ขวบแบบอัตโนมัติค่ะ แล้วสิ่งที่เกิดขึ้นกับเราคือเราแก่ขึ้นอีก 1 ปีแบบไม่ทันตั้งตัว  


การพูดกับรุ่นพี่ต้องใช้ภาษาสุภาพ ไม่ถึงขั้นต้องใช้คำเป็นทางการหรอกนะคะ แต่ว่าต้องพูดลงท้ายประโยคด้วย “โยหรือซึมนิดา” ถ้าเทียบกับภาษาไทยก็คือต้องลงท้ายด้วย “ครับ/ค่ะ” ทุกประโยคค่ะ ด้วยความที่เราเป็นคนต่างชาติบางครั้งก็มีลืมบ้าง ช่วงแรกๆก็โดนมองค้อนบ่อยๆค่ะ นอกจากคำพูดแล้วเวลาที่ต้องไปกินข้าวด้วยกันก็ต้องรอให้รุ่นพี่เริ่มกินก่อน ถึงจะกินได้ค่ะ(คือเราหิวมากไง คือรุ่นพี่ก็แอบช้าไง)


ช่วงแรกๆก็เกร็งและกลัวนิดหน่อยค่ะ   แต่พอเริ่มรู้จักกันมากขึ้น ก็จะใช้ภาษาทั่วไปได้มากขึ้น แต่!!! ก็ยังต้องพูดลงท้ายด้วย “โยหรือซึมนิดา” อยู่ค่ะ สำหรับใครที่อยากรู้ว่าเรามีรุ่นพี่หล่อๆเหมือนรุ่นพี่ในละครมั้ย? อืมมมมมตอบยังไงดีล่ะ “เอาเป็นว่า เขาอาจจะหล่อแต่เราตาไม่ถึงมั้งคะ” ฮ่าฮ่าฮ่า  


กลับดึกคือดี!

เรื่องราวในซีรีย์ที่นางเอกเข้าสู่รั้วมหาลัยใช้ชีวิตอย่างสวยงาม,รุ่นพี่หล่อๆที่คอยดูแล, รุ่นน้องน่ารักที่แอบดูอยู่ห่างๆ มันคือเรื่องจริงหรือไม่?Cheese in the trap

ปกติเรามีคลาสเรียนไม่เยอะค่ะ เพราะเราจะยุ่งกับการทำงานวิจัยมากกว่า ส่วนนักเรียนคนอื่นที่มีคลาสเรียนปกติแต่ไม่ต้องทำงานวิจัย หลังจากที่เรียนเสร็จก็กลับบ้านหรือไม่ห้องสมุดก็ได้ค่ะ แต่ในส่วนของเราไม่ว่าจะมีคลาสหรือไม่มี ก็ต้องไปโรงเรียนทุกวันตั้งแต่ 9 โมงเช้าและกลับตอนดึก(ดึกคือประมาณ 3-4 ทุ่มเป็นปกติ บางวันก็เกือบเที่ยงคืน)


ช่วงแรกยอมรับเลยนะคะว่าเราไม่เข้าใจวัฒนธรรมการกลับบ้านดึกแบบนี้ เพราะเราทำงานของเราเสร็จแล้วเราเลยคิดว่าทำไมต้องอยู่ต่อ? เราเห็นเด็กเกาหลีคนอื่นๆก็กลับบ้านเร็วเราก็เลยกลับด้วย แต่สิ่งที่เกิดขึ้นคือ “เราโดนเรียกคุย”ค่ะ รุ่นพี่บอกว่าเราไม่ควรกลับบ้านเร็วเหมือนเด็กเกาหลี เพราะเรายังอ่อนกว่าคนอื่น(เด็กเกาหลี) ดังนั้นเราต้องพยายามและขยันกว่าพวกเขา!!! แถมเขายังถามเราอีกว่า “เรากลับเร็วไปทำอะไร?” ซึ่งขอบอกตรงๆว่าแอบเคืองและไม่เข้าใจค่ะ  


จากการสังเกตและความคิดเห็นส่วนตัวของเราในช่วงเวลาเกือบ 2 ปีที่ผ่านมา เรารู้สึกได้ว่ารุ่นพี่ของเรามองว่า คนที่ขยันคือคนที่อยู่จนดึกและต้องกลับหลังรุ่นพี่ พวกนั้นจะได้รับคำชมมากกว่าค่ะ แต่คนที่กำลังจะมาเรียนต่อที่เกาหลีไม่ต้องกังวลนะคะ เพราะวัฒนธรรมแบบนี้ขึ้นอยู่กับบุคคลและสถานที่ค่ะ ไม่ได้หมายความว่าทุกคนต้องเจอแบบนี้ทั้งหมดค่ะ นอกจากระดับมหาวิทยาลัย เราได้ยินจากรุ่นพี่บอกว่าในบางบริษัทถ้าหัวหน้างานไม่กลับ ลูกน้องก็ไม่สามารถกลับได้ 


วันหยุดเสาร์-อาทิตย์ไม่มีจริง

Cheese in the trap


อีกสิ่งหนึ่งที่เราสังเกตเห็นจากพฤติกรรมของรุ่นพี่และเด็กเกาหลีคนอื่นๆรอบตัวเรา เราเห็นว่าพวกเขาจะไปมหาวิทยาลัยในช่วงวันหยุดด้วยค่ะ ไม่ว่าจะมีงานหรือไม่มีงานแต่การไปมหาวิทยาลัยในวันหยุดคือ เรื่องที่พวกเขาเคยชินและปฏิบัติกันมาแบบนี้


ครั้งหนึ่งเราเคยถามเพื่อนเกาหลีว่า “ทำไมเธอต้องอยู่จนดึก, ทำไมต้องมามหาลัยวันหยุดด้วย?” เพื่อนเราก็หัวเราะเบาๆและตอบว่า บางครั้งที่เขามามหาลัยก็ไม่ได้เพราะเรื่องงาน แต่มันกลายเป็นวัฒนธรรมที่เขาเห็นรุ่นพี่รุ่นก่อนๆทำกันมาจนกลายเป็นสิ่งที่ต้องทำค่ะ และจากการถามความคิดเห็นของเพื่อนหลายๆคน ส่วนมากจะมองว่าเป็นเรื่องธรรมดาของชีวิตเด็กมหาลัยอยู่แล้ว


สำหรับเราการไปมหาวิทยาลัยในช่วงวันหยุดไม่ใช่เรื่องแปลก ถ้าเราต้องทำงานหรือมีงานค้าง แต่การที่ต้องไปเพราะมันเป็นสิ่งที่เขาทำกันต่อๆมา มันค่อนข้างขัดกับความรู้สึกส่วนตัวของเราค่ะ แต่อย่างที่บอกว่าทุกมหาวิทยาลัยไม่ได้มีแนวปฎิบัติแบบเดียวกัน ขึ้นอยู่กับตัวบุคคลมากกว่าค่ะ แต่คนรอบตัวที่เราเจอส่วนใหญ่เลือกมีความเชื่อและปฎิบัติแบบนี้ค่ะ


การดรอปเรียนเป็นเรื่องปกติ

เรื่องราวในซีรีย์ที่นางเอกเข้าสู่รั้วมหาลัยใช้ชีวิตอย่างสวยงาม,รุ่นพี่หล่อๆที่คอยดูแล, รุ่นน้องน่ารักที่แอบดูอยู่ห่างๆ มันคือเรื่องจริงหรือไม่?Cheese in the trap

ที่ประเทศเกาหลีการดรอปเรียนถือเป็นเรื่องค่อนข้างปกติ 4ใน 5 ของเพื่อนเราเลือกที่จะดรอปเรียนในช่วงปี 2-3 จากนั้นก็จะกลับมาเรียนต่อจนจบค่ะ


สาเหตุการดรอปเรียนก็มีหลายสาเหตุ ผู้ชายบางคนก็เลือกที่จะดรอปเรียนเพื่อนไปเข้ารับราชการทหาร แต่สาเหตุที่เราได้ยินบ่อยที่สุดคือ “ต้องการใช้ชีวิตและหาประสบการณ์” เพื่อนเราให้เหตุผลว่าหลังจากจบปี 4 ต้องเริ่มหางานเลย ดังนั้นจะไม่มีเวลาที่จะใช้ชีวิตแบบอิสระค่ะ เพื่อนเราเลือกที่จะดรอปเรียน 1 ปี เพื่อจะเที่ยวแต่เขาไม่ได้ใช้เงินของครอบครัวนะคะ เพื่อนเราทำงานพิเศษแล้วค่อยๆเก็บเงินไปเที่ยว และทำทุกอย่างที่อยากทำค่ะ 


ดังนั้นนักเรียนในแต่ล่ะชั้นปีจะมีคนหลากหลายช่วงอายุมากค่ะ มีทั้งรุ่นพี่และรุ่นน้องเรียนรวมกัน ไม่ได้มีการแบ่งเป็นชั้นปีที่ชัดเจน โดยปกติแล้วอายุเฉลี่ยของนักศึกษาปี 4 ในประเทศไทยประมาณ 21-23 ปี แต่เพื่อนของเราหลายคนจบปี 4 ตอนอายุ 25-27ปีค่ะ 


เพื่อนเกาหลี

cheese in the trap

 

เกริ่นก่อนนะคะว่า เรื่องนี้เป็นความรู้สึกส่วนตัวของเราและเพื่อนๆ ตั้งแต่ที่เราเริ่มเรียนมาคลาสของเราเป็นคลาสที่ต้องเรียนร่วมกับนักเรียนเกาหลีค่ะ เรียนด้วยกันมาเกือบ 2 ปี เราไม่มีเพื่อนเกาหลีจากในคลาสเลยซักคน หรือเราเองจะเป็นคนที่มีปัญหานะ?



เพื่อนเกาหลีในคลาสทุกคนยิ้มแย้มแจ่มใส และทักทายกันตามมารยาทเกือบทุกครั้งค่ะ แต่!! ลึกๆเรารู้สึกว่าเขาไม่อยากทำงานร่วมกับเรา ก่อนที่เราจะมาเรียนที่เกาหลีเราเคยได้ยินจากรุ่นพี่คนไทยที่เคยมาเรียนที่เกาหลีบอกว่า “แกหาเพื่อนเกาหลีไม่ได้หรอก” ซึ่งก็จริงค่ะ เรารู้สึกว่าเขาไม่อยากรับเราเข้ากลุ่ม เพราะเราเป็นต่างชาติดังนั้นการสื่อสารและปัญหาเรื่องภาษาจะเป็นภาระสำหรับพวกเขาค่ะ


น้องที่เรารู้จักก็มีประสบการณ์คล้ายๆกัน เพราะเขาก็ต้องทำงานกลุ่มร่วมกับคนเกาหลี แต่ก็โดนกดคะแนนและรู้สึกได้ว่าโดนเหยียด และนอกจากในคลาสเวลาเราเจอเพื่อนร่วมคลาสคนเกาหลีที่อื่น เราก็พยายามยิ้มและโบกมือทักทายแต่เขาก็ไม่มีปฏิกิริยาตอบโต้เราก็เลยได้แต่ยิ้มแห้งๆ หรือเขาจะมองไม่เห็นเราน้าาาาา   

แต่ไม่ได้หมายความว่าคนเกาหลีทุกคนไม่อยากเป็นเพื่อนกับชาวต่างชาตินะคะ เพราะเราก็โชคดีที่มีเพื่อนเกาหลีที่นิสัยดีและคอยช่วยเหลือเราอยู่ค่ะ 


ต้องพูดแต่ภาษาเกาหลี

เรื่องราวในซีรีย์ที่นางเอกเข้าสู่รั้วมหาลัยใช้ชีวิตอย่างสวยงาม,รุ่นพี่หล่อๆที่คอยดูแล, รุ่นน้องน่ารักที่แอบดูอยู่ห่างๆ มันคือเรื่องจริงหรือไม่?Cheese in the trap

บอกก่อนนะคะว่าก่อนที่เราจะเลือกเรียนสาขานี้ เราเช็คแล้วว่าทางคณะอนุญาตให้ใช้ภาษาอังกฤษและมีการเรียนการสอนบางคลาสเป็นภาษาอังกฤษ แต่!!!ในความจริงนั้นเกาหลีล้วนๆเลยค่ะ สารภาพเลยว่าบางคลาสไม่ค่อยเข้าใจ ใช้วิธีการหัวเราะและพยักหน้าให้ตรงจังหวะเอาค่ะ


บางคลาสอาจารย์ใจดีหน่อยจะอนุญาตให้ทำสไลด์เป็นภาษาอังกฤษแต่ต้องรายงานเป็นภาษาเกาหลี แต่ถ้าคลาสไหนโหดๆก็จะต้องทำทั้งสไลด์และรายงานเป็นภาษาเกาหลีค่ะ แต่มีบางคลาสที่ห้ามใช้ภาษาอังกฤษเลยแม้กระทั่งพูดกับเพื่อน(ต่างชาติ) 


เราคิดว่าเรื่องแผนการเรียนการสอนขึ้นอยู่กับอาจารย์เจ้าของวิชาค่ะ เพราะเพื่อนเราที่เรียนภาคอินเตอร์ก็เรียนเป็นภาษาอังกฤษทั้งหมด ดังนั้นใครที่จะมาเรียนต่อที่เกาหลีต้องเช็คดูรายละเอียดของสาขาวิชาให้ดีนะคะ และสิ่งที่สำคัญอีกอย่างหนึ่งก็คือ ต้องศึกษาวัฒนธรรมและควรเรียนรู้ภาษาเกาหลีขั้นพื้นฐานไว้ดีกว่า เพราะมันจำเป็นมากจริงๆ




เรื่องราวทั้งหมดคือประสบการณ์ที่เกิดขึ้นในช่วงชีวิตมหาวิทยาลัยของเราค่ะ แต่ไม่ได้หมายความว่าเด็กต่างชาติทุกคนที่มาเรียนต่อที่เกาหลีต้องมีประสบการณ์แบบนี้ค่ะ ดังนั้นใครที่กำลังว่งแผนจะมาเรียนต่อที่ประเทศเกาหลี นอกจากการเตรียมความพร้อมเรื่องภาษาแล้วเรื่องวัฒนธรรมและวิถีปฏิบัติก็เป็นเรื่องสำคัญที่ต้องเรียนรู้และปรับตัวค่ะ ใครที่มีประสบการณ์ที่คล้ายๆกันหรือมีประสบการณ์อย่างอื่น สามารถร่วมแชร์ได้ในคอมเมนต์นะคะ

แล้วเจอกันใหม่ครั้งหน้า สวัสดีค่ะ


🤞🏻Subscribe พวกเรา Creatrip บน Youtube 

Creatrip Instagram
🎈instagram.com/creatrip.thailand

🎈ช้อปปิ้ง|สั่งซื้อสินค้าเกาหลี

โพสต์ที่น่าสนใจ
ค่าครองชีพในโซล


ยอดเข้าชมมากที่สุด

ยอดเข้าชมมากที่สุด