logo
logo
DEPRECATED_CloseIcon

จุดเริ่มต้น "กฏหมายมินชิก" การแก้ไขข้อกฎหมายความปลอดภัยเด็ก ในประเทศเกาหลีใต้

แกะประเด็น ข้อสงสัยจากอุบัติเหตุรถชนของเด็ก 9 ปี ผู้ทำให้เกิดการแก้ไขกฎหมายเกี่ยวกับความปลอดภัยเด็ก ผู้ปกครองโกหกหรือไม่?

Jeongyeong Yeo
5 years ago
จุดเริ่มต้น "กฏหมายมินชิก" การแก้ไขข้อกฎหมายความปลอดภัยเด็ก ในประเทศเกาหลีใต้-thumbnail
จุดเริ่มต้น "กฏหมายมินชิก" การแก้ไขข้อกฎหมายความปลอดภัยเด็ก ในประเทศเกาหลีใต้-thumbnail

สวัสดีค่ะ แฟนเพจที่น่ารักทุกคน สบายดีกันนะคะ? พบกับพวกเราเช่นเคย ผู้เชี่ยวชาญแห่งวงการการท่องเที่ยวประเทศเกาหลีใต้ "เที่ยวฉบับคนเกาหลีกับ Creatrip " ค่ะ^^


#ข่าวเกาหลี#กฎหมายแพ่ง #กฎหมายมินชิก
#อุบัติเหตุทางรถยนต์ #การบัญญัติกฎหมายเด็ก


ขึ้นชื่อว่า "อุบัติเหตุ" แล้วสามารถเกิดขึ้นได้ทุกที่ ทุกเวลาค่ะ วันนี้เราจะขอยกเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเมื่อปีที่แล้ว เป็นเหตุการณ์การเสียชีวิตจากอุบัติเหตุทางถนนที่เกิดขึ้นกับเด็กอายุ 9 ปี ซึ่งจากเหตุการณ์ครั้งนั้น ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงข้อกฎหมายเกี่ยวกับความปลอดภัยของเด็กของประเทศเกาหลีใต้ค่ะ ย้อนกลับไปเมื่อตอนช่วงเหตุการณ์นั้น ประชาชนมากมายรวมถึง ดารา ศิลปินทั้งหลาย ได้ออกมาแสดงพลังทางโซเชียล เพื่อสนับสนันให้ผู้ทำผิดได้รับโทษอย่างหนักค่ะ หลังจากเหตุการณ์ครั้งนั้น ทางเกาหลีใต้ได้มีการพิจารณาแก้ไขข้อกฎหมาย จนออกเป็นร่างกฎหมาย มีผลบังคับใช้เมื่อ 25 มีนาคม 2020 ที่ผ่านมาค่ะ แต่ว่าหลังจากที่ข้อกฎหมายใหม่ออกมานั้น กลับมีเสียงวิพากวิจารณ์ในความเห็นที่แตกต่างออกไปค่ะ

จากเหตุการณ์ทั้งหมดที่เราได้กล่าวมานั้น รายละเอียดเรื่องราวจะเป็นอย่างไร ไปค้นหาความจริงกับพวกเรากันได้เลยค่ะ


🤞🏻Subscribe พวกเรา Creatrip บน Youtube

Creatrip Instagram
🎈instagram.com/creatrip.thailand

🎈 แหล่งช้อปปิ้งสินค้าเกาหลี




จุดเริ่มต้นของกฎหมายมินซิก (Minsik's Law)

แกะประเด็น ข้อสงสัยจากอุบัติเหตุรถชนของเด็ก 9 ปี ผู้ทำให้เกิดการแก้ไขกฎหมายเกี่ยวกับความปลอดภัยเด็ก ผู้ปกครองโกหกหรือไม่?

แหล่งข้อมูล:서울경제


ย้อนกลับไปเมื่อ 11 กันยายน 2019 ได้เกิดอุบัติเหตุรถชนขึ้นที่จังหวัดชุงช็อง (Chungnam) จนทำให้มีผู้เสียชีวิตค่ะ จากเหตุการณ์ครั้งนั้นพบว่า ผู้เสียชีวิตคือ "คิม มินชิก" (Kim Minsik )อายุ 9 ปีค่ะ จากการตรวจสอบพบว่า เหตุการณ์เกิดขึ้นขณะที่เด็กชายคิม กำลังเดินข้ามทางม้าลายบริเวณด้านหน้าโรงเรียน จากนั้นได้ถูกรถที่กำลังขับผ่านชนเข้า จนเป็นเหตุทำให้เสียชีวิตในที่สุดค่ะ


จากอุบัติเหตุในครั้งนั้น สร้างความสะเทือนใจให้แก่ประชาชนชาวเกาหลีเป็นอย่างมากค่ะ ทำให้เกิดกระแสสังคม ที่เรียกร้องให้ตระหนักถึงความปลอดภัยของเด็กมากขึ้นค่ะ โดยเรียกว่า "กฎหมายมินชิก" (ตั้งตามชื่อของผู้เสียชีวิตค่ะ) ทำให้ประชาชนมากมาย เข้าร่วมลงชื่อเรียกร้องให้มีการพิจารณากฎหมายเกี่ยวความปลอดภัยของเด็กค่ะ ซึ่งในครั้งนั้นมีประชาชนมากกว่า 400,000 คนร่วมลงชื่อสนับสนุนผ่านทางเว็บไซด์ของทำเนียบช็องวาแดของรัฐบาลค่ะ (ตามภาพด้านล่าง)


แกะประเด็น ข้อสงสัยจากอุบัติเหตุรถชนของเด็ก 9 ปี ผู้ทำให้เกิดการแก้ไขกฎหมายเกี่ยวกับความปลอดภัยเด็ก ผู้ปกครองโกหกหรือไม่?


โดยข้อเรียกร้องนั้น เรียกร้องให้กำหนดพื้นที่ปลอดภัยสำหรับเด็กขึ้นมาค่ะ อย่างเช่น บริเวณโดนรอบของโรงเรียน นอกจากนั้นยังเรียกร้องให้กำหนดและติดตั้งป้ายสัญลักษณ์ เพื่อบ่งบอกบริเวณพื้นที่ปลอดภัยสำหรับเด็กให้มีความชัดเจนค่ะ พร้อมทั้งยังเรียกร้องให้มีการติดตั้งกล้องวงจรเพื่อตรวจสอบความปลอดภัยตลอดเวลาและ และต้องการให้กำหนดบทลงโทษผู้กระทำผิดอย่างสูงสุดค่ะ


โดยข้อเรียกร้องเบื้องต้น กำหนดว่า หากมีเด็กเสียชีวิต ผู้กระทำผิดต้องถูกคุมขังมากกว่า 3 ปีขึ้นไปค่ะ หากเด็กได้รับบาดเจ็บ ผู้กระทำผิดต้องถูกคุมขังเป็นเวลา 1 ถึง 15 ปีและต้องจ่ายค่าปรับเป็นจำนวนเงิน 5ล้านวอน ถึง 30 ล้านวอนค่ะ (140,000 - 800,000 บาท) ซึ่งกฎหมายได้มีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 25 มีนาคม ที่ผ่านมาค่ะ


เบื้องหลังของพ่อแม่เหยื่อและความจริงที่ถูกปิดปัง?

แต่อย่างไรก็ตาม หลังจากอุบัติเหตุที่เกิดขึ้น ก็ได้มีความคิดเห็นจากอีกฝั่งออกมาด้วยเช่นกันค่ะ จากการสอบสวนพบว่า เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นนั้น ถูกบันทึกภาพด้วยกล้องวิดิโอด้านหน้ารถค่ะ ซึ่งแสดงให้เห็นถึงภาพเหตุการณ์อุบัติเหตุทั้งหมด ซึ่งไม่ตรงกับคำบอกเล่าของผู้ปกครองเด็กค่ะ จนทำให้เกิดคำถามขึ้นมาว่า เป็นไปได้หรือไม่ ที่พ่อแม่ของเด็กจะโกหก?


แกะประเด็น ข้อสงสัยจากอุบัติเหตุรถชนของเด็ก 9 ปี ผู้ทำให้เกิดการแก้ไขกฎหมายเกี่ยวกับความปลอดภัยเด็ก ผู้ปกครองโกหกหรือไม่?


จากภาพเหตุการณ์ที่ถูกบันทึกได้จากกล้องหน้ารถ พบว่า ในขณะที่เด็กชายคิมข้ามทางม้าลายนั้น ไม่ได้มองก่อนว่ามีรถกำลังขับมาหรือไม่ และในขณะนั้นเด็กชายคิมได้วิ่งข้ามถนน ประกอบกับบริเวณนั้นเป็นจุดอับสายตา จึงเป็นสาเหตุทำให้เกิดอุบัติเหตุครั้งนี้ขึ้นค่ะ


แกะประเด็น ข้อสงสัยจากอุบัติเหตุรถชนของเด็ก 9 ปี ผู้ทำให้เกิดการแก้ไขกฎหมายเกี่ยวกับความปลอดภัยเด็ก ผู้ปกครองโกหกหรือไม่?


จากการให้สัมภาษณ์ทางรายการของผู้ปกครองเด็กชายคิมได้กล่าวว่า รถได้ขับมาด้วยความเร็ว และไม่ได้เบรคในทันทีที่เกิดอุบัติเหตุขึ้น แต่คนขับได้หยุดรถหลังจากจุดเกิดเหตุไปอีก 3 เมตรค่ะ


แต่ข้อมูลจากฝั่งของคนขับนั้น พบว่าขณะเกิดเหตุ รถขับมาด้วยความเร็วเพียง 23 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ในขณะที่ความเร็วควบคุมนั้นอยู่ที่ 30 กิโลเมตรต่อชั่วโมงค่ะ

จากหลักฐานที่ออกมานั้น ทำให้หลายคนคิดว่า พลังโซเชียลที่ให้การสนับสนุนในครั้งนี้อาจจะถูกควบคุมและกำหนดด้วยความคิดเห็นจากพ่อแม่เด็กชายคิมค่ะ มีหลายเสียงที่แสดงความคิดเห็นว่า พ่อแม่ของเด็กชายคิม เรียกร้องความรับผิดชอบจากคนขับมากเกินไป แทนที่จะสอนให้เด็กชายคิม รู้จักวิธีการและกฎการข้ามถนนที่ถูกต้อง (อาจจะฟังแล้วดูโหดร้ายไปซักหน่อยกับ จิตใจพ่อแม่ที่ต้องสูญเสียลูกนะคะ)



แกะประเด็น ข้อสงสัยจากอุบัติเหตุรถชนของเด็ก 9 ปี ผู้ทำให้เกิดการแก้ไขกฎหมายเกี่ยวกับความปลอดภัยเด็ก ผู้ปกครองโกหกหรือไม่?แหล่งข้อมูล:한국경제


บางกลุ่มเห็นด้วยกับการออกกฎหมายเพื่อความปลอดภัยของเด็ก แต่ในขณะเดียวกันก็เรียกร้องให้ทุกฝ่ายฟังความจากทั้งสองฝั่งค่ะ บางส่วนแสดงความคิดเห็นเรื่องการให้สัมภาษณ์กับสื่อต่างๆของผู้ปกครองเด็กว่า มีการใช้น้ำตาเพื่อเรียกความสงสารและมีข้อเรียกร้องมากมายอีกด้วยค่ะ บางช่วงของการให้สัมภาษณ์นั้น ผู้ปกครองเด็กกล่าวว่า "หากคนขับไม่ขับรถด้วยความเร็วขนาดนั้น ลูกของพวกเค้าอาจจะยังมีชีวิตอยู่" (ซึ่งตามหลักฐานพบว่า ในขณะที่เกิดอุบัติเหตุนั้น คนขับไม่ได้ขับเกินความเร็วควบคุมนะคะ)


บางส่วนแสดงความคิดเห็นว่า ผู้ปกครองของเด็กไม่ได้พูดความจริงเกี่ยวกับเหตุการณ์ทั้งหมด (อาจจะเป็นการวิ่งข้ามถนนโดยไม่ได้มองรถก่อนค่ะ) โดยเลือกที่จะพูดเพียงประเด็นที่ว่า ตนสูญเสียลูกไปเท่านั้นค่ะ




แกะประเด็น ข้อสงสัยจากอุบัติเหตุรถชนของเด็ก 9 ปี ผู้ทำให้เกิดการแก้ไขกฎหมายเกี่ยวกับความปลอดภัยเด็ก ผู้ปกครองโกหกหรือไม่?แหล่งข้อมูล:KBS뉴스


จากประเด็นทั้งหมดที่เล่ามา ทำให้เกิดประเด็นขัดแย้งที่ว่า ผู้ปกครองเด็กมีการกล่าวโทษคนขับว่า ขับรถเร็วจนทำให้เกิดอุบัติเหตุ ทั้งที่ตามหลักฐานแล้วพบว่าไม่เป็นความจริงค่ะ แต่ในขณะนั้น ประชาชนส่วนใหญ่ให้ความสนใจเกี่ยวกับประเด็นการเสียชีวิตของเด็กมากกว่าหลักฐานทางกฎหมายค่ะ (จากประเด็นนี้ อาจทำให้คนขับมีความผิดมากขึ้น เนื่องจากกระแสสังคมค่ะ)


จากเหตุการณ์ดังกล่าว ทำให้หลายคนเกิดคำถามว่า การที่ปล่อยให้เด็กอายุ 9 ปีวิ่งข้ามถนนนั้นโอเคหรือไม่? ผู้กระทำผิดให้รับโทษตามสมควรหรือไม่? จนทำให้หลายคนมองว่าประเทศเกาหลีใต้เป็นประเทศแห่งประชานิยม และถืออารมณ์เป็นใหญ่ หรือไม่?



หลักกฎหมาย

แกะประเด็น ข้อสงสัยจากอุบัติเหตุรถชนของเด็ก 9 ปี ผู้ทำให้เกิดการแก้ไขกฎหมายเกี่ยวกับความปลอดภัยเด็ก ผู้ปกครองโกหกหรือไม่?


ความจริงแล้วกฎหมายเกี่ยวกับความปลอดภัยของเด็ก (กฏหมายมินซิก) นั้นถือว่าเป็นสิ่งที่ดี ช่วยป้องกันเด็กๆจากอันตรายในบริเวณรอบๆโรงเรียนค่ะ แต่ในอีกด้านหนึ่งกลับมองว่า การแก้ไขกฎหมายในครั้งนี้เกิดจากเสียงของประชาชน จนสามารถเรียกได้ว่า "กฎหมายที่เกิดจากความนิยมของประชาชน" ได้หรือไม่ หรือการแก้ไขกฎหมายในครั้งนี้เป็นเพียงการทำตามข้อเรียกร้องของประชาชนส่วนใหญ่ หรือเป็นเครื่องมือของพรรคการเมืองกันแน่??


ในความจริงมีเด็กๆมากมายได้รับการปกป้องและดูแลความปลอดภัยเพิ่มมากขึ้น หลังจากเหตุการณ์อุบัติเหตุครั้งนั้นเกิดขึ้นค่ะ

แต่ในอีกด้านหนึ่ง แสดงความคิดเห็นว่าผู้ปกครองของเด็กควรมีส่วนรับผิดชอบกับเหตุการณ์ครั้งนี้ด้วยค่ะ (อาจจะเป็นการให้ความรู้เด็กๆเกี่ยวกับวิธีการและกฎการข้ามถนนที่ถูกต้องค่ะ) บางส่วนให้ความคิดเห็นว่า ผู้ปกครองของเด็กไม่ควรใช้น้ำตาเรียกความสงสารเพื่อให้คนขับได้รับโทษหนักทั้งที่ไม่สมควรค่ะ (ทุกคนอย่าลืมประเด็นเรื่องที่ว่าคนขับไม่ได้ขับรถเกินความเร็วควบคุมนะคะ) และกฎหมายที่ออกมานั้น เป็นกฎหมายที่ดีจริงหรือไม่? หรือเป็นเพียงกฎหมายที่ออกมาเพื่อตอบสนองความต้องการของประชาชนเท่านั้น?


เป็นอย่างไรกันบ้างค่ะ สำหรับข้อมูลในวันนี้ อาจจะหนักไปซักหน่อย แต่ก็ถือว่าเป็นการเรียนรู้จากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นจริงค่ะ ทุกคนอ่านแล้ว มีความคิดเห็นอย่างไรบ้างค่ะ? เห็นด้วยหรือไม่เห็นด้วย ? สามารถคอมเม้นแสดงความคิดเห็นกันได้นะคะ

สำหรับครั้งหน้า พวกเราจะมีข้อมูลอะไรดีๆมาอัพเดทอีกนั้น ห้ามพลาดค่ะ สำหรับวันนี้สวัสดีค่ะ ^^


🤞🏻Subscribe พวกเรา Creatrip บน Youtube

Creatrip Instagram
🎈instagram.com/creatrip.thailand

🎈 แหล่งช้อปปิ้งสินค้าเกาหลี

โพสต์ที่เกี่ยวข้อง
การปล่อยตัวผู้ต้องหาคดี "ซูวอน"
ประเด็นเกี่ยวกับห้องแชท Nth ในเกาหลี
ประเด็นร้อนจนไฟลุกจากช่อง JTBC!《Itaewon Class》ขยี้ความจริง 7 ประการเกี่ยวกับสังคมเกาหลี: การกลั่นแกล้งกัน การเหยียดและอภิสิทธิ์ของชนชั้นสูง ประเด็นทางสังคมของเกาหลีจากซีรีส์《Itaewon Class》