โรคซึมเศร้าของคนเกาหลีและคนในวงการบันเทิง
เป็นเพราะความไม่พึงพอใจ? จำนวนของคนเกาหลีในช่วงอายุ 20 ปีที่มีภาวะซึมเศร้าเพิ่มมากขึ้นถึง 93% และการฆ่าตัวตายของคนในวงการบันเทิงดูเหมือนว่าจะเพิ่มมากขึ้นและไม่มีวันสิ้นสุด
สวัสดีค่ะ Creatrip ศูนย์รวมข้อมูลการท่องเที่ยวเกาหลีที่อัพเดทโดยคนเกาหลีในทุกๆวัน
#วัฒนธรรมเกาหลี #การพูดเสียดสี
#ไซเบอร์บลูลี่ในเกาหลี #การเขียนข้อความ
#การล่าแม่มด #ผู้ชายมีอำนาจเหนือกว่า
#ความไม่พอใจในตัวเอง?
อย่างที่หลายๆคนรู้กันดีกว่า ประเทศเกาหลีใต้เป็นอีกหนึ่งประเทศที่มีความกดดันในสังคมสูง และมีจำนวนผู้ที่เลือกจบชีวิตด้วยการฆ่าตัวตายจำนวนมาก รวมถึงคนในวงการบันเทิงอีกหลายคนด้วยค่ะ จากการหัวข้อการประชุมเรื่องภาวะซึมเศร้าที่ประเทศไต้หวันเมื่อไม่กี่วันที่ผ่านมา ในครั้งนี้เราก็อยากนำเสนอข้อมูลเกี่ยวกับภาวะซึมเศร้าในประเทศเกาหลีใต้รวมถึงข้อมูลอื่นๆที่เกี่ยวข้องกันค่ะ
ภาวะซึมเศร้านั้นไม่ได้เกิดจากการที่บุคคลนั้นมีความไม่พึ่งพอใจในตนเอง แต่ต้องมีสาเหตุที่ทำให้พวกเขาต้องตกอยู่ในภาวะซึมเศร้าค่ะ และวันนี้พวกเราจะพาทุกคนไปค้นหาสาเหตุที่ไม่อาจจะปฏิเสธได้ค่ะ
🤞🏻Subscribe พวกเรา Creatrip บน Youtube
✨Creatrip Instagram
🎈instagram.com/creatrip.thailand
🎈เหตุผลที่ "คิม ฮีชอล" ไม่เคยปฏิเสธข่าวลือเรื่องเกย์
ข่าวการฆ่าตัวตายของคนในวงการบันเทิง
ในปี 2019 ที่ผ่านมาวงการบันเทิงประเทศเกาหลีใต้ต้องสูญเสียคนในวงการจากการฆ่าตัวตายทั้ง จอน มีซอน,ชอลลี่,คู ฮาราและชา อินฮาค่ะ สำหรับคนที่จากไปแล้วนั้น คงเหมือนเป็นการจบความเจ็บปวดที่พวกเขาได้รับทั้งหมด แต่สำหรับคนในครอบครัวและคนที่เหลืออยู่นั้น ยังคงเหลือแต่เพียงความรักที่มีให้พวกเขาและนอกจากนั้นยังมีความโศกเศร้าและความเสียใจที่มากมายด้วยค่ะ
นี่ไม่ใช่เหตุการณ์ครั้งแรกที่มีคนในวงการบันเทิงประเทศเกาหลี มีต้องประสบปัญหาสุขภาพจิต ซึ่งเบื้องหลังอาการป่วยนี้ต้องมีสาเหตุแน่นอนค่ะ ทั้งจากการวิจารณ์แบบแย่ๆจากคนทั่วไป,คอมเมนต์แย่ๆบนโลกอินเตอร์เน็ต,การทุ่มเทให้กับงานอย่างหนัก, ความคาดหวังจากสังคมและรวมไปถึงการที่ต้องแสดงออกถึงความสดใสตลอดเวลาและความกดดันเมื่ออยู่ในที่สาธารณะ(ถึงแม้ว่าจะมีเรื่องเศร้าหรือกดดันแค่ไหน หน้ากล้องก็ต้องยิ้มให้ได้ค่ะ) ซึ่งทั้งหมดนี้มันเป็นอะไรที่คนธรรมดาทั่วไปไม่สามารถจิตนาการออกได้ว่ามันเจ็บปวดและยากลำบากแค่ไหนค่ะ
ปัญหาสุขภาพจิต
ที่ผ่านมาหนุ่ม"คัง แดเนียล"มีประเด็นเกี่ยวกับการฉ้อโกงผลคะแนนจากรายการ Produce 101 ที่เขาชนะเป็นอันดับ 1 นอกจากนั้นเขายังมีประเด็นปัญหาเรื่องสัญญาการทำงานกับค่ายเพลงเก่า ซึ่งปัญหาเหล่านี้ทำให้เขาต้องเผชิญกับภาวะซึมเศร้า จนต้องหยุดพักการแสดงไประยะหนึ่งค่ะ นอกจากนั้นเขายังได้รับคอมเมนต์และการวิจารณ์แย่ๆบนโลกอินเตอร์จากชาวเกาหลีด้วยค่ะ แต่ก็เป็นเรื่องที่น่ายินดีที่ในตอนนี้เขามีอาการดีขึ้นและสามารถกลับมาโปรโมทมินิอัลบั้มได้แล้วค่ะ!!!
ไม่ใช่แค่หนุ่มคัง แดเนียลคนเดียวเท่านั้นแต่นักร้องสาวคิม ฮยอนอาและคิม แทยอนจากวง Girls' Generation ก็ได้ออกมาเปิดเผยอย่างกล้าหาญว่าพวกเธอก็เคยเผชิญกับภาวะซึมเศร้าเหมือนกันค่ะ นอกจากนั้นยังมีดาวอน สมาชิกวง Cosmic girl และมินะ สมาชิกวงTWICE ที่ต้องหยุดพักกิจกรรมชั่วคราวเนื่องจากโรคตื่นตระหนกค่ะ(Panic disorder)
ประเทศเกาหลีใต้มีมาตรฐานที่ค่อนข้างสูงโดยเฉพาะในวงการบันเทิง ที่นักร้องนักแสดงต้องสวยและดูดี แต่ใครจะรู้ว่าเบื้องหลังความสวยงามเหล่านั้นจะมีความเจ็บปวดอะไรที่ซ่อนอยู่
จำนวนของผู้มีภาวะซึมเศร้า โดยจำแนกตามอายุ | ||
กลุ่มช่วงอายุ | ปี 2013 | ปี 2018 |
อายุต่ำว่า 10 ปี | 1,074 | 1,204 |
10-19 ปี | 27,009 | 42,535 (↑57.5%) |
20-29 ปี | 50,948 | 98,434 (↑93.2%) |
30-39 ปี | 73,354 | 93,389 |
40-49 ปี | 92,538 | 105,884 |
50-59 ปี | 125,846 | 129,255 |
60-69 ปี | 107,616 | 133,712 |
70-79 ปี | 103,281 | 121,193 |
อายุ 80 ปีขึ้นไป | 31,533 | 56,431 (↑79%) |
จากข้อมูลพบว่า สาเหตุที่ทำให้เกิดภาวะซึมเศร้าในกลุ่มคนอายุน้อย(19-34 ปี)นั้นคือ 21.1% มาจากค่าครองชีพ, 33% จากค่าเล่าเรียนและ 38% จากบัญชีค่าครองชีพค่ะ ในเรื่องนี้เราจะไม่พูดถึงความแตกต่างระหว่างกลุ่มคนรวยและคนจน, ความยุติธรรมของสังคมและการเปลี่ยนแปลงสถานภาพทางสังคม เพราะถ้าทุกคนรู้ถึงเบื้องหลังของข้อมูลนี้ จะรู้ว่ามีจำนวนคนที่ต้องเผชิญกับภาวะซึมเศร้าอีกมากมายที่ยังไม่ถูกเปิดเผยค่ะ
ทุกอาชีพและทุกช่วงอายุสามารถมีปัญหาสุขภาพจิตเกิดขึ้นได้เนื่องจากความเครียดค่ะ แต่ในกรณีของคนในวงการบันเทิงนั้นต้องรับความกดดันจากคนมากมาย เป็นจำนวนหลักแสนหลักหมื่นที่คอยจับจ้องพวกเขาอยู่ตลอดเวลา ทุกคำพูด,การกระทำและทุกการแสดงออกจะถูกบันทึกเอาไว้และทุกนำเสนอวนไปเรื่อยๆไม่มีวันจบ ทำให้พวกเขาไม่สามารถเป็นตัวของตัวเองได้ค่ะ
คำพูดเสียดสีในสังคมเกาหลี
ในขณะที่ทุกคนตั้งมาตรฐานของเหล่าศิลปินดาราเอาไว้สูงและคาดหวังว่าพวกเขาต้องเพอร์เฟคและดูดีอยู่ตอดเวลา แต่หลังฉากนั้นกลับเต็มไปด้วยคำพูดที่รุนแรงและทำร้ายเหล่าศิลปินบนโลกอินเตอร์เน็ตค่ะ
ดูเหมือนว่าพฤติกรรมการกลั่นแกล้งของคนเกาหลีนั้นจะเริ่มตั้งแต่ที่โรงเรียนและจะเพิ่มระดับความรุนแรงมากขึ้นในที่ทำงานและในกองทัพค่ะ และด้วยเทคโนโลยีที่ทันสมัยในปัจจุบัน การกลั่นแกล้งนั้นไม่ได้มีเพียงการกลั่นแกล้งด้วยคำพูดและทำร้ายร่างกายแบบการเผชิญหน้าเท่านั้น แต่ยังมีการกลั่นแกล้งที่สามารถทำได้ผ่านโลกอินเตอร์เน็ต และสามารถทำได้ทุกที่ทุกเวลาค่ะ
การปลดปล่อยตัวตนและการเยาะเย้ยถากถางจากชาวเน็ตชาวเกาหลีใต้ ก่อนและหลังการเปิดตัวนิยายเรื่อง "Kim Jiyong, Born 1982"(มีภาพยนตร์ด้วยนะคะ) ที่มีเนื้อหาบอกเล่าความเป็นจริงของสังคมเกาหลีที่ถูกวิพากษ์วิจารณ์โดยผู้ชายว่าเป็น "ความคิดสยองขวัญของผู้หญิง" แม้ว่าความจริงจะไม่ถูกเปิดเผย แต่ก็ถูกตัดสินว่าเป็นสิ่งที่ผิดกฎหมาย,ศิลปินจอมปลอมและยังสร้างความคลางแคงใจให้กับสังคม,ความอิจฉาริษยาและความไม่พอใจ....
สำหรับคนทั่วไปแล้วดูเหมือนว่าพวกเขาจะไม่ยอมรับกับสถานการณ์ที่น่าอึดอัดนี้และทำเหมือนว่ามันไม่ใช่เรื่องจริง ภายใต้หน้ากากที่พวกเขาสวมไว้ มันตรงข้ามกับความจริง ที่พวกเขาต้องแสดงความเคารพต่อคนอื่น,เชื่อฟังคำสั่งหัวหน้าหรือการแสดงบทบาทว่าเป็นคนดีในสังคม รวมถึงการทำงานภายใต้แรงกดดันมหาสาร ภายใต้ขอบเขตและแรงกดดันที่มากมายนั้น มันทำให้พวกเขาต้องเผชิญกับปัญหาสุขภาพจิตค่ะ
การวิพากษ์วิจารณ์ที่ไม่มีวันจบบนโลกอินเตอร์เน็ต,อำนาจมืด,ข้อความที่โหดร้าย,การวิจารณ์และการรีโพสต์อย่างไม่จบสิ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งคนที่อยู่อยู่หลังคีบอร์ด ซึ่งสามารถพิมพ์หรือวิจารณ์ใครอย่างไรก็ได้ ซึ่งคำพูดเหล่านั้นก็มีผลกระทบก่อให้เกิดเหตุการณ์ที่ร้ายแรงขึ้นได้ค่ะ
มาตรฐานสูงในสังคมเกาหลี
ถ้าคุณร่ำรวย หรือหน้าตาดีแต่ไม่มีเงิน หรืออย่างน้อยถ้าคุณหน้าตาไม่ดีแต่ก็ต้องฉลาด แต่ถ้าคุณไม่ฉลาดอย่างน้อยคุณต้องมีพื้นฐานครอบครัวที่ดีที่สามารถสนับสนุนคุณได้.....
"การทำแบบเดียวกับที่คนอื่นทำกับเรานั้นย่อมมีผลลัพธ์ที่เหมือนกัน" เป็นความคิดแบบเก่าของคนเกาหลีค่ะ พวกเขายังชินกับการใช้ชีวิตในสภาพแวดล้อมและความกดดันแบบเดิมๆ ซึ่งเราก็ไม่สามารถวิจารณ์ได้ว่ามันเป็นสิ่งที่ถูกหรือผิด แต่เมื่อการที่คนธรรมดาทั่วไปต้องอยู่ในสังคมที่มีมาตรฐานสูงแบบนี้ พวกเขาจึงคิดว่าต้องพูดจาและปฏิบัติต่อคนอื่นในมาตรฐานเดียวกัน(มาตรฐานสูง ถ้าใครที่ทำไม่เหมือนกันก็จะถูกมองว่าแปลกแยก) ซึ่งมันเป็นพฤติกรรมที่วนลูปไปอย่างไม่มีที่สิ้นสุดค่ะ
เหมือนกับว่าที่หน้าผากของพวกเขาต้องมีคำว่า "ต้องเพอร์เฟค" เขียนติดเอาไว้ ทั้งในวงการบันเทิง,การเมือง รวมไปถึงคนธรรมดาทั่วไปที่ยึดคำว่า "ต้องเพอร์เฟค"เอาไว้เป็นเป้าหมายของชีวิตค่ะ
การเปลี่ยนแปลง
การจากไปของชอลลี่ และคู ฮาร่าทำให้ชาวเกาหลีใต้หลายคนหันมาให้ความสนใจกับปัญหาเรื่อง "คอมเมนต์แย่ๆ"บนโลกอินเตอร์เน็ต ซึ่งเป็นสาเหตุทำให้ทั้งคู่เลือกที่จะจบชีวิตตัวเองค่ะ นอกจากนั้นยังมีปัญหาเรื่องภาษาการวิพากษ์วิจารณ์ของสื่อ,คอมเมนต์จากคนที่เกลียดชังผู้หญิงในสังคมเกาหลี,การมีอำนาจเหนือกว่าของผู้ชายและอีกหลายประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการจากไปของทั้งคู่ค่ะ
และนี่ก็เป็นอีกเหตุผลที่นิยายเรื่อง "Kim Jiyoung, Born 1982" ถูกตีพิมพ์ ซึ่งนิยายเรื่องนี้ถือเป็นนิยายที่บ่งบอกรากฐานของสังคมเกาหลีที่มีต่อผู้หญิง ซึ่งนอกจากออกมาเป็นหนังสือแล้วนั้น ก็ยังมีเวอร์ชั่นภาพยนตร์ให้ได้ดูด้วยค่ะ โดยมีนักแสดงนำชายคือ "กงยู" ซึ่งเขาไม่ได้สนใจคำวิพากษ์วิจารณ์ของสังคมเกี่ยวกับเนื้อหา แต่เค้ายืนยันที่จะรับบทนำโดยให้เหตุผลว่า "เขาสามารถรับความกดดันแทนจอง ยูมี(นางเอกของเรื่อง)ได้" ถึงแม้ประโยคที่เขากล่าวนั้นจะไม่เป็นที่พอใจสำหรับคนที่ต่อต้านเรื่อง "Kim Jiyoung, Born 1982" แต่มันก็แสดงได้ถึงปัญหาที่เกิดขึ้นจริงในสังคมเกาหลีค่ะ
การแสดงความคิดเห็นแย่ๆ,คำวิจารณ์ของโลกโซเชียล,การพูดอย่างอิสระ เป็นสามช่องทางหลักที่คนเกาหลีเลือกที่จะใช้ในการแสดงความคิดเห็นของตนในที่สาธารณะ(รวมถึงบนอินเตอร์เน็ต) และเมื่อมีใครซักคนที่เริ่มควบคุมตัวเองไม่ได้ พวกเขาจะเริ่มลืมไปว่าบางครั้งน้ำผึ้งที่แสนหวานก็กลายเป็นมีดที่คมบาดได้เหมือนกัน ซึ่งมันสามารถทำให้ใครคนใดคนหนึ่งทำร้ายอีกคนได้เลยค่ะ
ในตอนนี้การบังคับใช้ชื่อจริงบนโลกอินเตอร์เน็ตของประเทศเกาหลียังไม่มีผลบังคับใช้ แม้ว่าในหลายๆเว็บไซต์จะมีการให้กรอกข้อมูลเพื่อยืนยันตัวตนก็ตาม แต่มันก็เป็นเพียงข้อมูลเบื้องต้นและยากที่จะป้องกันค่ะ นอกจากนั้นต้นสังกัดของหนุ่มคัง แดเนียลยังเรียกร้องให้มีการปิดพื้นที่แสดงความคิดเห็นแย่ๆ และมีการผลักดันให้เกิด "กฏหมายชอลลี่"ด้วยค่ะ โดยบริษัทต่างๆจะทำการตรวจสอบอย่างหนักเพื่อป้องกันศิลปินที่ต้องเผชิญกับคอมเมนต์แย่ๆ และหวังว่าจะสามารถช่วยให้ศิลปินไม่ต้องเผชิญกับปัญหาสุขภาพและหยุดเหตุการณ์เลวร้ายที่อาจจะเกิดขึ้นซ้ำด้วยค่ะ
ถึงแม้ว่าในด้านธุรกิจจะไม่มีการเปลี่ยนแปลง,ผู้คนอาจจะไม่ดีขึ้น แต่เราก็หวังว่าสาเหตุของภาวะซึมเศร้านั้นจะไม่เกิดจากความคิดแย่ๆด้านเดียวของคนแค่บางกลุ่ม ที่ใช้คำพูดรุนแรงและโหดร้ายต่อคนอื่นโดยใช้เหตุผลว่า "ไม่พอใจ ไม่ชอบใจ"มาอ้างอีกต่อไปค่ะ
หวังว่าทุกคนจะเริ่มตระหนักถึงปัญหาเรื่องการแสดงความคิดเห็นแย่ๆและหันกลับมารักตัวเองและสนใจคนที่รักเรามากขึ้นนะคะ ไว้เจอกันใหม่ครั้งหน้า "สวัสดีค่ะ"
🤞🏻Subscribe พวกเรา Creatrip บน Youtube
✨Creatrip Instagram
🎈instagram.com/creatrip.thailand