อัตราการฆ่าตัวตายของคนเกาหลี
การฆ่าตัวตายถือเป็นสาเหตุของการตายอันดับต้นของวัยรุ่นเกาหลี ซึ่งถือว่าเป็นอัตราที่สูงที่สุดในเอเชีย
สวัสดีค่ะทุกคน! พวกเรา Creatrip ศูนย์รวบรวมการท่องเที่ยวเกาหลีที่อัพเดทโดยคนเกาหลีในทุกๆวัน
#ข่าวเกาหลี #อุตสาหกรรมบันเทิง
#วัฒนธรรมเกาหลี #อัตราการฆ่าตัวตาย
#อัตราการฆ่าตัวตายของคนเกาหลี #ความกดดัน
ในเดือนตุลาคมที่ผ่านมาเราได้ยินข่าวที่น่าเศร้าของนักร้องชื่อดังซอลลี่ (ชื่อจริงชเวจินรี) ที่ตัดสินใจจบชีวิตลงภายในบ้านพัก โดยบริษัทต้นสังกัดอย่าง SM Entertainment ได้ออกมาคอนเฟิร์มข่าวอย่างรวดเร็วในเวลาต่อมา ซึ่งนี่ถือว่าเป็นข่าวร้ายที่ทำให้คนเกาหลีและแฟนคลับ K-pop จำนวนมากตกใจและเสียใจกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเป็นอย่างมาก
แม้ว่าคูฮาราจะเคยพยายามฆ่าตัวตายไปแล้ว 1 ครั้งในเดือนพฤษภาคม แต่ได้รับการช่วยเหลือเอาไว้ได้ทันและกลับมาทำการแสดงให้พวกเราได้ดูกันต่อ และหลังจากที่ข่าวซอลลี่ออกมานั้น เธอได้ให้คำมั่นสัญญาว่าจะมีชีวิตอยู่เพื่อเพื่อนรักของเธอ แต่วันที่ 24 พฤศจิกายนที่ผ่านมา กลับมีข่าวที่น่าตกใจและน่าเศร้าออกมาว่าพบคูฮาราเสียชีวิตที่บ้านพักของเธอ
🤞🏻 Subscribe พวกเรา Creatrip บน Youtube
✨Creatrip Instagram
🎈instagram.com/creatrip.thailand
ข่าวช็อก คูฮาราเสียชีวิต
คูฮารา อดีตสมาชิกเกิร์ลกรุ๊ปยอดนิยมอย่าง KARA ผู้ซึ่งเคยมีข่าวกระจายออกมาทางโลกโซเชียลว่าถูกทำร้ายและก่ออาชญากรรมทางเพศโดยอดีตแฟนหนุ่ม เธอเคยพยายามฆ่าตัวตายแต่ได้รับการช่วยเหลือได้ทันเวลา ทำให้ผู้คนจำนวนมากและแฟนคลับต่างโล่งใจและดีใจเป็นอย่างมาก พร้อมกับให้กำลังใจเธอให้เข้มแข็งและกลับมาเป็นเธอคนที่สดใสอีกครั้ง
ในช่วงเวลาดังกล่าว แฟนคลับมีความกังวลเกี่ยวกับสภาพร่างกายและจิตใจของเธอเป็นอย่างมาก โดยช่วงที่ข่าวเศร้าของซอลลี่ออกมานั้น เธอไม่สามารถที่จะเดินทางไปเพื่อเคารพศพของเพื่อนรักได้เนื่องจากติดตารางงาน แต่เธอได้ออกมาไลฟ์แสดงความเสียใจ พร้อมกับให้คำมั่นสัญญากับเพื่อนรักว่าจะมีชีวิตอยู่และใช้ชีวิตที่เหลือเพื่อเธอ
ข่าวการฆ่าตัวตายของซอลลี่
ในช่วงเวลาบ่ายของวันที่ 14 ตุลาคม มีข่าวพบว่าซอลลี่เสียชีวิตภายในบ้านพักของเธอ โดยทางต้นสังกัดก็ออกมาให้การคอนเฟิร์มในช่วงเวลาต่อมา ซึ่งเธอคือหนึ่งในสมาชิกวง f(x) ที่เดบิวต์ในปี 2014 และตัดสินใจออกจากวงในปี 2015 โดยต้นสังกัดให้เหตุผลว่าเธอมีสภาพจิตใจที่อ่อนแอเนื่องจากคอมเมนท์ที่ไม่ดีและข่าวลือผิดๆบนอินเตอร์เนตจำนวนมาก
หลังจากที่ออกจากวงเป็นที่เรียบร้อย เธอก็ห่างหายออกไปจากหน้าจอและได้ทำตามสิ่งที่เธอต้องการ แต่ถึงกระนั้น การคอมเมนท์แย่ๆและข่าวลือเสียๆหายๆที่ไม่เป็นความจริงจากเนติเซ่นเกาหลีก็ยังคงมีปรากฏให้เห็นอยู่เป็นจำนวนมาก ซึ่งเธอก็ได้ออกมาให้สัมภาษณ์ผ่านรายการโทรทัศน์เกี่ยวกับสาเหตุที่เธอไม่สวมชั้นใน เนื่องจากอาจส่งผลที่ไม่ดีและการกดทับ แต่ดูเหมือนว่าไม่มีใครเข้าใจเธอ
ซึ่งนี่ถือว่าเป็นสิ่งที่ทำให้ใครหลายคนรู้สึกแย่และเสียใจกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อเธอตัดสินใจจบชีวิตของเธอลงโดยที่ไม่มีสัญญาณล่วงหน้า เราไม่สามารถที่จะพูดได้ว่าเป็นการกระทำที่ผิดหรือถูก แต่อย่างน้อยเธอก็สามารถที่จะลืมความเจ็บปวดและแรงกดดันที่เกิดขึ้น พร้อมกับมีความสุขในสถานที่ที่งดงามซึ่งเธออยู่ในตอนนี้
อัตราการฆ่าตัวตายของวัยรุ่นเกาหลี
อัตราการฆ่าตัวตายของคนเกาหลีสูงเป็นอันดับต้นๆของโลก เนื่องจากความกดดันทางสังคม, เศรษฐกิจและวัฒนธรรม ทำให้คนในประเทศจำนวนมากเกิดความเครียดและความกดดัน
และปัญหาที่เกิดขึ้นนี้เป็นสิ่งที่ยากจะเปลี่ยนแปลง หลายคนจึงไม่สามารถที่จะทนรับมือไหว จึงตัดสินใจที่จะจบชีวิตของตัวเองลงเพื่อหลีกหนีปัญหาความเจ็บปวดและกดดันดังกล่าวซึ่งผู้อื่นไม่เข้าใจ โดยเราไม่สามารถที่จะบอกได้เช่นกันว่านี่คือข่าวดีหรือข่าวร้านสำหรับคนเหล่านั้น แต่สิ่งที่เราควรต้องทำคือพยายามหาทางแก้ไขปัญหาซ้ำๆที่อาจจะเกิดขึ้นกับคนรุ่นใหม่
อีกสิ่งหนึ่งที่ทำให้ปัญหาการฆ่าตัวตายของคนเกาหลีอยู่ในอันดับที่สูงคือ "การกลั่นแกล้ง" ซึ่งเป็นสาเหตุให้บุคคลในวงการบันเทิงจำนวนมากต้องเผชิญกับปัญหาเกี่ยวกับสภาพจิตใจ
เนื่องจากบนโลกอินเตอร์เนต ทุกคนสามารถที่จะซ่อนตัวอยู่หลังหน้าจอ, ใช้ชื่อปลอมและสร้างข่าวลือที่ไม่เป็นความจริง พร้อมกับคอมเมนท์แย่ๆได้ โดยไม่เพียงแค่คนธรรมดาเท่านั้นสามารถอ่านข้อความเหล่านี้ได้ ศิลปินก็สามารถที่จะเข้าถึงได้เช่นกัน ซึ่งซอลลี่นั้นไม่ใช่เคสแรกที่เกิดขึ้น แต่เราหวังว่าจะไม่มีเหตุการณ์แบบนี้เกิดขึ้นอีก
อัตราการฆ่าตัวตายของประเทศเกาหลีในปี 2018 สูงขึ้นกว่าในปีที่ผ่านมา 9.5% และจาก 100,000 คน มีคนจำนวนถึง 26 คนที่ตัดสินใจจบชีวิตของตัวเองลง โดยผู้คนในช่วงวัย 10-30 ปีถูกพบว่ามีอัตราการฆ่าตัวตายที่สูงขึ้น
อัตราการฆ่าตัวตายของเด็กช่วงวัย 10 ปี นับเป็น 22.1% จากทั้งหมด โดย 1/5 ของเด็กที่เสียชีวิตตัดสินใจจบชีวิตลงด้วยมือของตัวเอง คนจำนวนมากจึงกังวลกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นและมีความสงสัยว่าความกดดันและความเครียดใดทำให้เด็กในวัยที่สดใสตัดสินใจเลือกทางเดินนี้
ในหมู่ประเทศพัฒนาแล้วของเอเชีย เกาหลีใต้ถูกจัดอยู่ในอันดับ 1 ของประเทศที่มีอัตราการฆ่าตัวตายสูงที่สุด
ประเด็นการฆ่าตัวตายของคนเกาหลี
จากสถิติในปี 2018 การฆ่าตัวตายถูกจัดอยู่ในอันดับที่ 5 ของสาเหตุการตายของคนเกาหลี รองลงมาจากโรคมะเร็ง, โรคหัวใจ, โรคปอดบวมและโรคหลอดเลือดสมอง ตามลำดับ
หากจัดลำดับจากอายุพบว่า ช่วงวัย 10, 20 และ 30 ปีมีอันตราการฆ่าตัวตายสูงที่สุด ตามมาด้วยวัย 40 และ 50 ปี ทำให้เห็นว่านี่เป็นปัญหาที่ร้ายแรงของสังคมเกาหลีและต้องได้รับการแก้ไข
การจัดอันดับของ OECD (องค์การเพื่อความร่วมมือและการพัฒนาทางเศรษฐกิจ) พบว่าประเทศเกาหลีนั้นถูกจัดอยู่ในอันดับที่ 1 แม้ว่าอัตราการฆ่าตัวตายนี้จะลดลงอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปี 2013 แต่ในปี 2018 กลับมีอัตราที่เพิ่มสูงขึ้นอีกครั้ง
คนเกาหลีมีความเครียดและความเจ็บปวดที่เพิ่มขึ้น หรือปัญหานี้ไม่เคยได้รับการแก้ไข? ศิลปินดังหลายคนก็ตัดสินใจที่จะจบชีวิตของตัวเองลงในปีที่ผ่านๆมา ทำให้รู้ว่าภายใต้รอยยิ้มที่สดใสของพวกเขา แท้จริงแล้วมีความเจ็บปวดซ่อนอยู่ ซึ่งทุกคนควรตระหนักและให้ความสนใจ
ข่าวที่น่าเศร้าของวงการบันเทิงเกาหลี
จองมีซอน, จงฮยอน (SHINee), ชเวจินชิล, U;Nee, จองดาบิน, จางจายอนและอีกมากมายตัดสินใจจบชีวิตลงเพื่อจบปัญหาโรคซึมเศร้าของพวกเขา แม้ว่าจะได้รับการบำบัดและทานยา พร้อมออกมาประกาศเกี่ยวกับโรคนี้แล้วก็ตาม
แต่ทำไม? ไม่เพียงแค่การทำงานเท่านั้นที่สร้างความกดดันให้กับพวกเขา แต่คอมเมนท์และรีวิวที่ไม่ดี, ข่าวลือที่ไม่เป็นความจริงเป็นอีกหนึ่งสาเหตุที่ทำให้พวกเขาเหล่านั้นมีความเครียด, ความกดดันและความเจ็บปวดภายในจิตใจ ภายใต้รอยยิ้ม, การสร้างความสุขและเสียงหัวเราะให้กลับผู้อื่น กลับมีความทุกข์ซ่อนอยู่
ปัญหานี้ไม่ได้เกิดขึ้นกับศิลปินเท่านั้น แต่คนธรรมดาทั่วไปก็เผชิญหน้ากับโรคซึมเศร้าได้เช่นกัน ฉะนั้นทางที่ดีควรที่จะให้ความสนใจ, สังเกตุและดูแลพวกเขาอย่างใกล้ชิด การพูดด้านลบไม่ทำให้อะไรดีขึ้น แต่ในทางกลับกันการพูดในสิ่งที่ดี, ให้การดูแลและใส่ใจ พร้อมกับบอกพวกเขาเหล่านั้นว่ายังมีเราอยู่ข้างๆ จะทำให้ความรู้สึกของพวกเขาดีขึ้นอย่างแน่นอน
และอีกสิ่งสำคัญคือคอมเมนท์ที่รุนแรงบนอินเตอร์เนต เนื่องจากคำพูดที่ใครสามาถพิมพ์ลงไปก็ได้โดยที่อาจจะมีทั้งเรื่องจริงและเรื่องไม่จริง แต่กลับถูกแชร์และเผยแพร่ออกไปจำนวนมาก สามารถที่จะสร้างความเจ็บปวดที่ร้ายแรงให้กับคนอื่นได้ ทางที่ดีการกระทำแบบนี้ควรหยุดลงและหันมาคอมเมนท์ในสิ่งที่ดีและสิ่งที่เป็นความจริงเพื่อลดปัญหานี้ลงคงเป็นการดี
ด้วยความปราถนาดีจาก Creatrip
โปรดคิดทบทวนให้ดี
สายด่วนสุขภาพจิต : 1323
🤞🏻 Subscribe พวกเรา Creatrip บน Youtube
✨Creatrip Instagram
🎈instagram.com/creatrip.thailand
🎈Time on Me สตูดิโอถ่ายภาพย่านฮงแด
โพสต์ที่เกี่ยวข้อง |
M Play Ground |
พรีเซนเตอร์เครื่องดื่มแอลกอฮอลล์เกาหลี |
11 ร้านอร่อยในเมียงดง |