logo
logo
DEPRECATED_CloseIcon

วัฒนธรรมความเป็นหนึ่งเดียวกันของเกาหลี

คนเกาหลีที่พูดคำว่า "อูรี (พวกเรา)" ในการแสดงความเป็นหนึ่งเดียวกัน ทำไมถึงยังกลั่นแกล้งกันล่ะ? มองอีกมุมของคำว่า "เป็นหนึ่งเดียว": คำว่า "คนนอก"

Jeongyeong Yeo
3 years ago
วัฒนธรรมความเป็นหนึ่งเดียวกันของเกาหลี-thumbnail
วัฒนธรรมความเป็นหนึ่งเดียวกันของเกาหลี-thumbnail

สวัสดีค่ะทุกคน! พวกเรา Creatrip ศูนย์รวบรวมข้อมูลการท่องเที่ยวเกาหลีที่อัพเดทโดยคนเกาหลีในทุก ๆ วัน


#วัฒนธรรม #ประเทศเกาหลี
#สัญชาติเกาหลี #คนเกาหลี
#ความเป็นหนึ่งเดียว #การกลั่นแกล้ง #อูรี


หลายคนอาจจะทราบกันดีแล้วว่า คนเกาหลีนั้นมีความกลมเกลียวและรักชาติสูงมาก ซึ่งมีผลกระทบไปถึงความเป็นกลุ่มก้อนและความเป็นปัจเจกของคนในชาติ วัฒนธรรมเกาหลีที่เราจะมาแนะนำในวันนี้เกี่ยวกับความรู้สึกร่วมกันของคนในชาติเกาหลีค่ะ อ่านจบแล้วอาจจะเข้าใจได้ว่า "ทำไมคนเกาหลีถึงเป็นแบบนี้นะ?"

ถึงแม้ว่าเรื่องที่เราจะพูดกันในวันนี้จะเกี่ยวกับ "ความรู้สึกร่วมกันของคนในชาติเกาหลี" แต่เราไม่ได้จะมาพูดถึงเรื่องการสื่อสารและความรักกันนะคะ แต่จะพูดถึงเรื่องความรู้สึกเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันของคนเกาหลีและความรู้สึกร่วมกันในระดับบุคคลต่างหาก เรามักจะได้ยินว่าเกาหลีใต้มีความคิดเป็น "หนึ่งเดียว"ค่อนข้างมาก แถมรักชาติสุด ๆ ฟังแล้วดูเหมือนประเทศที่กลัวชาวต่างชาติยังไงยังงั้น ว่าแต่ทำไมถึงเป็นแบบนี้ล่ะ?


🤞🏻Subscribe พวกเรา Creatrip บน Youtube

Creatrip Instagram
instagram.com/creatrip.thailand

🎈ช้อปปิ้ง|สั่งซื้อสินค้าเกาหลี


ความรู้สึกเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันในชาติ

ประวัติศาสตร์ชาติเกาหลี

คนเกาหลีที่พูดคำว่า


ความภูมิใจของคนเกาหลีคือ การเป็นประเทศที่มีเอกราชและมีเอกสิทธิ์เป็นของตัวเองเริ่มต้นมาจากประวัติศาสตร์การสร้างชาติตั้งแต่สมัยสงครามเกาหลี การร่วมมือร่วมแรงในสู้รบกับศตรูได้สร้างวัฒนธรรมและสำนึก "ความเป็นส่วนรวม" ที่แข็งแกร่งให้กับชาวเกาหลี ประกอบกับภูมิประเทศของเกาหลีตั้งอยู่ในส่วนเอเชียตะวันออกซึ่งมีขอบเขตติดกับทะเลซึ่งทำให้เกาหลีใต้มีอำนาจการปกครองทั้งทางบกและทางน้ำ

หลังจากช่วงสงครามเกาหลี ประเทศเกาหลีใต้ได้ลุกขึ้นยืนในฐานะประเทศที่มีพื้นที่ทางใต้ของเส้นแบ่งเขตที่ 38 แต่เนื่องจากช่วงเวลาสงครามที่ดำเนินอย่างยาวนาน ทำให้ประเทศเกาหลีใต้ประสบปัญหาความยากจนและถูกลืมเลือนไปจากสายตาประเทศอื่นๆ แต่ด้วยความพยายามเกาหลีใต้สามารถพัฒนาประเทศจนถูกเรียกว่า "ปาฏิหาร์ยแห่งแม่น้ำฮัน" โดยการประสบความสำเร็จในการเป็นเจ้าภาพการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกที่กรุงโซลในปี 1988 และกลายเป็นมังกรตัวสี่ของเอเชีย พร้อมกับการสร้างอาณาจักรแห่งอุตสาหกรรมเทคโนโลยีรายใหญ่ของโลก และเผยแพร่วัฒนธรรม Kpop ไปทั่วโลก


อ่านเพิ่มเติม:ประวัติศาสตร์เกาหลี


คนเกาหลีที่พูดคำว่า goo.gl/teCKqY

ในอดีตคำว่า "เรา" เคยถูกใช้เป็นเครื่องมือในการสร้างกำลังใจและเป็นเครื่องมือในการแย่งชิงอำนาจ แต่ตอนนี้คำว่า "เรา" สำหรับคนเกาหลีกลายเป็นสิ่งที่ทำให้คนเกาหลีรู้สึกภูมิใจ จากการฝ่าฟันควมยากลำบากในอดีตร่วมกัน จนตอนนี้ประเทศของตัวเองกลายเป็นหนึ่งในประเทศที่มีอำนาจทางเศรฐกิจ



ความรู้สึกเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันในชาติ:

ทำไมคนเกาหลีต้องใช้คำว่า "พวกเรา"(อูรี)เสมอ?

คนเกาหลีที่พูดคำว่า leoedu.tistory.com/93

เวลาที่คุยกับคนเกาหลี จะสังเกตได้เลยว่า คนเกาหลีมักจะใช้คำว่า อูรี (พวกเรา/우리/WuRi) โดยเฉพาะคำว่า อูรีนารา (ประเทศของเรา - 우리나라) แทนคำว่าประเทศเกาหลี คนที่ตาม K-pop บ่อย ๆ จะชอบเห็นศิลปินใช้คำว่า อูรีฮยอง/ อูรีออนนี่ คำพูดเหล่านี้มีความหมายว่ายังไง?

สำหรับคนเกาหลีการพูดคำว่า "พวกเรา" เป็นการบ่งบอกตัวตนอีกรูปแบบหนึ่งที่หมายความว่า "สิ่งนี้ไม่ใช่ของฉันเพียงคนเดียว แต่เป็นของพวกเราทั้งหมด" ซึ่งจะแสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์ที่ใกล้ชิดของคนพูด

เมื่อเทียบกับภาษาญี่ปุ่นหรือภาษาภาษาจีน ที่มีการใช้ระดับภาษาที่แตกต่างกัน โดยในภาษาญี่ปุ่นมีคำพูดที่ว่า "แม้ว่าพวกเราจะสนิทกัน แต่คุณยังต้องรักษามารยาทอยู่" (亲しき中にも礼仪あり) ซึ่งจะให้ความรู้สึกแตกต่างกับภาษาเกาหลีที่เมื่อพูดคำว่า "เรา" (อูรี) จะทำให้ทั้งสองฝ่ายมีความรู้สึกสนิทสนมกันขึ้นมาในทันที

นี่คือเหตุผลว่าทำไมเมื่อคนเกาหลีเจอเพื่อนใหม่ๆเป็นครั้งแรกมักจะพูดจาแบบสุภาพ แต่หลังจากที่ได้เริ่มทำความรู้จักกันไม่นานก็จะทำให้รู้สึกคุ้นเคยและสนิทสนมกันมากขึ้น ซึ่งอาจแตกต่างจากวัฒนธรรมของประเทศอื่นๆ ที่เมื่อเจอคนใหม่ๆจะให้ความรู้สึก "เคารพในฐานะแขก"


คนเกาหลีที่พูดคำว่า


และ "ทำไมความสนิทสนม" คือกุญแจสำคัญที่สุด

ชาวเกาหลีมีความรู้สึกถึงความเป็นชาติและอัตลักษณ์ที่ชัดเจน ถึงแม้ช่วงแรกที่พวกเขาทักทายมักจะใช้ภาษาที่สุภาพต่อกัน แต่เมื่อพูดคุยกันและทำความรู้จักรวมถึงเรื่องอายุ พวกเขาก็จะเลือกใช้ภาษาที่ไม่เป็นทางการเพื่อความสนิทสนมมากขึ้น และความสัมพันธ์จะค่อยๆพัฒนาไปเป็นความสัมพันธ์แบบเพื่อนหรือคนในครอบครัว



ยกตัวอย่างเช่นซีรีส์เรือง Reply 1988 ที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับคนเกาหลีในยุคก่อน ถึงแม้ตัวละครแต่ละตัวจะไม่ได้มีความสัมพันธ์แบบครอบครัวเดียวกัน แต่พวกเขาก็สนิทสนมกันอย่างรวดเร็ว ซึ่งซีรีส์เรื่องนี้ก็ได้รับความนิยมอย่างมากที่เกาหลี เพราะทำให้หลายคนนึกความทรงจำในช่วงวัยเด็กและทำให้คนเกาหลีหันมาให้ความใส่ใจกับคนรอบข้างมากขึ้น




ความรู้สึกเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันในชาติ

ระดับความสนิทสนม

อย่างที่ทุกคนรู้กันว่าคนเกาหลีให้ความสำคัญกับความอาวุโสค่อนข้างมาก แต่การเปลี่ยนระดับภาษาที่ใช้พูดจากภาษาสุภาพ เป็นแบบกึ่งสุภาพสำหรับเพื่อนสนิทหรือคนที่รู้จักกันเป็นอย่างดีถือเป็นเรื่องที่สามารถทำได้ค่ะ โดยเฉพาะคนที่สนิทกันมากๆบางครั้งก็พูดภาษาระดับเดียวกับเพื่อนก็ได้ค่ะ


คนเกาหลีที่พูดคำว่า

cr: tenasia.hankyung.com/archives/980454

นอกจากภาษาที่ดูสนิทสนมกันแล้ว คนเกาหลียังมีวัฒนธรรมในการแตะต้องตัวกันหรือที่เรียกว่า Skinship โดยเฉพาะคนเพศเดียวกันถือเป็นเรื่องที่ดูปกติมากๆ เป็นการแสดงออกถึงความสัมพันธ์ที่ใกล้ชิดกันค่ะ เช่น การเดินจับมือช้อปปิ้ง, ซบไหล่ หรือแม้แต่การนอนหนุนตักของเด็กผู้ชาย ซึ่งดูแล้วก็น่ารักไปอีกแบบค่ะ


คนเกาหลีที่พูดคำว่า


ไม่เว้นแต่เรื่องการรับประทานอาหาร สำหรับคนเกาหลีเวลาที่ออกไปทานข้าวนอกบ้านมักจะสั่งอาหารเป็นหม้อใหญ่เพียงหนึ่งหม้อและทานร่วมกัน ซึ่งเป็นการบ่งบอกว่าสนิทกันกันหรือการเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันค่ะ ซึ่งอาจจะแตกต่างจากวัฒนธรรมชาติอื่นที่มักจะสั่งอาหารแยกกัน



ความรู้สึกเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันในชาติ:

การรวมตัวกันของคนเกาหลี

คนเกาหลีที่พูดคำว่า goodnews1


แน่นอนว่า ไม่ได้มีแต่คนเกาหลีเท่านั้นที่เป็นแบบนี้ค่ะ ประเทศในแถบเอเชียตะวันออกเป็นแบบนี้กันทั้งหมดเลย เรื่องปกติมาก ๆ ที่คนที่มาจากประเทศเดียวกันจะรวมกลุ่มกันด้วยวิถีชีวิตที่เหมือนกัน แต่คนเกาหลีจะดูเน้นเรื่องนี้เป็นพิเศษ ถ้าสมมุติว่าพวกเขาไปเจอกันในต่างประเทศ รับรองว่าจะเกาะหนึบอยู่ด้วยกันแน่ ๆ

คนเกาหลีส่วนใหญ่มักจะรวมกลุ่มโดยแบ่งตามสถานที่อย่างเช่น โรงเรียนเดียวกัน, มหาลัยเดียวกัน, จังหวัดเดียว, มาจากพื้นที่เดียวกัน, เกษียณอายุวันเดียวกัน โดยส่วนใหญ่คนที่มีอะไรเหมือนกันกันเป็นจุดร่วมเดียวกันจะบ่งบอกว่า "พวกเขาคือพวกเดียวกันและเป็นคนเกาหลีเหมือนกัน"ค่ะ


คนเกาหลีที่พูดคำว่า newsongch


ในแง่ของอัตลักษณ์ตัวตนของคนเกาหลีที่ค่อนข้างแข็งแกร่ง ปัญหาส่วนใหญ่จึงมักเกิดกับชาวต่างชาติ โดยเฉพาะคนต่างชาติที่แต่งงานกับคนเกาหลี พวกเขามักถูกถามว่าเป็นคนเกาหลีหรือไม่ หรือแม้กระทั่งเด็กที่เป็นลูกครึ่งก็มักจะโดนตั้งคำถามบ่อยว่า "พวกเขาใชคนเกาหลีหรือไม่" จนกลายเป็นประเด็นถกเถียงจนมาถึงปัจจุบันค่ะ



ความรู้สึกเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันในชาติ:ข้อเสีย


การยอมทนแบบที่ไม่เป็นเหตุเป็นผล

ด้วยลักษณะเด่นชัดของวัฒนธรรมการเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันของคนเกาหลี ทำให้บางครั้งคนเกาหลีหลายคนต้องอดทนและจำยอมกับสถานการณ์ที่น่าอึดอัดเพื่อรักษาความสัมพันธ์กับคนใกล้ตัวเอาไว้ จนบางครั้งต้องยอมทำผิดและอาจได้รับผลเสียร่มกัน


คนเกาหลีที่พูดคำว่า


เวลาที่คนเกาหลีสนิทกับใครมาก ๆ และคนนั้นเริ่มจะทำผิดกฎหมายแล้วล่ะก็ จะมีความคิดผุดขึ้นมาค่ะว่า เอ้อ อาจจะไม่ผิดจริงก็ได้ ทำให้ในเกาหลีมักจะมีข่าวนี่ตกใจ ช็อคโลกออกมาบ่อยครั้ง เช่น ข่าวประธานาธิบดีพัคกึนฮเย การลุแก่อำนาจของเจ้าหน้าที่ต่าง ๆ อย่างไรก็ตาม ตอนนี้คนเกาหลีก็เริ่มรู้ตัวกันบ้างแล้วค่ะว่า มันไม่เวิร์คจริง ๆ และกำลังพยายามแก้ไขในเรื่องนี้กันอยู่

นอกจากนี้เนื่องจากความใกล้ชิดแบบนี้ยังส่งผลต่อคำจำกัดความของ "พื้นที่ส่วนตัว" โดยมีคนจำนวนมากใช้พื้นที่สาธารณะเหมือนเป็นพื้นที่ส่วนตัวโดยไม่คำนึงถึงคนอื่น เช่นบนรถประจำทางหรือรถไฟใต้ดิน จะเห็นได้ว่าคนจำนวนมากมัวแต่เล่นโทรศัพท์มือถือโดยไม่สนใจคนอื่นและขวางทางคนอื่น สำหรับคนเกาหลีแล้ว "ความใกล้ชิด" แบบนี้เป็นสิ่งที่สมควรจริงหรือไม่?



นอกจากนั้นวัฒนธรรมการเป็นหนึ่งเดียวกันหรือการใช้คำว่า "เรา" อาจกลายเป็นสิ่งที่น่าอึดอัดใจบางสถานการณ์เช่น "คนอื่น ๆ อยู่ที่นี่ทำไมคุณไม่มางานเลี้ยงของเรา" หรือ "พวกเขาบริจาคเงินให้คริสตจักรของเรา แต่ "ทำไมคุณไม่บริจาค" ความกดดันแบบนี้ขึ้นจะยิ่งมากขึ้นหากความสัมพันธ์สนิทกันมากเช่นกัน

โดยแนวคิดเรื่องการใช้คำว่า "เรา" กลายเป็นความคิดที่มีศูนย์กลางอยู่ที่ "ฉัน" จึงกลายเป็นประเด็นที่ถูกถกเถียงกันในสังคมเกาหลี



ความรู้สึกกลัวคนต่างชาติ

คนเกาหลีที่พูดคำว่า


ประเด็นนี้เป็นประเด็นที่เห็นได้ชัดที่สุดและน่าเศร้าที่สุดค่ะ

คนเกาหลีมีความรักเพื่อนร่วมชาติสูงมาก ๆ ค่ะ รักจนแบบเชื่อไม่ลืมหูลืมตา ตัวอย่างเช่น ถ้าเจอเพื่อนที่มาจากจังหวัดแทกูด้วยกัน ก็จะสนิทกันเร็วมากปานสายฟ้าแลบ ในทางตรงกันข้ามกัน ถ้าหากคุณ "ไม่ใช่คนเกาหลี" ล่ะก็ จะรู้สึกเหมือนอยู่นอกวงโคจรเลยล่ะค่ะ


คนเกาหลีที่พูดคำว่า


ในบางครั้ง สำหรับคนที่มาเรียน มาทำงานในเกาหลี ไม่ว่าจะพยายามเข้ากับคนเกาหลีแค่ไหนก็ตาม ก็ยังจะถูกปฏิบัติเหมือนเป็นคนอื่นอยู่ดี ไม่มีความรู้สึกรักใคร่ปรองดองลึกซึ้งใด ๆ บางทีก็เป็นแค่ความสงสาร สมเพชเท่านั้น (แต่ใน Creatrip นอกจากจะเป็นเพื่อนร่วมงานที่ดีของกันและกันแล้ว ยังเป็นเพื่อนในชีวิตจริงที่ดีอีกด้วยนะคะ)

อ่านเพิ่มเติม:ปัญหาการกลั่นแกล้งกันในประเทศเกาหลีใต้


สุดท้ายนี้ สิ่งที่เราอยากจะบอกก็คือ ไม่ใช่คนเกาหลีทุกคนที่เป็นแบบนี้เหมือนกันหมดนะคะ เราได้เจอรุ่นพี่ในที่ทำงานที่ใจดีและพร้อมช่วยเหลือเสมอใน Creatrip และตอนนี้ก็มีคนเกาหลีที่เปิดใจรับเพื่อนต่างชาติมากขึ้นแล้วค่ะ

แน่นอนว่า ทุกคนย่อมมีด้านที่ดีและร้ายอยู่ในตัว เรามักจะอ่านเจอนักท่องเที่ยวที่มาเที่ยวเกาหลีและขอความช่วยเหลือ ช่วยบอกทาง ถือกระเป๋าและใจดีกับนักท่องเที่ยวมาก ๆ เราเชื่อว่า คนเกาหลีจะช่วยกันทำให้ประเทศของตัวเองดีขึ้นเรื่อย ๆ ค่ะ

ไว้เจอกันใหม่คราวหน้านะคะ ทุกคน~


🤞🏻Subscribe พวกเรา Creatrip บน Youtube

Creatrip Instagram
instagram.com/creatrip.thailand

🎈ช้อปปิ้ง|สั่งซื้อสินค้าเกาหลี