logo
logo

ชีวิตของเหล่าซังกุง

ชีวิตของซังกุงที่ทำงานในวังจะเหมือนกับในซีรีส์ที่เคยดูหรือไม่?

마타티카
3 years ago
ชีวิตของเหล่าซังกุง-thumbnail
ชีวิตของเหล่าซังกุง-thumbnail

สวัสดีค่ะทุกคน! พวกเรา Creatrip ศูนย์รวบรวมข้อมูลการท่องเที่ยวเกาหลีที่อัพเดทโดยคนเกาหลีในทุก ๆ วัน


#ประวัติศาสตร์เกาหลี #ซีรีส์เกาหลี

#วัฒนธรรมเกาหลี #ซังกุง


ทุกคนเคยดูซีรีส์ย้อนยุคของเกาหลีหรือเปล่าคะ? ตัวละครที่ต้องมีในซีรีส์เกาหลีพีเรียดทุกๆเรื่องก็คือ "เหล่าซังกุงและนางใน" ซึ่งถือเป็นตัวละครที่สำคัญและมีบทบาทมากๆค่ะ ครั้งนี้เราจะมาดูกันว่าชีวิตของพวกเธอจะเหมือนกับในซีรีส์ที่ทุกคนเคยดูหรือเปล่านะ?



🤞🏻Subscribe พวกเรา Creatrip บน Youtube

Creatrip Instagram
instagram.com/creatrip.thailand

🎈ช้อปปิ้ง|สั่งซื้อสินค้าเกาหลี


ชีวิตของเหล่าซังกุง


คำว่า "ซังกุง" (상궁) ถูกบันทึกไว้ครั้งแรกในสมัยโกรยอ (고려시대) โดยระบบซังกุงมีจุดเริ่มต้นมาจากราชวงศ์สุย (Sui dynasty) และมีมาจนถึงราชวงศ์หมิง (Ming dynasty) และถูกยกเลิกในราชวงศ์ชิง (Qing dynasty) ซึ่งในเกาหลีสมัยโชซอนก็มีระบบนางในที่รับหน้าที่ดูแลกิจการภายในวังเช่นกันค่ะ

สมัยโชซอนมีคำที่ใช้เรียกผู้หญิงที่อยู่ในวังแบบรวมๆว่า 내명부(內命婦) "แนมยองบู" ซึ่งจะรวมถึงพระมเหสี, สนม, นางในหรือคนรับใช้ในวังหรือมีอีกคำที่ใช้เรียกคือ "กุงนยอ" (궁녀) ซึ่งก็คือเหล่าซังกุงและนางในที่เราเคยเห็นกันผ่านซีรีส์พีเรียดของเกาหลีนั้นเองค่ะ



พวกเธอเหล่านี้เป็นผู้ที่คอยดูแลงานภายในวังทั้งหมดตั้งแต่งานที่สำคัญไปจนถึงงานเล็กๆ และถือเป็นผู้ที่มีโอกาสได้เข้าใกล้กับกษัตริย์มากที่สุด ไม่ว่าจะเป็นตอนกลางวันหรือตอนกลางคืน ดังนั้นซังกุงและนางในจึงถือเป็นผู้ที่มีอำนาจอีกกลุ่มหนึ่งค่ะ

ว่ากันว่าเหล่าซังกุงมักจะตกเป้าของกลุ่มคนที่มีความทะเยอทะยานทางการเมือง โดยเฉพาะเหล่าซังกุงที่ทำหน้าที่ใกล้ชิดกับกษัตริย์ เพราะมีหน้าที่ในการควบคุมชีวิตส่วนตัวของกษัตริย์ หรือแม้แต่การสอดแนมเรื่องราวต่างๆภายในวังค่ะ


ทำอย่างไรถึงจะได้เป็นเข้าไปในวัง?


กษัตริย์ 1 พระองค์จะมีซังกุงและนางในที่คอยดูแลประมาณ 500-600 คน โดยการที่จะเข้ามาเป็นผู้หญิงในวังจะต้องเริ่มตั้งแต่อายุยังน้อย โดยเด็กผู้หญิงที่ต้องการเป็นนางในจะเริ่มเข้าวังเพื่อฝึกฝนตั้งแต่อายุยังน้อยค่ะ

เนื่องจากต้องดูแลราชวงศ์การคัดเลือกจึงต้องมีกฎเกณฑ์ที่เข้มงวดมากๆ โดยเด็กที่เข้ารับการคัดเลือกจะต้องมาจากครอบครัวที่ไม่มีประวัติทรยศต่อราชวงศ์และเป็นอาชญากร เด็กผู้หญิงมักได้รับการคัดเลือกระหว่างอายุ 4 -13 ปี และเนื่องจากพวกเธอเข้ามาในฐานะ "ผู้หญิงของกษัตริย์" ดังนั้นเด็กที่อายุมากกว่า 10 ปีจะต้องรับการ "ตรวจสอบความบริสุทธิ์" ค่ะ



การทดสอบนั้นจะทำโดยหมอหญิง (의녀) โดยการหยดเลือดนกแก้ว (앵무새 피) ลงบนแขน ซึ่งหากเลือดเป็นหยดอยู่บนแขนก็จะแสดงว่าผู้หญิงคนนั้นยังบริสุทธิ์ แต่หากเลือดไหลย้อยหรือไม่เกาะกันเป็นหยดก็หมายความว่าไม่บริสุทธิ์ และจะไม่สามารถเข้าไปเป็นนางในได้ค่ะ

การแพทย์ปัจจุบันยังไม่สามารถอธิบายได้ว่าทำไมต้องใช้เลือดนกแก้ว? แต่คาดว่าเพราะนกแก้วเป็นสัญลักษณ์แห่งการปรองดองของเพศชายและหญิง ดังนั้นการทดสอบวิธีนี้อาจเป็นการคัดเลือกหญิงสาวที่จะไม่สร้างปัญหาหรือความขัดแย้งระหว่างหญิง-ชายในอนาคตค่ะ

แต่เพราะวิธีคัดเลือกแบบนี้ไม่ใช่วิธีทางการแพทย์ ดังนั้นจึงมีเด็กผู้หญิงหลายคนที่ถูกกล่าวหาว่าไม่บริสุทธิ์ค่ะ


ทำอย่างไรถึงได้เป็นซังกุง


เมื่อเข้าวังมาฝึกฝนแล้ว ก็ไม่ใช่ว่าจะสามารถเป็นซังกุงได้ในทันที เพื่อต้องรับการสั่งสอนจากผู้อาวุโสและเรียนรู้สิ่งต่างๆ โดยใช้เวลาประมาณ 15 ปีเพื่อเลื่อนขั้นเป็น "นาอิน" (나인) ซึ่งเมื่อเป็นนาอินก็แสดงว่าผู้หญิงคนนั้นเป็นคนในวังอย่างเป็นทางการแล้วค่ะ

นาอินจะมีเวลาทำงานแบบวันเว้นวัน (격일제) โดยทำงาน 12 ชั่วโมงและพัก 36 ชั่วโมง แต่ก็ไม่ใช่เวลาว่างจะสามารถอยู่เฉยๆได้ แต่พวกเธอต้องทำการฝึกเขียนตัวอักษร, งานเย็บปักทักร้อย และการที่จะเลื่อนขั้นเป็นซังกุงจะต้องใช้เวลาประมาณ 30 ปีค่ะ


ประเภทของซังกุง

1. จีมิล (지밀 상궁)


จิมิล (지밀) คือตำแหน่งซังกุงที่สำคัญในวัง โดยเฉพาะหัวหน้าจีมิลซังกุง (지밀 상궁) ตำแหน่ง จิมิล (지밀) เปลี่ยนเสมอคนสนิทหรือเลขาส่วนตัวของกษัตริย์, พระมเหสี,พระสนมหรือคนสำคัญของราชวงศ์ทำให้หน้าที่เกี่ยวกับชีวิตประจำวันทุกอย่างของคนในราชวงศ์ มีความน่าเกรงขามมากจนแม้แต่ขุนนางก็ไม่สามารถปฏิบัติแบบหยาบคายกับพวกเธอได้ค่ะ

ซึ่งตำแหน่งนี้ถือเป็นตำแหน่งนางในทุกคนต้องการ ดังนั้นคนที่จะเข้ามาฝึกฝนในแผนกนี้ต้องผ่านการคัดเลือกอย่างเข้มงวดและต้องเข้ามาตั้งแต่อายุ 4-8 ปีค่ะ


2. โพโม ซังกุง (보모 상궁)


โพโม ซังกุง (보모 상궁) คือซังกุงที่ทำหน้าที่ดูแลองค์ชายและองค์หญิง ซึ่งแต่ละองค์จะมีโพโมซังกุงของตัวเอง และจะแยกกันอยู่คนละตำหนักภายในวังค่ะ


3. ชิมบัง ซังกุง (침방 상궁)

cr. 세계일보


ชิมบัง ซังกุง (침방 상궁) คือผู้ที่ทำหน้าที่ดูแลชุดเครื่องแต่งกายของราชวงศ์ เพื่อความสบายมากที่สุด นอกจากนั้นยังทำหน้าที่ทำเครื่องนอนและชุดสำหรับราชวงศ์อีกด้วยค่ะ


4. ซูรีกัน ซังกุง (수리간 상궁)


ซูรีกัน ซังกุง (수리간 상궁) อาจเรียกได้ว่าแม่ครัว โดยแบ่งออกเป็นครัวใน ที่ทำหน้าที่ดูแลเกี่ยวกับอาหารสำหรับกษัตริย์และพระมเหสี ส่วนครัวนอกจะทำหน้าที่ดูแลอาหารในงานเลี้ยงภายในวังและงานเลี้ยงของขุนนางค่ะ


6. เทซอนกัน ซังกุง (퇴선간 상궁)

cr. news1


เทซอนกัน ซังกุง (퇴선간 상궁) เป็นซังกุงห้องครัวกลางอยู่ภายใต้ซูรีกัน ซังกุง (수리간 상궁) มีหน้าที่ดูแลอาหารระหว่างการจัดส่ง ในกรณีที่ระยะทางระหว่างห้องครัวและตำนักอยู่ห่างกัน และเทซอนกัน (퇴선간) จะทำหน้าที่ในการอุ่นอาหารก่อนที่จะเสิร์ฟค่ะ


7. แซงกวาบัง ซังกุง (생과방 상궁)


แซงกวาบัง ซังกุง (생과방 상궁) คือซังกุงแห่งห้องอาหารว่าง มีหน้าที่ในการจัดเตรียมของว่างและเครื่องดื่มต่างๆในกับกษัตริย์ และเป็นคนจัดเตรียมของว่างที่วางไว้ในตำหนักค่ะ


8. คิมิ ซังกุง (기미 상궁)

cr. MBC


คิมิ ซังกุง (기미 상궁) ถือว่าเป็นซังกุงที่ทำหน้าที่สำคัญมากๆ เพราะเป็นผู้ที่ต้องกินอาหารและเครื่องดื่มทุกๆอย่างก่อนที่กษัตริย์และพระมเหสีจะกิน เพื่อทดสอบว่ามียาพิษหรือไม่ค่ะ


9. ชินยอ ซังกุง (시녀 상궁)


ชินยอ ซังกุง (시녀 상궁) เป็นซังกุงที่รับหน้าที่ดูแลเกี่ยวกับหนังสือและเอกสารของชนชั้นสูงภายในวัง โดยเป็นผู้ที่ส่งมอบของขวัญหรือจดหมายต่างๆให้กับสมาชิกราชวงศ์หรือสมาชิกครอบครัวคนอื่นๆ อาจเรียกได้ว่าเป็นซังกุงผู้ส่งสารค่ะ


10. คัมชัล ซังกุง (감찰 상궁)

cr. MBC


คัมชัล ซังกุง (감찰 상궁) เป็นซังกุงที่มีหน้าที่ตรวจสอบสิ่งปกติหรือเรื่องทุจริตทั้งหมดของผู้หญิงภายในวัง รวมถึงตรวจดูการใช้จ่ายของนางในภายในวังด้วยค่ะ และหากพบความผิดปกติหรือพบผู้กระทำจะทำการลงโทษค่ะ


11. เซโจ ซังกุง (제조 상궁)


เซโจ ซังกุง (제조 상궁) เรียกอีกชื่อคือ คึนบังซังกุง "큰방상궁" ถือเป็นตำแหน่งสูงสุดเป็นผู้ที่กำกับดูแลนางในในราชสำนักทุกคน มีหน้าที่ดูแลเหตุการณ์สำคัญทั้งหมดที่เกิดขึ้น ถือเป็นตำแหน่งที่เป็นศูนย์กลางของอำนาจรองจากราชวงศ์ค่ะ

เป็นตำแหน่งที่ได้รับการแต่งตังจากพระมเหสี ถือเป็นหัวหน้าภายในของราชวังค่ะ


ซังกุงและนางในแต่งงานได้หรือไม่?

แดจังกึม


ผู้หญิงที่เข้าราชสำนักแล้ว จะถือว่าเป็นผู้หญิงของกษัตริย์และจะต้องทำงานตลอดชีวิต แต่บางครั้งก็ได้รับอนุญาตให้ออกจากวัง นอกจากนี้หากป่วยหนักหรือไม่สามารถทำงานได้เนื่องจากชราภาพก็สามารถออกจากวังได้ และแน่นอนว่านางในราชสำนักจะไม่ได้รับอนุญาตให้แต่งงานหลังจากที่ได้รับการปล่อยตัวจากวังค่ะ



นี่ก็คือเรื่องราวของซังกุงและนางในที่ทุกคนเคยเห็นผ่านซีรีส์ค่ะ


🤞🏻Subscribe พวกเรา Creatrip บน Youtube

Creatrip Instagram
instagram.com/creatrip.thailand

🎈ช้อปปิ้ง|สั่งซื้อสินค้าเกาหลี