logo
เขต

เรื่องราวและที่มาของรามยอนเกาหลี

รามยอนยี่ห้อแรกของเกาหลีเกิดขึ้นเมื่อไหร่ และทำไมรามยอนกลายเป็นอาหารที่คนเกาหลีชื่นชอบ?

Trang Pham
2 years ago

มาม่าเกาหลี

สวัสดีค่ะทุกคน! พวกเรา Creatrip ศูนย์รวบรวมข้อมูลการท่องเที่ยวเกาหลีที่อัพเดทโดยคนเกาหลีในทุก ๆ วัน


#วัฒนธรรมเกาหลี #มาม่าเกาหลี

#อาหารเกาหลี #รามยอน


รามยอน (라면) หรือบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปของเกาหลีที่มีประวัติยาวนานเกือบ 60 ปี ที่กลายเป็นอาหารที่คนเกาหลีชื่นชอบและเป็นที่รักของชาวต่างชาติ อยากรู้หรือเปล่ารามยอนยี่ห้อแรกของเกาหลีเกิดขึ้นเมื่อไหร่และมีที่มาอย่างไร?

วันนี้มาเรียนรู้ประวัติศาสตร์และขั้นตอนการพัฒนาของรามยอนเกาหลีกันค่ะ


🤞🏻Subscribe พวกเรา Creatrip บน Youtube 

Creatrip Instagram
instagram.com/creatrip.thailand

🎈ช้อปปิ้ง|สั่งซื้อสินค้าเกาหลี


เรื่องราวและที่มาของรามยอนเกาหลี

จุดกำเนิดของรามยอนที่เกิดจากการแก้หิว
มาม่าเกาหลี

cr.  Naver


เมื่อวันที่ 15 กันยายนปี 1963 มีจอน จองยุนผู้ก่อตั้งบริษัท Samyang Food Company ได้รับการสนับสนุนด้านเทคนิคฟรีจากบริษัท Japan Myojo Food Company และเริ่มผลิตและขายบรรจุภัณฑ์รามยอนเป็นครั้งแรก โดยชื่อแรกของรามยอนคือ Samyang ramyeon (삼양라면) และราคาซองละ 10 วอน (ประมาณ 0.3 บาท) ค่ะ

เพื่อโปรโมทรามยอนในช่วง 1 ปี สมาชิกในครอบครัวและพนักงานของบริษัทอาหาร Samyang จะได้ไปโรงภาพยนตร์ สวนสาธารณะ ถนน ฯลฯ เพื่อจัดกิจกรรมส่งเสริมการขาย เช่น เชิญชวนให้ลองและให้คะแนนรามยอน ด้วยความพยายามอย่างที่สุดรามยอนจึงค่อยๆ เป็นที่รู้จักของคนเกาหลีและกลายเป็นอาหารจานโปรดค่ะ

เมื่อประมาณทศวรรษ 1960 เป็นช่วงที่สงครามเกาหลีสิ้นสุดลง แต่ได้ถูกทำลายล้างทุกอย่างจนเกาหลีใต้ตกอยู่ในสภาพยากจนและขาดแคลนอาหาร และรามยอนกลายเป็นอาหารแก้หิวและกินได้อิ่มท้อง แถมราคาถูกจรถูกเรียกว่า "ข้าวอย่างที่ 2" (제2쌀)


ประวัติศาสตร์เกาหลี

cr. Naver


แม้ว่าต้นทุนการผลิตมการลงทุนเครื่องจักรและค่าใช้จ่ายในการบริหารจัดการจะเพิ่มขึ้นทุกวัน แต่บริษัท Samyang ยังคงรักษาราคารามยอน 10 วอนเป็นเวลานานถึง 7 ปี ด้วยตามหลักการ "การแก้ปัญหาความหิวโหยของคนสำคัญกว่ากำไร" ค่ะ


การเติบโตและการเปลี่ยนแปลง

สงครามเกาหลี

cr. Naver


เมื่อปี 1965 รัฐบาลเกาหลีได้ใช้นโยบาย "อาหารแบบผสม" (혼분식) เพื่อแก้ปัญหาการขาดแคลนข้าวของประชาชนคือ แทนที่จะกินข้าวทั้งหมดพวกเขาจะกินข้าวกับธัญญาพืช (잡곡밥) และอาหารที่ทำจากแป้ง ( 분식) นโยบายนี้ทำให้อุตสาหกรรมการผลิตรามยอนที่รัฐสนับสนุนและยอดขายก็เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วค่ะ


คนเกาหลี

cr. Daum


นอกจากนี้บะหมี่กึ่งสำเร็จรูปต้นตำรับยังทำจากซุปสีขาวที่ทำจากไก่ ไม่ถูกปากคนเกาหลีส่วนใหญ่ที่ชอบรสชาติเผ็ดค่ะ

เมื่อปี 1966 เมื่อเผชิญกับสถานการณ์นั้นประธานพัค ชองฮีซึ่งชอบบะหมี่กึ่งสำเร็จรูป ได้แนะนำกับบริษัทว่าควรใส่พริกป่นลงในบะหมี่ “ฉันหวังว่าบริษัทจะสามารถเพิ่มพริกป่นได้ เพราะคนเกาหลีชอบอาหารรสเผ็ด” 

ตามคำแนะนำของผู้นำบริษัท Samyang Food ไม่เพียงแต่เริ่มโฆษณาเท่านั้นบริษัทยังจัดกิจกรรมชิมฟรีเพื่อสำรวจและปรับปรุงบะหมี่ให้เหมาะถูกปากคนเกาหลีด้วยค่ะ


มาม่าเกาหลี

cr. Daum


ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมาอุตสาหกรรมบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปก็เปลี่ยนมาใช้น้ำซุปที่ทำจากเนื้อและ "ยุคบะหมี่กึ่งสำเร็จรูป" ก็ได้เริ่มต้นขึ้นและในเวลานั้นประธานาธิบดีปาร์ค มีอิทธิพลอย่างมากต่อคนเกาหลี จึงทำให้ตลาดบะหมี่เกาหลีเปลี่ยนแปลงและพัฒนามากขึ้นค่ะ


มาม่าเกาหลี


ความเป็นจริงเมื่อปี 1969 มีการขายรามยอน 15 ล้านห่อและเมื่อปี 1970 มีผลิตภัณฑ์ต่างๆเช่น จาจังมยอน, คัลกุกซูและแนงมยอนออกมาด้วยค่ะ นอกจากนี้ยังมีรามยอนรสทเวนจังชิแก (된장라면) ที่ผลิตขึ้นเพื่อให้เหมาะกับรสชาติอาหารแบบดั้งเดิมของเกาหลีด้วยค่ะ

มาม่าเกาหลี


ประมาณช่วงยุค 1980 ถือเป็นยุคทองของรามยอน ช่วงเวลานี้รามยอนที่ขายดีที่สุดได้ถือกำเนิดขึ้นและมีแข่งขันที่เข้มข้น เช่น ยุกแกจังซาบัลมยอน (육개장사발면), นอกูรี (너구리), อันซองทังมยอน (안성탕면) ของ Nongshim, จินรามยอน (진라면) ของ Ottogi (오뚜기) นอกจากนี้รัฐบาลยังร่วมมือกับ Binggrae (빙그레) ในการผลิตรามยอนทำให้ตลาดบะหมี่แข่งขันกันมากขึ้นค่ะ




เริ่มด้วยการเปิดตัวบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปถ้วยแรกของ ยุคแดจังซาบัลมยอน (육개장사발면) เมื่อวันที่ 17 พฤศจิกายนปี 1982 ที่สามารถกินได้อย่างรวดเร็วด้วยการเทน้ำร้อนลงไปโดยตรง ทำให้ได้รับความนิยมตั้งแต่นั้นมา จากนั้นก็มีคัพรามยอนหลายยี่ห้อได้ออกสู่ตลาดเช่น Jjamppong ramyeon, Bibim ramyeon, Rabokki และ Rice ramyeon ค่ะ


มาม่าเกาหลี


เมื่อปี 1985 ตลาดรามยอนก็มีความผันผวนอย่างมาก อย่างบริษัทนงซิม (농심) ซึ่งเดิมคือ บริษัทลอตเต้ที่ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี 1965 โดยมีรามยอนชื่อดังมากมายเช่น ยุกเกจัง, นอกูรี, อันซองทังมยอน แซงหน้าซัมยังรามยอนไปสู่ยอดขายบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปอันดับต้นๆ

เมื่อปี 1988 ส่วนแบ่งการตลาดของนงชิมมีมากถึง 50.6% และตอนนี้ชินรามยอน (신라면) ได้กลายเป็นอาหารประเภทบะหมี่รสเผ็ดของเกาหลีที่ยังไม่มียี่ห้ออื่นล้มล้างได้ค่ะ


การส่งออกรามยอนสู่ตลาดโลก

มาม่าเกาหลี


ตั้งแต่ปี 1990 อุตสาหกรรมบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปของเกาหลีได้เผชิญกับความท้าทายมากมายในการเปลี่ยนแปลง เนื่องจากผลิตภัณฑ์มีความหลากหลายและมีรสชาติหลากหลายเกิดขึ้นเพื่อตอบสนองรสนิยมของผู้บริโภค และขนาดของตลาดรามยอนมีมูลค่าเกิน 1 ล้านล้านวอนค่ะ


มาม่าเกาหลี


แน่นอนว่าไม่ใช่ว่าบะหมี่ทุกยี่ห้อจะประสบความสำเร็จ แต่ก็มีรามยอนบางยี่ห้อที่ไม่ค่อยถูกปากและค่อยๆหายไป ซึ่งคนเกาหลีเรียกว่า "บะหมี่ที่โชคร้าย" (비운의 라면) เช่น ซัลทังมยอน-쌀탕면 (1990) และ มอกือมยอน-머그면 (1993) ของ Nongshim, วังรามยอน-왕라면 (2002) ของบริษัท Yakult ของเกาหลีค่ะ

ในยุค 2000 เกาหลีเริ่มส่งออกรามยอนไปต่างประเทศ และบริษัทนงชิมขยายตลาดและเปิดโรงงานในจีน,แอลเอ สหรัฐอเมริกา เมื่อปี 2003 บิงเก ถอนตัวออกจากตลาดรามยอน ทำให้เกาหลีมีบริษัทผลิตรามยอน 4 แห่ง ได้แก่ Nongshim, Samyang, Ottogi, Paldo ค่ะ


มาม่าเกาหลี


ในปี 2011 ตลาดรามยอนของเกาหลีเปลี่ยนไปอีกครั้งและท้าทายด้วย "น้ำซุปสีขาว" โดยแบรนด์ Paldo เปิดตัวบะหมี่ Kkokkomyeon (꼬꼬면) ช่วยให้ตลาดรามยอนเติบโตถึง 2 ล้านล้านวอน แต่ลม "น้ำซุปสีขาว" ก็มีชื่อเสียงเพียง 2 ปีเท่านั้นและอีก 2 ปีต่อมาตลาดรามยอนกลับมาเป็นน้ำซุปสีแดงเหมือนเดิมค่ะ


มาม่าเกาหลี

cr. Yonhap news


และจนถึงวันนี้จะเห็นว่ารามยอนเกาหลีเกือบทั้งหมดมีรสเผ็ดพร้อมน้ำซุปสีแดงรสชาติเผ็ดร้อนค่ะ

ปัจจุบันเกาหลีเป็นผู้บริโภคบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปชั้นนำของโลก ตามรายงานของสมาคมบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปโลก (WINA) พบว่าเกาหลีใต้บริโภคบะหมี่ประมาณ 75.1 ห่อต่อคนในปี 2019 ค่ะ



นี่ก็คือเรื่องราวของรามยอน อาหารกึ่งสำเร็จรูปที่เป็นที่นิยมของคนเกาหลีและคนต่างชาติค่ะ ใครที่อยากกินรามยอนเกาหลีอร่อยๆสามารถสั่งซื้อได้จากเว็บไซต์ของ Creatrip (คลิก)ได้เลยค่ะ


🤞🏻Subscribe พวกเรา Creatrip บน Youtube 

Creatrip Instagram
instagram.com/creatrip.thailand

🎈ช้อปปิ้ง|สั่งซื้อสินค้าเกาหลี



ยอดเข้าชมมากที่สุด

ยอดเข้าชมมากที่สุด