logo
เขต

วัฒนธรรม "แฮ-นยอ (해녀)" ของเกาหลี

มาทำความรู้จักกับ แฮ-นยอ (해녀) นักประดาน้ำหญิงที่ถูกเปรียบเปรยเป็นนางเงือกเกาหลีกันเถอะ!

Yeong
2 years ago

วัฒนธรรม "แฮ-นยอ (해녀)" ของเกาหลี

สวัสดีค่ะทุกคน! พวกเรา Creatrip ศูนย์รวบรวมข้อมูลการท่องเที่ยวเกาหลีที่อัพเดทโดยคนเกาหลีในทุก ๆ วัน


#แฮ-นยอ #นักประดาน้ำหญิง

#วัฒนธรรมเกาหลี #คนเกาหลี

  

วันนี้เราจะมาพาทุกคนไปทำความรู้จักกับ "แฮ-นยอ (해녀)" นักประดาน้ำหญิงที่ถูกเปรียบเปรยเป็นนางเงือกของเกาหลีกันค่ะ! แม้ว่าสังคมเกาหลีในสมัยก่อนจะมีลักษณะของระบบชายเป็นใหญ่ เรียกง่าย ๆ ก็คือผู้ชายจะเป็นเสาหลักของครอบครัว แต่ก็มีผู้หญิงที่ต้องออกมาทำงานและหาเงินเลี้ยงครอบครัวเหมือนกันนะคะ ซึ่งพวกเธอเหล่านั้นก็คือ "แฮ-นยอ" นั่นเองค่ะ!   

 

  

🤞🏻Subscribe พวกเรา Creatrip บน Youtube 

Creatrip Instagram
instagram.com/creatrip.thailand

🎈ช้อปปิ้ง|สั่งซื้อสินค้าเกาหลี


วัฒนธรรม "แฮ-นยอ (해녀)" ของเกาหลี

ต้นกำเนิดของแฮ-นยอต้นกำเนิดของแฮ-นยอ

ยุคต้นกำเนิดของ "แฮ-นยอ" หรือนักประดาน้ำหญิงของเกาหลีสันนิษฐานว่ามีมาตั้งแต่ยุคดึกดำบรรพ์ที่มนุษย์เริ่มออกหาอาหารตามเกาะต่าง ๆ และในท้องทะเลค่ะ ต้นกำเนิดของ "แฮ-นยอ" แทบทั้งหมดมีที่มาจากเกาะเชจู เป็นอาชีพของผู้หญิงที่ต้องออกมาทำงานและหาเงินเลี้ยงครอบครัวโดยการดำน้ำหาอาหารนั่นเองค่ะ   

แน่นอนว่าแม้จะมีต้นกำเนิดมาจากเกาะเชจู แต่อาชีพ "แฮ-นยอ" ก็ไม่ได้พบเพียงแค่บนเกาะเชจูเท่านั้นนะคะ แต่ยังสามารถพบได้ในพื้นที่ใกล้เคียง เช่น ปูซาน, ทะเลจีนตะวันออก, และทะเลจีนใต้ รวมถึงญี่ปุ่น, ประเทศแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และรัสเซีย ก็มีบันทึกเกี่ยวกับ "แฮ-นยอ" เช่นกันค่ะ

ในเวลานั้นถ้าผู้หญิงชาวเชจูไม่ได้ทำงานในไร่นาก็จะต้องไปทำงานในทะเลแทนค่ะ ว่ากันว่าเด็กผู้หญิงฝึกว่ายน้ำและดำน้ำตั้งแต่อายุ 7 หรือ 8 ขวบเลยนะคะ จากนั้นเมื่ออายุ 15 ปีก็จะเริ่มดำน้ำหาปลาในทะเล และกลายมาเป็น "แฮ-นยอ" จนถึงวัยกลางคนและวัยชราค่ะ   


สถานะทางชนชั้นของผู้ทำอาชีพแฮนยอ

ที่มา:서울신문

ในวรรณคดีของเกาหลียังมีบันทึกไว้ว่าสถานะทางชนชั้นของอาชีพ "แฮ-นยอ" นั้นค่อนข้างต่ำค่ะ ในปี 1105 ซึ่งเป็นปีการปกครองที่ 10 ของกษัตริย์ซุกจงแห่งโครยอ ทูตของเกาะเชจูในอดีตได้ออกคำสั่ง "ห้ามแฮ-นยอไม่ให้เปลือยกายทำงาน" และ "ห้ามผู้ชายและผู้หญิงที่เป็นแฮ-นยอทำงานร่วมกัน" ด้วยค่ะ

และจากบันทึกที่เขียนไว้ซึ่งมีความเก่าแก่ที่สุดอย่าง "นิทานพื้นบ้านเชจู" ของ Li Jian ในศตวรรษที่ 17 นั้นถือเป็นเอกสารชิ้นแรกที่บันทึกชีวิตของแฮ-นยอในเกาะเชจูโดยละเอียดเลยล่ะค่ะ นอกจากนี้ก็ยังเขียนเกี่ยวกับชีวิตที่น่าสงสารของแฮ-นยอที่ถูกปล้นและเหยียดหยามด้วยนะคะ   


แฮ-นยอทำอะไร?

แฮ-นยอทำอะไร?

ที่มา:제주도민일보

โดยปกติตั้งแต่ฤดูใบไม้ผลิจนถึงฤดูใบไม้ร่วง มักจะเป็นช่วงเวลาที่สามารถออกสู่ทะเลได้ค่ะ และแน่นอนว่า "แฮ-นยอ" ที่ได้รับฉายาว่าเป็นนางเงือกของเกาหลีก็ออกหาปลาและสัตว์ทะเลในช่วงนี้ด้วยเช่นกัน แม้ว่าจะเป็นการออกไปจับปลา แต่ก็ใช้คนละวิธีกับชาวประมงที่เราคุ้นเคยอย่างสิ้นเชิงเลยล่ะค่ะ

"แฮ-นยอ" มีเทคนิกการดำน้ำที่ส่งต่อจากรุ่นสู่รุ่นที่น่าสนใจมาก ๆ เลยนะคะ เนื่องจากพวกเธอสามารถดำน้ำได้ลึกหลายเมตรโดยไม่ต้องอาศัยถังออกซิเจนเลยค่ะ ว่ากันว่า "แฮ-นยอ" ผู้มากประสบการณ์สามารถดำดิ่งลงไปในความลึกกว่า 20 เมตรและกลั้นหายใจได้นานกว่า 2 นาทีเลยนะคะ! เดิมทีนักวิทยาศาสตร์คิดว่า "แฮ-นยอ" อาจจะมียีนพิเศษที่ช่วยในการดำน้ำ แต่หลังจากการตรวจสอบพวกเขาพบว่า "แฮ-นยอ" เป็นมนุษย์ธรรมดา เพียงแต่คุ้นเคยกับการดำน้ำจากการฝึกฝนตั้งแต่ยังเด็กเท่านั้นค่ะ   

ระดับความสามารถและทักษะของ "แฮ-นยอ" ยังแบ่งออกเป็น ซังกุน (상군), จุงกุน (중군) และ ฮีกุน (하군) ค่ะ รวมถึงเงินที่ได้รับก็จะแตกต่างกันไปโดยขึ้นอยู่กับประสบการณ์ที่มีนั่นเองค่ะ


ระดับความสามารถและทักษะของแฮนยอ

ที่มา:유네스코한국위원회

ปัจจุบัน "แฮ-นยอ" จะสวมชุดดำน้ำและแว่นตากันน้ำเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานและลดปัจจัยเสี่ยงต่าง ๆ ลงค่ะ หลังจากดำน้ำเพื่อหาสัตว์ในทะเลแล้ว พวกเธอก็จะใช้เครื่องมือในการเก็บอาหารทะเลและสาหร่ายค่ะ ซึ่งอาหารที่เก็บได้ส่วนใหญ่ก็จะเป็นหอยเป๋าฮื้อและหอยเม่นที่อยู่บนโขดหินนั่นเอง   


ความเสี่ยงของแฮ-นยอ?

ความเสี่ยงของแฮ-นยอ?

ที่มา:오마이뉴스

เนื่องจากอาชีพและการทำงานของ "แฮ-นยอ" เวลาดำน้ำที่ยาวที่สุดอาจถึง 7 ชั่วโมงเลยทีเดียวค่ะ ดังนั้นความเสี่ยงส่วนใหญ่ที่พวกเธอจะต้องเผชิญก็คืออาการหูอื้อและการที่ร่างกายอุณหภูมิต่ำกว่าปกตินั่นเองค่ะ แฮ-นยอบางคนยังมีหน้าที่ในทำความสะอาดขยะและงมหาศพในทะเลด้วยนะคะ

ตามข้อมูลของ "แฮ-นยอ" จากเกาะเชจูนั้น ในช่วง "물질 (ช่วงการเก็บเกี่ยวของแฮ-นยอ)" นักประดาน้ำหญิงที่ดำลงไปใต้ท้องทะเลลึกจะต้องทนทุกข์ทรมานจากความแตกต่างของแรงดันน้ำเมื่อขึ้นสู่ผิวน้ำค่ะ นอกจากนี้ยังต้องเผชิญกับความสับสนทางจิตใจและความหวาดกลัวเมื่อใกล้ขาดอากาศหายใจ และยังต้องคิดไว้ตลอดเวลาว่าอาจจะตายได้ทุกเมื่อหากยังอยู่ใต้ท้องทะเลค่ะ


หวาดกลัวและความสิ้นหวังของแฮ-นยอ

ที่มา:남해의봄날

ดังนั้นเพลงพื้นบ้านอย่าง "ขอบเขตของชีวิตและความตาย (생과사의경계)", "ลมหายใจสุดท้ายของชีวิต (생애최후의날숨)", และ "กลับไปกลับมาในเส้นทางของยมโลก" (저승길왔다갔다)" ต่างก็กล่าวถึงความหวาดกลัวและความสิ้นหวังของแฮ-นยอนั่นเองค่ะ รวมถึงเล่าเรื่องราวเกี่ยวกับความยากลำบากของชีวิตแฮ-นยอด้วยค่ะ   

นอกจากนี้ในปี 1981 ยังมีโศกนาฏกรรมที่แฮ-นยอถูกฉลามฆ่าตายเมื่อเธอดำน้ำเพื่อออกหาอาหารในทะเลด้วยนะคะ เรียกได้ว่าหากหญิงที่เป็นแฮ-นยอตั้งครรภ์ ก็จะไม่มีทางให้ลูกของพวกเธอต้องมาเป็นแฮ-นยออย่างแน่นอนค่ะ


ทำไมถึงมีแต่ผู้หญิงที่เป็นแฮ-นยอ?

ทำไมถึงมีแต่ผู้หญิงที่เป็นแฮ-นยอ?

ที่มา:국립민속박물관

อ่านมาถึงตรงนี้แล้ว ทุกคนสงสัยมั้ยคะว่าทำไมถึงมีแต่ผู้หญิงที่ทำอาชีพแฮ-นยอกันนะ   

ต้องบอกว่าปัจจัยสำคัญมีส่วนเกี่ยวข้องกับโครงสร้างโดยกำเนิดของร่างกายค่ะ เนื่องจากเมื่อเทียบกับผู้ชายแล้ว ผู้หญิงจะมีไขมันมากกว่าและทนต่อน้ำทะเลที่มีอุณหภูมิต่ำได้มากกว่านั่นเองค่ะ อย่างไรก็ตามในสมัยราชวงศ์โชซอนก็มีตัวอย่างของผู้ชายที่ดำน้ำและเก็บอาหารทะเลเหมือนกันนะคะ พวกเขาถูกเรียกว่า โพจักอิน (포작인), โพจักคัน (포작간), หรือ โพจักฮัน (포작한) ค่ะ


แฮ-นยอ

ที่มา:헤럴드경제

ในศตวรรษที่ 19 ชาวตะวันตกที่มาเยือนคาบสมุทรเกาหลีได้นำภาพของ "แฮ-นยอ" กลับไปที่ประเทศของตนเองและกล่าวว่า "แฮ-นยอก็คือนางเงือกที่สามารถแหวกว่ายไปในทะเลได้อย่างอิสระ" อย่างไรก็ตามความจริงแล้วแฮ-นยอก็เป็นเพียงอาชีพที่น่าสงสารที่ถูกใช้ประโยชน์จากยุคสมัย และยังถูกนำไปโยงกับ "Oriental Mermaid" วัฒนธรรมนางเงือกที่แทบจะไม่มีอะไรเกี่ยวข้องกันเลยของโลกตะวันตกอีกด้วย

ดังนั้นคนเกาหลีหลาย ๆ คนจึงต้องการให้ทั่วโลกตระหนักถึงความลำบากและความน่าสงสารของแฮ-นยอมากกว่าคำพูดสวยหรูอย่าง "นางเงือก" หรือ "หญิงสาวแห่งท้องทะเล" ค่ะ   


แฮ-นยอในปัจจุบัน

แฮ-นยอในปัจจุบัน

ที่มา:오마이뉴스

ในปัจจุบัน "แฮ-นยอแห่งเกาะเชจู" กลายเป็นหนึ่งในมรดกของมนุษย์ที่มีค่าที่สุดในโลกค่ะ จำนวนของแฮ-นยอนั้นลดลงไปจาก 20,000 คนจนเหลือน้อยกว่า 4,000 คนแล้วด้วยล่ะค่ะ เนื่องจากเด็กผู้หญิงที่เกิดในเกาะเชจูจำนวนมากได้เดินทางไปยังเมืองใหญ่ ๆ เช่น โซลและปูซาน เพื่อเข้าเรียนและทำงาน ดังนั้นวัฒนธรรมและเทคนิกต่าง ๆ ของแฮ-นยอจึงถูกถ่ายทอดไปรุ่นสู่รุ่นได้ยากขึ้นนั่นเองค่ะ แต่ก็ยังมีแฮ-นยอจำนวนมากที่ยังคงยืนกรานและปกป้องวัฒนธรรมของแฮ-นยอเอาไว้ด้วยนะคะ   

นอกจากนี้เกาะเชจูยังมีพิพิธภัณฑ์ที่แนะนำประวัติศาสตร์และภูมิหลังทางวัฒนธรรมของแฮ-นยอด้วยค่ะ ส่วนร้านอาหารหลาย ๆ แห่งก็ใช้การโฆษณาว่า "อาหารทะเลที่จับโดยแฮ-นยอ" แทนการใช้เครื่องจักรจับปลา ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อระบบนิเวศน้อยกว่าและอาหารยังมีคุณภาพคงที่อีกด้วยค่ะ 




เป็นยังไงกันบ้างคะกับ "แฮ-นยอ (해녀)" นักประดาน้ำหญิงที่ถูกเปรียบเปรยเป็นนางเงือกเกาหลี? น่าทึ่งสุด ๆ ไปเลยใช่มั้ยล่ะคะ? สมแล้วกับที่องค์การยูเนสโกขึ้นทะเบียน “แฮ-นยอแห่งเกาะเชจู” ให้เป็นมรดกโลกทางวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ เมื่อเดือนพฤศจิกายน ปี 2016 ที่ผ่านมาค่ะ   


🤞🏻Subscribe พวกเรา Creatrip บน Youtube 

Creatrip Instagram
instagram.com/creatrip.thailand

🎈ช้อปปิ้ง|สั่งซื้อสินค้าเกาหลี

ยอดเข้าชมมากที่สุด

ยอดเข้าชมมากที่สุด