logo

การสอบเป็นขุนนางของคนเกาหลีในสมัยก่อน

ระบบการสอบเป็นขุนนางต่อหน้าพระพักตร์ขององค์จักรพรรดิเกาหลีมีวิธีการอย่างไรกันนะ?

정영여영이
3 years ago

สวัสดีค่ะทุกคน! พวกเรา Creatrip ศูนย์รวบรวมข้อมูลการท่องเที่ยวเกาหลีที่อัพเดทโดยคนเกาหลีในทุก ๆ วัน


#การสอบเป็นขุนนาง #ขุนนาง

#ประวัติศาสตร์เกาหลี #คนเกาหลี

  

วันนี้เราจะมาพาทุกคนไปทำความรู้จักกับระบบการสอบเป็นขุนนางของคนเกาหลีในสมัยก่อนกันค่ะ ไม่อยากรู้กันเหรอคะว่าคนเกาหลีในสมัยก่อนเค้าเข้ารับตำแหน่งทางการกันอย่างไรนะ? ต้องบอกก่อนว่ามีหลาย ๆ ประเทศในแถบเอเชียที่รับระบบการสอบนี้มาจากประเทศจีน เพื่อใช้ในการคัดเลือกบุคคลระดับหัวกะทิมารักษาเป้าหมายทางอุดมคติและทรัพยากรของบ้านเมือง รวมถึงเพื่อส่งเสริมวรรณกรรมและการเล่าเรียนให้คงอยู่ต่อไปเรื่อย ๆ ด้วยค่ะ   

 

  

🤞🏻Subscribe พวกเรา Creatrip บน Youtube 

Creatrip Instagram
instagram.com/creatrip.thailand

🎈ช้อปปิ้ง|สั่งซื้อสินค้าเกาหลี


การสอบเป็นขุนนางของคนเกาหลี

การสอบเป็นขุนนางครั้งแรกของเกาหลี

การสอบเป็นขุนนางครั้งแรกของเกาหลี


การสอบคัดเลือกขุนนางของประเทศจีนเป็นต้นแบบของการสอบคัดเลือกต่าง ๆ ในหลายประเทศแถบเอเชียตะวันออกเลยล่ะค่ะ เช่น ราชวงศ์โครยอ (Goryeo Dynasty) และราชวงศ์โชซอน (Joseon Dynasty) ในประเทศเกาหลี จากนั้นก็ถูกยกเลิกไปเมื่อโดนยึดครองโดยญี่ปุ่นนั่นเองค่ะ

ในปีการปกครองที่ 9 ของกษัตริย์ควังจง กษัตริย์ลำดับ 4 แห่งโครยอ ประเทศเกาหลีที่รับวัฒนธรรมมาจากประเทศจีนก็ได้มีการจัดสอบขุนนางต่อหน้าจักรพรรดิ (과거) เป็นครั้งแรกค่ะ โดยระบบนี้ก็เอื้อให้ประชาชนธรรมดาได้มีสิทธิเข้ามาเป็นขุนนางมากขึ้น และยังช่วยลดทอนอำนาจของตระกูลขุนนางเก่าอีกด้วยค่ะ


ระบบชนชั้น

ระบบชนชั้น


ในความเป็นจริงแล้ว ช่วงต้นของยุคชิลลาระบบการเข้ารับราชการแบบเก่านั้นยากที่กษัตริย์จะรักษาอำนาจทางการเมืองเอาไว้ได้ ดังนั้นในช่วงกลางและปลายของยุคชิลลา ผู้คนจึงเริ่มแสวงหาระบบการปกครองแบบใหม่ (ระบอบเผด็จการ) ค่ะ

แต่เพื่อประโยชน์ในการรวมชาติและความถูกต้องตามกฎหมายจริยธรรมที่เน้นความภักดีและความกตัญญูกตเวทีแล้วนั้น แนวคิดแบบ "ลัทธิขงจื๊อ" จึงถูกนำมาใช้ในการปกครองประเทศในปีค.ศ. 520 และยังมีระบบตำแหน่งอย่างเป็นทางการที่เรียกว่า "17 ตำแหน่งทางการ (17 관등)" ควบคู่ไปกับ "ระบบชั้นกระดูก (골품제)" ด้วยค่ะ

ระบบชนชั้นในชิลลาแบ่งออกเป็น 1. ชนชั้นราชวงศ์ (ชั้นซองโกล และ ชั้นจินโกล), 2. ชนชั้นขุนนาง (ขั้น 6 , ขั้น 5 , ขั้น 4), และ 3. ชนชั้นไพร่ (ขั้น 3 , ขั้น 2 , ขั้น 1) นั่นเองค่ะ

เมื่อเทียบกับความสามารถจริง ๆ ของแต่ละบุคคลแล้วนั้น ภูมิหลังของครอบครัวโดยกำเนิดมีความสำคัญมากกว่าค่ะ พูดง่าย ๆ ก็คือแม้ว่าจะมีความรู้ความสามารถมากขนาดไหน แต่คนที่มีฐานะต่ำกว่าก็ไม่สามารถเข้ารับตำแหน่งทางการได้เลยค่ะ ในขณะเดียวกันคนที่มีฐานะสูงกว่าก็หย่อนยานและไม่พยายามใด ๆ เลย เพราะว่ายังไงก็จะต้องได้รับสืบทอดตำแหน่งอยู่แล้วนั่นเองค่ะ

ในปีที่ 14 ของกษัตริย์มุนมูแห่งชิลลา (ค.ศ. 674) ลูกหลานจากตระกูลใหญ่ ๆ ดำรงตำแหน่งขุนนางถึง 17 คนเลยทีเดียวค่ะ นี่แสดงให้เห็นว่าในสังคมชิลลาพลเรือนธรรมดาจะไม่มีโอกาสได้เข้าสู่ราชวงศ์เพื่อรับใช้จักรพรรดิเลย ดังนั้นในเวลาต่อมาเพื่อป้องกันไม่ให้ขุนนางตระกูลใดตระกูลหนึ่งยึดอำนาจเอาไว้แต่เพียงผู้เดียว กษัตริย์ควังจงแห่งโครยอจึงได้มีการจัดสอบขุนนางต่อหน้าจักรพรรดิ (과거) ขึ้นเป็นครั้งแรก เพื่อลบล้างระบบเก่าแก่ภายในที่เน่าเฟะนั่นเองค่ะ


ทำไมต้องมีการจัดสอบขุนนางต่อหน้าจักรพรรดิ?

ทำไมต้องมีการจัดสอบขุนนางต่อหน้าจักรพรรดิ?


ว่ากันว่าปัญญาชนหรือบัณฑิตในสมัยก่อนจะมีหน้าที่ในการตรวจสอบกษัตริย์และต่อสู้กับขุนนางค่ะ ส่วนใหญ่แล้วพวกเขาจะกลายมาเป็นที่ปรึกษาทางการเมืองและมีบทบาทสำคัญมาก ๆ ต่อกษัตริย์ในราชวงศ์เลยล่ะค่ะ ดั้งนั้นการที่รับเอาคนธรรมดาเข้ามารับตำแหน่งราชการจึงคอยช่วยคานอำนาจกับตระกูลขุนนางเก่าแก่ที่เห็นแต่เงินทองได้ดีทีเดียวค่ะ

และเมื่อราชวงศ์ชิลลาล่มสลาย ระบบขุนนางเก่าแก่ก็ล่มสลายตามไปด้วยค่ะ ดังนั้นในยุคแรกของราชวงศ์โครยอ กษัตริย์ควังจงที่ต้องการให้เหล่าปัญญาชนและบัณฑิตได้มีสิทธิ์มีเสียงจึงใช้วิธีการสอบเข้าเป็นขุนนางต่อหน้าจักรพรรดิ เพื่อคัดเลือกผู้มีความสามารถเข้ามารับตำแหน่งทางการและรวมอำนาจของราชวงศ์นั่นเองค่ะ นอกจากนี้ยังทำให้การยกเลิกระบบเดิม ๆ เป็นไปได้อย่างง่ายดายด้วยค่ะ


กระบวนการของระบบการสอบเข้าเป็นขุนนาง

กระบวนการของระบบการสอบเข้าเป็นขุนนาง


ระบบการสอบเข้าเป็นขุนนางต่อหน้าจักรพรรดิเริ่มต้นโดยการผ่านข้อเสนอ ตามด้วยการจัดตั้งรากฐานของราชวงศ์โครยอ และการปรับปรุงระบบราชการค่ะ ระบบการสอบของจักรวรรดิเกาหลียังแบ่งออกเป็น "การสอบเตรียมความพร้อม" และ "การสอบไล่" ด้วยนะคะ


Dongtang Supervisory Exam (동당감시)


ในปี 1004 ซึ่งเป็นปีที่ 7 ของการปกครองโดยกษัตริย์มูจงแห่งโครยอ มีการประกาศการสอบที่เรียกว่า Dongtang Supervisory Exam (동당감시) แบ่งออกเป็น 3 การสอบ ได้แก่ ระดับต้น, การสอบระดับมณฑลหรือระดับภูมิภาค, และการสอบระดับเมืองหลวงหรือระดับประเทศ นอกจากนี้บางครั้งก็ยังมี "การสอบซ่อม (복시)" ครั้งที่ 4 ด้วยซ้ำไปค่ะ


ความรู้ที่ต้องมี? จำนวนคนที่ได้ตำแหน่ง? 

ความรู้ที่ต้องมีในการสอบเป็นขุนนาง


ในระบบการสอบของจักรวรรดิเกาหลีส่วนใหญ่จะมีการสอบบทกวี, การเขียน, การขับร้อง, นโยบายทางการเมือง, ธรรมะ, การแพทย์, ภูมิศาสตร์ ฯลฯ

การสอบเข้าเป็นขุนนางต่อหน้าจักรพรรดิจะจัดขึ้นทุก ๆ 2 ปีโดยประมาณค่ะ ดังนั้นจึงมีผู้คนมากกว่า 6,700 คนจากทั่วทุกเมืองในเกาหลีที่เดินหน้าเข้ามาสอบเพื่อหวังจะได้เข้ารับราชการนั่นเองค่ะ


ทุกคนก็เข้าสอบได้จริง ๆ เหรอ?

คุณสมบัติของการสอบเป็นขุนนาง


ก็ตอบได้เต็มปากเต็มคำเลยว่า "ทุกคนสามารถเข้าสอบได้" แต่ "ไม่ใช่ทุกคนที่จะมีโอกาสเข้าไปรับราชการ" ค่ะ เนื่องจากการสอบก็ต้องใช้ความรู้ความสามารถที่โดดเด่น นอกจากนี้ยังต้องมีระบบความคิดที่เปิดกว้างและมองการณ์ไกล ดังนั้นผู้ที่มาจากครอบครัวที่ยากจนจึงแทบจะเป็นไปไม่ได้เลยที่จะได้เข้ารับตำแหน่งค่ะ

เนื่องจากคนยากจนไม่ได้อยู่ในสภาพแวดล้อมด้านการศึกษาที่ดี และมีอาหารไม่เพียงพอต่อการใช้ชีวิต ไม่ต้องพูดถึงการเรียนเพื่อไปสอบเลยค่ะ เพราะแค่ต้องทำงานมาซื้ออาหารทานซักมื้อก็หมดเวลาไปแล้ว

แม้ว่าจากกฎของการเข้าสอบจะไม่ได้มีข้อจำกัดคุณสมบัติต่าง ๆ มากนัก ดังนั้นทุกคนจึงสามารถเข้าร่วมการสอบได้ แต่ก็มีเพียงทายาทของชนชั้นกลางและอาชีพบางอย่างเท่านั้นที่สามารถเข้าไปถึงการสอบรอบหลัง ๆ ได้ค่ะ สิ่งนี้ยังทำให้เกิดการสมรู้ร่วมคิดระหว่างคนชั้นสูงและข้าราชการภายในด้วยนะคะ


มีการสอบด้านไหนบ้าง?การสอบเป็นขุนนางเกาหลีในสมัยก่อน สอบในด้านของศิลปะการต่อสู้

เมื่อพูดถึงการสอบเข้าเป็นขุนนางต่อหน้าจักรพรรดิ ทุกคนก็คงจะนึกไปถึงการสอบด้านศิลปศาสตร์และความรู้ทางการเมืองอย่างเดียวใช่มั้ยล่ะคะ? แต่ในความเป็นจริงยังมีการสอบในด้านของศิลปะการต่อสู้ด้วยนะคะ ซึ่งจะคัดกรองเยาวชนที่มีร่างกายและศิลปะการต่อสู้ที่ยอดเยี่ยมมาเข้าเป็นทหารโดยเฉพาะนั่นเองค่ะ


การจัดอันดับผลสอบ

การจัดอันดับผลสอบ


สำหรับคนที่ผ่านการสอบทั้งสามครั้งในระดับสูงสุดจะเรียกว่า 갑과 ค่ะ

ตามผลการทดสอบ การจัดอันดับคะแนนและอันดับผู้สมัครสอบสามารถแบ่งออกเป็น อันดับที่ 1 (갑과), อันดับที่ 2 (을과), อันดับที่ 3 (병과), และระดับจินซา (진사) ค่ะ แต่โดยทั่วไปแล้วหากเข้าสอบและผ่านได้ในระดับจินซา (진사) ขึ้นไปก็จะได้รับความอนุเคราะห์จากเหล่าบัณฑิตในราชวงศ์อย่างเป็นทางการค่ะ


สมาคมหัวมังกร (용두회)


และเหล่าบัณฑิตที่สอบได้ลำดับดี ๆ ในปีก่อน ๆ ก็จะมารวมตัวกันใน "การประชุมประจำปี (동년회)" และก่อตั้ง "สมาคมหัวมังกร (용두회)" เพื่อรับบัณฑิตหน้าใหม่เข้ามาสั่งสอนนั่นเองค่ะ ในความเป็นจริงมันก็คล้ายกับสมาคมศิษย์เก่าในปัจจุบันเหมือนกันนะคะ   




เป็นยังไงกันบ้างคะกับระบบการสอบเป็นขุนนางต่อหน้าจักรพรรดิของคนเกาหลีในสมัยก่อน? ซับซ้อนมาก ๆ เลยใช่มั้ยละคะ? และเพราะการสอบเป็นขุนนางในอดีตแบบนี้นี่แหละค่ะที่บ่มเพาะให้คนเกาหลีอ่านหนังสือกันหนักมาก ๆ สำหรับการเตรียมสอบในปัจจุบันค่ะ   


🤞🏻Subscribe พวกเรา Creatrip บน Youtube 

Creatrip Instagram
instagram.com/creatrip.thailand

🎈ช้อปปิ้ง|สั่งซื้อสินค้าเกาหลี


ยอดเข้าชมมากที่สุด